ทะเลสาบน้ำเค็ม (อังกฤษ: salt lake) เป็นตัวที่ใช้แยกน้ำเค็มบริเวณตื้น หรือพวกน้ำกร่อย ออกจากพวกทะเลจริง ๆ แยกโดยมีแนวหาดทรายกั้น หรือสันดอนทราย หรือแนวปะการัง เป็นต้น ดังนั้นในส่วนที่ถูกโอบล้อมไปด้วยแนวเหล่านี้ หรือที่ถูกโอบล้อมด้วยเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากแนวหินปะการัง (atoll reef) เรียกว่า ทะเลสาบน้ำเค็ม ในส่วนที่กล่าวถึงเรื่องปะการังนั้น ทะเลสาบน้ำเค็ม (lagoon) นั้น อาจกล่าวได้อีกว่าเป็นแนวหลังปะการัง (backreef) ซึ่งจะเป็นคำที่นักวิทยาศาตร์ด้านปะการัง หมายถึงว่าเป็นบริเวณเดียวกัน

ทะเลสาบโซลทอนและเนินเกลือ ประเทศอิหร่าน

ทะเลสาบน้ำเค็ม หมายถึงชายฝั่งทะเลสาบ ซึ่งได้มาจากการเกิดของพวกสันดอนทราย หรือแนวปะการังตามแนวชายฝั่ง บริเวณน้ำตื้น และทะเลสาบน้ำเค็มในเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากแนวหินปะการัง (atoll reef) นั้นเกิดจากการโตของปะการัง และบริเวณตรงกลางค่อย ๆ จมลงอย่างช้า ๆ บริเวณที่มีทะเลสาบน้ำเค็มที่มีน้ำจืดไหลมาเติมอยู่เรื่อย ๆ เรียกว่า ชะวากทะเล (estuary)

การเกิดทะเสสาบน้ำเค็ม แก้

ทะเลสาบน้ำเค็ม เกิดจากการปิดกั้นของปะการัง โดยมากมักเป็นรูปวงกลม มีทางน้ำแคบ ๆ เข้าออกได้

ทะเลสาบน้ำเค็มชายฝั่งทะเล เกิดจาการปิดกั้นของสันดอนบริเวณปากอ่าว แต่ยังมีทางออกแคบ ๆ ให้น้ำไหลผ่านได้ ในประเทศไทยพบทะเลสาบน้ำเค็ม ชายฝั่งทะเลเพียงแห่งเดียว คือ ทะเลสาบสงขลา ซึ่งเกิดจากการงอกของสันดอนมาปิดล้อมบริเวณที่เป็นอ่าวอยู่แต่เดิม ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ภายในแผ่นดินขึ้นสันทรายที่งอกยื่นยาวมาปิดกั้นทะเลสาบสงขลานั้น มีความยาวจากเหนือไปใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร

ทะเลสาบน้ำเค็มในประเทศไทย แก้

ทะเลสาบน้ำเค็มในประเทศไทยนั้นมีอยู่ 2 แห่งคือ