น้ำจืด
น้ำจืด (อังกฤษ: Fresh water) คือ ของเหลวหรือน้ำแช่แข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติใด ๆ ที่มีเกลือและของแข็งอื่น ๆ ที่ละลายอยู่ในความเข้มข้นต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย แต่ก็รวมถึงน้ำที่อุดมด้วยแร่ธาตุที่ไม่เค็ม เช่น น้ำพุชาลีบีต น้ำจืดอาจรวมถึง น้ำแข็ง, แผ่นน้ำแข็ง, ครอบน้ำแข็ง, ธารน้ำแข็ง, ทุ่งหิมะ และ ภูเขาน้ำแข็ง ที่ละลายแล้ว น้ำจืดยังสามารถเกิดได้จาก หยาดน้ำฟ้าตามธรรมชาติ เช่น ฝน, หิมะตก, ลูกเห็บ, ลูกปรายหิมะ และการไหลบ่าของพื้นผิวที่ก่อตัวเป็นแหล่งน้ำ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ, บ่อน้ำ, ทะเลสาบ, แม่น้ำ ลำธาร รวมถึง น้ำบาดาล ที่อยู่ในชั้นหินอุ้มน้ำ, แม่น้ำใต้ดิน, และ ทะเลสาบ
น้ำจืด เป็น ทรัพยากรน้ำที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตบางประเภทสามารถอยู่รอดได้ด้วยน้ำเค็ม แต่ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น พืชมีท่อลำเลียง, แมลง, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก รวมถึงมนุษย์ ต้องการน้ำจืดเพื่อการอยู่รอด น้ำจืดยังใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภัย [1][2][3]
น้ำจืด อาจไม่ใช่ น้ำดื่ม เสมอไป (น้ำดื่ม คือ น้ำที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์) น้ำจืดส่วนใหญ่บน โลก (ซึ่งรวมถึงที่อยู่บนพื้นดิน และน้ำบาดาลที่อยู่ใต้ดิน) ไม่เหมาะสมสำหรับการบริโภคของมนุษย์หากไม่ได้มีการบำบัดในระดับหนึ่ง น้ำจืดสามารถ ปนเปื้อนได้ง่ายจากกิจกรรมของมนุษย์ หรือจากกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะ น้ำจืดคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 3% ของทรัพยากรน้ำทั่วโลก และมีเพียง 1% เท่านั้นที่หาได้ง่าย และใน 1% นั้นมีเพียง 3% เท่านั้นที่ถูกบำบัดเพื่อการบริโภคของมนุษย์ ในภาคการเกษตรมีการใช้น้ำจืดราว ๆ สองในสามจากปริมาณน้ำจืดทั้งหมดที่ได้จากการบำบัดมาจากสิ่งแวดล้อม[4][5][6]
น้ำจืดเป็นทรัพยากรธรรมชาติหมุนเวียนและเป็นทรัพยากรที่แปรผัน แต่ก็ถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำกัด ปริมาณน้ำจืดสามารถเพิ่มขึ้นได้เองตามกระบวนการทางธรรมชาติตามวัฏจักรของน้ำ ผ่านการละเหยจากแหล่งน้ำต่าง ๆ อย่าง ทะเล, ทะเลสาบ, ป่า, พื้นดิน, แม่น้ำ, และ อ่างเก็บน้ำ ก่อตัวเป็นเมฆ และไหลกลับเข้าสู่แผ่นดินเป็นฝน[7] อย่างไรก็ตามหากแต่ละพื้นที่มีการบริโภคน้ำจืดผ่านกิจกรรมของมนุษย์มากกว่ากระบวนการดังกล่าว อาจส่งผลให้ปริมาณน้ำจืดที่บริโภคได้ลดลง (หรือ การขาดแคลนน้ำ) จากแหล่งผิวดินและใต้ดิน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยรอบได้ มลพิษทางน้ำก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำจืด ในกรณีที่ทรัพยากรน้ำมีอยู่อย่างจำกัด มนุษย์ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้น อย่างเช่น การกลั่นน้ำ และการบำบัดน้ำเสีย เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำที่มีอยู่ ถึงอย่างนั้นก็มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง (ทั้งทางด้านต้นทุนและการดำเนินการ) โดยเฉพาะการกลั่นน้ำ ซึ่งสามารถทำได้น้อยเมื่อเทียบกับการต้องใช้พลังงานปริมาณมหาศาล นอกจากนี้ก็ยังมีทางเลือกอื่น ๆ แต่ไม่ค่อยยั่งยืนอย่าง "น้ำฟอสซิล" จากชั้นหินอุ้มน้ำ เนื่องจากชั้นหินดังกล่าวก่อตัวขึ้นเมื่อหลายร้อย หลายพัน หรือ แม้แต่หลายล้านปีก่อน ตอนที่สภาพอากาศในบริเวณชั้นหินเหล่านั้นอยู่ในสภาพอากาศเปียกชื้น (อย่างเช่น ในอดีตที่ทะเลทรายซาฮาราเคยเป็นป่า) แต่เพราะสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันทำให้ปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการขุดหินพีทหรือลิกไนต์ที่ก่อตัวได้ช้า (ทรัพยากรไม่หมุนเวียน)
นิยาม
แก้ทางตัวเลข
แก้มีการนิยามว่าน้ำจืดคือน้ำที่มีเกลือละลายอยู่น้อยกว่า 0.5 ส่วนในพันส่วน (ppt) [8] น้ำจืดพบได้ทั้งแหล่งน้ำบนดินเช่น แม่น้ำลำธาร คลอง ทะเลสาบ ฯลฯ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง และรวมไปถึงแหล่งน้ำใต้ดิน ต้นกำเนิดวัฏจักรน้ำคือหยาดน้ำฟ้าที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก ในรูปของฝนและหิมะ
น้ำแบ่งตามระดับความเค็ม วัดจากความเข้มข้นของเกลือ | |||
---|---|---|---|
น้ำจืด | น้ำกร่อย | น้ำเกลือ/น้ำเค็ม | น้ำเกลือเข้มข้น |
< 0.05 % | 0.05 – 3 % | 3 – 5 % | > 5 % |
< 0.5 ppt | 0.5 – 30 ppt | 30 – 50 ppt | > 50 ppt |
ทางรูปแบบ
แก้แหล่งน้ำจืดจัดอยู่ในประเภท ระบบเลนติกซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่ง รวมถึง สระน้ำ, ทะเลสาบ, หนองน้ำ และ โคลนตม โลติก ซึ่งเป็นระบบน้ำไหล หรือ น้ำบาดาลซึ่งไหลอยู่ในหินและ ชั้นหินอุ้มน้ำ นอกจากนี้ยังมีโซนที่เชื่อมระหว่างระบบน้ำใต้ดินและระบบโลติก ซึ่งก็คือ โซนไฮพอร์เฮอิก ซึ่งอยู่ใต้แม่น้ำสายใหญ่หลายสายและสามารถกักเก็บน้ำได้มากกว่าที่เห็นในช่องเปิด นอกจากนี้ยังอาจสัมผัสโดยตรงกับน้ำใต้ดินอีกด้วย
การกระจายตัวบนโลก
แก้น้ำจืดในธรรมชาติมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นจากปริมาณน้ำทั้งหมดในโลก ซึ่งสองในสามจากจำนวนนี้เป็นน้ำแข็งตามยอดเขาหรือขั้วโลก ร้อยละ 0.3 เท่านั้นที่เป็นน้ำบนดิน ที่เหลือเป็นน้ำใต้ดิน ทะเลสาบน้ำจืดอย่างทะเลสาบไบคาลในรัสเซียและทะเลสาบทั้งห้าในอเมริกาเหนือ มีปริมาณน้ำจืดบนผิวดินถึงเจ็ดในแปดส่วน หนองน้ำอย่างแม่น้ำแอมะซอนแม้จะกินพื้นที่กว้างขวาง แต่ปริมาณน้ำเฉลี่ยต่อพื้นที่ก็มีปริมาณน้อยมาก และในชั้นบรรยากาศก็มีน้ำอยู่ร้อยละ 0.04[9]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "UN World Water Development Report 2019". UN Water. 2019-03-18. สืบค้นเมื่อ 2024-07-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Watts, Jonathan (2018-03-18). "Water shortages could affect 5bn people by 2050, UN report warns". เดอะการ์เดียน. สืบค้นเมื่อ 2024-07-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เตโชติอัศนีย์, กัญญาณัฐ์ (2019-08-19). "UN เตือน ประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคนขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2024-07-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Wastewater resource recovery can fix water insecurity and cut carbon emissions". European Investment Bank (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2022. สืบค้นเมื่อ 29 August 2022.
- ↑ "Competing for Clean Water Has Led to a Crisis". Environment (ภาษาอังกฤษ). 26 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2021. สืบค้นเมื่อ 29 August 2022.
- ↑ "Freshwater Resources | National Geographic Society". education.nationalgeographic.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2022. สืบค้นเมื่อ 29 August 2022.
- ↑ "The Fundamentals of the Water Cycle". www.usgs.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2019. สืบค้นเมื่อ 17 September 2021.
- ↑ "Groundwater Glossary". 2006-03-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-28. สืบค้นเมื่อ 2006-05-14.
- ↑ Gleick, Peter; และคณะ (1996). Stephen H. Schneider (บ.ก.). Encyclopedia of Climate and Weather. Oxford University Press.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- The World Bank's work and publications on water resources
- U.S. Geological Survey เก็บถาวร 6 สิงหาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Fresh Water National Geographic เก็บถาวร 27 พฤศจิกายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน