ทะเลสาบไบคาล
ทะเลสาบไบคาล (รัสเซีย: Oзеро Байкал, อักษรโรมัน: Ozero Baykal [ˈozʲɪrə bɐjˈkaɫ])[a] เป็นทะเลสาบทรุดในประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ในไซบีเรียตอนใต้ ในบริเวณระหว่างหน่วยองค์ประกอบแคว้นอีร์คุตสค์ทางตะวันตกเฉียงเหนือถึงสาธารณรัฐบูเรียเตียทางตะวันออกเฉียงใต้ ทะเลสาบนี้มีน้ำ 23,615.39 ลูกบาศก์กิโลเมตร (5,670 ลูกบาศก์ไมล์)[1] ทำให้เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก โดยมีน้ำผิวดินถึง 22–23%[4][5] ซึ่งมากกว่าเกรตเลกส์ในทวีปอเมริกาเหนือทั้งหมด[6] และยังเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในโลก[7] โดยมีความลึกสุดที่ 1,642 เมตร (5,387 ฟุต; 898 ฟาทอม)[1] และยังเป็นทะเลสาบที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[8] ที่ 25–30 ล้านปี[9][10] ทะเลสาบไบคาลมีขนาดใหญ่ตามพื้นผิวในอันดับ 7 ที่ 31,722 ตารางกิโลเมตร (12,248 ตารางไมล์) ซึ่งค่อนข้างใหญ่กว่าประเทศเบลเยียม[11] และเป็นหนึ่งในทะเลสาบที่ใสสะอาดที่สุดในโลก[12]
ทะเลสาบไบคาล | |
---|---|
ภาพถ่ายดาวเทียมใน ค.ศ. 2001 | |
ที่ตั้ง | ไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย |
พิกัด | 53°30′N 108°0′E / 53.500°N 108.000°E |
ชนิดของทะเลสาบ | ทะเลสาบโบราณ, ทะเลสาบทรุดภาคพื้นทวีป |
ชื่อในภาษาแม่ | |
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก | Selenga, Barguzin, Angara ตอนบน |
แหล่งน้ำไหลออก | Angara |
พื้นที่รับน้ำ | 560,000 km2 (216,000 sq mi) |
ประเทศในลุ่มน้ำ | มองโกเลียและรัสเซีย |
ช่วงยาวที่สุด | 636 กิโลเมตร (395 ไมล์) |
ช่วงกว้างที่สุด | 79 กิโลเมตร (49 ไมล์) |
พื้นที่พื้นน้ำ | 31,722 ตารางกิโลเมตร (12,248 ตารางไมล์)[1] |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 744.4 เมตร (2,442 ฟุต; 407.0 ฟาทอม)[1] |
ความลึกสูงสุด | 1,642 เมตร (5,387 ฟุต; 898 ฟาทอม)[1] |
ปริมาณน้ำ | 23,615.39 ลูกบาศก์กิโลเมตร (5,670 ลูกบาศก์ไมล์)[1] |
เวลาพักน้ำ | 330 ปี[2] |
ความยาวชายฝั่ง1 | 2,100 กิโลเมตร (1,300 ไมล์) |
ความสูงของพื้นที่ | 455.5 เมตร (1,494 ฟุต) |
แข็งตัว | มกราคม–พฤษภาคม |
เกาะ | 27 (เกาะโอลคอน) |
เมือง | Severobaykalsk, Slyudyanka, Baykalsk, Ust-Barguzin |
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด |
ทะเลสาบไบคาล * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | ไซบีเรีย รัสเซีย |
ประเภท | มรดกโลกทางธรรมชาติ |
เกณฑ์พิจารณา | (vii) (viii) (ix) (x) |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2539 (คณะกรรมการสมัยที่ 20) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ทะเลสาบไบคาลเป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์พันกว่าชนิด โดยมีหลายชนิดที่พบเฉพาะในบริเวณนี้ และยังเป็นที่อยู่ของชนเผ่าบูเรียตที่เลี้ยงแพะ อูฐ โค แกะ และม้า[13]ทางฝั่งคะวันออกของะเลสาบ[14] อุณหภูมิเฉลี่ยมีวามหลากหลายจากฤดูหนาวช่วงต่ำสุดอยู่ที่ −19 องศาเซลเซียส (−2 องศาฟาเรนไฮต์) ถึงฤดูร้อนช่วงสูงสุดที่ 14 องศาเซลเซียส (57 องศาฟาเรนไฮต์)[15] ภูมิภาคทางตะวันออกของทะเลสาบไบคาลมีชื่อเรียกว่าทรานส์ไบคาเลียหรือทรานส์ไบคาล[16] และบางครั้งภูมิภาคที่กำหนดไว้อย่างหลวม ๆ รอบทะเลสาบมีชื่อเรียกว่าไบคาเลีย ทางยูเนสโกประกาศให้ทะเลสาบไบคาลเป็นแหล่งมรดกโลกใน ค.ศ. 1996[17]
มรดกโลก
แก้ทะเลสาบไบคาลได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่เมืองเมริดา ประเทศเม็กซิโก ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
- เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
- เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทาง ธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
- เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
- เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "A new bathymetric map of Lake Baikal. Morphometric Data. INTAS Project 99-1669. Ghent University, Ghent, Belgium; Consolidated Research Group on Marine Geosciences (CRG-MG), University of Barcelona, Spain; Limnological Institute of the Siberian Division of the Russian Academy of Sciences, Irkutsk, Russian Federation; State Science Research Navigation-Hydrographic Institute of the Ministry of Defense, St. Petersburg, Russian Federation". Ghent University, Ghent, Belgium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 9 July 2009.
- ↑ M.A. Grachev. "On the present state of the ecological system of lake Baikal". Limnological Institute, Siberian Division of the Russian Academy of Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 July 2009.
- ↑ Dervla Murphy (2007) Silverland: A Winter Journey Beyond the Urals, London, John Murray, p. 173
- ↑ Schwarzenbach, Rene P.; Philip M. Gschwend; Dieter M. Imboden (2003). Environmental Organic Chemistry (2 ed.). Wiley Interscience. p. 1052. ISBN 9780471350538.
- ↑ Tyus, Harold M. (2012). Ecology and Conservation of Fishes. CRC Press. p. 116. ISBN 978-1-4398-9759-1.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Bright, Michael, บ.ก. (2010). 1001 natural wonders : you must see before you die. preface by Koichiro Mastsuura (2009 ed.). London: Cassell Illustrated. p. 620. ISBN 9781844036745.
- ↑ "Deepest Lake in the World". geology.com. สืบค้นเมื่อ 18 August 2007.
- ↑ "Lake Baikal – A Touchstone for Global Change and Rift Studies". United States Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2012. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.
- ↑ "Lake Baikal – UNESCO World Heritage Centre". สืบค้นเมื่อ 5 October 2012.
- ↑ "Lake Baikal: Protection of a unique ecosystem". ScienceDaily. 26 July 2017. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
- ↑ "The Oddities of Lake Baikal". Alaska Science Forum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2007. สืบค้นเมื่อ 7 January 2007.
- ↑ Jung, J., Hojnowski, C., Jenkins, H., Ortiz, A., Brinkley, C., Cadish, L., Evans, A., Kissinger, P., Ordal, L., Osipova, S., Smith, A., Vredeveld, B., Hodge, T., Kohler, S., Rodenhouse, N. and Moore, M. (2004). "Diel vertical migration of zooplankton in Lake Baikal and its relationship to body size" (PDF). ใน Smirnov, A.I.; Izmest'eva, L.R. (บ.ก.). Ecosystems and Natural Resources of Mountain Regions. Proceedings of the first international symposium on Lake Baikal: The current state of the surface and underground hydrosphere in mountainous areas. "Nauka", Novosibirsk, Russia. pp. 131–140. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 9 August 2009.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ S. Hudgins (2003). The Other Side of Russia: A Slice of Life in Siberia and the Russian Far East. Texas A&M University Press. สืบค้นเมื่อ 9 August 2009.
- ↑ M. Hammer; T. Karafet (1995). "DNA & the peopling of Siberia". Smithsonian Institution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-24. สืบค้นเมื่อ 9 August 2009.
- ↑ Fefelov, I.; Tupitsyn, I. (August 2004). "Waders of the Selenga delta, Lake Baikal, eastern Siberia" (PDF). Wader Study Group Bulletin. 104: 66–78. สืบค้นเมื่อ 9 August 2009.
- ↑ Erbajeva, Margarita A.; Khenzykhenova, Fedora I.; Alexeeva, Nadezhda V. (2013-01-23). "Aridization of the Transbaikalia in the context of global events during the Pleistocene and its effect on the evolution of small mammals". Quaternary International. Quaternary interconnections in Eurasia: focus on Eastern Europe SEQS Conference, Rostov-on-Don, Russia, 21–26 June 2010 (ภาษาอังกฤษ). 284: 45–52. Bibcode:2013QuInt.284...45E. doi:10.1016/j.quaint.2011.12.024. ISSN 1040-6182.
- ↑ "Lake Baikal – World Heritage Site". World Heritage. สืบค้นเมื่อ 13 January 2007.
อ่านเพิ่ม
แก้- Detlev Henschel, Kayak Adventure in Siberia: The first solo circumnavigation of Lake Baikal. Amazon ISBN 978-3737561020
- Colin Thubron (2000), In Siberia, ISBN 978-0060953737, Harper Perennial.
- Leonid Borodin (1988), Year of Miracle And Grief, Quartet Books ISBN 978-0704300866
- Martin Cruz Smith (2019), Siberian Dilemma, Simon & Schuster ISBN 9781439140253
- Baynes, T. S., บ.ก. (1878). Encyclopædia Britannica. Vol. III (9th ed.). New York: Charles Scribner's Sons. p. 241. .
- . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 3 (11 ed.). 1911. pp. 215–216.