เกรตเลกส์
เกรตเลกส์ (อังกฤษ: Great Lakes) เป็นชื่อเรียกทะเลสาบทั้ง 5 ได้แก่ สุพีเรีย มิชิแกน ฮูรอน อิรี และออนแทรีโอ เป็นกลุ่มของทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[1][2] บางครั้งชาวอเมริกันให้ฉายาว่าเป็น "ชายหาดที่สาม" เนื่องจากอาณาบริเวณที่กว้างขวาง ลักษณะระบบนิเวศ ชายหาดและพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ทะเลในแผ่นดิน" เพราะปริมาณน้ำจืดในทะเลสาบทั้ง 5 คิดเป็น 20 % ของปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่บนโลก

ในทางภูมิศาสตร์เส้นแบ่งประเทศของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาลากผ่านกลุ่มทะเลสาบเหล่านี้ มีเพียงทะเลสาบเดียวที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาคือทะเลสาบมิชิแกน บริเวณนี้เป็นแหล่งแร่เหล็กที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทะเลสาบซุพีเรีย
ภูมิศาสตร์ แก้
บริเวณเกรตเลกส์มิได้มีเฉพาะทะเลสาบใหญ่ทั้ง 5 เท่านั้น แต่ยังมีทะเลสาบและแม่น้ำอีกจำนวนมาก อีกทั้งยังมีเกาะอีกกว่า 35,000 เกาะ
เกรตเลกส์ แก้
ทะเลสาบอิรี | ทะเลสาบฮูรอน | ทะเลสาบมิชิแกน | ทะเลสาบออนแทรีโอ | ทะเลสาบซุพีเรีย | |
---|---|---|---|---|---|
ขนาดพื้นที่ | 25,700 ตารางกิโลเมตร | 59,600 ตารางกิโลเมตร | 58,000 ตารางกิโลเมตร | 19,500 ตารางกิโลเมตร | 82,400 ตารางกิโลเมตร |
ปริมาณน้ำ | 480 ลูกบาศก์กิโลเมตร | 3,540 ลูกบาศก์กิโลเมตร | 4,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร | 1,640 ลูกบาศก์กิโลเมตร | 12,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร |
ความสูงพื้นดิน[3] | 174 เมตร | 176 เมตร | 176 เมตร | 75 เมตร | 186 เมตร |
ความลึกเฉลี่ย[4] | 19 เมตร | 59 เมตร | 85 เมตร | 86 เมตร | 147 เมตร |
ความลึกสูงสุด | 64 เมตร | 230 เมตร | 281 เมตร | 246 เมตร | 406 เมตร |
เมืองใกล้เคียง | บัฟฟาโล, นิวยอร์ก คลีฟแลนด์, โอไฮโอ เอรี, เพนซิลเวเนีย โตเลโด, โอไฮโอ |
ซาร์เนีย, ออนแทรีโอ โอเวนซาวน์ด, ออนแทรีโอ พอร์ตฮูรอน, มิชิแกน เบย์ซิตี, มิชิแกน |
ชิคาโก, อิลลินอย แกรี, อิลลินอย กรีนเบย์, วิสคอนซิน มิลวอกี, วิสคอนซิน เทวเวอร์สซิตี, มิชิแกน แกรนด์ฮาเวน, มิชิแกน |
แฮมิลตัน, ออนแทรีโอ คิงส์ตัน, ออนแทรีโอ ออสฮาวา, ออนแทรีโอ โรเชสเตอร์, นิวยอร์ก โทรอนโต, ออนแทรีโอ มิสซิสซอกา, ออนแทรีโอ |
ดูลูธ, มินนิโซตา ซอลต์สตรีทมารี, ออนแทรีโอ ธันเดอร์เบย์, ออนแทรีโอ แมร์เกตต์, มิชิแกน |
ทะเลสาบมิชิแกน - ฮูรอน แก้
ทะเลสาบมิชิแกนและทะเลสาบฮูรอนมีผืนน้ำติดใหลถึงกันทำให้ทะเลสาบทั้งสองนี้บางครั้งเรียกว่า ทะเลสาบมิชิแกน - ฮูรอน ความสูงผิวน้ำของทั้งสองทะเลสาบนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คือ 176[5] เมตร และไม่ได้เชื่อมต่อกันด้วยแม่น้ำ แต่เชื่อมต่อกันด้วยช่องแคบแมคคิแนค[6]
แม่น้ำ แก้
- แม่น้ำเซนต์แมรี เชื่อมระหว่างทะเลสาบสุพีเรียกับทะเลสาบฮูรอน
- แม่น้ำเซนต์แคลร์ เชื่อมระหว่างทะเลสาบฮูรอนกับทะเลสาบเซนต์แคลร์
- แม่น้ำดีทรอยต์ เชื่อมระหว่างทะเลสาบเซนต์แคลร์กับทะเลสาบอิรี
- แม่น้ำไนแอการา รวมทั้งน้ำตกไนแอการา เชื่อมระหว่างทะเลสาบอิรีกับทะเลสาบออนแทรีโอ
- แม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ เชื่อมระหว่างทะเลสาบออนแทรีโอกับอ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์และมหาสมุทรแอตแลนติก
อ้างอิง แก้
- ↑ "LUHNA Chapter 6: Historical Landcover Changes in the Great Lakes Region". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
- ↑ Ghassemi, Fereidoun (2007). Inter-basin water transfer. Cambridge, Cambridge University Press, 264. ISBN 0-52-186969-2.
- ↑ "Great Lakes Atlas: Factsheet #1". United States Environmental Protection Agency. March, 9th, 2006 สืบค้นเมื่อ 2007-12-03
- ↑ Grady, Wayne (2007). The Great Lakes. Vancouver: Greystone Books and David Suzuki Foundation. ISBN 978-1-55365-197-0.
- ↑ Wright, John W. (2006). reporters of The New York Times (บ.ก.). The New York Times Almanac (2007 ed.). New York, New York: Penguin Books. p. 64. ISBN 0-14-303820-6.
- ↑ Grady, Wayne (2007). The Great Lakes. Vancouver: Greystone Books and David Suzuki Foundation. ISBN 978-1-55365-197-0.