ดาวเทียม
ดาวเทียม (อังกฤษ: satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น เป็นสิ่งที่สามารถโคจรรอบโลกโดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่น ๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว กาแล็กซี ต่าง ๆ[1][2]
ประวัติ
แก้ดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 ดาวเทียมดังกล่าวมีชื่อว่า "สปุตนิก (Sputnik)" โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งขึ้นไปโคจร สปุตนิกทำหน้าที่ตรวจสอบการแผ่รังสีของชั้นบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟีย ในปี พ.ศ. 2501 สหรัฐได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบ้างมีชื่อว่า "Explorer" ทำให้รัสเซียและสหรัฐเป็น 2 ประเทศผู้นำทางด้านการสำรวจทางอวกาศ และการแข่งขันกันระหว่างทั้งคู่ได้เริ่มขึ้นในเวลาต่อมา
ส่วนประกอบดาวเทียม
แก้ดาวเทียมเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน มีส่วนประกอบหลาย ๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกันและสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ สามารถโคจรรอบโลกด้วยความเร็วที่สูงพอที่จะหนีจากแรงดึงดูดของโลกได้ การสร้างดาวเทียมนั้นมีความพยายามออกแบบให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากที่สุด และราคาไม่แพงมาก ดาวเทียมประกอบด้วยส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก แต่ละส่วนจะมีระบบควบคุมการทำงานแยกย่อยกันไป และมีอุปกรณ์เพื่อควบคุมให้ระบบต่าง ๆ ทำงานร่วมกัน โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่ของดาวเทียมประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
- โครงสร้างดาวเทียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก โครงจะมีน้ำหนักประมาณ 15 - 25% ของน้ำหนักรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และต้องไม่เกิดการสั่นมากเกินที่กำหนด หากได้รับสัญญาณที่มีความถี่ หรือความสูงของคลื่นมาก ๆ (amptitude)
- ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า "aerospike" อาศัยหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องอัดอากาศ และปล่อยออกทางปลายท่อ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ดีในสภาพสุญญากาศ ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของดาวเทียมด้วย
- ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน และกักเก็บไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังระบบไฟฟ้าของดาวเทียม โดยมีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดาวเทียม แต่ในบางกรณีอาจใช้พลังงานนิวเคลียร์แทน
- ระบบควบคุมและบังคับ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่เก็บรวมรวมข้อมูล และประมวลผลคำสั่งต่าง ๆ ที่ได้รับจากส่วนควบคุมบนโลก โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
- ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ซึ่งจะทำงาน โดยแผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ
- อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง เพื่อรักษาระดับความสูงให้สัมพันธ์กันระหว่างพื้นโลก และดวงอาทิตย์ หรือเพื่อรักษาระดับให้ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้
- เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีส่วนย่อย ๆ อีกบางส่วนที่จะทำงานหลังจาก ได้รับการกระตุ้นบางอย่าง เช่น ทำงานเมื่อได้รับสัญญาณ สะท้อนจากวัตถุบางชนิด หรือทำงานเมื่อได้รับลำแสงรังสี ฯลฯ
ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของดาวเทียมได้ถูกทดสอบอย่างละเอียด ส่วนประกอบต่าง ๆ ถูกออกแบบสร้าง และทดสอบใช้งานอย่างอิสระ ส่วนต่าง ๆ ได้ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน และทดสอบอย่างละเอียดครั้งภายใต้สภาวะที่เสมือนอยู่ในอวกาศก่อนที่มัน จะถูกปล่อยขึ้นไปในวงโคจร ดาวเทียมจำนวนไม่น้อยที่ต้องนำมาปรับปรุงอีกเล็กน้อย ก่อนที่พวกมันจะสามารถทำงานได้ เพราะว่าหากปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแล้ว เราจะไม่สามารถปรับปรุงอะไรได้ และดาวเทียมต้องทำงานอีกเป็นระยะเวลานาน ดาวเทียมส่วนมากจะถูกนำขึ้นไปพร้อมกันกับจรวด ซึ่งตัวจรวดจะตกลงสู่มหาสมุทรหลังจากที่เชื้อเพลิงหมด
วงโคจรของดาวเทียม
แก้วงโคจรดาวเทียม (Satellite Orbit) เมื่อแบ่งตามระยะความสูง (Altitude) จากพื้นโลกแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
วงโคจรต่ำของโลก (Low Earth Orbit "LEO")
แก้คือระยะสูงจากพื้นโลกไม่เกิน 2,000 กม. ใช้ในการสังเกตการณ์ สำรวจสภาวะแวดล้อม, ถ่ายภาพ ไม่สามารถใช้งานครอบคลุมบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้ตลอดเวลา เพราะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูง แต่จะสามารถบันทึกภาพคลุมพื้นที่ตามเส้นทางวงโคจรที่ผ่านไป ตามที่สถานีภาคพื้นดินจะกำหนดเส้นทางโคจรอยู่ในแนวขั้วโลก (Polar Orbit) ดาวเทียมวงโคจรระยะต่ำขนาดใหญ่บางดวงสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลาค่ำ หรือก่อนสว่าง เพราะดาวเทียมจะสว่างเป็นจุดเล็ก ๆ เคลื่อนที่ผ่านในแนวนอนอย่างรวดเร็ว
วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit "MEO")
แก้อยู่ที่ระยะความสูงตั้งแต่ 5000-15,000 กม. ขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้ในด้านอุตุนิยมวิทยา และสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารเฉพาะพื้นที่ได้ แต่หากจะติดต่อให้ครอบคลุมทั่วโลกจะต้องใช้ดาวเทียมหลายดวงในการส่งผ่าน...
วงโคจรประจำที่ (Geosynchronous Earth Orbit "GEO")
แก้เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ อยู่สูงจากพื้นโลก 35,786 กม. เส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) ดาวเทียมจะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองทำให้ดูเหมือนลอยนิ่งอยู่เหนือ จุดจุดหนึ่งบนโลกตลอดเวลา (เรียกทั่ว ๆ ไปว่า "ดาวเทียมค้างฟ้า")
ดาวเทียมจะอยู่กับที่เมื่อเทียบกับโลกมีวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกันกับเส้นศูนย์สูตร อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,768 กม. วงโคจรพิเศษนี้เรียกว่า “วงโคจรค้างฟ้า” หรือ “วงโคจรคลาร์ก” (Clarke Belt) เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ผู้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวงโคจรนี้ เมื่อ เดือนตุลาคม ค.ศ. 1945
วงโคจรคลาร์ก เป็นวงโคจรในระนาบเส้นศูนย์สูตร (EQUATOR) ที่มีความสูงเป็นระยะที่ทำให้ดาวเทียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากันกับการหมุนของโลก แล้วทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางมีค่าพอดีกับค่าแรงดึงดูดของโลกพอดีเป็นผลให้ดาวเทียมดูเหมือนคงอยู่กับที่ ณ ระดับความสูงนี้ ดาวเทียมค้างฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศและภายในประเทศ เช่น ดาวเทียมอนุกรม อินเทลแซต ฯลฯ
ประเภทของดาวเทียม
แก้- ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาและทางการโทรคมนาคม จะถูกส่งไปในช่วงของอวกาศเข้าสู่วงโคจรโดยมีความห่างจากพื้นโลกประมาณ 35.786. กิโลเมตร
- ดาวเทียมสำรวจ เป็นการใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม โดยการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะใช้หลักการ สำรวจข้อมูลจากระยะไกล
- ดาวเทียมพยากรณ์อากาศ เป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำทีมีวงโคจรแบบใกล้ขั้วโลก ที่ระยะสูงประมาณ 800 กิโลเมตร จึงไม่มีรายละเอียดสูงเท่าภาพถ่ายที่ได้จากดาวเทียมทำแผนที่
- ดาวเทียมทางการทหาร คือดาวเทียมที่แต่ละประเทศมีไว้เพื่อสอดแนมศัตรูหรือข้าศึก
- ดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์
- ดาวเทียมทำแผนที่ เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรต่ำ (LEO) ที่ระดับความสูงไม่เกิน 800 กิโลเมตร เพื่อให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดสูง
- ดาวเทียมเพื่อการนำร่อง เป็นระบบบอกตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์พื้นโลก ซึ่งประกอบด้วยเครือข่าวดาวเทียมจำนวน 32 ดวง
- ดาวเทียมโทรคมนาคม
- ดาวเทียมภารกิจพิเศษ
การทำงานของดาวเทียม
แก้ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปลอยอยู่ในตำแหน่ง วงโคจรค้างฟ้า ซึ่งมีระยะห่างจากพื้นโลกประมาณ 36000 - 38000 กิโลเมตร และโคจรตามการหมุนของโลก เมื่อเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นโลกจะเสมือนว่าดาวเทียมลอยนิ่งอยู่บนท้องฟ้า และดาวเทียมจะมีระบบเชื้อเพลิงเพื่อควบคุมตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งองศาที่ได้สัปทานเอาไว้ กับหน่วยงานที่ดูแลเรื่องตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียมคือ IFRB (International Frequency Registration Board) ดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า จะทำหน้าที่เหมือนสถานีทวนสัญญาณ คือจะรับสัญญาณที่ยิงขึ้นมาจากสถานีภาคพื้นดิน เรียกสัญญาณนี้ว่าสัญญาณขาขึ้นหรือ (Uplink) รับและขยายสัญญาณพร้อมทั้งแปลงสัญญาณให้มีความถี่ต่ำลงเพื่อป้องกันการรบกวนกันระหว่างสัญญาณขาขึ้นและส่งลงมา โดยมีจานสายอากาศทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณ ส่วนสัญญาณในขาลงเรียกว่า (Downlink)[3]
วงโคจรของดาวเทียม(Satellite orbit) ดาวเทียมเคลื่อนทีเป็นวงรอบโลก เรียกว่า"วงโคจร"สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้ 1. วงโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun-synchronous orbit) เป็นวงโคจรในแนวเหนือ-ใต้และผ่านแนวละติจูดหนึ่งๆที่เวลาท้องถิ่นเดียวกันซึ้งส่วนใหญ่เป็นวงโคจรสำหรับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท
- วงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar orbit)
- วงโคจรเอียง (Inclined orbit)
2. วงโคจรระนาบศูนย์กลาง (Equtorial orbit) เป็นวงโคจรในแนวระนาบ มีลักษณะการโคจรเป็นรูปวงกลม โคจรในแนวระนาบกับเส้นผ่านศูนย์สูต
ประเทศที่ยิงดาวเทียม
แก้อันดับ | ประเทศ | วันที่ปล่อย | ดาวเทียม | จรวด | จุดปล่อย |
---|---|---|---|---|---|
1 | สหภาพโซเวียต | 4 ตุลาคม 1957 | ดาวเทียมสปุตนิก 1 | Sputnik-PS | บัยโกเงอร์, สหภาพโซเวียต (คาซัคสถานปัจจุบัน) |
2 | สหรัฐ | 1 กุมภาพันธ์ 1958 | ดาวเทียมเอ็กซ์พลอเรอ 1 | Juno I | แหลมคานาเวอรัล, สหรัฐ |
3 | ฝรั่งเศส | 26 พฤศจิกายน 1965 | Astérix 1 | Diamant A | CIEES/Hammaguir, แอลจีเรีย |
4 | ญี่ปุ่น | 11 กุมภาพันธ์ 1970 | ดาวเทียมโอซุมิ | Lambda-4S | อุชิโนอุระ, ญี่ปุ่น |
5 | จีน | 24 เมษายน 1970 | ดาวเทียมตงฟังหง 1 | Long March 1 | จิ่วเฉฺวียน, จีน |
6 | สหราชอาณาจักร | 28 ตุลาคม 1971 | Prospero | Black Arrow | วูเมอรา, ออสเตรเลีย |
- | องค์การอวกาศยุโรป | 24 ธันวาคม 1979 | แคท-1 | Ariane 1 | คูรู, เฟรนช์เกียนา |
7 | อินเดีย | 18 กรกฎาคม 1980 | ดาวเทียมโรหิณี 1 | SLV | ศรีหริโคตา, อินเดีย |
8 | อิสราเอล | 19 กันยายน 1988 | ดาวเทียมโอเฟก 1 | Shavit | พัลมาชิม, อิสราเอล |
9 | รัสเซีย | 21 มกราคม 1992 | ดาวเทียมคอสมอส 2175 | Soyuz-U | เพลเชสค, รัสเซีย |
10 | ยูเครน | 13 กรกฎาคม 1992 | Strela | Tsyklon-3 | เพลเชสค, รัสเซีย |
11 | อิหร่าน | 2 กุมภาพันธ์ 2009 | ดาวเทียมโอมิด | Safir-1A | เซมนาน, อิหร่าน |
12 | เกาหลีเหนือ | 12 ธันวาคม 2012 | ดาวเทียมกวางเมียงซอง-3 เวอร์ชันที่ 2 | Unha-3 | โซแฮ, เกาหลีเหนือ |
13 | เกาหลีใต้ | 30 มกราคม 2013 | Naro-1 | STSAT-2C | นาโร, เกาหลีใต้ |
14 | นิวซีแลนด์ | 12 พฤศจิกายน 2018 | CubeSat | Electron | Mahia Peninsula, นิวซีแลนด์ |
ดาวเทียมดวงแรกของแต่ละประเทศ
แก้ประเทศ | ปีที่ปล่อย | ดาวเทียมดวงแรก |
---|---|---|
สหภาพโซเวียต ( รัสเซีย) |
1957 (1992) |
ดาวเทียมสปุตนิก 1 (ดาวเทียมคอสมอส 2175) |
สหรัฐ | 1958 | ดาวเทียมเอ็กซ์พลอเรอ 1 |
สหราชอาณาจักร | 1962 | Ariel 1 |
แคนาดา | 1962 | Alouette 1 |
อิตาลี | 1964 | San Marco 1 |
ฝรั่งเศส | 1965 | Astérix 1 |
ออสเตรเลีย | 1967 | WRESAT |
เยอรมนี | 1969 | Azur |
ญี่ปุ่น | 1970 | ดาวเทียมโอซุมิ |
จีน | 1970 | ดาวเทียมตงฟังหง 1 |
เนเธอร์แลนด์ | 1974 | ANS |
สเปน | 1974 | Intasat |
อินเดีย | 1975 | Aryabhata |
อินโดนีเซีย | 1976 | Palapa A1 |
เชโกสโลวาเกีย | 1978 | Magion 1 |
บัลแกเรีย | 1981 | Intercosmos Bulgaria 1300 |
ซาอุดีอาระเบีย | 1985 | Arabsat-1A |
บราซิล | 1985 | Brasilsat A1 |
เม็กซิโก | 1985 | Morelos 1 |
สวีเดน | 1986 | Viking |
อิสราเอล | 1988 | ดาวเทียมโอเฟก 1 |
ลักเซมเบิร์ก | 1988 | Astra 1A |
อาร์เจนตินา | 1990 | Lusat |
ฮ่องกง | 1990 | AsiaSat 1 |
ปากีสถาน | 1990 | Badr-1 |
เกาหลีใต้ | 1992 | Kitsat A |
โปรตุเกส | 1993 | PoSAT-1 |
ไทย | 1993 | ไทยคม 1 |
ตุรกี | 1994 | Turksat 1B |
เช็กเกีย | 1995 | Magion 4 |
ยูเครน | 1995 | Sich-1 |
มาเลเซีย | 1996 | MEASAT |
นอร์เวย์ | 1997 | Thor 2 |
ฟิลิปปินส์ | 1997 | Mabuhay 1 |
อียิปต์ | 1998 | Nilesat 101 |
ชิลี | 1998 | FASat-Bravo |
สิงคโปร์ | 1998 | ST-1 |
ไต้หวัน | 1999 | ROCSAT-1 |
เดนมาร์ก | 1999 | Ørsted |
แอฟริกาใต้ | 1999 | SUNSAT |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 2000 | Thuraya 1 |
โมร็อกโก | 2001 | Maroc-Tubsat |
เบลเยียม | 2001 | PROBA-1 |
ตองงา[4] | 2002 | Esiafi 1 (former Comstar D4) |
แอลจีเรีย | 2002 | Alsat 1 |
กรีซ | 2003 | Hellas Sat 2 |
ไซปรัส | 2003 | Hellas Sat 2 |
ไนจีเรีย | 2003 | Nigeriasat 1 |
อิหร่าน | 2005 | Sina-1 |
คาซัคสถาน | 2006 | KazSat 1 |
โคลอมเบีย | 2007 | Libertad 1 |
มอริเชียส | 2007 | Rascom-QAF 1 |
เวียดนาม | 2008 | Vinasat-1 |
เวเนซุเอลา | 2008 | Venesat-1 |
สวิตเซอร์แลนด์ | 2009 | SwissCube-1 |
ไอล์ออฟแมน | 2011 | ViaSat-1 |
โปแลนด์ | 2012 | PW-Sat-1 |
ฮังการี | 2012 | MaSat-1 |
โรมาเนีย | 2012 | Goliat |
เบลารุส | 2012 | BelKA-2 |
เกาหลีเหนือ | 2012 | ดาวเทียมกวางเมียงซอง-3 เวอร์ชันที่ 2 |
อาเซอร์ไบจาน | 2013 | Azerspace |
ออสเตรีย | 2013 | TUGSAT-1 |
เบอร์มิวดา[5] | 2013 | Bermudasat 1 (former EchoStar VI) |
เอกวาดอร์ | 2013 | NEE-01 Pegaso |
เอสโตเนีย | 2013 | ESTCube-1 |
เจอร์ซีย์ | 2013 | O3b-1 |
กาตาร์ | 2013 | Es'hailSat1 |
เปรู | 2013 | PUCPSAT-1 |
โบลิเวีย | 2013 | TKSat-1 |
ลิทัวเนีย | 2014 | LituanicaSAT-1 และ LitSat-1 |
อุรุกวัย | 2014 | Antelsat |
อิรัก | 2014 | Tigrisat |
เติร์กเมนิสถาน | 2015 | TurkmenAlem52E/MonacoSAT |
ลาว | 2015 | Lao Sat-1[6] |
ฟินแลนด์ | 2017 | Aalto-2 |
บังกลาเทศ | 2017 | BRAC Onnesha และ Bangabandhu-1 |
กานา | 2017 | GhanaSat-1[7] |
มองโกเลีย | 2017 | Mazaalai |
ลัตเวีย | 2017 | Venta-1 |
สโลวาเกีย | 2017 | skCUBE |
Asgardia | 2017 | Asgardia-1 |
แองโกลา | 2017 | AngoSat 1 |
นิวซีแลนด์ | 2018 | Humanity Star |
คอสตาริกา | 2018 | Proyecto Irazú |
เคนยา | 2018 | 1KUNS-PF |
ภูฏาน | 2018 | CubeSat Bhutan-1[8] |
จอร์แดน | 2018 | JY1-SAT |
เนปาล | 2019 | NepaliSat-1 |
ศรีลังกา | 2019 | Raavana 1 |
รวันดา | 2019 | RWASAT-1 |
ซูดาน | 2019 | Sudan Remote Sensing Satellite 1 (SRSS-1) |
เอธิโอเปีย | 2019 | Ethiopian Remote Sensing Satellite 1 (ETRSS-1) |
กัวเตมาลา | 2020 | Quetzal-1 |
สโลวีเนีย | 2020 | TRISAT, NEMO-HD |
โมนาโก | 2020 | OSM-1 Cicero |
ปารากวัย | 2021 | GuaraniSat-1 |
พม่า | 2021 | Myanmar Satellite-1 |
มอลโดวา | 2021 | TUMnanoSAT |
ตูนิเซีย | 2021 | Challenge-1 |
คูเวต | 2021 | QMR-KWT |
บาห์เรน | 2021 | Light-1 |
อาร์มีเนีย | 2022 | ARMSAT_1 |
มอลโดวา | 2022 | TUMnanoSAT |
ยูกันดา | 2022 | PearlAfricaSat-1 |
ซิมบับเว | 2022 | ZIMSAT-1 |
แอลเบเนีย | 2023 | Albania 1, 2 |
นครรัฐวาติกัน | 2023 | SpeiSat |
การทำลายดาวเทียม
แก้ประเทศที่ยิงขีปนาวุธทำลายดาวเทียมได้สำเร็จ คือ สหรัฐ (ค.ศ. 1959), รัสเซีย (ค.ศ. 1964 โดยอดีตสหภาพโซเวียต), จีน (ค.ศ. 2007), อินเดีย (ค.ศ. 2019)[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
แก้- ↑ Wragg, David W. (1973). A Dictionary of Aviation (first ed.). Osprey. p. 234. ISBN 9780850451634.
- ↑ http://53010512079g19.blogspot.com/2012/01/blog-post_5930.html
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 2014-10-16.
- ↑ Esiafi 1 (former private American Comstar D4) satellite was transferred to Tonga being at orbit after launch in 1981
- ↑ Bermudasat 1 (former private American EchoStar VI) satellite was transferred to Bermuda being at orbit after launch in 2000
- ↑ http://www.komchadluek.net/detail/20151119/217151.html
- ↑ "Ghana launches its first satellite into space". BBC News (ภาษาอังกฤษ). BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2017. สืบค้นเมื่อ 8 July 2017.
- ↑ http://www.bbs.bt/news/?p=98870
http://www.lesa.biz/space-technology/satellite/types-of-satellites เก็บถาวร 2017-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน