ประเทศคูเวต

(เปลี่ยนทางจาก คูเวต)

คูเวต (อาหรับ: الكويت) หรือชื่อทางการคือ รัฐคูเวต (อาหรับ: دولة الكويت) เป็นประเทศปกครองโดยเจ้าผู้ครองรัฐคูเวตที่มีขนาดเล็กและอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศอิรัก คูเวตมีความยาวชายฝั่งประมาณ ประมาณ 500 กม. (311 ไมล์) ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมืองซึ่งรวมตัวกันกลายเป็นเมืองหลวง และเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศในชื่อคูเวตซิตี ใน ค.ศ. 2023 คูเวตมีประชากรราว 4.8 ล้านคน ทว่ามีเพียง 1.5 ล้านคนที่ถือสัญชาติคูเวต ในขณะที่ประชากรที่เหลือจำนวน 3.29 ล้านคนเป็นชาวต่างชาติซึ่งเป็นผู้พลิดถิ่นมาจากประเทศต่าง ๆ มากถึง 100 ประเทศ[7]

รัฐคูเวต

دولة الكويت (อาหรับ)
ที่ตั้งของ ประเทศคูเวต  (สีเขียว)
ที่ตั้งของ ประเทศคูเวต  (สีเขียว)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
คูเวตซิตี
29°22′N 47°58′E / 29.367°N 47.967°E / 29.367; 47.967
ภาษาราชการภาษาอาหรับ[1]
กลุ่มชาติพันธุ์
  • 57.65% อาหรับ
  • 40.42% เอเชีย
  • 1.02% แอฟริกา
  • 0.39% ยุโรป
  • 0.52% อื่น ๆ
[2]
ศาสนา
74.36% อิสลาม (ทางการ)

18.17% คริสต์

7.47% อื่น ๆ
เดมะนิมชาวคูเวต
การปกครองรัฐเดี่ยว กึ่งราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแบบรัฐสภา[3]
มิชาล อัล-อะหมัด อัล-จาเบอร์ อัล-ซาบาห์
มุฮัมมัด เศาะบาห์ อัสซาลิม อัศเศาะบาห์
มัรซูก อะลี อัลฆอนิม
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
การก่อตั้ง
ค.ศ. 1613
• ได้รับเอกราชจากเชคแห่งคูเวต
ค.ศ. 1752
23 มกราคม ค.ศ. 1899
29 กรกฎาคม ค.ศ. 1913
• สิ้นสุดสนธิสัญญากับสหราชอาณาจักร
19 มิถุนายน ค.ศ. 1961
14 พฤษภาคม ค.ศ. 1963
• วันชาติคูเวต
25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1961
• วันปลดปล่อยคูเวต
26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991
พื้นที่
• รวม
17,818 ตารางกิโลเมตร (6,880 ตารางไมล์) (อันดับที่ 152)
น้อยมาก
ประชากร
• ค.ศ. 2019 ประมาณ
ลดลงเป็นกลาง 4,420,110[2] (อันดับที่ 127)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2005
2,213,403[4]
200.2 ต่อตารางกิโลเมตร (518.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 61)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
303 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 57)
ลดลง 67,891 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 8)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
118.271 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 57)
28,199 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 23)
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)ลดลง 0.806[6]
สูงมาก · อันดับที่ 64
สกุลเงินดีนาร์คูเวต (KWD)
เขตเวลาUTC+3 (AST)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป (CE)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+965
โดเมนบนสุด.kw
เว็บไซต์
www.e.gov.kw
  1. Nominal succession within the House of Sabah.
  2. Emirate

พื้นที่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันของคูเวตเคยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเมโสโปเตเมีย[8] ก่อนจะมีการค้นพบน้ำมัน คูเวตถือเป็นหนึ่งในท่าเรือที่สำคัญในภูมิภาค น้ำมันสำรองถูกพบครั้งแรกใน ค.ศ. 1938 และเริ่มมีการส่งออกน้ำมันดิบเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1946 ประเทศคูเวตได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1946–1982 ส่งผลให้มีความเจริญและทันสมัยยิ่งขึ้น เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยมีรายได้หลักมาจากการผลิตและส่งออกน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1980 คูเวตต้องประสบกับช่วงเวลาของความไม่มั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ และวิกฤตเศรษฐกิจภายหลังการล่มของตลาดหุ้น ต่อมาใน ค.ศ. 1990 คุูเวตต้องเผชิญข้อพิพาทในด้านการผลิตน้ำมันกับประเทศเพื่อนบ้าน นำไปสู่การบุกครองโดยอิรักและดินแดนส่วนหนึ่งถูกผนวกเข้าเป็นหนึ่งในเขตการปกครองของอิรักภายใต้ซัดดัม ฮุสเซนเป็นเวลาเจ็ดเดือน ก่อนที่การยึดครองโดยอิรักจะสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 จากการแทรกแซงทางการทหารนำโดยสหรัฐ และประเทศชั้นนำอื่น ๆ

คูเวตมีสถานะเป็นเอมิเรตเช่นเดียวกับรัฐอาหรับอื่น ๆ ในอ่าวเปอร์เซีย เจ้าผู้ครองรัฐคูเวตมีฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐโดยตระกูลอัลซาบาห์เป็นตระกูลผู้ปกครองที่มีอิทธิพลต่อสังคม และครอบงำระบบการเมืองของประเทศ ศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลาม คูเวตเป็นประเทศกำลังพัฒนาพร้อมด้วยระบบเศรษฐกิจที่มั่นคงและรายได้ต่อหัวสูง โดยมีแหล่งน้ำมันสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลก วัฒนธรรมประชานิยมของประเทศปรากฎให้เห็นในรูปแบบละคร, วิทยุ ดนตรี และโทรทัศน์ คูเวตเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ และเป็นสมาชิกสหประชาชาติ, สันนิบาตอาหรับ, โอเปก และ องค์การความร่วมมืออิสลาม

ประวัติศาสตร์

แก้

ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของคูเวตเริ่มต้นจากการสร้างเมืองคูเวตในศตวรรษที่ 18 โดยชนเผ่า Uteiba ซึ่งเร่ร่อนมาจากทางเหนือของกาตาร์ ในระหว่างศตวรรษที่ 19 คูเวตพยายามที่จะขอความช่วยเหลือจากอังกฤษเพื่อให้พ้นจากการยึดครองของพวกเติร์กและกลุ่มต่าง ๆ ที่เรืองอำนาจในคาบสมุทรอาระเบีย ในปี 2442 Sheikh Mubarak Al Sabah ได้ลงนามในข้อตกลงกับอังกฤษว่า ตนและผู้สืบทอดอำนาจจะไม่ยอมให้ดินแดนและต้อนรับผู้แทนของต่างประเทศใด ๆ โดยไม่ได้ความยินยอมจากอังกฤษเสียก่อน ส่วนอังกฤษก็ได้ตกลงที่จะให้เงินช่วยเหลือประจำปีแก่ Sheikh Mubarak และทายาทและให้ความคุ้มครองคูเวต โดยอังกฤษได้ดูแลกิจการด้านการต่างประเทศและความมั่นคงให้กับคูเวต

ในช่วงต้นปี 2504 อังกฤษได้ถอนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตสำหรับตัดสินคดีของชาวต่างชาติในคูเวตออกไป และรัฐบาลคูเวตได้เริ่มการใช้กฎหมายของตนเองซึ่งยกร่างโดยนักกฎหมายชาวอียิปต์ คูเวตได้รับอิสรภาพสมบูรณ์เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ภายหลังการแลกเปลี่ยนหนังสือ (exchange of notes) กับอังกฤษมีการกำหนดเขตแดนระหว่างคูเวตกับซาอุดีอาระเบียในปี 2535 โดยสนธิสัญญา Uqair หลังจากการสู้รบที่เมือง Jahrah สนธิสัญญานี้ยังได้กำหนดเขตเป็นกลางระหว่างคูเวตและซาอุดีอาระเบีย (Kuwaiti – Saudi Arabia Neutral Zone) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร ติดกับเขตแดนทางใต้ของคูเวต ในเดือนธันวาคม 2512 คูเวตและซาอุดีอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงแบ่งเขตเป็นกลาง (ปัจจุบันเรียกว่า Divided Zone) และปักปันเส้นเขตแดนระหว่างประเทศใหม่ โดยทั้งสองประเทศได้แบ่งน้ำมันทั้งนอกฝั่งและบนฝั่งในเขต Divided Zone อย่างเท่าเทียมกัน ในปี 2533-2534 เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย อิรักได้ยึดครองคูเวตทั้งหมดภายใน 3 วัน สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรจึงร่วมกันปลดปล่อยคูเวตออกจากยึดครองของอิรัก จนกระทั่งคูเวตได้อิสระจนถึงปัจจุบัน

 
แผนที่คูเวต

การเมือง

แก้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
แผนที่เขตการปกครองของคูเวต

ประเทศคูเวตแบ่งออกเป็น 6 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah) ได้แก่

 
พายุทรายเหนือประเทศคูเวต เมษายน 2003

ภูมิศาสตร์

แก้

คูเวตมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 29 - 30องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 47 - 48องศาตะวันออก คูเวตมีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 17,818 ตารางกิโลเมตร คูเวตเป็นประเทศขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณก้นอ่าวเปอร์เซีย

 
คูเวตซิตี เศรษฐกิจหลักของคูเวต

เศรษฐกิจ

แก้

คูเวตเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและร่ำรวยจากการขายน้ำมัน รายได้ของรัฐส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับน้ำมันและอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นหลัก (คูเวตมีปริมาณน้ำมันสำรองมากถึงร้อยละ 10 ของปริมาณน้ำมันสำรองโลก)

ประชากร

แก้

ประชากร ประมาณ 2 ล้านคน (2000) เป็นชาวคูเวต 45% ชาวอาหรับอื่น ๆ 35% เอเชียใต้ 9% อิหร่าน 4%

วัฒนธรรม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Kuwait's Constitution of 1962, Reinstated in 1992" (PDF). Constitute Project. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  2. 2.0 2.1 "Nationality by Religion in Kuwait 2018". Statistic PACI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2014. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
  3. "Kuwait". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 10 April 2015.
  4. "الإدارة المركزية للإحصاء - الإحصاءات و النشرات". www.csb.gov.kw.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "IMF Report for Selected Countries and Subjects : Kuwait". International Monetary Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2018. สืบค้นเมื่อ 1 April 2017.
  6. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  7. Jabr, Ahmad (2024-02-22). "Expats still make up two thirds of population as some communities grow". kuwaittimes (ภาษาอังกฤษ).
  8. Pryke, Louise (2018-04-22). "In ancient Mesopotamia, sex among the gods shook heaven and earth". The Conversation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้