รัฐเดี่ยว (อังกฤษ: unitary state) เป็นรัฐซึ่งปกครองเป็นหน่วยเดี่ยว โดยมีรัฐบาลกลางมีอำนาจสูงสุด รัฐบาลกลางอาจสร้าง (หรือยุบ) เขตบริหาร (หน่วยงานบริหารระดับย่อยของรัฐ) ได้[1] หน่วยงานระดับย่อยสามารถใช้อำนาจได้เฉพาะตามที่รัฐบาลกลางเลือกจะมอบหมายให้ทำการแทนเท่านั้น

แผนที่แสดงประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว
  รัฐเดี่ยว

รัฐเดี่ยวตรงข้ามกับรัฐรวม (หรือสหพันธรัฐ) รัฐจำนวนมากในโลก (รัฐสมาชิกสหประชาชาติ 166 จาก 193 ประเทศ) มีรูปแบบรัฐเป็นรัฐเดี่ยว[2]

คำอธิบาย

แก้

ในรัฐเดี่ยว รัฐบาลกลางอาจจัดตั้งหรือยุบหน่วยงานบริหารระดับย่อยของรัฐ และอำนาจของหน่วยงานเหล่านี้อาจถูกขยายเพิ่มเติมหรือย่อลงได้ แม้อำนาจทางการเมืองในรัฐเดี่ยวอาจมีการมอบหมายให้ทำการแทนผ่านการมอบอำนาจปกครองสู่รัฐบาลท้องถิ่นโดยบทกฎหมาย หากรัฐบาลกลางยังอยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งอาจยกเลิกนิติกรรมของรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจหรือตัดทอนอำนาจของรัฐบาลท้องถิ่นก็ได้

สหราชอาณาจักรเป็นตัวอย่างหนึ่งของรัฐเดี่ยว สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ซึ่ง ร่วมกับแคว้นอังกฤษ เป็นสี่ประเทศอันประกอบขึ้นเป็นสหราชอาณาจักร มีอำนาจที่ได้รับมอบซึ่งปกครองตนเองระดับหนึ่ง โดยทั้งสกอตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ ต่างมีฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของตนเอง แต่อำนาจที่ได้รับมอบทั้งหมดล้วนแต่เป็นที่รัฐบาลกลางของอังกฤษมอบหมายให้ทำการแทนทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจไม่อาจคัดค้านการเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติที่รัฐสภาออก และอำนาจของรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจนั้น รัฐบาลกลาง (หมายถึง รัฐสภาพร้อมด้วยรัฐบาลอันประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า) สามารถเพิกถอนหรือลดย่อลงได้ ตัวอย่างเช่น รัฐสภาไอร์แลนด์เหนือเคยถูกพักไว้สี่ครั้ง โดยอำนาจได้ถ่ายโอนไปยังสำนักไอร์แลนด์เหนือของรัฐบาลกลาง

ยูเครนเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐไครเมียในประเทศมีระดับการปกครองตนเองและมีคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติปกครอง ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 สาธารณรัฐดังกล่าวยังได้มีตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งถูกยุบไปเพราะการโน้มเอียงแบ่งแยกซึ่งเจตนาจะโอนไครเมียให้แก่รัสเซีย

รายชื่อรัฐเดี่ยว

แก้

ตัวเอียง: รัฐที่รัฐเอกราชหรือองค์การระหว่างรัฐบาลยอมรับเพียงบางส่วน

สาธารณรัฐเดี่ยว

แก้

ราชาธิปไตยเดี่ยว

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 "What is a Unitary State?". WorldAtlas. August 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-02-22.
  2. "Democracy". www.un.org. 2015-11-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-13. สืบค้นเมื่อ 2019-02-22.
  3. Faulconbridge, Guy; Ellsworth, Brian (2021-11-30). "Barbados ditches Britain's Queen Elizabeth to become a republic". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.
  4. Roy Bin Wong. China Transformed: Historical Change and the Limits of European Experience. Cornell University Press.
  5. "Story: Nation and government – From colony to nation". The Encyclopedia of New Zealand. Manatū Taonga Ministry for Culture and Heritage. 29 August 2013. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
  6. Ghai, Yash; Regan, Anthony J. (September 2006). "Unitary state, devolution, autonomy, secession: State building and nation building in Bougainville, Papua New Guinea". The Round Table. 95 (386): 589–608. doi:10.1080/00358530600931178. ISSN 0035-8533. S2CID 153980559.
  7. "Social policy in the UK". An introduction to Social Policy. Robert Gordon University – Aberdeen Business School. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2014. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.