ประเทศเลโซโท
29°36′S 28°18′E / 29.6°S 28.3°E
ราชอาณาจักรเลโซโท Mmušo wa Lesotho (โซโท) Kingdom of Lesotho (อังกฤษ) | |
---|---|
คำขวัญ: Khotso, Pula, Nala "สันติภาพ ฝน มั่งคั่ง" | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | มาเซรู 29°28′S 27°56′E / 29.467°S 27.933°E |
ภาษาราชการ | ภาษาโซโท ภาษาอังกฤษ |
เดมะนิม | โมโซโท (เอกพจน์) บาโซโท (พหูพจน์) |
การปกครอง | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
• พระมหากษัตริย์ | สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 |
• นายกรัฐมนตรี | Sam Matekane |
เอกราช จากสถานะรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร | |
• ประกาศ | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2509 |
พื้นที่ | |
• รวม | 30,355 ตารางกิโลเมตร (11,720 ตารางไมล์) (137) |
0.0032% | |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | 2,203,821[1] (144) |
• สำมะโนประชากร 2547 | 2,142,249 |
68.1 ต่อตารางกิโลเมตร (176.4 ต่อตารางไมล์) (138) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $7.448 พันล้าน[2] |
• ต่อหัว | $3,868[2] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $2.721 พันล้าน[2] |
• ต่อหัว | $1,413[2] |
จีนี (2558) | 54.2[3] สูง · 17 |
เอชดีไอ (2562) | 0.527[4] ต่ำ · 165 |
สกุลเงิน | โลตี (LSL) |
เขตเวลา | UTC+2 (SAST) |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | +266 |
โดเมนบนสุด | .ls |
เลโซโท (โซโทและอังกฤษ: Lesotho) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรเลโซโท (โซโท: Mmušo wa Lesotho; อังกฤษ: Kingdom of Lesotho) เป็นประเทศขนาดเล็กในทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ทั้งหมด 30,355 ตารางกิโลเมตร (11,720 ตารางไมล์) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องจากพรมแดนถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยประเทศเดียว คือประเทศแอฟริกาใต้ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง[5] มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือมาเซรู เลโซโทมีรูปแบบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเป็นหนึ่งในสามประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่นเดียวกับประเทศโมร็อกโกและประเทศเอสวาตินี[6][7]
เดิมเลโซโทเป็นหนึ่งในคราวน์โคโลนี ในนามบาซูโตแลนด์ ซึ่งได้ประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1966 ทำให้กลายเป็นรัฐอธิไตย และเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ เครือจักรภพ สหภาพแอฟริกา และประชาคมพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ ชื่อ เลโซโท สามารถแปลประมาณว่า "แผ่นดินของโซโท"[8][9]
ประวัติศาสตร์
แก้เลโซโทเป็นหนึ่งในสามของประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (อีก 2 ประเทศ คือ ประเทศโมร็อกโกและประเทศเอสวาตินี) เดิมประเทศเลโซโทมีชื่อว่าบาซูโต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2361 โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 1 เป็นผู้ปกครอง ต่อมา ชนเผ่าซูลู และคนผิวขาวเข้าไปตั้งหลักแหล่งในประเทศ และถูกแอฟริกาใต้รุกราน บาซูโตจึงต้องขอรับความคุ้มครองจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร และมีฐานะเป็นรัฐในปกครองของสหราชอาณาจักร (British protectorate of Basutoland) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้ประกาศเอกราชและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นเลโซโท
การเมือง
แก้ระบอบการเมือง ระบอบประชาธิปไตยมีกษัตริย์เป็นประมุข โดยฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติรัฐสภา (National Assembly) แบบ 2 สภา (bicameral) ประกอบด้วยวุฒิสมาชิก 33 คน (ซึ่งในจำนวนนี้ 11 คน กษัตริย์เป็นผู้เสนอและพรรครัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้งอีก 22 คนมาจากหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 65 คน ซึ่งอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลสูง ศาลอุทธรณ์ ศาลพิพากษา และศาลพื้นเมือง
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เลโซโทมี 10 เขต คือ:
- เขตเบเรีย (Berea)
- เขตบูทา-บูเท (Butha-Buthe)
- เขตเลริเบ (Leribe)
- เขตมาเฟเตง (Mafeteng)
- เขตมาเซรู (Maseru)
- เขตโมเฮลส์ฮุก (Mohale's Hoek)
- เขตโมคอตลอง (Mokhotlong)
- เขตคาชาส์เนก (Qacha's Nek)
- เขตคูทิง (Quthing)
- เขตทาบา-เซกา (Thaba-Tseka)
ภูมิศาสตร์
แก้ประเทศเลโซโท เป็นประเทศที่มีแอฟริกาใต้ล้อมรอบหมดทุกด้าน มีพื้นที่ประมาณ 30,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณสองเท่าของจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย แต่เลโซโทมีพื้นที่ส่วนมากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400-1,800 เมตร จึงทำให้มีหิมะปกคลุม เป็นเพียงไม่กี่ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีหิมะ แต่ใช้ประโยชน์จากหิมะที่ละลายเป็นน้ำอุปโภคบริโภคใช้ในประเทศ[10]
นโยบายต่างประเทศ
แก้ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย
แก้ด้านการเมือง
แก้ไทยและเลโซโทได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย แอฟริกาใต้ มีเขตอาณาครอบคลุมเลโซโท และเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำเลโซโทอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ส่วนเลโซโทได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตเลโซโท ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยและได้แต่งตั้ง อภิชาติ สุดแสวง เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย
- เลโซโทให้การสนับสนุนไทยมาตลอดในเรื่องปัญหากัมพูชา
- รัฐบาลไทยได้ส่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียเข้าร่วมในพระราชพิธีพระบรมศพกษัตริย์สมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 2 แห่งเลโซโท ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2536
- รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลนพืชพันธุ์ธัญญาหาร อันเนื่องมาจากความแห้งแล้งแก่นรัฐบาลเลโซโทในปี พ.ศ. 2538 เป็นมูลค่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ไทยได้ให้ความช่วยเหลืออีก 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเลโซโทประสบภัยจากหิมะ
ด้านเศรษฐกิจ
แก้มูลค่าการค้าระหว่างไทย – เลโซโทยังมีไม่มากนัก ในปี พ.ศ. 2543 การค้าระหว่างไทย – เลโซโทมีมูลค่ารวม 3.1 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายส่งออก 3.1 ล้านบาท สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปเลโซโท ได้แก่ กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน น้ำมันสำเร็จรูป ปูนซีเมนต์ สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากเลโซโท ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นและแช่แข็ง ยากำจัดศัตรูพืช ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่น ๆ เคมีภัณฑ์ เมล็ดพืช น้ำมัน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
เศรษฐกิจ
แก้ประเทศเลโซโท มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศแอฟริกาใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 หลังจากที่เนลสัน แมนเดลา ประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ได้ไปเยือน ซึ่งก่อนหน้านั้นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศไม่ค่อยดีนัก ต่อมาจึงมีการพัฒนาความสัมพันธ์ตามลำดับ บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ที่สำคัญได้แก่ โครงการสร้างเขื่อนและอุโมงค์ส่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อส่งน้ำจากเลโซโทไปให้แอฟริกาใต้ อันทำรายได้ให้เลโซโทปีละประมาณ 70 ล้านดอลลาร์ และสร้างงานให้ชาวเลโซโทประมาณ 10,000 คน
เศรษฐกิจของประเทศเลโซโท นอกเหนือจากการส่งน้ำให้แอฟริกาใต้แล้ว ก็มีการทำเหมืองเพชร และสินแร่อื่น ๆ การเกษตรกรรม เช่น การปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และการปศุสัตว์ แต่ปัญหาสำคัญของประเทศคือ ผลิตอาหารได้ไม่พอเพียง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศถึงร้อยละ 70 ของการบริโภค ทำให้ขาดดุลการค้าปีละประมาณ 900 ล้านดอลลาร์ อย่างต่อเนื่อง[10]
ประชากร
แก้เลโซโทเป็นประเทศที่ไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อชาติเหมือนหลายประเทศในทวีปแอฟริกา เพราะประชากรที่มีประมาณ 2,000,000 คน ร้อยละ 99.7 เป็นชนเผ่าโซโท[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Lesotho". International Monetary Fund.
- ↑ "GINI index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2016.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "ข้อมูลรายประเทศ: ราชอาณาจักรเลโซโท". กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2015.
- ↑ User, Super. "Governance". www.gov.sz.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Swaziland: Africa′s last absolute monarchy". Deutsche Welle. 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
- ↑ Nicole Itano (2007). No Place Left to Bury the Dead. Simon and Schuster. p. 314. ISBN 978-0-7432-7095-3.
- ↑ Roman Adrian Cybriwsky (2013). Capital Cities around the World: An Encyclopedia of Geography, History, and Culture. ABC-CLIO. p. 182. ISBN 9781610692489. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2018.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "ไทยกับเลโซโท". คมชัดลึก. 29 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-29. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014.