ประเทศแคเมอรูน

ประเทศในแอฟริกากลาง
(เปลี่ยนทางจาก แคเมอรูน)

พิกัดภูมิศาสตร์: 6°N 12°E / 6°N 12°E / 6; 12

แคเมอรูน (อังกฤษ: Cameroon; ฝรั่งเศส: Cameroun) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแคเมอรูน (อังกฤษ: Republic of Cameroon; ฝรั่งเศส: République du Cameroun) เป็นสาธารณรัฐในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตจรดไนจีเรีย ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐคองโก กาบอง อิเควทอเรียลกินี แคเมอรูนถูกจัดให้เป็นประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตก แต่ในบางครั้งก็สามารถรวมอยู่ในกลุ่มประเทศแอฟริกากลางได้เช่นกัน เนื่องจากสภาพที่ตั้งของประเทศตั้งอยู่ก้ำกึ่งระหว่างสองบริเวณดังกล่าว แคเมอรูนมีประชากรราว 27 ล้านคน และมีภาษาพูดมากกว่า 250 ภาษา[8][9][10] แคเมอรูนยังได้รับสมญานามว่า "ทวีปแอฟริกาย่อส่วน" จากการที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งในทวีป[11]

สาธารณรัฐแคเมอรูน

République du Cameroun  (ฝรั่งเศส) Renndaandi Kamerun  (Fula)
ตราแผ่นดินของแคเมอรูน
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ
"Paix – Travail – Patrie" (ฝรั่งเศส)
"สันติภาพ – งาน – ปิตุภูมิ"
ที่ตั้งของแคเมอรูน
เมืองหลวงยาอุนเด[1]
3°52′N 11°31′E / 3.867°N 11.517°E / 3.867; 11.517
เมืองใหญ่สุดยาอุนเด (เมือง) ดูอาลา (เขตปริมณฑล)
ภาษาราชการ
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
(2018)[2]
เดมะนิมชาวแคเมอรูน
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น ระบบกึ่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
พอล ไบยา
โจเซฟ งูเต
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สมัชชาแห่งชาติ
เป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส
• ประกาศ
1 มกราคม ค.ศ. 1960
• รวมกับอดีต
บริติชแคเมอรูน
1 ตุลาคม ค.ศ. 1961
พื้นที่
• รวม
475,442 ตารางกิโลเมตร (183,569 ตารางไมล์) (อันดับที่ 53)
0.57
ประชากร
• 2020 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง26,545,864 [3] (อันดับที่ 51)
• สำมะโนประชากร 2005
17,463,836[4]
39.7 ต่อตารางกิโลเมตร (102.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 167)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น101.950 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 94)
เพิ่มขึ้น3,745 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 151)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น44.893 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (89th)
เพิ่มขึ้น1,649 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 150)
จีนี (2014)46.6[6]
สูง
เอชดีไอ (2019)Steady 0.563[7]
ปานกลาง · อันดับที่ 153
สกุลเงินฟรังก์ซีเอฟเอ (XAF)
เขตเวลาUTC+1 (เวลาแอฟริกาตะวันตก)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ปปปป/ดด/วว
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+237
โดเมนบนสุด.cm

แคเมอรูนมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่ยุคโบราณ กลุ่มคนดั้งเดิมในดินแดนแห่งนี้เป็นผู้นำอารยธรรมเซาเข้ามาเผยแพร่ และตั้งรกรากอยู่โดยรอบทะเลสาบชาด และมักประกอบอาชีพล่าสัตว์ นักสำรวจชาวโปรตุเกสมาถึงชายฝั่งบริเวณนี้ในศตวรรษที่ 15 และตั้งชื่อบริเวณนี้ว่า Rio dos Camarões (แม่น้ำกุ้ง) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น "แคเมอรูน" ในภาษาอังกฤษ ทหารชาวฟูลานีได้ก่อตั้งรัฐอาดามาโบราณขึ้นทางตอนเหนือของประเทศในศตวรรษที่ 19 และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือได้ก่อตั้งกลุ่มการเมืองซึ่งนำโดยกลุ่มชาติพันธุ์แอฟริกันโบราณที่ทรงอำนาจ แคเมอรูนกลายเป็นอาณานิคมของเยอรมนีใน ค.ศ. 1884 รู้จักในชื่อ "คาเมรุน" (Kamerun) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรได้แย่งกันครอบครองแคเมอรูน ซึ่งได้กลายเป็นหนึ่งในดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ และดินแดนทั้งหมดได้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือ แคเมอรูนเหนือ (ปกครองโดยฝรั่งเศส) และ แคเมอรูนใต้ (ปกครองโดยสหราชอาณาจักร) พรรคการเมือง Union des Populations du Cameroun (UPC) ของแคเมอรูนซึ่งมีอุดมการณ์ชาตินิยมและต่อต้านการรุกรานของต่างชาติ เกิดความขัดแย้งกับฝรั่งเศสในทศวรรษ 1950 นำไปสู่สงคราม Bamileke จนถึงต้น ค.ศ. 1971 ใน ค.ศ 1960 ส่วนหนึ่งของแคเมอรูนที่ปกครองโดยฝรั่งเศส เป็นอิสระในฐานะสาธารณรัฐแคเมอรูนภายใต้การบริหารของ อาห์มาดู อายีโจ ประธานาธิบดีคนแรก ต่อมา บริเวณทางใต้ของประเทศที่เป็นบริติชแคเมอรูน ได้ควบรวมกับดินแดนที่เหลือทั้งหมดและก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐแคเมอรูน และดินแดนนี้ได้ถูกทิ้งร้างเป็นเวลาหลายปี ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นสหสาธารณรัฐแคเมอรูน และกลายมาเป็นสาธารณรัฐแคเมอรูนใน ค.ศ. 1984 โดยมี ปอล บียา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1982 และปกครองด้วย ระบบประธานาธิบดีมานับตั้งแต่นั้น

ในปัจจุบัน ภาษาราชการของแคเมอรูนคือภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ[12] ในอดีตนั้นประชากรใช้ภาษาฝรั่งเศส-แคเมอรูน และ อังกฤษ-แคเมอรูน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์ โดยมีชนกลุ่มน้อยบางส่วนที่นับถือศาสนาอิสลามอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งศาสนาอื่น ๆ ตามความเชื่อดั้งเดิมของชนเผ่าในป่าและชนบท ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แคเมอรูนต้องเผชิญกับความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญ โดยกลุ่มคนที่พูดภาษาอังกฤษมีความพยายามที่จะกระจายการใช้ภาษาอังกฤษไปยังภูมิภาคอื่น ๆ และต้องการเรียกร้องสิทธิของประชากรกลุ่มน้อยที่พูดภาษาอังกฤษซึ่งยังไม่ได้รับการยอมรับจากประชากรส่วนใหญ่ที่พูดภาษาฝรั่งเศส[13] ในขณะที่ประชากรส่วนมากยังต้องการธำรงภาษาฝรั่งเศสและภาษาท้องถิ่นดั้งเดิมของตนเอาไว้ ความขัดแย้งลุกลามถึงขั้นเกิดสงครามแบ่งแยกดินแดน ซึ่งกลุ่มประชากรที่พูดภาษาอังกฤษได้ก่อตั้งองค์กร แอมบาโซเนีย (Ambazonia) และแยกตัวไปสร้างรัฐใหม่ของตนเองในนาม รัฐแอมบาโซเนียน ใน ค.ศ. 2017[14] แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ รวมทั้งสหประชาชาติ[15]

แคเมอรูนตั้งอยู่ในจุดภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางธรรมชาติ[16] ได้แก่ ชายหาด ทะเลทราย ภูเขา ป่าฝน และทุ่งหญ้าสะวันนา จุดที่สูงที่สุดในประเทศคือ ยอดเขาแคเมอรูน ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ มีความสูงกว่า 4,100 เมตร (13,500 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล เมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือเมืองดูอาลาบนแม่น้ำโวรี และยังเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจและท่าเรือหลัก และมีเมืองหลวงคือยาอุนเด แคเมอรูนมีชื่อเสียงในด้านดนตรีพื้นเมืองอันไพเราะ และมีทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปแอฟริกา[17][18] แคเมอรูนเป็นรัฐสมาชิกของสหภาพแอฟริกา สหประชาชาติ เครือจักรภพแห่งชาติ ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และองค์การความร่วมมืออิสลาม

แคเมอรูนเป็นประเทศกำลังพัฒนา และประชากรส่วนมากยังต้องเผชิญกับความยากจน[19] โดยมักประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และค้าขาย ปัญหาหลักในปัจจุบันได้แก่ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การถูกกดขี่ของชนกลุ่มน้อย การใช้แรงงานเด็ก และสตรี[20] รวมทั้งการสาธารณสุขและระบบการศึกษาที่ขาดประสิทธิภาพในพื้นที่แถบชนบท[21] แม้ในเมืองใหญ่ ๆ แถบภาคกลางของประเทศจะได้รับการพัฒนาและมีระบบการจัดการที่ดี

ศัพทมูลวิทยา แก้

เดิมทีคำว่า แคเมอรูน (Cameroon) เป็นนามวลีที่ถูกเรียกโดยนักสำรวจชาวโปรตุเกสที่ตั้งชื่อให้แม่น้ำวูริ (Wouri) ซึ่งพวกเขาเรียกว่า Rio dos Camarões แปลว่า "แม่น้ำแห่งกุ้ง" หรือ "แม่น้ำกุ้ง" เนื่องจากเคยมีกุ้งผีแคเมอรูน (Cameroon ghost shrimp) อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก[22] โดยในปัจจุบันชื่อประเทศแคเมอรูนในภาษาโปรตุเกสยังคงเป็น Camarões

ภูมิศาสตร์ แก้

 
ปล่องภูเขาไฟ บริเวณที่ราบสูงตะวันตกของแคเมอรูน
 
อุทยานแห่งชาติวาซา

แคเมอรูนมีพื้นที่ 475,442 ตารางกิโลเมตร (183,569 ตารางไมล์) แคเมอรูนเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 53 ของโลก ตั้งอยู่ในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก หรือที่รู้จักในชื่อประตูของทวีปแอฟริกา บนอ่าวบอนนี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอ่าวกินีและมหาสมุทรแอตแลนติก แคเมอรูนอยู่ระหว่างละติจูด 1° ถึง 13°N และลองจิจูด 8° ถึง 17°E แคเมอรูนควบคุม 12 ไมล์ทะเลของมหาสมุทรแอตแลนติก[23]

นักวิชาการให้สมฐานามแคเมอรูนว่าเป็น "แอฟริกาย่อส่วน" เพราะประกอบไปด้วยความหลากหลายของสภาพอากาศและพืชพันธุ์ที่สำคัญทั้งหมดของทวีป ได้แก่ ชายฝั่ง ทะเลทราย ภูเขา ป่าฝน และทุ่งหญ้าสะวันนา เพื่อนบ้านของประเทศคือไนจีเรีย และติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตก ติดกับประเทศชาดทางตะวันออกเฉียงเหนือ; สาธารณรัฐแอฟริกากลางทางทิศตะวันออก และอิเควทอเรียลกินี กาบอง และสาธารณรัฐคองโกทางทิศใต้[24][25]

แคเมอรูนแบ่งพื้นที่หลักออกเป็นห้าเขต โดดเด่นด้วยลักษณะทางกายภาพ ภูมิอากาศ และพืชพรรณที่โดดเด่น ที่ราบชายฝั่งทะเลมีความยาว 15 ถึง 150 กิโลเมตร (9 ถึง 93 ไมล์) มีระดับความสูงเฉลี่ย 90 เมตร (295 ฟุต) ร้อนและชื้นมากในฤดูแล้ง แถบนี้ยังมีมีป่าทึบและรวมถึงพื้นที่ที่มีฝนตกชุกที่สุดในโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของป่าชายฝั่งทะเล Cross-Sanaga-Bioko[26]

ที่ราบสูงแคเมอรูนใต้โผล่ขึ้นมาจากที่ราบชายฝั่งถึงระดับความสูงเฉลี่ย 650 เมตร (2,133 ฟุต) ป่าฝนเส้นศูนย์สูตรครอบคลุมพื้นที่ภูมิภาคนี้ บริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอีโครีเจียนป่าชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกเส้นศูนย์สูตร จุดสูงสุดของแคเมอรูนที่ 4,095 เมตร (13,435 ฟุต) ภูมิภาคนี้มีสภาพอากาศที่ไม่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนที่ราบสูงตะวันตก แม้ว่าจะมีฝนตกชุกก็ตาม และเป็นบริเวณที่มีดินอุดมสมบูรณ์ที่สุดของแคเมอรูน โดยเฉพาะบริเวณปล่องภูเขาไฟแคเมอรูน (Volcanic plug) ภูเขาไฟที่นี่ได้สร้างทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 1986 หนึ่งในนั้นคือทะเลสาบ Nyos พ่นคาร์บอนไดออกไซด์และคร่าชีวิตผู้คนไป 1,700 ถึง 2,000 คน พื้นที่นี้ยังถูกกำหนดโดยกองทุนสัตว์ป่าโลกว่าเป็นเขตหวงห้าม และได้รับการก่อตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติวาซา เพื่ออนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่ามาถึงปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์ แก้

ศตวรรษที่ 19-20 แก้

 
อดีตประธานาธิบดี อาห์มาดู อายีโจ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 1960-82 และถือเป็นประธานาธิบดีคนแรก

แคเมอรูนเคยอยู่ภายใต้การปกครองของเยอรมนี และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 แคเมอรูนได้ตกเป็นดินแดนในอาณัติขององค์การสันนิบาตชาติ และเป็นดินแดนอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศสและอังกฤษ (ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แคเมอรูนใต้และแคเมอรูนเหนือ) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนในความปกครองของฝรั่งเศสและอังกฤษดังกล่าวตกเป็นดินแดนของสหประชาชาติ[27] และเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1960 แคเมอรูนของฝรั่งเศสได้รับเอกราช มีการเลือกตั้ง และนาย Ahmadou Ahidjo เป็นประธานาธิบดี ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1961 แคเมอรูนใต้ของอังกฤษได้ลงประชามติอยู่ร่วมกับอดีตแคเมอรูนของฝรั่งเศส ในขณะที่แคเมอรูนเหนือประสงค์จะอยู่ร่วมกับไนจีเรีย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1961 สาธารณรัฐแคเมอรูนและแคเมอรูนใต้ของอังกฤษจึงรวมกันเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแคเมอรูน และต่อมาเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 1972 ได้เปลี่ยนเป็นสหสาธารณรัฐแคเมอรูน (the United Republic of Cameroon)[28]

หลังการประกาศเอกราช แก้

ภายหลังจากกลายมาเป็นสาธารณรัฐแคเมอรูนใน ค.ศ. 1984 ปอล บียา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาอย่างยาวนานถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ ค.ศ. 1982 และแคเมอรูนได้ปกครองด้วยระบอบ ระบบประธานาธิบดี มานับตั้งแต่นั้น[29]

การเมืองการปกครอง แก้

บริหาร แก้

 
ปอล บียา ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1982

ประธานาธิบดีทำหน้าที่ประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 7 ปี ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายน 2008 รัฐสภาได้ลงมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขยายเป็น 3 วาระ ทั้งนี้ ประธานาธิบดีแคเมอรูนมีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นหัวหน้ารัฐบาล และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี[30]

ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย ปอล บียา เข้าดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 6 พฤษจิกายน 1982 เป็นต้นมา ได้รับเสียงสนับสนุน 70.9% ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด[31][32]

นิติบัญญัติ แก้

ประกอบไปด้วยรัฐภาระบบสภาเดียว (180 ที่นั่ง) สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นในวันที่ 22 กรกฎาคม 2007 พรรค Rassemblement démocratique du people camerounais (RDPC) หรือพรรค Cameroon People's Democratic Movement ชนะการเลือกตั้ง โดยมีเสียงในสภา 140 ที่นั่ง อนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้มีการจัดตั้งสภาสูง หรือวุฒิสภาเพื่อบริหารอำนาจนิติบัญญัติด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการดำเนินการจัดตั้งในปัจจุบัน

ตุลาการ แก้

ประกอบไปด้วยศาลยุติธรรม (ผู้พิพากษามาจากการเลือกตั้งโดยรัฐสภา) และศาลฎีกาสูงสุด (ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษา)

กองทัพ แก้

 
กองกำลังติดอาวุธของแคเมอรูน

กองกำลังติดอาวุธแคเมอรูน (ฝรั่งเศส: Forces armées camerounaises, FAC) ประกอบด้วยกองทัพบกของประเทศ (Armée de Terre) กองทัพเรือของประเทศ (Marine Nationale de la République (MNR) รวมถึงทหารราบของกองทัพเรือ) กองทัพอากาศแคเมอรูน[33] (Armée de l'Air du Cameroun, AAC) และนายทหารทั่วไป ประชากรชายและหญิงที่มีอายุ 18 ปีถึง 23 ปีและสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีสิทธิ์รับราชการทหารโดยสมัครใต ไม่มีการเกณฑ์ทหารในประเทศแคเมอรูน แต่รัฐบาลจะทำการเรียกอาสาสมัครเข้ามาช่วยกองทัพในยามจำเป็น[34]

สิทธิมนุษยชน แก้

องค์กรสิทธิมนุษยชนกล่าวหาว่าตำรวจและกองกำลังทหารปฏิบัติของรัฐบาลแคเมอรูนกระทำการทารุณ และทรมานผู้ต้องสงสัยในคดีอาญา, ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ, กลุ่มคนรักร่วมเพศ และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง[35][36] ตัวเลขขององค์การสหประชาชาติระบุว่ามีผู้คนมากกว่า 21,000 คนหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน[37] ในขณะที่ 160,000 คนต้องพลัดถิ่นจากสถานการณ์ความรุนแรงภายในประเทศ หลายคนถึงขั้นต้องซ่อนตัวอยู่ในป่า และยังประสบปัญหาเรือนจำแออัด และการสาธารณสุขที่มีคุณภาพน้อย นับตั้งแต่ทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารรักษาพระองค์จำนวนมากขึ้นถูกดำเนินคดีในข้อหาประพฤติมิชอบ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2018 ผู้นำแห่งสหประชาชาติเพื่อสิทธิมนุษยชน Zeid Ra'ad Al Hussein ได้แสดงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของแคเมอรูน การกระทำทางเพศกับเพศเดียวกันผิดกฎหมายอาญา โดยมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี[38]

นโยบายต่างประเทศ แก้

นโยบายต่างประเทศของแคเมอรูนให้ความสำคัญกับ ความเป็นเอกราช การเป็นประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในภาพรวม แคเมอรูนมีความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศ และมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับประเทศฝรั่งเศสด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ทั้งยังมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีนซึ่งมีเข้ามาจัดทำโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและสาธารณสุขหลายโครงการในแคเมอรูน รวมถึงความช่วยเหลือด้านการทหารด้วย[39][40][41]

แคเมอรูนเคยมีข้อพิพาทด้านดินแดนกับไนจีเรียบริเวณคาบสมุทร Bakassi ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน นำไปสู่การสู้รบกันของทหารทั้งสองฝ่ายในช่วงปี 1994-96 และจบลงด้วยการเข้ามาไกล่เกลี่ยขององค์การสหประชาชาติในปี 1996

ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย แก้

ความสัมพันธ์ด้านการเมือง

ไทยและแคเมอรูนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 1965 ในปัจจุบัน ไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา ประเทศไนจีเรีย มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศแคเมอรูน ในปัจจุบัน ฝ่ายแคเมอรูนยังมิได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตใดมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย (สถานเอกอัครราชทูตแคเมอรูน ณ กรุงปักกิ่ง อยู่ใกล้ไทยที่สุด)ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและแคเมอรูนดำเนินมาด้วยความราบรื่น และไม่มีปัญหาระหว่างกัน

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับแคเมอรูนได้เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ในปี 2008 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับแคเมอรูนมีมูลค่า 109.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 87.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 21.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าเป็นเงิน 65.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปแคเมอรูนได้แก่ ข้าว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก และสินค้าที่ไทยนำเข้าจากแคเมอรูน ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์จากพืช ด้ายและเส้นใย ไม้ซุง ไม้แปรรูป[42]

ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม

ประเทศไทยเคยให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่แคเมอรูน จากกรณีการระเบิดของก๊าซจากปล่องภูเขาไฟในแคเมอรูน โดยได้บริจาคข้าวนึ่งชนิด 5% จำนวน 25 ตัน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1988 และในปี 1990 ไทยได้บริจาคข้าวนึ่ง 10% จำนวน 100 ตัน ให้แก่แคเมอรูนโดยผ่านทางสมาคมฟุตบอลแคเมอรูน

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

 
ภาพแสดงการแบ่งเขตการปกครองในแคเมอรูน

รัฐธรรมนูญแบ่งแคเมอรูนออกเป็น 10 เขตกึ่งปกครองตนเอง โดยแต่ละภูมิภาคอยู่ภายใต้การบริหารงานของสภาภูมิภาคที่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ละภูมิภาคนำโดยผู้ว่าการที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี

เศรษฐกิจ แก้

โครงสร้าง แก้

ภายหลังจากแผนงานการขจัดความยากจนและกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (PRGF) ภายใต้การสนับสนุนด้านนโยบายและการเงินของ IMF (มูลค่ารวม 28.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สิ้นสุดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลแคเมอรูนได้แสดงความตั้งใจที่จะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นอิสระ อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน 2009 รัฐบาลได้ตอบรับความช่วยเหลือทางด้านการเงินของ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มูลค่า 144 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้แผนงานการรับมือกับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (Exogenous Shocks Facility หรือ ESF)[43][44][45]

แคเมอรูนเป็นเส้นทางลำเลียงขนส่งสินค้าที่สำคัญไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีทางออกทะเล ได้แก่ ชาดและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง รัฐบาลแคเมอรูนมีรายได้หลักมาจากการเก็บภาษีศุลกากร (ประมาณร้อยละ 20 ของรายได้ทั้งหมด) แต่กำลังประสบปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษี ทางการแคเมอรูนเปิดเผยว่า ในปี 2014 ร้อยละ 51 ของสินค้าที่อ้างว่าจะส่งออกไปขายต่อในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีขาเข้าถูกนำมาขายในประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีศุลกากรหลายพันล้าน ฟรังซ์ ปัจจุบัน หน่วยงานศุลกากรของแคเมอรูนกำลังเร่งดำเนินการติดตั้งระบบ GPS เพื่อตรวจสอบและติดตามผลการขนส่งสินค้าข้ามประเทศไปขายต่อในประเทศเพื่อนบ้าน

ปัจจุบัน แคเมอรูนได้รับผลกระทบจากการปรับตัวของอุปสงค์และราคาน้ำมันในตลาดโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากแคเมอรูนมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมันดิบ ในปี 2008 สามารถผลิตน้ำมันได้เฉลี่ยประมาณ 87,400 บาร์เรล/วัน แต่มีแนวโน้มที่จะผลิตได้ลดลงในปัจจุบัน รัฐบาลแคเมอรูนกำลังหาแนวทางลดการพึ่งพิงรายได้จากการค้าน้ำมันและเพิ่มรายได้จากการลงทุนด้านการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้จากการส่งออก สินค้าเกษตรที่สำคัญของแคเมอรูน ได้แก่ ไม้แปรรูป กล้วย โกโก้ ฝ้าย และกาแฟ

นโยบายการเงินของแคเมอรูนถูกกำหนดโดยธนาคารแห่งรัฐในภูมิภาคแอฟริกากลาง (Banque des Etats de Afrique centrale หรือ BEAC) ซึ่งปัจจุบันให้ความสำคัญกับการคุมระดับอัตราเงินเฟ้อและรักษาการตรึงค่าเงิน CFA franc ไว้กับเงินสกุลยูโร (655.96 CFAfr เท่ากับ 1 ยูโร)

โครงสร้างพื้นฐาน แก้

การคมนาคม และ โทรคมนาคม แก้

เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกาแล้ว แคเมอรูนมีความเสถียรทางการเมืองและสังคม ทำให้แคเมอรูนได้มีโอกาสพัฒนาเกษตรกรรม ถนน และทางรถไฟ รวมถึงอุตสาหกรรมปิโตรเลียมอันกว้างขวางด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการเคลื่อนไหวในการปฏิรูปการเมือง อำนาจก็ยังคงอยู่ในมือของคณาธิปไตยพื้นเมืองอย่างมั่นคง

การศึกษา และ สาธารณสุข แก้

ในปี 2013 อัตราการรู้หนังสือสำหรับผู้ใหญ่ทั้งหมดของแคเมอรูนอยู่ที่ 71.3%[46] ในหมู่เยาวชนอายุ 15-24 ปี อัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ 85.4% สำหรับผู้ชาย และ 76.4% สำหรับผู้หญิง เด็กส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงโรงเรียนของรัฐซึ่งมีราคาถูกกว่าสถานประกอบการของเอกชนและสถาบันทางศาสนา ระบบการศึกษาเป็นการผสมผสานระหว่างแบบอย่างของอังกฤษและฝรั่งเศส โดยมีการสอนส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศส[47]

แคเมอรูนมีอัตราการเข้าเรียนสูงสุดแห่งหนึ่งในแอฟริกา แต่เด็กผู้หญิงได้ไปโรงเรียนน้อยกว่าเด็กผู้ชายเพราะค่านิยมทางวัฒนธรรม และยังต้องเผชิญกับปัญหาการแต่งงานก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ และการล่วงละเมิดทางเพศ แม้ว่าอัตราการเข้าเรียนในภาคใต้จะสูงขึ้น ในปี 2013 อัตราการเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ที่ 93.5% และยังมีปัญหาในการใช้แรงงานเด็ก[48]

การสาธารณสุขในประเทศยังคงขาดประสิทธิภาพในภาพรวม โดยประชากรในพื้นที่ทุรกันดาร และชนบทยังไม่สามารถเข้าถึการบริการได้ อายุขัยโดยเฉลี่ยในแคเมอรูนอยู่ที่ 56 ปีเท่านั้น (ปี 2012) รํบบาลมีการจัดสรรค่าใช้จ่ายคิดเป็นเพียง 4.1% จีดีพีให้กับการดูแลสุขภาพ และประเทศยังขาดบุคลากรทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก จากการสำรวจในปี 2012 พบว่า โรคที่ร้ายแรงที่สุดสามโรค ได้แก่ เอชไอวี การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคท้องร่วง โรคอื่น ๆ ได้แก่ ไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง โรคลิชมาเนีย มาลาเรีย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสคิสโทโซมิอาซิส อัตราความชุกของเอชไอวีในปี 2016 อยู่ที่ประมาณ 3.8% สำหรับผู้ที่มีอายุ 15–49 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 14 ปีประมาณ 46,000 คนติดเชื้อเอชไอวีในปี 2016 ในแคเมอรูน 58% ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องเสียชีวิตลง และเพียง 37% เท่านั้นที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ในปี 2016 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ถึง 29,000 คนทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก

ประชากรศาสตร์ แก้

 
สตรีชาวแคเมอรูนในการฉลองเทศกาลวันชาติ

แคเมอรูนมีประชากรหญิงมากกว่าชายเล็กน้อย 50.5% และ 49.5% ประชากรกว่า 60% มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีคิดเป็นเพียง 3.11% ของประชากรทั้งหมด ประชากรของแคเมอรูนเกือบจะแบ่งได้เป็นอัตราส่วนเท่า ๆ กันระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท ความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุดอยู่ในใจกลางเมืองใหญ่ บริเวณที่ราบสูงทางทิศตะวันตก และที่ราบทางตะวันออกเฉียงเหนือ ดูอาลา ยาอุนเด และการัวเป็นสามเมืองที่ใหญ่ที่สุด ในทางตรงกันข้าม ที่ราบสูงอดามาวา ที่ลุ่มเบนูเอตะวันออกเฉียงใต้ และที่ราบสูงทางใต้ของแคเมอรูนส่วนใหญ่มีประชากรเบาบาง องค์การอนามัยโลกระบุว่าอัตราการเจริญพันธุ์อยู่ที่ 4.8 ในปี 2556 โดยมีอัตราการเติบโตของประชากร 2.56%[49]

เชื้อชาติ แก้

จากการสำรวจ ชาวแคเมอรูนมีชนกลุ่มน้อยและชาวเผ่าอาศัยรวมกันมากกว่า 230-282 กลุ่ม[50] จำนวนน้อยอาศัยอยู่ใกล้ทะเลสาบชาด ในขณะที่แคเมอรูนตอนใต้ผู้อยู่อาศัคือผู้พูดภาษาเป่าตูและกึ่งบันตู กลุ่มที่พูดภาษาเป่าตูอาศัยอยู่ในเขตชายฝั่งและเส้นศูนย์สูตร ในขณะที่ผู้พูดภาษาเซมิ-บันตูอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าตะวันตก ชาว Gyele และ Baka Pygmy ราว 5,000 คนเร่ร่อนอยู่ตามป่าฝนทางตะวันออกเฉียงใต้และชายฝั่งหรืออาศัยอยู่ในชุมชนเล็ก ๆ ริมถนน และชาวไนจีเรียเป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแคเมอรูน

ศาสนา แก้

กีฬา แก้

ฟุตบอล แก้

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศ ฟุตบอลทีมชาติแคเมอรูนเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปแอฟริกา ทีมชาติแคเมอรูน มีส่วนร่วมในการแข่งขันสำคัญหลายครั้ง ลงเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 8 สมัย[53] เคยผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย ในฟุตบอลโลก 1990 และยังเป็นอีกหนึ่งทีมที่ประสบความสำเร็จในรายการแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ ลงแข่งขัน 20 ครั้ง[54] และชนะเลิศ 5 สมัย มากที่สุดเป็นอันดับสอง เป็นรองเพียงอียิปต์ พวกเขาฉายาว่า "สิงโตผู้ไม่ย่อท้อ" นักเตะระดับโลกที่มีชื่อเสียงได้แก่ ซามุแอล เอโต, โรเจอร์ มิลลา, ริโกแบร์ ซง, ฟรังซัว โอมัม บียิก และ โลร็อง

อาหาร แก้

 
"Bobolo" อาหารชื่อดังของแคเมอรูน ประกอบด้วยมันฝรั่ง ทานกับกุ้งและผัก

อาหารแตกต่างกันไปตามภูมิภาค อาหารทั่วไปในประเทศมีวัตถุดิบหลักมาจากโกโก้ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง ต้นแปลนทิน มันฝรั่ง ข้าว หรือมันเทศ เสิร์ฟพร้อมกับซอส ซุป หรือสตูว์ที่ทำจากผักใบเขียว ถั่วลิสง น้ำมันปาล์ม หรือส่วนผสมอื่น ๆ เนื้อสัตว์และปลาเป็นที่นิยมแต่มีราคาแพง โดยไก่มักถูกเสริ์ฟไว้สำหรับโอกาสพิเศษเช่น วันขอบคุณพระเจ้า วันใหม่ วันคล้ายวันเกิด อาหารโดยทั่วไปมักจะค่อนข้างเผ็ดร้อนด้วยพริก เกลือ ซอสพริกแดง และซอสปรุงรส

ชาวแคเมอรูนใช้ช้อนส้อมเป็นส่วนมาก แต่บางแถบท้องถื่นในชนบทยังมีการใช้มืออยู่ อาหารเช้าประกอบด้วยขนมปังและผลไม้ต่าง ๆ พร้อมกาแฟหรือชา โดยทั่วไปอาหารเช้าทำจากแป้งสาลีในอาหารต่างๆ เช่น พัฟพัฟ (โดนัท) ที่ทำจากกล้วยและแป้ง เค้ก ถั่ว และอื่นๆ อีกมากมาย ขนมเป็นที่นิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ที่พวกเขาสามารถซื้อได้จากพ่อค้าแม่ค้าข้างถนน เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงคือ เบียร์ และ ไวน์ รวมทั้งน้ำสมุนไพร[55][56]

ดนตรี แก้

 
การเต้นรำของชาวแคเมอรูน

ดนตรีและการเต้นรำเป็นส่วนสำคัญของพิธีการ เทศกาล การรวมตัวทางสังคม และการเล่าเรื่องของชาวแคเมอรูน การเต้นรำตามประเพณีมีการออกแบบท่าเต้นอย่างดีและแยกชายหญิงหรือห้ามไม่ให้เต้นร่วมกัน จุดประสงค์ของการเต้นรำมีตั้งแต่เพื่อความบันเทิง ไปจนถึงการอุทิศตนทางศาสนา

ดนตรีบรรเลงอาจจะเป็นเพลงง่ายพอ ๆ กับการปรบมือและตีเท้า[57] มักจะมีการเต้น ตีกลอง รวมทั้งใช้ ขลุ่ย แตร อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เขย่าแล้วมีเสียง เครื่องขูด เครื่องสาย นกหวีด และระนาด ซึ่งแตกต่างกันไปตามกลุ่มชาติพันธุ์และภูมิภาค นักแสดงบางคนสามารถร้องเพลงและเล่นเครื่องดนตรีไปพร้อมกันได้โดยไม่ต้องมีผู้ช่วย

แนวเพลงที่ได้รับความนิยม ได้แก่ อัสซิโกแห่งบาสซา, มังกาบือแห่งบังกังเต และ ทซามัสซีแห่งบามิเลเก

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Cameroon". World Factbook. CIA. สืบค้นเมื่อ 3 August 2020.
  2. "Cameroon – the World Factbook". 29 September 2021.
  3. United Nations. "World Population Prospects 2020".
  4. "Rapport de présentation des résultats définitifs" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Institut national de la statistique. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 August 2012. สืบค้นเมื่อ 21 July 2012.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "World Economic Outlook Database, April 2021". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 6 April 2021.
  6. "GINI index (World Bank estimate)". databank.worldbank.org. World Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2018. สืบค้นเมื่อ 7 February 2019.
  7. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  8. Kouega, Jean-Paul. 'The Language Situation in Cameroon', Current Issues in Language Planning, vol. 8/no. 1, (2007), pp. 3–94.
  9. "Cameroon". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ).
  10. "Linguistic diversity in Africa and Europe | Bilingualism/multilingualism | Geolinguistics | Languages Of The World". web.archive.org. 2012-05-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. "Countries". Commonwealth Governance (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  12. "Linguistic diversity in Africa and Europe | Bilingualism/multilingualism | Geolinguistics | Languages Of The World". web.archive.org. 2012-05-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. "UNPO News:". unpo.org.
  14. "Cameroon's Anglophone crisis: Red Dragons and Tigers - the rebels fighting for independence". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-10-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
  15. Welle (www.dw.com), Deutsche. "Will 'Ambazonia' become Africa's newest country? | DW | 02.10.2017". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  16. "archive.ph". archive.ph.
  17. "African Cup Of Nations Team Profile: Cameroon | Goal.com". www.goal.com.
  18. "Africa Cup of Nations | History, Winners, Trophy, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  19. "Cameroon Poverty Rate 1996-2021". www.macrotrends.net.
  20. "Findings on the Worst Forms of Child Labor - Cameroon | U.S. Department of Labor". www.dol.gov.
  21. "WFP Cameroon Country Brief, March 2018 - Cameroon". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ).
  22. "Camarões: o que os crustáceos têm a ver com o país? | Sobre Palavras". VEJA (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล).
  23. "Cameroon | Culture, History, & People". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  24. "Cameroon geography, maps, climate, environment and terrain from Cameroon | - CountryReports". www.countryreports.org.
  25. "Cameroon Geography Profile". www.indexmundi.com (ภาษาอังกฤษ).
  26. abc_admin (2013-01-12). "Geography". African Bird Club (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  27. B. S., Texas A&M University; Facebook, Facebook. "A Brief History of Cameroon, Africa". ThoughtCo (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |last2= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  28. Hydrant (http://www.hydrant.co.uk), Site designed and built by. "Cameroon : History". The Commonwealth (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
  29. "Cameroon - History". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  30. "สาธารณรัฐแคเมอรูน". กระทรวงการต่างประเทศ.
  31. Emvana, Michel Roger (2005). Paul Biya: les secrets du pouvoir (ภาษาฝรั่งเศส). KARTHALA Editions. ISBN 978-2-84586-684-3.
  32. "Elections. La fraude «made in Cameroon» fait fureur". Cameroonvoice (ภาษาฝรั่งเศส). 2012-10-29.
  33. AfricaNews (2021-06-27CEST15:10:00+02:00). "Cameroon: Military under attack". Africanews (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  34. "Cameroon Army: Latest News, Photos, Videos on Cameroon Army". NDTV.com.
  35. https://fr.allafrica.com/stories/200707170411.html
  36. "freedomhouse.org: Country Report". web.archive.org. 2007-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  37. CNN, Radina Gigova,. "Rights groups call for probe into protesters' deaths in Cameroon". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  38. "Cameroon goes offline after Anglophone revolt - CNN.com". web.archive.org. 2017-03-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  39. "AGREEMENT TRANSFERRING AUTHORITY OVER BAKASSI PENINSULA FROM NIGERIA TO CAMEROON 'TRIUMPH FOR THE RULE OF LAW', SECRETARY-GENERAL SAYS IN MESSAGE FOR CEREMONY | Meetings Coverage and Press Releases". web.archive.org. 2018-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-31. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  40. "Cameroon profile - Timeline - BBC News". web.archive.org. 2018-02-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  41. Putz, Catherine. "Which Countries Are For or Against China's Xinjiang Policies?". thediplomat.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  42. "จับตาสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้นของแคเมอรูนและการส่งออกข้าวไทยมูลค่ากว่า 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 5.2% ของการนำเข้าของแคเมอรูน – globthailand.com". globthailand.com.
  43. "Overview". World Bank (ภาษาอังกฤษ).
  44. "Cameroon - Economy". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  45. author., Forster, E. M. (Edward Morgan), 1879-1970,. A passage to India. ISBN 978-0-593-24156-1. OCLC 1202052414. {{cite book}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  46. "Statistics | Cameroon | UNICEF". web.archive.org. 2017-12-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  47. DeLancey, Mark W.; DeLancey, Mark Dike (2000). Historical Dictionary of the Republic of Cameroon (3rd ed.). Lanham, Maryland: The Scarecrow Press
  48. "UNdata | country profile | Cameroon". web.archive.org. 2016-11-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  49. "World Population Prospects - Population Division - United Nations". population.un.org.
  50. West, Ben (2004). Cameroon: The Bradt Travel Guide. Guilford, Connecticut: The Globe Pequot Press.
  51. Pew Research Center's Religion & Public Life Project: Cameroon เก็บถาวร 2018-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Pew Research Center. 2010.
  52. "July–December, 2010 International Religious Freedom Report – Cameroon". US Department of State. 8 April 2011. สืบค้นเมื่อ 12 November 2011.
  53. "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  54. http://preview.thenewsmarket.com/Previews/puma/DocumentAssets/269104.pdf
  55. portfolio. "Les plats de la cuisine du Cameroun" (ภาษาฝรั่งเศส).
  56. "Cuisine Camerounaise". Recettes Africaines (ภาษาฝรั่งเศส). 2016-11-12.
  57. "Dance as a window into Cameroonian culture". www.peacecorps.gov (ภาษาอังกฤษ).

บรรณานุกรม แก้

  • DeLancey, Mark W.; DeLancey, Mark Dike (2000). Historical Dictionary of the Republic of Cameroon (3rd ed.). Lanham, Maryland: The Scarecrow Press. ISBN 978-0810837751.
  • Hudgens, Jim; Trillo, Richard (1999). West Africa: The Rough Guide (3rd ed.). London: Rough Guides. ISBN 978-1858284682.
  • Mbaku, John Mukum (2005). Culture and Customs of Cameroon. Westport, Connecticut: Greenwood Press. ISBN 978-0313332319.
  • Neba, Aaron (1999). Modern Geography of the Republic of Cameroon (3rd ed.). Bamenda: Neba Publishers.
  • West, Ben (2004). Cameroon: The Bradt Travel Guide. Guilford, Connecticut: The Globe Pequot Press. ISBN 978-1841620787.

อ่านเพิ่ม แก้

  • "Cameroon – Annual Report 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2007. สืบค้นเมื่อ 7 February 2007. . Reporters without Borders. Retrieved 6 April 2007.
  • "Cameroon". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2007. สืบค้นเมื่อ 6 January 2007. . Human Development Report 2006. United Nations Development Programme. Retrieved 6 April 2007.
  • Fonge, Fuabeh P. (1997). Modernization without Development in Africa: Patterns of Change and Continuity in Post-Independence Cameroonian Public Service. Trenton, New Jersey: Africa World Press, Inc.
  • MacDonald, Brian S. (1997). "Case Study 4: Cameroon", Military Spending in Developing Countries: How Much Is Too Much? McGill-Queen's University Press.
  • Njeuma, Dorothy L. (no date). "Country Profiles: Cameroon". The Boston College Center for International Higher Education. Retrieved 11 April 2008.
  • Rechniewski, Elizabeth. "1947: Decolonisation in the Shadow of the Cold War: the Case of French Cameroon." Australian & New Zealand Journal of European Studies 9.3 (2017). online[ลิงก์เสีย]
  • Sa'ah, Randy Joe (23 June 2006). "Cameroon girls battle 'breast ironing'". BBC News. Retrieved 6 April 2007.
  • Wright, Susannah, ed. (2006). Cameroon. Madrid: MTH Multimedia S.L.
  • "World Economic and Financial Surveys". World Economic Outlook Database, International Monetary Fund. September 2006. Retrieved 6 April 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

รัฐบาล
การค้า