พิกัดภูมิศาสตร์: 15°N 19°E / 15°N 19°E / 15; 19

ชาด (ฝรั่งเศส: Tchad; อาหรับ: تشاد, Tshād) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตทางเหนือจดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกจดประเทศซูดาน ทางใต้จดสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศแคเมอรูนและประเทศไนจีเรีย และทางตะวันตกจดประเทศไนเจอร์ เนื่องจากมีระยะไกลจากทะเลและมีภูมิอากาศเป็นแบบทะเลทรายเป็นส่วนใหญ่ ประเทศจึงได้ชื่อว่าเป็น "หัวใจตายของแอฟริกา" (dead heart of Africa) ทางเหนือมีทิวเขาทิเบสตี (Tibesti Mountains) ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดในทะเลทรายสะฮารา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแอฟริกาศูนย์สูตรของฝรั่งเศส (Federation of French Equatorial Africa) มีชื่อตามทะเลสาบชาด (Lake Chad)

สาธารณรัฐชาด

République du Tchad (ฝรั่งเศส)
العربية تشاد (อาหรับ)
ตราแผ่นดินของชาด
ตราแผ่นดิน
คำขวัญUnité, Travail, Progrès
(ภาษาฝรั่งเศส: เอกภาพ แรงงาน การพัฒนา)
ที่ตั้งของชาด
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อึนจาเมนา
12°06′N 16°02′E / 12.100°N 16.033°E / 12.100; 16.033
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศสและภาษาอาหรับ
การปกครองรัฐเดี่ยวแบบคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง[1]
Mahamat Déby
Succès Masra
เอกราช
11 สิงหาคม พ.ศ. 2503
พื้นที่
• รวม
1,284,000 ตารางกิโลเมตร (496,000 ตารางไมล์)[2] (20)
1.9
ประชากร
• 2020 ประมาณ
16,244,513[3] (70)
• สำมะโนประชากร 2009
11,039,873[4]
8.6 ต่อตารางกิโลเมตร (22.3 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2018 (ประมาณ)
• รวม
$30 พันล้าน[5] (123)
$2,428[5] (168)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2018 (ประมาณ)
• รวม
$11 พันล้าน[5] (130)
$890[5] (151)
จีนี (2011)43.3[6]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)ลดลง 0.398[7]
ต่ำ · 187
สกุลเงินฟรังก์ซีเอฟเอ (XAF)
เขตเวลาUTC+1 (WAT)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+235
โดเมนบนสุด.td

ประวัติศาสตร์ แก้

ชาดเป็นดินแดนที่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของพ่อค้าชาวอาหรับ ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองชาดเมื่อ พ.ศ. 2443 จนได้รับเอกราชเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2503

ใน พ.ศ. 2509 กลุ่มมุสลิมทางภาคเหนือก่อกบฏต่อต้านรัฐบาลในภาคใต้ที่เป็นชาวคริสต์ รัฐบาลชาดเปิดให้กองทหารลิเบียเข้ามาในประเทศเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 และแสดงเจตนารมณ์จะรวมเข้ากับลิเบียเมื่อ 6 มกราคม พ.ศ. 2524 แต่ถูกฝรั่งเศสและหลายชาติในแอฟริกาคัดค้าน กองทหารลิเบียจึงถอนตัวออกไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2524 กบฏมุสลิมนำโดยฮาเบอร์เข้ายึดเมืองหลวงได้ใน พ.ศ. 2526 แต่ยังต้องต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามที่มีลิเบียหนุนหลัง ฝรั่งเศสเข้ามาสนับสนุนฮาเบอร์ ต่อมาฝรั่งเศสกับลิเบียตกลงจะถอนทหารออกจากชาดพร้อมกันภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2527 แต่ลิเบียยังคงทหารไว้ทางเหนือของชาดจนถูกทหารชาดขับออกไปในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2530

ชาดต้องประสบกับปัญหาสงครามกลางเมืองหลายครั้ง รวมถึงการบุกรุกดินแดนโดยลิเบีย และกลุ่มกบฏที่ดำเนินการก่อความไม่สงบอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา เมื่อนาย Deby สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี และได้ยกร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2539 และปี 2544

อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 ได้มีกลุ่มกบฏใหม่เกิดขึ้นทางชายแดนฝั่งตะวันตกของซูดาน และดำเนินการก่อความไม่สงบทางภาคตะวันออกของชาด ปัจจุบัน อำนาจทางการเมืองของประเทศยังคงตกอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยของประเทศ

ภูมิอากาศ แก้

ภาคเหนือมีอากาศแบบทะเลทราย ทางภาคใต้มีอากาศร้อนชื้น ฝนตกมากในเดือนสิงหาคม และแห้งแล้งที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม อากาศหนาวที่สุดในเดือนธันวาคม (ประมาณ 14-33 องศาเซลเซียส)

การเมืองการปกครอง แก้

ชาดปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี มีอำนาจในการเสนอชื่อแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศ ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยรัฐสภาระบบสองสภา มีสมาชิกสภา 155 คน มาจากการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ในขณะที่วุฒิสมาชิกดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี มีการเลือกตั้งทุก ๆ 2 ปี เพื่อทดแทนสมาชิก 1 ใน 3 ส่วนของสภาที่พ้นหน้าที่ ฝ่ายตุลาการประกอบด้วยศาลสูง ศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา และศาลแขวง

ประธานาธิบดี Idriss Deby ซึ่งได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโดยการทำรัฐประหารในปี 2533 ได้ปกครองประเทศเรื่อยมา ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายน 2548 ประธานาธิบดี Idriss Deby ได้จัดให้มีการลงประชามติเพื่อปรับแก้รัฐธรรมนูญซึ่งยังผลให้ตนสามารถสมัครลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีต่อได้เป็นสมัยที่ 3 และได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีต่อมา และดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน ท่ามกลางกระแสคัดค้านของพวกกบฏที่ยังคงใช้ความรุนแรงในความพยายามโค่นล้มรัฐบาลคว

นโยบายต่างประเทศ แก้

สถานการณ์ความไม่สงบในภูมิภาคแอฟริกากลางส่งผลอย่างยิ่งต่อสถานะของชาดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชาดต้องรับภาระผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดาน ทั้งยังมีความสัมพันธ์ที่ยังคงอยู่ในระดับเสื่อมทรามกับกับซูดาน ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันออกซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันยาวที่สุดถึง 1,360 กิโลเมตร ทั้งสองประเทศกล่าวหากันและกันว่าให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏที่ต่อต้านรัฐบาล ล่าสุด ชาดได้ปิดพรมแดนและตัดความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจกับซูดาน เพื่อตอบโต้การที่ซูดานตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับชาดในปี 2549

ในปี 2550 สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติให้กองกำลังรักษาสันติภาพร่วมแห่งสหประชาชาติและสหภาพยุโรป (UN-European Union peacekeeping force) ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองประชาชนจากผลกระทบของการสู่รบในดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน ต่อมา ในเดือนมกราคม 2551 สหภาพยุโรปได้เห็นชอบให้จัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในดาร์ฟูร์

ความสัมพันธ์ระหว่างชาดกับฝรั่งเศสยังคงเป็นไปด้วยดี ที่ผ่านมา ฝรั่งเศสได้ส่งกองกำลังเข้ามาช่วยปราบปรามกลุ่มกบฏ และให้ความช่วยเหลือชาดในด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ

การที่ชาดผันตัวมาเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ทำให้ต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในชาดมากขึ้น รัฐบาลชาดเองก็ได้ปรับกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนและค้าขายน้ำมันให้มีความผ่อนปรนมากขึ้นเพื่อรองรับการลงทุนจากต่างชาติ

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

18 เขตได้แก่

  1. Batha
  2. Borkou-Ennedi-Tibesti
  3. Chari-Baguirmi
  4. Guera
  5. Hadjer-Lamis
  6. Kanem
  7. Lac
  8. Logone Occidental
  9. Logone Oriental
  10. Mandoul
  11. Mayo-Kebbi Est
  12. Mayo-Kebbi Ouest
  13. Moyen-Chari
  14. Ouaddai
  15. Salamat
  16. Tandjile
  17. Ville de N'Djamena
  18. Wadi Fira

ประชากร แก้

ศาสนา แก้

อิสลามร้อยละ 53.1 คริสต์ร้อยละ 34.3 (คาทอลิกร้อยละ 20.1 โปรเตสแตนต์ร้อยละ 14.2) อื่น ๆ ร้อยละ 12.6

อ้างอิง แก้

  1. "Chad's President Idriss Déby dies 'in clashes with rebels'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
  2. "Le TCHAD en bref" (ภาษาฝรั่งเศส). INSEED. 22 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
  3. Projections demographiques 2009–2050 Tome 1: Niveau national (PDF) (Report) (ภาษาฝรั่งเศส). INSEED. July 2014. p. 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
  4. DEUXIEME RECENSEMENT GENERAL DE LA POPULATION ET DE L'HABITAT (RGPH2, 2009): RESULTATS GLOBAUX DEFINITIFS (PDF) (Report) (ภาษาฝรั่งเศส). INSEED. March 2012. p. 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Chad". International Monetary Fund.
  6. "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 16 April 2017.
  7. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้