คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง (อังกฤษ: junta หรือ military junta) เป็นรัฐบาลที่นำโดยคณะผู้นำทางทหาร คำนี้มาจากภาษาสเปน junta หมายถึง คณะกรรมการหรือที่ประชุม เกิดขึ้นครั้งแรกในสงครามคาบสมุทรครั้งที่นโปเลียนเข้ารุกรานสเปนในคริสต์ศักราช 1808 โดยคำนี้นิยามถึงรัฐบาลรูปแบบอำนาจนิยมโดยมีโครงสร้างแบบคณาธิปไตยเผด็จการทหาร โดยการปกครองแบบนี้จะค่อนข้างเด่นจากการปกครองอำนาจนิยมรูปแบบอื่น ๆ เช่น บุรุษทหาร (เผด็จการทหารแบบอัตตาธิปไตย) โครงสร้างแบบกลไก (คณาธิปไตยเผด็จการแบบพรรคการเมือง) และ ลัทธิผู้นำนิยม (อัตตาธิปไตยเผด็จการแบบโครงสร้างพรรคการเมือง) เป็นต้น
คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองในอดีต
แก้- การปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952 และ สภาทหารสูงสุดอียิปต์ (ค.ศ. 2011–2012)
- สภาสูงสุดเพื่อการฟื้นฟูแห่งชาติ (ค.ศ. 1961–1963)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองไนจีเรีย (ค.ศ. 1966–1979 และ ค.ศ. 1983–1998)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองกรีซ (ค.ศ. 1967–1974), เรียกว่า "คณะผู้ยึดอำนาจนายพัน".
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองเปรู (ค.ศ. 1968–1980)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองบราซิล (ค.ศ. 1969)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองโบลิเวีย (ค.ศ.1970–1971 และ ค.ศ. 1980–1982)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองชิลี (สเปน: Junta Militar de Gobierno) (ค.ศ. 1924–1925; ค.ศ. 1925; ค.ศ. 1932; ค.ศ. 1973–1990)
- คณะรัฐบาลเพื่อการบูรณะชาติ (สเปน: Junta de Gobierno de Reconstrucción Nacional)
- สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ค.ศ. 1988–2011
- คณะรัฐบาลปฏิวัติเอลซานวาดอร์ (สเปน: Junta Revolucionaria de Gobierno, JRG)
- คณะรัฐบาลปฏิวัติโปรตุเกส (โปรตุเกส: Junta de Salvação Nacional)
- คณะหารือทหารช่วยให้ชาติพ้นภัย (ค.ศ. 1981–1983)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองเฮติ (ค.ศ. 1991–1994)
- คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 - 21 เมษายน พ.ศ. 2535)
- คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (19 กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549)
- คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
- สภาสูงสุดเพื่อประชาธิปไตย และ การพัฒนาแห่งชาติ (ค.ศ. 2008–2010)
- รัฐประหารในประเทศฟิจี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006–2014)
- คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)