ชาตินิยม
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ชาตินิยม (อังกฤษ: nationalism) เป็นความคิดและการเคลื่อนไหวที่ถือได้ว่าประเทศชาติควรจะสอดคล้องกับรัฐ[1][2] เนื่องจากการเคลื่อนไหวนี้ ลัทธิชาตินิยมมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติโดยเจาะจง (เช่น ในกลุ่มคน)[3] โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยมีจุดมุ่งหมายในการได้มาและรักษาอำนาจอธิปไตยของชาติ(การปกครองตนเอง) เหนือบ้านเกิดเพื่อสร้างรัฐชาติ ลัทธิชาตินิยมถือได้ว่าแต่ละประเทศควรที่จะปกครองตนเองโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก (การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง) ว่าประเทศชาตินั้นเป็นพื้นฐานทางธรรมชาติและอุดมคติสำหรับการเมือง[4] และประเทศชาติเป็นแหล่งอำนาจทางการเมืองโดยชอบธรรมเท่านั้น[5][6] นอกจากนี้ยังมุ่งเป้าหมายในการสร้างและรักษาเอกลักษณ์ประจำชาติเพียงอย่างเดียว ตามลักษณะทางสังคมที่ใช้ร่วมกันของวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ภาษา การเมือง (หรือรัฐบาล) ศาสนา ประเพณี และความเชื่อในประวัติศาสตร์ของนามเอกพจน์ที่ใช้ร่วมกัน[7][8] และส่งเสริมความสามัคคีของชาติหรือภราดรภาพ(solidarity)[9] ลัทธิชาตินิยมจึงพยายามปกปักรักษาและอุปถัมภ์วัฒนธรรมอันเก่าแก่ของประเทศชาติ[10] มีคำจำกัดความต่าง ๆ ของคำว่า "ชาติ" ซึ่งนำไปสู่ลัทธิชาตินิยมประเภทต่าง ๆ มีสองรูปแบบที่แตกต่างกันคือ ลัทธิชาตินิยมที่เน้นทางชาติพันธุ์(ethnic nationalism) และลัทธิชาตินิยมแบบพลเมือง(civic nationalism)
ความเห็นส่วนใหญ่ในท่ามกลางนักวิชาการคือประเทศชาติต่างถูกสร้างขึ้นโดยสังคมและอาจจะเกิดขึ้นตามประวัติศาสตร์[11] ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ ผู้คนมีความผูกผันกับกลุ่มเครือญาติและจารีตประเพณี ผู้มีอำนาจปกครองดินแดนและบ้านเกิดของพวกเขา แต่ลัทธิชาตินิยมไม่ได้กลายเป็นอุดมการณ์ที่มีความโดดเด่นจนถึงปลายศตวรรษที่ 18[12] ทัศนคติที่โดดเด่นมีอยู่สามประการกับลัทธิชาตินิยม ลัทธิบรรพชนนิยม(Primordialism)(นิรันตรนิยม) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความคิดเห็นของลัทธิชาตินิยมเป็นที่นิยมแต่กลับไม่เป็นที่ยอมรับในท่ามกลางนักวิชาการส่วนใหญ่[13] ได้เสนอแนะว่าประเทศชาติมีอยู่เสมอมาและลัทธิชาตินิยมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สัญลักษณ์ประจำชาตินิยม (Ethnosymbolism) ได้อธิบายว่าลัทธิชาตินิยมเป็นปรากฏการณ์วิวัฒนนาการแบบไดนามิกและให้ความสำคัญของสัญลักษณ์ต่าง ตำนานปรัมปรา และประเพณีในการพัฒนาของประเทศชาติและลัทธิชาตินิยม ทฤษฎีความทันสมัย (Modernization Theory) ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ลัทธิบรรพชนนิยมเป็นการอธิบายที่โดดเด่นของลัทธิชาตินิยม[14] การใช้แนวทางคอนสตรัคติวิสต์และเสนอแนะให้ลัทธิชาตินิยมได้กำเนิดขึ้น เนื่องจากกระบวนการของความทันสมัย เช่น อุตสาหกรรม การทำให้เป็นเมือง และการศึกษามวลชน ซึ่งทำให้เกิดมีจิตสำนึกของชาติเท่าที่เป็นไปได้[11][15] ผู้เสนอทฤษฏีถัดมานี้ได้บรรยายถึงประเทศชาติว่า เป็น"ชุมชนจินตกรรม"(imagined communities) และลัทธิชาตินิยมคือ "ประเพณีประดิษฐ์"(Invented tradition) ซึ่งความรู้สึกร่วมกันทำให้เกิดรูปแบบอัตลักษณ์ส่วนร่วมและเชื่อมโยงบุคคลเข้าด้วยกันในความเป็นภราดรภาพทางการเมือง "เรื่องราว" ที่เป็นรากฐานของประเทศชาติอาจถูกสร้างขึ้นจากการผสมผสานกันระหว่างคุณลักษณะ ค่านิยม และหลักการทางชาติพันธุ์ และอาจจะเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการเล่าบรรยายถึงความเป็นเจ้าของ[11][16][17]
คุณค่าทางศีลธรรมของลัทธิชาตินิยม ความสัมพันธ์ระหว่างลัทธิชาตินิยมกับความรักประเทศชาติ และการเข้าด้วยกันได้ของลัทธิชาตินิยมและความเป็นพลเมืองโลก(Cosmopolitanism) ล้วนเป็นหัวข้อของการอภิปรายเชิงปรัชญา[11] ลัทธิชาตินิยมสามารถรวมเข้ากับเป้าหมายและอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีความหลากหลาย เช่น อนุรักษ์นิยม(ชาติอนุรักษ์นิยมและปีกขวาประชานิยม) และสังคมนิยม(ลัทธิชาตินิยมปีกซ้าย)[4][18][19] ในทางปฏิบัติ ลัทธิชาตินิยมสามารถเป็นทั้งเชิงบวกหรือเชิงลบได้ ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์และผลลัพธ์ที่ออกมา ลัทธิชาตินิยมเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพ และความยุติธรรม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูวัฒนธรรม,[20] และส่งเสริมความภาคภูมิใจในความสำเร็จของประเทศชาติ[21] นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้เพื่อการแบ่งแยกเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และศาสนาโดยชอบด้วยกฎหมาย การปราบปรามหรือโจมตีชนกลุ่มน้อยและบ่อนทำลายสิทธิมนุษยชนและวัฒนธรรมประชาธิปไตย[11] ลัทธิชาตินิยมหัวรุนแรงรวมเข้ากับความเกลียดชังทางเชื้อชาติเป็นปัจจัยที่สำคัญในฮอโลคอสต์ซึ่งถูกกระทำโดยนาซีเยอรมนี[22]
อ้างอิง
แก้- ↑ Hechter, Michael (2000). Containing Nationalism (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-829742-0.
- ↑ Gellner, Ernest (2008). Nations and Nationalism (ภาษาอังกฤษ). Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-7500-9.
- ↑ Smith, Anthony. Nationalism: Theory, Ideology, History. Polity, 2010. pp. 9, 25–30; James, Paul (1996). Nation Formation: Towards a Theory of Abstract Community. London: Sage Publications.
- ↑ 4.0 4.1 Finlayson, Alan (2014). "5. Nationalism". ใน Geoghegan, Vincent; Wilford, Rick (บ.ก.). Political Ideologies: An Introduction. Routledge. pp. 100-102. ISBN 978-1-317-80433-8.
- ↑ Smith, Anthony. Nationalism: Theory, Ideology, History. Polity, 2010. pp. 9, 25–30; James, Paul (1996). Nation Formation: Towards a Theory of Abstract Community. London: Sage Publications.
- ↑ Yack, Bernard. Nationalism and the Moral Psychology of Community. University of Chicago Press, 2012. p. 142
- ↑ Triandafyllidou, Anna (1998). "National Identity and the Other". Ethnic and Racial Studies. 21 (4): 593–612. doi:10.1080/014198798329784.
- ↑ Smith, A.D. (1981). The Ethnic Revival in the Modern World. Cambridge University Press.
- ↑ Smith, Anthony. Nationalism: Theory, Ideology, History. Polity, 2010. pp. 9, 25–30; James, Paul (1996). Nation Formation: Towards a Theory of Abstract Community. London: Sage Publications.
- ↑ Smith, Anthony. Nationalism: Theory, Ideology, History. Polity, 2010. pp. 6–7, 30–31, 37
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Mylonas, Harris; Tudor, Maya (2021). "Nationalism: What We Know and What We Still Need to Know". Annual Review of Political Science. 24 (1): 109–132. doi:10.1146/annurev-polisci-041719-101841.
- ↑ Kohn, Hans (2018). Nationalism. Encyclopedia Britannica.
- ↑ Coakley, John (April 2018). "'Primordialism' in nationalism studies: theory or ideology?: 'Primordialism' in nationalism studies". Nations and Nationalism. 24 (2): 327–347. doi:10.1111/nana.12349.
- ↑ Woods, Eric Taylor; Schertzer, Robert; Kaufmann, Eric (April 2011). "Ethno-national conflict and its management". Commonwealth & Comparative Politics. 49 (2): 154. doi:10.1080/14662043.2011.564469. S2CID 154796642.
- ↑ Smith, Deanna (2007). Nationalism (2nd ed.). Cambridge: polity. ISBN 978-0-7456-5128-6.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAnderson
- ↑ Hobsbawm, E.; Ranger, T. (1983). The Invention of Tradition. Cambridge, UK: Cambridge Univ. Press.
- ↑ Bunce, Valerie (2000). "Comparative Democratization: Big and Bounded Generalizations". Comparative Political Studies (ภาษาอังกฤษ). 33 (6–7): 703–734. doi:10.1177/001041400003300602. ISSN 0010-4140. S2CID 153875363.
- ↑ Kocher, Matthew Adam; Lawrence, Adria K.; Monteiro, Nuno P. (2018). "Nationalism, Collaboration, and Resistance: France under Nazi Occupation". International Security. 43 (2): 117–150. doi:10.1162/isec_a_00329. ISSN 1531-4804. S2CID 57561272.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSmith - culture
- ↑ Nairn, Tom; James, Paul (2005). Global Matrix: Nationalism, Globalism and State-Terrorism. London and New York: Pluto Press.
- ↑ Pierre James (2001). The Murderous Paradise: German Nationalism and the Holocaust. Greenwood. ISBN 978-0-275-97242-4.