วิกิพีเดีย:การตรวจสอบเปลี่ยนแปลงล่าสุด

การตรวจสอบบทความ ในวิกิพีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าปรับปรุงล่าสุด ดูเพิ่มเติมสำหรับรูปแบบการก่อกวนที่ วิกิพีเดีย:การก่อกวน และการตรวจสอบเฉพาะทางที่ วิกิพีเดีย:หน่วยเก็บกวาดเฉพาะกิจ

การตรวจสอบบทความ แก้

ขั้นตอน แก้

  1. พิจารณาว่าหน้านั้นเหมาะสมในรูปแบบสารานุกรมหรือไม่ ดูว่าบทความควรถูกลบออกหรือว่าควรปรับปรุง
  2. บทความที่ไม่ได้จัดรูปแบบ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการคัดลอกจากแหล่งอื่นซึ่งอาจละเมิดลิขสิทธิ์
  3. ถ้าต้องการตรวจสอบข้อความล่าสุดที่เข้ามาในวิกิพีเดีย ดูที่ ปรับปรุงล่าสุด (หรือเลือกจากเมนูด้านซ้ายมือ) และถ้าต้องการตรวจดูเฉพาะผู้เขียนที่ไม่ประสงค์ออกนามให้เลือก "ซ่อนผู้ใช้ที่ล็อกอิน"

ข้อแนะนำ แก้

  • อย่ากัดผู้ใช้ใหม่ - ผู้ใช้ใหม่อาจจะมีข้อผิดพลาดบ่อย ให้คำแนะนำและอธิบายรูปแบบในการเขียนบทความ
  • อย่าข้ามหัวผู้อื่น - ระวังถ้าผู้อื่นกำลังแก้ไขงานอยู่ รอจนกว่าแน่ใจว่าผู้ใช้นั้นได้เขียนบทความเสร็จแล้ว ยกเว้นเสียแต่ว่าผู้นั้นมีเจตนาก่อกวน

ป้ายที่ใช้ในการตรวจสอบ แก้

ขั้นที่หนึ่ง : เหมาะสมกับการเป็นสารานุกรม แก้

ป้ายในกลุ่มนี้ จะติดไว้ส่วนบนของบทความเพื่อให้ผู้อ่านรู้ ยกเว้นป้ายแจ้งละเมิดลิขสิทธิ์จะติดไว้เต็มหน้าและนำข้อความเดิมออกหมด ป้ายประเภทนี้จะเป็นการเตือนว่าบทความนั้นควรจะได้รับการปรับปรุงอย่างเร่งด่วนตามที่ได้มีผู้แจ้งเอาไว้ ก่อนที่จะได้พัฒนาบทความให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ต้องการที่จะ ใช้คำสั่ง หมายเหตุ
แจ้งลบบทความ {{ลบ}} บทความไม่ใช่ลักษณะสารานุกรมคือ บทพูดคุย บทวิจารณ์ คำโฆษณาหรือเป็นเรื่องไร้สาระ
แจ้งละเมิดลิขสิทธิ์ {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} ถ้าตรวจสอบแล้วรู้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ใส่ชื่อเว็บ ที่อาจจะมีการคัดลอกมาหลังคำว่า url
แจ้งอาจละเมิดลิขสิทธิ์ {{ตรวจลิขสิทธิ์}} เนื้อหาเหมือนหรือคล้ายกับบทความจากแหล่งอื่น ถ้าพบว่าคัดลอกมาจากแหล่งใดให้เปลี่ยนไปใช้ {{ละเมิดลิขสิทธิ์}}
แจ้งไม่เป็นสารานุกรม {{ไม่เป็นสารานุกรม}} บทความที่ควรมีแต่รูปแบบการเขียนไม่เป็นลักษณะสารานุกรม อาจเหมือนตำราเรียน วิทยานิพนธ์หรือคู่มือการใช้งาน ถ้าไม่มีลักษณะสารานุกรมโดยตรงให้แจ้ง {{ลบ}} แทน
แจ้งการโฆษณา {{โฆษณา}} ถ้าตรวจสอบแล้วรู้สึกว่าบทความนี้อ่านเหมือนการโฆษณาขายของ ชวนเชื่อ ให้คล้อยตาม
แจ้งขาดความสำคัญ {{ขาดความสำคัญ}} บทความดังกล่าวมีลักษณะผิดไปจากเงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรมหรือไม่ได้ระบุความสำคัญของเนื้อหาจนผู้อื่นได้เข้าใจ

ขั้นที่สอง : ปรับปรุงบทความให้ได้ตามมาตรฐาน แก้

เมื่อตรวจสอบผ่านจากป้ายด้านบนแล้ว บทความควรต้องปรับปรุง ป้ายในกลุ่มนี้จะติดไว้ส่วนบนของบทความเพื่อบอกให้ผู้อ่านรู้ หรือติดไว้ส่วนล่างเพื่อให้ผู้เขียนรู้ นอกจากติดป้ายนี้แล้วผู้ติดป้ายสามารถร่วมแก้ไขได้ทันที ซึ่งแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าถ้าการแก้ไขนั้นเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ให้ทำการแก้ไขแทนที่ติดป้าย

ต้องการที่จะ ใช้คำสั่ง หมายเหตุ
ตรวจเนื้อหาและรูปแบบ
แจ้งเก็บกวาด {{เก็บกวาด}} บทความที่ต้องการเก็บกวาดเพื่อให้เนื้อหาและรูปแบบ พัฒนาคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ตรวจรูปแบบ
ตรวจแก้รูปแบบ {{แก้รูปแบบ}} บทความที่มีเนื้อหาดีแต่รูปแบบต้องการปรับปรุงให้เหมาะสมกับวิกิพีเดีย
เพิ่มวิกิลิงก์ {{ต้องการวิกิลิงก์}} บทความที่มีเนื้อหาดีแต่ต้องการเพิ่มวิกิลิงก์เพื่อให้ได้มาตรฐานวิกิพีเดีย
เหมือนเรซูเม {{เรซูเม}} รูปแบบการเขียนเหมือนลักษณะการเขียนเรซูเมหรือผลงานการเรียนหรือการทำงาน
ตรวจเนื้อหา
แหล่งอ้างอิง {{ต้องการอ้างอิง}} ติดป้ายไว้เพื่อบอกผู้เขียนว่าบทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ และใช้สำหรับตรวจสอบในกรณีที่เนื้อหาไม่ถูกต้องหรือขัดแย้งกันเอง
ตรวจการใช้ภาษา {{แก้ภาษา}} บทความที่เขียนในลักษณะภาษาพูดหรือมีการใช้ภาษาอื่นปนเป็นจำนวนมากในเนื้อหา
ตรวจสอบความถูกต้อง {{ตรวจสอบความถูกต้อง}} ต้องการให้ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ซึ่งถ้าอ่านและเจอที่ผิดสามารถแก้ไขทันทีโดยไม่ต้องติดป้าย
ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ {{โปร}} ร้องขอให้ทำการตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจความไม่เป็นกลาง {{ตรวจความเป็นกลาง}} บทความมีเนื้อหาไม่เป็นกลางโอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายมุมมองที่เป็นกลาง
แจ้งไม่เป็นกลาง {{ไม่เป็นกลาง}} หรือ {{ไม่เป็นกลาง-ส่วน}} ถ้าตรวจสอบ แล้วโอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ไม่สอดคล้องกับนโยบายมุมมองที่เป็นกลาง
แจ้งอัตชีวประวัติ {{อัตชีวประวัติ}} ถ้าตรวจสอบ แล้วรู้สึกว่าชีวประวัตินี้เหมือนเจ้าตัวหรือบุคคลใกล้ชิดเขียนขึ้นเอง
แจ้งข้อมูลล้าสมัย {{อัปเดต}} ข้อมูลล้าสมัยไม่เป็นข้อมูลปัจจุบัน
พิเศษ {{ข้อควรปรับปรุงของบทความ}} หากใช้ป้ายปรับปรุงบทความเยอะเกินไป ควรเปลี่ยนมาใช้แม่แบบนี้เพื่อให้ง่ายต่ออ่านและปรับปรุง

ขั้นที่สาม : พัฒนาคุณภาพบทความและรูปแบบ แก้

สำหรับบทความที่เนื้อหาและรูปแบบเหมาะสมกับวิกิพีเดียแล้ว อาจจะติดป้ายเหล่านี้เพิ่มเติมเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและแก้ไขในภายหลัง รวมถึงบอกผู้เขียนคนอื่นว่าบทความนี้ยังต้องการส่วนใดเพิ่มเติม

ต้องการที่จะ ใช้คำสั่ง ตำแหน่ง หมายเหตุ
แจ้งว่าเป็นโครง {{โครง}} หรือ {{โครง___}} ล่าง บอกแก่ผู้อ่านและผู้เขียน ว่าบทความนี้ต้องเพิ่มเนื้อหาให้สมบูรณ์มากขึ้น โดยป้ายโครงที่ "โครงเฉพาะ" ตามความเหมาะสม และดูระดับที่ ระดับบทความ
ต้องการหมวดหมู่ {{ต้องการหมวดหมู่}} บน ติดป้ายไว้เพื่อบอกผู้เขียนว่าบทความนี้ ต้องการหมวดหมู่ เพื่อง่ายต่อการสืบค้น ซึ่งในวิกิพีเดียเองนั้น ทุกบทความควรมีหมวดหมู่อย่างน้อย 1 หมวดหมู่
เสนอแนะรวมบทความ {{รวม}} บน แนะนำว่าบทความนี้ควรจะรวมเข้ากับบทความอื่น โดยใส่ชื่อบทความอื่นต่อในป้าย
เสนอแนะแยกบทความ {{แยก}} บน แนะนำให้แยกบทความออก เนื่องจากบทความมีความยาว
เสนอแนะย้ายบทความ {{ย้าย}} บน แนะนำให้ย้ายบทความ ไปโครงการอื่นเช่น วิกิตำรา วิกิพจนานุกรม หรือ วิกิซอร์ซ
มีบทความที่ชื่ออื่น {{ชื่ออื่น}} บน ใช้สำหรับการแก้กำกวมสำหรับบทความหลักที่มีน้ำหนักมากกว่า
ชื่อซ้ำกัน {{แก้กำกวม}} ล่าง ถ้าบทความสองบทความ (หรือมากกว่า) มีน้ำหนักเท่ากัน ให้สร้างหน้ากลาง ดูที่ บาท และใส่ แก้กำกวม ไว้
ถ้าบทความที่มีน้ำหนักมากกว่า ให้ใส่ชื่อหลักไว้ที่หน้าบทความนั้น และอ้างอิงไปบทความเดิมตามด้วย คำว่า " (แก้ความกำกวม) " ดูที่ แมว และ แมว (แก้ความกำกวม)
ใช้ชื่อภาษาอื่น {{ชื่อภาษาอื่น}} บน ถึงแม้ว่าหลักการตั้งชื่อบทความในวิกิพีเดียแนะนำให้ใช้ชื่อภาษาไทยเป็นหลัก เพื่อง่ายต่อการอ้างถึงและเข้าใจต่อผู้อ่าน บางครั้งไม่มีชื่อไทยที่เหมาะสม ให้ติดป้ายนี้ไว้สำหรับตรวจสอบในภายหลัง หรือเมื่อเจอชื่อที่เหมาะสมสามารถกลับมาเปลี่ยนชื่อได้

นอกจากป้ายที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ยังมีป้ายอีกหลายแบบในวิกิพีเดีย ดูเพิ่มที่ หมวดหมู่:ป้ายในวิกิพีเดีย