วิกิพีเดีย:โครงการวิกิบทความเสียง
โครงการวิกิบทความเสียง เป็นโครงการใหม่ของวิกิพีเดียภาษาไทย ที่เปิดโอกาสให้อาสาสมัครช่วยกันบันทึกเสียงจากบทความต่างๆ ของวิกิพีเดียภาษาไทย ซึ่งบทความเสียงทั้งหมดจะอยู่ที่ วิกิพีเดีย:บทความเสียง
ประโยชน์
แก้- บทความเสียงทำให้บุคคลที่เข้าใจภาษาไทยแต่อ่านไม่ได้เข้าถึงเนื้อหาวิกิพีเดียภาษาไทยได้
- ผู้ใช้สามารถฟังบทความวิกิพีเดียระหว่างที่ทำภารกิจอย่างอื่นซึ่งรบกวนการอ่าน แต่ยังมีสมาธิอยู่ (เช่น วิ่งหรือทำงานบ้าน)
- แม้ผู้พิการทางสายตาสามารถใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอ (screen reader) ได้ แต่โปรแกรมอาจไม่แม่นยำเท่าเสียงของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และแขนงอื่นซึ่งปกติต้องใช้การออกเสียงที่ไม่ธรรมดาหรือไม่คุ้นเคย หรือใช้สัญลักษณ์
- เป็นเครื่องมือเรียนรู้ทรงคุณค่าสำหรับผู้เรียนภาษาไทย ถ้ามีลิงก์ไปบทความที่บันทึกเสียงแล้วผู้ใช้สามารถฟังคำไปพร้อมกับอ่านด้วย
- เป็นเครื่องมือเรียนรู้ทรงคุณค่าสำหรับผู้ที่เรียนรู้ได้ดีด้วยการฟัง
สมาชิก
แก้วิธีการสมัครเป็นสมาชิกโครงการวิกิกล่องผู้ใช้
แก้- ติดแม่แบบ {{User WikiProject Spoken Wikipedia}} ไว้ที่หน้าผู้ใช้ของตน
- ลงชื่อที่นี่
- มีส่วนร่วมในการอ่าน แล้วบันทึกเสียงบทความของคุณตามคู่มือในหน้านี้
รายชื่อสมาชิก
แก้- นคเรศ (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) - ผู้ริเริ่มก่อตั้งโครงการในภาษาไทย
- B20180 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน)
- Tvcccp (พูดคุย · เรื่องที่เขียน)
- บุญพฤทธิ์ ทวนทัย (พูดคุย · เรื่องที่เขียน)
- Azoma (พูดคุย · เรื่องที่เขียน)
- Ekminarin (พูดคุย · เรื่องที่เขียน)
คู่มือ
แก้เลือกบทความ
แก้เลือกบทความที่จะบันทึกเสียง ตัวอย่างเช่น
- บทความคัดสรร และ บทความคุณภาพ
- บทความที่มีอยู่ในรายชื่อบทความที่วิกิพีเดียทุกภาษาควรมี
- บทความที่ร้องขอให้มีบทความเสียง (ดูที่นี่)
อ่านบทความ
แก้- การอ่านกรุณาอ่านเป็นจังหวะ อย่ารีบเร่ง อ่านให้ถูกต้องตามหลักอักขระ และการออกเสียง
- สำหรับการออกเสียงปกตินั้น อาจต้องปรับความเร็วในการอ่านช้ากว่าปกติเล็กน้อย
- ในส่วนแรกของบทความเสียงให้พูดว่า
- (ชื่อบทความ) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ที่ https://th.wikipedia.org บันทึกเมื่อวันที่ (วัน-เดือน-ปีพุทธศักราชที่ได้บันทึกไว้)
- เมื่อพบหัวเรื่องต้องอ่านหัวเรื่องให้หมด เช่น "ส่วนที่ 1 - ประวัติ", "ส่วนที่ 2 - หน้าที่", "ส่วนที่ 2.1 - การใช้งานในบ้าน" เป็นต้น ท่านสามารถเปลี่ยนแปลงส่วนหัวเรื่องให้เป็นตัวเลขได้โดยไปที่ หน้าตั้งค่าผู้ใช้ แล้วเลือก "ใส่ตัวเลขหน้าหัวข้อโดยอัตโนมัติ"
- ในส่วนสุดท้ายของบทความเสียงให้พูดว่า
- ข้อความในไฟล์เสียงทั้งหมดนี้ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0
- ในส่วนของอ้างอิง, ดูเพิ่ม, หนังสืออ่านเพิ่มเติม, แหล่งข้อมูลอื่น และหมวดหมู่ ไม่จำเป็นต้องมีในบทความเสียง
สร้างและอัปโหลดไฟล์
แก้- ไฟล์เสียงต้องเป็น .ogg เท่านั้น คุณภาพเสียงที่แนะนำคือ 48 กิโลบิตต่อวินาที
- ชื่อไฟล์ให้ขึ้นต้นด้วย Th- ใส่ชื่อไฟล์ (ชื่อบทความ) แล้วลงท้ายด้วย .ogg เช่น "Th-วิกิพีเดีย-part_1.ogg", "Th-nod-วิกิพีเดีย.ogg"
- หากภาษาที่ใช้คือภาษาไทยมาตรฐาน (ภาษาราชการ) ให้ใช้ "Th-" แต่หากเป็นภาษาไทยท้องถิ่น ให้เพิ่มรหัสภาษาดังนี้
- ภาษาไทยถิ่นเหนือ ให้ใช้ "Th-nod"
- ภาษาไทยถิ่นอีสาน ให้ใช้ "Th-tts"
- ภาษาไทยถิ่นใต้ ให้ใช้ "Th-sou"
- หากภาษาที่ใช้คือภาษาไทยมาตรฐาน (ภาษาราชการ) ให้ใช้ "Th-" แต่หากเป็นภาษาไทยท้องถิ่น ให้เพิ่มรหัสภาษาดังนี้
- โปรดอัปโหลดไปยัง คอมมอนส์ และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA-4.0
- เพิ่มลิงก์ไฟล์ลงใน วิกิพีเดีย:บทความเสียง
เครื่องมือที่แนะนำ
แก้- Audacity (ซอฟต์แวร์เสรี, สำหรับแมค, วินโดวส์ และลินุกซ์ ดาวน์โหลด)
- Sony's Sound Forge
- Adobe Audition (ชื่อเดิม Cool Edit)
- GoldWave (ดาวน์โหลด)
- GarageBand ส่วนหนึ่งของ iLife, แมคเท่านั้น)
โครงการวิกิบทความเสียง เป็นหน้านโยบาย วิธีใช้ หรือหน้าโครงการของวิกิพีเดียที่ยังเป็นโครง หน้าวิธีใช้ และหน้าโครงการของวิกิพีเดียภาษาไทย อาจต่างกับวิกิพีเดียภาษาอื่น ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานนโยบายเดียวกัน |