ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ภาษาหลักในภาคเหนือของไทย

คำเมือง (อักษรธรรมล้านนา: ᨣᩤᩴᨾᩮᩬᩥᨦ; คำเมืองอักษรไทย: กำเมือง หรือ คำเมือง) หรือ ภาษาล้านนา, ภาษาไทยวน ราชการไทยเรียก ภาษาถิ่นพายัพ[4] เป็นภาษาถิ่น ของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัด ได้แก่ ตาก, สุโขทัย, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวน ได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ใน ได้แก่ สระบุรี, ลพบุรี, จันทบุรี, สระแก้ว, พระนครศรีอยุธยา, นครราชสีมา, นครปฐม, กรุงเทพมหานคร, ราชบุรี, กาญจนบุรี, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, สงขลา เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง] คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐชาน[ต้องการอ้างอิง] จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์

ภาษาไทยถิ่นเหนือ
ᨣᩤᩴᨾᩮᩬᩥᨦ
กำเมือง
อักษรธรรมล้านนา ระบบถอดเสียงดั้งเดิม (บน)
อักษรไทย ปัจจุบันนิยมถอดเสียงไม่เป็นมาตรฐาน(ล่าง)
ออกเสียง[käm˧.mɯa̯ŋ˧],  ( ฟังเสียง)
ประเทศที่มีการพูดประเทศไทย
(เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, น่าน, พะเยา, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ตาก, สุโขทัย (เฉพาะใน อำเภอทุ่งเสลี่ยม, อำเภอศรีสัชนาลัย, บางส่วน อำเภอสวรรคโลก, อำเภอบ้านด่านลานหอย, อำเภอคีรีมาศ, อำเภอศรีนคร) ,กำแพงเพชร (เฉพาะใน อำเภอเมือง, อำเภอคลองขลุง, อำเภอคลองลาน) ,อุตรดิตถ์ (อำเภอท่าปลา, บางส่วนของ อำเภอฟากท่า, อำเภอบ้านโคก)
ประเทศพม่า
(ท่าขี้เหล็ก, เมียวดี)
ประเทศลาว
(ห้วยทราย, เมืองต้นผึ้ง)
ภูมิภาคภาคเหนือของประเทศไทย
ชาติพันธุ์ไทยวน
ไทยเชื้อสายจีน[1]
ชาวไทยในประเทศพม่า[2]
จำนวนผู้พูด6 ล้านคน  (2015)[3]
ตระกูลภาษา
ขร้า-ไท
ระบบการเขียนอักษรธรรมล้านนา
อักษรไทย
อักษรไทยฝักขาม
อักษรไทยนิเทศ
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3nod

คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับอักษรธรรมล้านนาซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแบบ

ระบบการเขียนใช้อักษรไทยในการสื่อสารคำเมืองเป็นหลัก เนื่องจากนับตั้งแต่อดีตการศึกษาไทยในสถานศึกษาไม่เคยส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาท้องถิ่น รวมถึงอักษรธรรมล้านนาก็ไม่มีการสอนอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ผู้คนในยุคปัจจุบันแทบไม่เข้าใจอักษรธรรมล้านนา จึงอาศัยการสะกดด้วยอักษรไทยในการสื่อสารผ่านทางข้อความ

รัฐไทยในช่วงรัชกาลที่ 7–9 ได้สั่งห้ามใช้อักษรธรรมล้านนาและคำเมืองในที่สาธารณะ และให้เผาตำราเรียนในภาษาล้านนา เพื่อทำลายรากเหง้าท้องถิ่นหลังผนวกล้านนาเข้ากับตน แต่คำเมืองยังคงได้รับการใช้งานในชีวิตประจำวันสืบ ๆ มา[5][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] ปัจจุบันกลับมีความพยายามจากรัฐไทยเองที่จะอนุรักษ์คำเมือง เช่น ใน พ.ศ. 2559 ราชบัณฑิตยสภาเริ่มโครงการจัดทำพจนานุกรมและรณรงค์การใช้คำเมือง เพราะเกรงภาษาถิ่นจะเลือนหาย[6]

ชื่อ

แก้
 
ป้ายวัดกลางเวียงที่มีการใช้อักษรธรรมล้านนา

ภาษาถิ่นพายัพมีชื่อเรียกหลายชื่อ โดยภาษาจากตระกูลภาษาไทต่าง ๆ มีชื่อเรียกซึ่งคล้ายคลึงหรือไม่เหมือนกัน

  • ในภาษาถิ่นพายัพเอง มักเรียกว่า "กำเมือง" หรือ "คำเมือง" (อักษรธรรมล้านนา: ᨣᩤᩴᨾᩮᩬᩥᨦ, คำเมืองอักษรไทย: กำเมือง) ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงว่า "คำเมือง" อันแปลว่า "ภาษาของเมือง" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "ภาษาล้านนา" ส่วนในอดีตเรียกว่า "คำไท" ออกเสียงว่า "กำไต" หรือ "คำไท" [7] "เทย์ยภาษา" เป็นคำภาษาบาลีใช้เรียกภาษาไทยถิ่นเหนือ ซึ่งมีความหมายว่า "ไทยภาษา" หรือ "ภาษาไทย"[7] ส่วนชาวยวนในจังหวัดราชบุรี เรียกภาษาของตนว่า "ภาษาไทยวน”[8]
  • ภาษาไทยมาตรฐาน เรียกว่า "ภาษาถิ่นพายัพ", "ภาษาไทยถิ่นเหนือ" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ภาษาเหนือ" หรือ "ภาษายวน" ในอดีตเรียก "ลาวเฉียง" หรือ "คำเฉียง"[9]
  • ภาษาลาว เรียกว่า "ภาษายวน" (ลาว: ພາສາຍວນ, รูปปริวรรต: พาสายวน) หรือ "ภาษาโยน" (ลาว: ພາສາໂຍນ, รูปปริวรรต: พาสาโยน)
  • ภาษาไทลื้อ เรียกว่า "ก้ำโย่น" (ไทลื้อ: ᦅᧄᦷᦍᧃ, รูปปริวรรต: คำโยน)
  • ภาษาไทใหญ่ เรียกว่า "กว๊ามโย้น" (ไทใหญ่: ၵႂၢမ်းယူၼ်း, รูปปริวรรต: กวามโยน)

นอกจากภาษากลุ่มไทดังกล่าวแล้ว ภาษาอังกฤษ เรียกภาษาถิ่นพายัพว่า "Northern Thai" หรือ “Kam Mueang”

พื้นที่การใช้ภาษา

แก้

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือไว้ว่า ภาคเหนือตอนบนประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา, แพร่ และน่าน ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาเหนือเป็นภาษากลาง และภาคเหนือตอนล่างประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาไทยกลาง แต่มีเขตที่พูดภาษาไทยถิ่นเหนือด้วยหลายตำบล เช่น ตาก, สุโขทัย, กำแพงเพชร, อุตรดิตถ์, พิจิตร และพิษณุโลก[10]

สมทรง บุรุษพัฒน์ ได้ระบุว่าภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นภาษาที่พูดกันทางตอนเหนือของไทย ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา, แพร่, น่าน, ตาก, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ และบางอำเภอของจังหวัดสระบุรี[11]

กาญจนา เงารังษีและคณะ ได้สรุปผลการศึกษาภาษาถิ่นเหนือที่ใช้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง โดยระบุว่า ภาษาเหนือเป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในพื้นที่ 9 จังหวัด คือ กำแพงเพชร, ตาก, นครสวรรค์, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี[12]

ระบบเสียง

แก้

ระบบเสียงพยัญชนะ

แก้

พยัญชนะต้น

แก้
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก [m]
ᩉ᩠ᨾ
[n]
ᩉ᩠ᨶ
[ɲ]
ᨿ ᩉ᩠ᨿ
[ŋ]
ᩉ᩠ᨦ
ระเบิด tenuis [p]
[t]
[t͡ɕ]
[k]
[ʔ][a]
ธนิต []

ᨷᩕ ᨸᩕ
[]

ᨲᩕ ᨴᩕ
([t͡ɕʰ])[b]

([])[b]
ᨡ ᨠᩕ
ᨥ ᨣᩕ
ก้อง [b]
[d]
เสียดแทรก [f]

 
[s]

[x]

ᨠᩕ ᨣᩕ ᨡᩕ
[h]

ᩉᩕ
เปิด [l]
ᩉᩖ
ᩉ᩠ᩃ
[j]

 
[w]

ᩉ᩠ᩅ
  1. ก่อนหน้าสระ หรือ หลังสระสั้น
  2. 2.0 2.1 /kʰ/ และ /t͡ɕʰ/ มาจากศัพท์ภาษาไทยกลาง

พยัญชนะต้นควบกล้ำ

แก้

ไม่ปรากฏคำควบกล้ำเสียง ร ล มีคำควบกล้ำเฉพาะเสียง ว เท่านั้น อนึ่งเสียงรัวลิ้น "ร" และเสียงไม่รัวลิ้น "ล" ถือว่าไม่ต่างกัน ซึ่งบางครั้งเสียง "ล" จะกลายเป็นเสียง "ร" ก็ไม่ถือว่าต่างกันแต่อย่างใด

คำควบกล้ำในภาษาไทยถิ่นเหนือนั้น มี 12 เสียงได้แก่[13]

สัทอักษร เทียบเสียงอักษรไทย อักษรธรรม ตัวอย่าง
อักษรธรรม คำอ่าน
/kw/ กว ᨠ᩠ᩅ, ᨣ᩠ᩅ ᨠ᩠ᩅᩣ᩠ᨯ, ᨣ᩠ᩅᩢᨠ กวาด, กวั๊ก (กวักมือ)
/xw/ ขว, คว ᨡ᩠ᩅ, ᨢ᩠ᩅ, ᨤ᩠ᩅ ᨡ᩠ᩅᩣ᩠ᨦ,​ ᨤ᩠ᩅᩣ᩠ᨿ ขวาง, ความ
/t͡ɕw/ จว ᨧ᩠ᩅ, ᨩ᩠ᩅ ᨧ᩠ᩅᩣ᩠ᨦ,​ ᨩ᩠ᩅ᩶ᩣ᩠ᨿ จว๋าง (ตกใจ), จว๊าย (เอน)
/ŋw/ งว, หฺงว ᨦ᩠ᩅ,​ ᩉ᩠ᨦ᩠ᩅ ᩉ᩠ᨦ᩠ᩅᩣ᩠ᨷ หฺงวาบ (งาบ)
/sw/ ซว, สว ᨪ᩠ᩅ, ᩈ᩠ᩅ ᩈ᩠ᩅ᩵ᩣ᩠ᨿ, ᨪ᩠ᩅᩣ᩠ᨾ สว่าย (ส่าย), ซวาม (คลำ)
/ɲw/ ญว, หฺญว (เสียงนาสิก) ᨿ᩠ᩅ,​ ᩉ᩠ᨿ᩠ᩅ ᨿ᩠ᩅᩣ,​ ᩉ᩠ᨿ᩠ᩅᩣ᩠ᨾ ญวา (รั่วซึม), หฺญวาม (ขยุ้ม)
/tw/ ตว ᨲ᩠ᩅ, ᨴ᩠ᩅ ᨴ᩠ᩅᩣ᩠ᨿ ตวาย (ทาย)
/dw/ ดว ᨯ᩠ᩅ ᨯ᩠ᩅᩣ᩠ᨠᪧ ดวาก ๆ (อาการเดินส่าย)
/nw/ นว ᨶ᩠ᩅ ᨲ᩵ᩣᩴᨶ᩠ᩅᩣ᩠ᨿ ต่ำนวาย (ทำนาย)
/jw/ ยว, อฺยว ᩀ᩠ᩅ ᩀ᩠ᩅᩣ᩠ᨯ อฺยวาด (พังถล่ม)
/lw/ ลว ᩃ᩠ᩅ, ᩁ᩠ᩅ ᩁ᩠ᩅᩣ᩠ᨿᨲᩕᩦ,​ ᩃ᩠ᩅ᩵ᩣ᩠ᨶ ลวายถี (ราตรี), ลว่าน (เปื่อยยุ่ย)
/ʔw/ อว ᩋ᩠ᩅ ᩋ᩠ᩅ᩵ᩣ᩠ᨿ อว่าย (วกกลับ)

พยัญชนะสะกด

แก้
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก [m] [n] ᨶ ᨱ [ŋ]
ระเบิด [p] ᨷ ᨸ ᨻ ᨼ ᨽ [t] ᨭ ᨮ ᨯ ᨰ ᨲ ᨳ ᨴ ᨵ [k] ᨠ ᨡ ᨣ ᨥ [ʔ] [a]
เปิด [w] [j] ᨿ
  1. หลังสระสั้นเท่านั้น

ระบบเสียงสระ

แก้

สระเดี่ยว

แก้

อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ

ᩋᩡ ᩋᩣ ᩋᩥ ᩋᩦ ᩋᩧ ᩋᩨ ᩋᩩ ᩋᩪ ᩋᩮᩡ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋᩮᩢ) ᩋᩮ ᩋᩯᩡ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋᩯᩢ) ᩋᩯ ᩋᩰᩡ (เมื่อตัวสะกด: ᩋᩫ) ᩋᩰ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋᩰᩫ) ᩋᩰᩬᩡ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋᩬᩢ) ᩋᩬᩴ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋᩬ) ᩋᩮᩬᩥᩡ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋᩮᩥᩢ/ᩋᩮᩥ) ᩋᩮᩬᩥ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋᩮᩥ)

สระประสม

แก้

อัวะ อัว เอียะ เอีย เอือะ เอือ อำ ไอ ใอ เอา

ᩋ᩠ᩅᩫᩡ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋ᩠ᩅᩢ) ᩋ᩠ᩅᩫ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋ᩠ᩅ) ᩋᩮ᩠ᨿᩡ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋ᩠ᨿᩢ) ᩋᩮ᩠ᨿ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋ᩠ᨿ) ᩋᩮᩬᩥᩋᩡ/ᩋᩮᩬᩨᩋᩡ ᩋᩮᩬᩥᩋ/ᩋᩮᩬᩨᩋ (เมื่อมีตัวสะกด: ᩋᩮᩬᩥ/ᩋᩮᩬᩨ) ᩋᩣᩴ ᩋᩱ ᩋᩲ ᩋᩮᩢᩣ

เสียงสระเอือะ, เอือ จะไม่พบในบางท้องถิ่น คือในถิ่นล้านนาตะวันออก ได้แก่ จังหวัดแพร่, อุตรดิตถ์, น่าน, พะเยา และลำปาง โดยจะออกเสียงเป็นสระเอียะ, เอีย เช่น คำเมือง เป็น กำเมียง (มีเสียงเอือะ และเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)

นอกจากนี้ยังมีสำเนียงแบบเมืองยองซึ่งพูดกันมากในจังหวัดลำพูน โดยจะไม่มีสระประสม สระอัว กลายเป็น โอ สระเอีย กลายเป็น เอ และสระเอือ กลายเป็น เออ เช่น เมือง เป็น เมิง, เกลือ เป็น เก๋อ, สวย เป็น โสย, หมี่เกี๊ยว เป็น หมี่เก๊ว เป็นต้น

ระบบเสียงวรรณยุกต์

แก้

ในตำราสอนภาษาล้านนาฉบับมิชชันนารีฉบับ พ.ศ. 2447 ภาษาล้านนาสามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้ถึง 8 เสียง[14]

วรรณยุกต์ (วัณณยุกต์ (ᩅᩢᨱ᩠ᨱᨿᩩᨠ᩠ᨲ᩺)) ทั้งหกของคำเมืองในพยางค์ '/law/' คือ เหลา เหล่า เหล้า เลา เล่า เล้า ตามลำดับ:

เสียงวรรณยุกต์ในพยางค์เป็น

แก้

เสียงวรรณยุกต์สำเนียงเชียงใหม่มี 6 เสียง คือ เสียงจัตวา, เสียงเอก, เสียงตรีปลายโท, เสียงสามัญ, เสียงโท, และเสียงตรี[15]

เสียงวรรณยุกต์ ตัวอย่าง
อักษรไทย อักษรธรรม การถอดรหัสเสียง การออกเสียง[16] ความหมายในภาษาไทย
เสียงจัตวา เหลา ᩉᩮᩖᩢᩣ /lǎw/ [law˨˦] เหลา, ทำให้คม
เสียงเอก เหล่า ᩉᩮᩖᩢ᩵ᩣ /làw/ [law˨˩] เหล่า, ป่า
เสียงตรีปลายโท เหล้า ᩉᩮᩖᩢ᩶ᩣ /la᷇w/ [law˦˦ʔ] เหล้า, เครื่องดื่มมึนเมา
เสียงสามัญ
(อาจสูงขึ้นเล็กน้อยตอนท้างพยางค์)[15]
เลา ᩃᩮᩢᩣ /lāw/ [law˧˧] งาม
เสียงโท เล่า ᩃᩮᩢ᩵ᩣ /lâw/ [law˦˨] เล่า, บอกเรื่อง
เสียงตรี เล้า ᩃᩮᩢᩢ᩶ᩣ /láw/ [law˦˥] เล้า, ที่กักไก่

เสียงวรรณยุกต์ในพยางค์ตาย

แก้
เสียงวรรณยุกต์ ตัวอย่าง
อักษรไทย อักษรธรรม การถอดรหัสเสียง การออกเสียง[16] ความหมายในภาษาไทย
เสียงจัตวา หลัก ᩉᩖᩢᨠ, ᩉᩖᩢ /lǎk/ [lak˨˦] เสาหลัก, หลักแหลม
เสียงตรี ลัก ᩃᩢ᩠ᨠ, ᩃᩢ /lák/ [lak˦˥] ลักขโมย, แอบ
เสียงเอก หลาก ᩉᩖᩣ᩠ᨠ, ᩉᩖᩢᩣ /làːk/ [laːk˨˩] หลากหลาย
เสียงโท ลาก ᩃᩣ᩠ᨠ, ᩃᩢᩣ /lâːk/ [laːk˦˨] ลาก, ดึง

เสียงวรรณยุกต์บางที่มีถึง 9 เสียง ได้แก่

  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอกต่ำ หรือเสียงเอกขุ่น
  • เสียงเอกสูง หรือเสียงเอกใส
  • เสียงโทต่ำ หรือเสียงโทขุ่น
  • เสียงโทพิเศษ
  • เสียงโทสูง หรือเสียงโทใส
  • เสียงตรีต่ำ หรือเสียงตรีขุ่น
  • เสียงตรีสูง หรือเสียงตรีใส
  • เสียงจัตวา

การพูดคำเมืองในสมัยปัจจุบัน

แก้
 
ป้ายจราจรบริเวณ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ มีการใช้คำเมืองอักษรไทย

การพูดคำเมืองที่เป็นประโยคแบบดังเดิมนั้นหายากแล้ว เนื่องจากมีการรับอิทธิพลภาษาไทยกลาง ทั้งในสำเนียง, คำศัพท์ และอักษรไทย แต่บางจังหวัดก็มีพื้นที่มีการรักษาหรือคงเดิมสำเนียงเดิมใว้ ซึ่งแตกต่างจากสำเนียงเชียงใหม่โดยสิ้นเชิง และมีการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยการเขียนจะใช้อักษรไทย ส่วนนี้จะเป็นส่วนรวบรวม ประโยค คำเมือง ดั้งเดิม

คำเมือง ภาษาไทย
กิ๋นข้าวแล้วก๊ะ(เชียงราย) กินข้าวแล้วใช่ไหม
ยะอะหยั๋งกิ๋นน่ะ(เชียงราย) ทำอะไรกินหรอ
ไปตังใดมา ไปแถวไหนมา

การพูดคำเมืองผสมกับภาษาไทยนั้น คำเมืองจะเรียกว่า ปะแล้ด (ไทยปะแล้ดเมือง) บางจังหวัดจะเรียกเป็น ผะเลิด (แปลว่าไหลลื่น) เลยเรียกว่า ไทยผะเลิด ซึ่งโดยมากแล้วมักจะพบใน คนที่พูดคำเมืองมานาน แล้วพยายามจะพูดไทย หรือ คนพูดภาษาไทยพยายามจะพูดคำเมือง เผลอพูดคำทั้ง 2 ภาษามาประสมกัน อนึ่งการพูดคำเมืองมีการแยกระดับของความสุภาพอยู่หลายระดับ ผู้พูดต้องเข้าใจในบริบทการพูดว่าในสถานการณ์นั้น ๆ ต้องพูดระดับภาษาอย่างไรให้เหมาะสมและมีความสุภาพ เพราะมีระบบการนับถือผู้ใหญ่ คนสูงวัยกว่า เช่น

  • ลำ (อร่อย)
  • ลำแต๊ ๆ (สุภาพที่สุด)
  • ลำขนาด (สุภาพรองลงมา)
  • ลำแมะฮาก (เริ่มไม่สุภาพ ใช้ในหมู่คนที่สนิทกัน)
  • ลำใบ้ลำง่าว (เริ่มไม่สุภาพ ใช้ในหมู่คนที่สนิทกัน)
  • ลำง่าวลำเซอะ (เริ่มไม่สุภาพ ใช้ในหมู่คนที่สนิทกันมาก ๆและใช้ในบางพื้นที่) เป็นต้น

ภาษาไทยถิ่นเหนือนอกเขตภาคเหนือ

แก้

ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปี พ.ศ. 2347 ได้มีการเทครัวชาวยวนลงมาในเขตภาคกลาง เช่น อาทิ จังหวัดสระบุรี (โดยเฉพาะอำเภอเสาไห้)[17][18], จังหวัดราชบุรี (มีมากที่อำเภอเมือง, อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอจอมบึง)[19], จังหวัดนครปฐม (โดยเฉพาะอำเภอกำแพงแสน)[20], จังหวัดกาญจนบุรี (โดยเฉพาะอำเภอไทรโยค)[21], จังหวัดลพบุรี (ที่อำเภอชัยบาดาล)[22] และจังหวัดนครราชสีมา (เฉพาะอำเภอสีคิ้ว)[23] โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรีมีชาวยวนราว 70,000-80,000 คน[24] และมีชาวยวนแทบทุกอำเภอ ยกเว้นเพียงแต่อำเภอดำเนินสะดวกกับวัดเพลงเท่านั้น[25]

ซึ่งภาษาไทยวนทุกจังหวัดมีหน่วยเสียง พยัญชนะและหน่วยเสียงสระเหมือนกัน รายละเอียดในวรรณยุกต์แทบไม่แตกต่างกัน ยกเว้นภาษายวนลพบุรีที่มีหน่วยเสียงแตกต่างจากอีก 4 จังหวัดเพียงหน่วยเสียงเดียว[26] ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชาวยวนลพบุรีได้อาศัยปะปนอยู่กับหมู่บ้านชาวลาว[22] อาจทำให้หน่วยเสียงเปลี่ยนแปลงก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามภาษาไทยวนเหล่านี้ กำลังตกอยู่ในสภาวะใกล้สูญจากการแทรกแซงของภาษาและวัฒนธรรมภาคกลาง อีกทั้งลูกหลานของชาวยวนเองไม่สามารถพูดภาษายวน หรืออ่านอักษรธรรมได้อีก[27]

ภาษาไทยถิ่นเหนือในต่างประเทศ

แก้

นอกจากนี้พื้นที่การใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือนอกเขตประเทศไทยนั้น ก็ยังมีการใช้ในหมู่บ้านของชาวยวนที่เข้ามาตั้งรกราก ได้แก่ เมียวดี ประเทศพม่า เนื่องจากในช่วงรัชกาลที่ 4-5 สมัยเชียงใหม่ยังมีเจ้าเมืองปกครอง ได้มีการเปิดทำการค้าขายเมืองเส้นทางทะเลกับอาณานิคมอังกฤษ เมืองท่าเรือใกล้เคียงที่สุดคือเมืองมะละแหม่ง เนื่องจากเมืองเมียวดีเป็นทางผ่าน ทำให้ระหว่างเส้นทางได้มีชาวยวนตั้งรกรากในที่แห่งนี้[28][29]และ เมืองที่มีชาวยวนตั้งรกราก ได้แก่ ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า, ห้วยหราย และ เมืองต้นผึ้ง ประเทศลาว เนื่องจากเมืองทั้งสามนั้น ในอดีตเป็นที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ติดอยู่กับแหล่งที่อยู่ของชาวยวนกระจุกกัน เช่น อำเภอแม่สาย ,เชียงแสน ,เชียงของ และ เวียงแก่น จึงไม่แปลกใจนักที่ผู้คนบริเวณนั้น จะข้ามฟากแม่น้ำโขง, แม่น้ำสาย และ แม่น้ำรวก ไปมาหาสู่กันและตั้งรกรากอีกด้วย

คำศัพท์

แก้

คำเมืองในจังหวัดอื่น

แก้

คำเมืองในจังหวัดอื่น เช่น จังหวัดลำปาง, แพร่, น่าน, เชียงราย, พะเยา และอุตรดิตถ์ (ในบางอำเภอ) ก็มีการใช้คำบางคำที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วจะสื่อสารกันเข้าใจในกลุ่มคนเหนือ เช่น

ภาษาไทยกลาง คำเมือง
สำเนียงเชียงใหม่

(ในเขตอำเภอเมือง)

สำเนียงพื้นที่อื่น
อักษรไทย อักษรธรรม อักษรไทย อักษรธรรม
พ่อ, แม่ พ่อ, ป้อ, แม่ ᨻᩬᩴ᩵, ᨾᩯ᩵ พ่อ, ป้อ, แม่ ᨻᩬᩴ᩵, ᨾᩯ᩵
พี่ชาย พี่, อ้าย ᩋ᩶ᩣ᩠ᨿ พี่, ปี้ ᨻᩦ᩵
พี่สาว พี่, ปี้ ᨻᩦ᩵ พี่, ปี้ (เสียงจะเป็นแบบโทควบเอก จึงอ่านเป็น ปี่), เอ้ย, เย้ย, เย้, ใย้ ᨻᩦ᩵, ᩋᩮᩥ᩠᩶ᨿ, ᨿᩮᩥ᩠᩶ᨿ, ᨿᩮ᩶, ᨿᩲ᩶
อา, น้า อาว, อา, น้า ᩋᩣ᩠ᩅ, ᩋᩣ,​ ᨶ᩶ᩣ อาว, อา, น้า ᩋᩣ᩠ᩅ, ᩋᩣ,​ ᨶ᩶ᩣ
ฝรั่ง (ผลไม้) บ่าก้วยก๋า ᨷ᩵ᩤᨠᩖ᩠ᩅ᩠᩶ᨿᨠᩣ บ่าแก๋ว , บ่าหมั้น , หมะเปา ᨷ᩵ᩤᨠᩯ᩠ᩅ, ᨷ᩵ᩤᩉ᩠ᨾᩢ᩶ᩁ, ᩉ᩠ᨾᩣᩢᨻᩮᩢᩣ
ผักชี หอมป้อม ᩉᩬᨾᨸᩬ᩶ᨾ หอมน้อย, หอมหน้อย ᩉᩬᨾᨶᩬ᩠᩶ᨿ, ᩉᩬᨾᩉ᩠ᨶᩬ᩠᩶ᨿ
มะละกอ บ่าก้วยเต้ด ᨷ᩵ᩤᨠᩖ᩠ᩅ᩠᩶ᨿᨴᩮ᩠ᩈ บ่าเต้ด ᨷ᩵ᩤᨴᩮ᩠ᩈ
ช้าง ช้าง, จ๊าง ᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ ช้าง, จ๊าง ᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ
น้ำ น้ำ ᨶᩣᩴ᩶ น่าม ᨶᩣᩴ᩶
เที่ยว แอ่ว ᩋᩯ᩠᩵ᩅ แอ่ว ᩋᩯ᩠᩵ᩅ

นอกจากนี้ สำเนียงในของคำเมืองในกลุ่มนี้จะออกสั้นและห้วนกว่า โดยที่เห็นได้ชัดคือเสียงตรีในเชียงใหม่ ลำพูน จะเป็นเสียงโทในจังหวัดอื่น เช่น บ่ะฮู้ แปลว่า ไม่รู้ เป็นสำเนียงเชียงใหม่ แต่จะออกเสียงว่า บ่ะฮู่ ในสำเสียงอื่น, กิ๋นน้ำ ที่แปลว่า ดื่มน้ำ จะออกเสียงเป็น กิ๋นน่ำ, สามร้อย/สามฮ้อย ออกเสียงเป็น สามร่อย/สามฮ่อย เป็นต้น

ความแตกต่างจากภาษาไทยกลาง

แก้

ความแตกต่างทางด้านระบบเสียง

แก้

โดยมากแล้วภาษาไทยกลางและคำเมืองมักมีเสียงที่เหมือนกันยกเว้นบางครั้ง ที่ไม่เหมือนแต่คล้ายกันได้แก่ เสียงธนิต (aspirate) ของอักษรต่ำมักตรงกับเสียงสิถิล (unaspirate) เช่น จาก "ท" เป็น "ต" หรือ "ท" เป็น "ท" (ᨴ) (เช่น "ทาง" เป็น "ตาง" หรือ "ทาง" เป็น "ทาง" (ᨴᩤ᩠ᨦ)), "ช" เป็น "จ" หรือ "ช" เป็น "ช" (ᨩ) (เช่น "ช้อน" เป็น "จ๊อน" หรือ "ช้อน" เป็น "ช้อน" (ᨩᩬ᩶ᩁ)), "พ" เป็น "ป" หรือ "พ" เป็น "พ" (ᨻ) (เช่น "แพง" เป็น "แปง" หรือ "แพง" เป็น "แพง"(ᨻᩯ᩠ᨦ)), "ค" เป็น "ก" หรือ "ค" เป็น "ค" (ᨣ) (เช่น "คำ" เป็น "กำ" หรือ "คำ" เป็น "คำ" (ᨣᩤᩴ)) เป็นต้น โดยมักจะคงเสียงวรรณยุกต์เดิม (เช่น "ใช้" เป็น "ใจ๊" หรือ "ใช้" (ᨩᩲ᩶)) อย่างไรก็ตาม เสียงธนิต (aspirate) ของอักษรต่ำที่ตรงกับเสียงโฆษะบาลีมักมีเสียงที่ตรงกันในทั้งสองภาษา เช่น ภาพ เป็น ภาพ (ᨽᩣ᩠ᨻ) และ ธรรม เป็น ธัมม์ (ᨵᩢᨾ᩠ᨾ᩺) (ไม่มี ร หัน) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว เสียงธนิต (aspirate) ของอักษรต่ำที่ตามด้วย ร ควบกล้ำในไทยกลางมักตรงกับเสียงธนิตแต่ไม่มี ร ตามในคำเมือง เช่น คราว เป็น คาว (ᨣᩕᩣ᩠ᩅ), ครั้ง เป็น คั้ง (ᨣᩕᩢ᩠᩶ᨦ), และ พระ เป็น พะ (ᨻᩕᩡ) นอกจากนี้แล้ว ยังมีความแตกต่างที่อื่นด้วย ได้แก่ เสียง ร ในไทยกลางมักตรงกับเสียง ฮ และ ล (ᩁ) เป็นบางคำ คำเมือง (เช่น "เรา" เป็น "เฮา" (ᩁᩮᩢᩣ)) เสียง ย ที่สะกดด้วย ทั้ง ย และ ญ ในภาษาไทยมักตรงกับเสียง ย นาสิก (ᨿ/ᨬ) ซึ่งไม่มีในภาษาไทยกลาง และถิ่นใต้ (เช่น "หญ้า" เป็น "หญ้า (นาสิก)" (ᩉ᩠ᨿ᩶ᩣ)

นอกจากความแตกต่างทางด้านพยัญชนะแล้ว ทั้งสองมีความแตกต่างทางด้านเสียงวรรณยุกต์อีกด้วย คำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรกลาง (ยกเว้น ด (ᨯ), บ (ᨷ), อย (ᩀ), และ อ (ᩋ)) ในคำเป็นภาษาไทยที่มีเสียงสามัญมักตรงกับเสียงจัตวาในคำเมือง (เช่น "ตัว" เป็น "ตั๋ว" (ᨲ᩠ᩅᩫ), "ใจ" เป็น "ใจ๋" (ᨧᩲ)) แต่ในคำพ้องเสียงของภาคกลาง ในภาษาเหนือนั้นอาจจะออกเสียงไม่เหมือนกัน ส่วนในคำตายนั้นเสียงเอกมักตรงกับเสียงจัตวาในคำเมือง (เช่น "หัก" เป็น "หั๋ก" (ᩉᩢ᩠ᨠ/ᩉᩢ))

ปัจจุบันภาษาถิ่นเหนือได้รับเอาอิทธิพลทางภาษาไทยกลางไปใช้มากมีคำยืมนำไปใช้หลายคำแต่เขียนไม่เหมือนกัน เป็นแค่การถอดเสียง (ทับศัพท์) พยัญชนะภาคกลางเป็นล้านนาโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม พ เช่น พ เป็น ผ , ช เป็น ฉ , ค เป็น ฅ , ท เป็น ถ , ธ ส่วน เป็นกลุ่ม ป เป็น ป๋ , จ เป็น จ๋ , ก เป็น ก๋ , ต เป็น ต๋ เหมือนเดิม ตัวอย่างคำ เช่น กลุ่ม พ "พ่อ" เป็น "ผ้อ", "พื้น" เป็น "ผื้น", "พบ" เป็น "ผบ", "พอ" เป็น "ผอ", "พัด" เป็น "ผั้ด", "พัน" เป็น "ผั่น", พี่" เป็น "ผี้", "พุง" เป็น "ผุง", "พึ่ง" เป็น "ผึ้ง", "พา" เป็น "ผา", "แพง" เป็น "แผง", "แพ้" เป็น "แผ้", "พ่าย" เป็น "ผ้าย", "เพียง" เป็น "เผียง", "เพื่อน" เป็น "เผื้อน", "เพิ่ม" เป็น "เผิ้ม", "ชาย" เป็น "ฉาย", "ชาว" เป็น "ฉาว", "ช้าง" เป็น "ฉ้าง", "ช่าง" เป็น "ฉ่าง", "ใช่" เป็น "ใฉ่", "ใช้" เป็น "ใฉ้", "เชื่อ" เป็น "เฉื้อ", "เช่น" เป็น "เฉ้น", "เชียง" เป็น "เฉียง", "ชอบ" เป็น "ฉอบ", "ช่วย" เป็น "ฉ้วย", "ชิง" เป็น "ฉิง", "ชื่น" เป็น "ฉื่น", "ชื้น" เป็น "ฉื้น", "ชั้น" เป็น "ฉั้น", "เพิ่น" เป็น "เผิ้น", "คำ" เป็น "ฅำ"(คำศัพท์), "ความ" เป็น "ฅวาม", "ควาย" เป็น "ฅวาย", "ค้า" เป็น "ฅ้า", "คน" เป็น "ฅน", "คิด" เป็น "ฅิด", "คืน" เป็น "ฅืน", "คือ" เป็น "ฅือ", "ค่ำ" เป็น "ฅ่ำ", "คบ" เป็น "ฅบ", "คง" เป็น "ฅง", "เคย" เป็น "เฅย", "ใคร" เป็น "ใฅร", "ใคร่" เป็น "ใฅร่", "ทา" เป็น "ถา", "ท่า" เป็น "ถ่า", "ทำ" เป็น "ถำ", "ทาง" เป็น "ถ้าง", "ที่" เป็น "ถี้", "ทุ่ง" เป็น "ถุ้ง", "ทั้ง" เป็น "ถั้ง", "เท่า" เป็น "เถ้า", "ไท" เป็น "ไธ", "เที่ยว" เป็น "เถี่ยว", "แท้" เป็น "แทร้", "ท่าน" เป็น "ธ้าน", "ทาน" เป็น "ธาน", "ท้าว" เป็น "ถ้าว", "ทอง" เป็น "ถอง", "ท้อง" เป็น "ถ้อง", "ทิ้ง" เป็น "ถิ้ง", "ธง" เป็น "ถ่ง", "ท่วม" เป็น "ถ้วม", "เถอะ" เป็น "เถอะ", "เทื่อ" เป็น "เถื้อ", "ถาม" เป็น "ถาม", "ถูก" เป็น "ถูก", "ถึง" เป็น "ถึง" ส่วนกลุ่ม ป เหมือนเดิม เช่น "ปู๋" เป็น "ปู๋", "ใจ๋" เป็น "ใจ๋", "กิ๋น" เป็น "กิ๋น", "ตั๋ว" เป็น "ตั๋ว" เป็นต้น

อักษรไทย ประเภทในภาษาไทยกลาง เสียงคำเมือง ตัวอย่าง ความหมาย
ก, จ, ต/ฏ, ป อักษรกลางอโฆษะ ก (ᨠ), จ (ᨧ), ต/ฏ (ᨲ/ᨭ), ป (ᨸ) ตามลำดับ ก๋า (ᨠᩣ), จ๋าน (ᨧᩣ᩠ᨶ), ต๋า (ᨲᩣ), ป๋า (ᨸᩖᩣ) ตามลำดับ กา, จาน, ตา, ปลา ตามลำดับ
ด/ฎ/ฑ, บ, อย, อ อักษรกลางโฆษะ และ อ ด, บ, อย, อ ตามลำดับ ด้าว, บ่าว, อย่า, อาว ตามลำดับ ด้าว, บ่าว, อย่า, อาผู้ชาย (อาว) ตามลำดับ
ค, ช, ท, พ อักษรต่ำโฆษะบาลี ออกได้ 2 แบบ ก, จ, ต, ป กับ ค, ช,ท, พ ตามลำดับ ก้า หรือ ค่า, จ๊าง หรือ ช้าง, ตาง หรือ ทาง, ปา หรือ พา ตามลำดับ ค่า, ช้าง, ทาง, พา ตามลำดับ
ฅ, ซ, ฟ อักษรต่ำเสียดแทรก ค, ซ, ฟ ตามลำดับ คืน, ซ้ำ, ฟ้า ตามลำดับ ฅืน, ซ้ำ, ฟ้า ตามลำดับ
ฆ, , ธ/ฒ/ฑ, ภ อักษรต่ำธนิต ค, , ท , พ ตามลำดับ
ข/ฃ,, ถ/ฐ, ผ, ฝ อักษรสูงธนิต ข, , ถ, ผ, ฝ ตามลำดับ ขา, สัตร, ถง, ผ้า, ฝา ตามลำดับ ขา, ร่มฉัตร, ถุง, ผ้า, ฝา ตามลำดับ
ศ/ษ/ส อักษรสูงเสียดแทรก สาย สาย
กร, ตร, ปร อักษรกลาง + ร ข, ก, ผ ตามลำดับ ขาบ, กง, ผาสาท ตามลำดับ กราบ, ตรง, ปราสาท ตามลำดับ
คร, คว ,พร อักษรต่ำ + ร ค, พ ตามลำดับ คั้ง, ความ, พะ ตามลำดับ ครั้ง, พระ ตามลำดับ
ย, , ล/ฬ , ว, ฮ อักษรต่ำกึ่งสระ และ ฮ ญ (นาสิก), (บางครั้ง ล ในคำภาษาบาลี), ล , ว, ฮ ตามลำดับ ญาว (นาสิก), เฮือ, ลอง , ว่า, ฮิ ตามลำดับ ยาว, เรือ, ลอง, ว่า, พยายาม ตามลำดับ
ง, , น/ณ, ม อักษรต่ำนาสิก ง, ญ (นาสิก), น, ม ตามลำดับ งู, ใหญ่ (นาสิก), นา, ม้า ตามลำดับ งู, ใหญ่, นา, ม้า ตามลำดับ
ห, หง, หย/หญ, หน, หม, หร/หล, หว อักษรต่ำ ห และ ห นำ ห, หง, หญ (นาสิก), หน, หม, หล, หว ตามลำดับ หา, เหงา, หญ้า (นาสิก), หนู, หมู, หลาน, แหวน ตามลำดับ หา, เหงา, หญ้า, หนู, หมู, หลาน, แหวน ตามลำดับ

อ้างอิง

แก้
  1. เสมมณี อ. (2015). "คนจีนยูนนานมุสลิมในเชียงใหม่". Journal of Humanities and Social Sciences. Princess of Naradhiwas University. 2 (2): 39–49.
  2. "ขี่จักรยาน...เยี่ยมคนไทยในเมียวดี". กรุงเทพธุรกิจ. 2 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2018.
  3. ภาษาไทยถิ่นเหนือ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  4. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า (10)
  5. ชลิดา หนูหล้า (19 ตุลาคม 2021). "อู้กับเพ็ญสุภา สุขคตะ เมื่อม็อบฅนเมืองไม่ 'ต๊ะต่อนยอน' ตามที่เขาหลอกลวง". ดิวันโอวันเวิลด์. กรุงเทพฯ: ดิวันโอวันเปอร์เซนต์. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2023.
  6. ""ราชบัณฑิตยสภา" ระดมความรู้นักวิชาการจัดทำพจนานุกรมภาษาไทยถิ่นนำร่องภาคเหนือ ขีดเส้นเสร็จภายใน 5 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ. 28 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2022.
  7. 7.0 7.1 พระโพธิรังสี (2463). เรื่องจามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชยทั้งภาษาบาฬีแลคำแปล และเจ้าดารารัศมี พระราชชายา. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. p. 28.
  8. คาราวานสำราญใจ. 2. 2 มิถุนายน 2018. อำนวย บุญณรงค์ ผู้ทำคุณประโยชน์ในจังหวัดราชบุรี ระดับจังหวัด ด้านภาษา เชี่ยวชาญในด้านการอนุรักษ์ภาษา (ไท-ยวน)
  9. จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:ชนนิยม. 2556, หน้า 139
  10. สุวิไล เปรมสีรัตน์ และคณะ. แผนที่ภาษาของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย. [ม.ป.ท., ม.ป.ป.], หน้า 41–44
  11. สมทรง บุรุษพัฒน์. ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น. กรุงเทพฯ:เอกพิมพ์ไทย, 2543, หน้า 27–29
  12. กาญจนา เงารังษีและคนอื่น ๆ . พจนานุกรมภาษากลุ่มชาติพันธุ์ 9 จังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง. พิษณุโลก:ตระกูลไทย, 2541, หน้า 1-285
  13. วัชรศาสตร์, บุญคิด (2010). ภาษาล้านนา. เชียงใหม่: ธาราทองการพิมพ์. p. 33. ISBN 9789744964564.
  14. ชัยวัฒน์ ปะสุนะ, "พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยาม จากเอกสารมิชชันนารี ค.ศ. 1893–1926," วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8(2) (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563), หน้า 5. [1]
  15. 15.0 15.1 Gedney, W. J. (1999). Southwestern Tai dialects: Glossaries, texts, and translations (T. J. Hudak, Ed.). University of Michigan Center for South East Asian Studies.
  16. 16.0 16.1 พจนานุกรมภาษาล้านนา = The Lanna dictionary (พิมพ์ครั้งที่ 2). (2550). เชียงใหม่: สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
  17. "เยือนลุ่มนำป่าสัก ไทยยวน-ไทยเบิ้ง" (Press release). ข่าวสด. 3 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2013.
  18. เที่ยวไทยทัวร์ดอตคอม. ศูนย์วัฒนธรรมไทยวน: จังหวัดสระบุรี. เรียกดูเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556
  19. ราชบุรีศึกษา. 8 ชาติพันธุ์ในราชบุรี : ไท-ยวน ตอนที่ 2 ชีวิตที่เมืองราชบุรี. เรียกดูเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556
  20. ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. พิธีกรรมและประเพณีของชาวไทยยวนบ้านท่าเสา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556
  21. สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี. ประวัติชาวไท-ยวน ราชบุรี. เรียกดูเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556
  22. 22.0 22.1 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ยวน[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556
  23. ลัดดา ปานุทัย, ละอองทอง อัมรินทร์รัตน์ และ สนอง โกศัย. "วัฒนธรรมพื้นบ้านยวนสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา". ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2013.
  24. "ประวัติความเป็นมาชาวไท-ยวนจังหวัดราชบุรี". จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2013.
  25. ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไทยวน เก็บถาวร 2021-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556
  26. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. การศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาไทยยวน 4 จังหวัดในภาคกลาง เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556
  27. "ภาษา'ไทยยวน'ใกล้สูญ เร่งทำฐานข้อมูลดิจิทัล". ไทยโพสต์. 27 ธันวาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. ชีวิต “คนเหนือ” คนไทยติดแผ่นดินในแดนพม่า l ประวัติศาสตร์นอกตำรา Ep.22, สืบค้นเมื่อ 2022-01-14
  29. โยเดีย ที่คิด(ไม่)ถึง : มะละแหม่ง และความใกล้ชิดของล้านนา. 25 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2022.

หนังสือ

แก้
  • Khamjan, Mala (2008). Kham Mueang Dictionary พจนานุกรมคำเมือง [Photchananukrom Kham Mueang]. Chiang Mai: Bookworm. ISBN 978-974-8418-55-1.
  • Natnapang Burutphakdee (October 2004). Khon Muang Neu Kap Phasa Muang [Attitudes of Northern Thai Youth towards Kammuang and the Lanna Script] (PDF) (M.A. Thesis). Presented at 4th National Symposium on Graduate Research, Chiang Mai, Thailand, August 10–11, 2004. Asst. Prof. Dr. Kirk R. Person, adviser. Chiang Mai: Payap University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-09. สืบค้นเมื่อ June 8, 2013.
  • Rungrueangsi, Udom (ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี) (2004) [1991]. Lanna-Thai Dictionary, Princess Mother Version พจนานุกรมล้านนา ~ ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง [Photchananukrom Lanna ~ Thai, Chabap Maefa Luang] (Revision 1 ed.). Chiang Mai: Rongphim Ming Mueang (โรงพิมพ์มิ่งเมือง). ISBN 974-8359-03-4.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Bilmes, J. (1996). Problems And Resources In Analyzing Northern Thai Conversation For English Language Readers. Journal of Pragmatics, 26(2), 171–188.
  • Davis, R. (1970). A Northern Thai reader. Bangkok: Siam Society.
  • Filbeck, D. (1973). Pronouns in Northern Thai. Anthropological Linguistics, 15(8), 345–361.
  • Herington, Jennifer, Margaret Potter, Amy Ryan and Jennifer Simmons (2013). Sociolinguistic Survey of Northern Thai. SIL Electronic Survey Reports.
  • Howard, K. M. (2009). "When Meeting Khun Teacher, Each Time We Should Pay Respect": Standardizing Respect In A Northern Thai Classroom. Linguistics and Education, 20(3), 254–272.
  • Khankasikam, K. (2012). Printed Lanna character recognition by using conway's game of life. In ICDIM (pp. 104–109).
  • Pankhuenkhat, R. (1982). The Phonology of the Lanna Language:(a Northern Thai Dialect). Institute of Language and Culture for Rural Development, Mahidol University.
  • Strecker, D. (1979). "A preliminary typology of tone shapes and tonal sound changes in Tai: the La-n N-a A-tones", in Studies in Tai and Mon-Khmer Phonetics and Phonology In Honour of Eugénie J.A. Henderson, ed. T.L. Thongkum et al., pp. 171–240. Chulalongkorn University Press.
  • Wangsai, Piyawat. (2007). A Comparative Study of Phonological Yong and Northern Thai Language (Kammuang). M.A. thesis. Kasetsart University.
  • พจนี ศิริอักษรสาสน์ (2002). "ภาษาถิ่นของไทย". กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ISBN 974-593-984-6

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้