พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์

พระบรมราชานุสาวรีย์พญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา พญางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา และพ่อขุนรา

พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์[1] หรือ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์[2][3][4] เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของกษัตริย์สามองค์ผู้สร้างเวียงเชียงใหม่ คือ พญามังราย พญางำเมือง และพญาร่วง

พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์
อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2565: พญางำเมือง (ซ้าย) พญามังราย (กลาง) และพญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง; ขวา)
แผนที่
พิกัด18°47′25″N 98°59′14″E / 18.7902047°N 98.987280°E / 18.7902047; 98.987280
ที่ตั้งบริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (อดีตศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ) ถนนพระปกเกล้า อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ออกแบบไข่มุกต์ ชูโต
ประเภทพระบรมราชานุสาวรีย์
วัสดุทองเหลืองและทองแดงรมดำ
ความสูง2.70 เมตร
สร้างเสร็จพ.ศ. 2526 (10เดือน)
การเปิดพ.ศ. 2527
อุทิศแด่

อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ตั้งอยู่กลางเวียงเชียงใหม่ บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (อดีตศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ) ด้านหน้าติดกับถนนพระปกเกล้า ซึ่งบริเวณนี้เองถือเป็นศูนย์กลางของตัวเมืองเชียงใหม่ หน้าอนุสาวรีย์มีลานกว้างขนาดใหญ่ เรียกว่า ข่วงสามกษัตริย์ หรือข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ด้านตรงข้ามของอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ยังเป็นที่ตั้งของอาคารศาลแขวงเชียงใหม่เดิมซึ่งมีสถาปัตยกรรมตะวันตกที่สวยและงดงาม

รายละเอียด แก้

 
จารึกฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์

พระบรมรูปหล่อด้วยทองเหลืองและทองแดงรมดำ มีขนาดเท่าครึ่ง สูง 2.70 เมตร ใช้เวลา 10 เดือน ไข่มุกด์ ชูโต เป็นผู้ออกแบบและปั้นหล่อพระบรมรูป มีการประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากกรุงเทพมหานครขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2526 เวลา 11.49 น. พระบรมรูปประกอบด้วย พญามังรายประทับกลางเป็นประธาน พญาร่วงประทับอยู่เบื้องซ้าย และพญางำเมืองประทับอยู่เบื้องขวา

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2527

อ้างอิง แก้

  1. กรมศิลปากร, กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. อนุสาวรีย์ในประเทศไทยเล่ม 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542. 559 หน้า. หน้า 394-399. ISBN 974-9527-55-0
  2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม (2020-12-28). "ที่มาของ "อนุสาวรีย์สามกษัตริย์" และ "ตำนานพญามังราย"". มติชนสุดสัปดาห์.
  3. "อนุสาวรีย์สามกษัตริย์". www.chiangmaipao.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-07-23.
  4. "อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ : Three Kings Monument Chiang Mai เมืองเชียงใหม่, เชียงใหม่". www.chillpainai.com.

อ่านเพิ่ม แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 18°47′24.87″N 98°59′14.40″E / 18.7902417°N 98.9873333°E / 18.7902417; 98.9873333