ไข่มุกด์ ชูโต
ไข่มุกด์ ชูโต เป็นประติมากรหญิงคนสำคัญของประเทศไทย โดยได้รับการยกย่องให้เป็นประติมากรหญิงคนแรกของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2481 ที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นบุตรีของ อำมาตย์เอก พระมัญชุวาที (โชติ ชูโต) และนางมัญชุวาที (แอ๋ว ชูโต) ข้าหลวงในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยอยู่อาศัยที่บ้านขมิ้น บนถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จนวาระสุดท้ายของชีวิต[1]
ไข่มุกด์ ชูโต | |
---|---|
เกิด | 19 เมษายน พ.ศ. 2481 |
เสียชีวิต | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (58 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนราชินี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
ผลงานเด่น | พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล, พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ |
ไข่มุกด์จบการศึกษาขั้นเตรียมอุดมศึกษาจากโรงเรียนราชินี และจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปัจจุบันคือ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) เริ่มทำงานครั้งแรกให้กับองค์กร USOM และ Getesner ตามลำดับ ก่อนจะลาออกจากงานประจำมาทำงานอิสระ โดยรับทำงานศิลป์หลายชนิด เช่น ประติมากรรม การตกแต่งสวน การตกแต่งภายใน เขียนแบบ ฯลฯ จนเริ่มมีชื่อเสียงในวงการ
ต่อมา นายชูพาสน์ ชูโต ข้าราชการประจำสำนักพระราชวัง ผู้เป็นญาติได้ชักชวนให้เข้าถวายตัวปฏิบัติงานด้านประติมากรรมต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยได้สร้างผลงานชิ้นแรกถวายคือ รูปปั้นกินรีแม่ลูก จำนวน 2 ชุด ปัจจุบันติดตั้ง ณ สวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวัง และในบริเวณสวนของพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ นอกจากนี้ไข่มุกด์ยังถวายงานต่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เช่นกัน[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2539 ไข่มุกด์เกิดอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน หลังเดินทางกลับจากการตรวจดูงานหล่อพระพุทธรูปถวายต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่โรงหล่อบนถนนพุทธมณฑล สาย 4 โดยได้รับการปฐมพยาบาลที่โรงพยาบาลธนบุรี ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช และได้เสียชีวิตลงด้วยอาการปอดบวมและระบบหายใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ด้วยวัย 59 ปี[2]
ผลงานสำคัญ
แก้ผลงานที่เป็นที่จดจำของอาจารย์ไข่มุกด์ ชูโต เช่น
และยังมีผลงานแกะสลักที่ตกแต่งภายในอาคารของโรงแรมต่าง ๆ เช่น โรงแรมนารายณ์ และ โรงแรมดุสิตธานี
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-15. สืบค้นเมื่อ 2019-01-16.
- ↑ https://mgronline.com/celebonline/detail/9600000039047