จังหวัดกาญจนบุรี
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม่า
จังหวัดกาญจนบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Kanchanaburi |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
ประตูเมืองกาญจนบุรี, วัดถ้ำเสือ, ต้นจามจุรียักษ์, สะพานข้ามแม่น้ำแคว, สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก, อุทยานแห่งชาติเอราวัณ, ทางรถไฟสายมรณะ, สะพานมอญ | |
คำขวัญ: เมืองขุนแผน แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่ น้ำตก มรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรีเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ว่าง (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 19,483.148 ตร.กม. (7,522.485 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 3 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 895,281 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 25 |
• ความหนาแน่น | 45.95 คน/ตร.กม. (119.0 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 74 |
รหัส ISO 3166 | TH-71 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | ปากแพรก, ศรีชัยสิงหปุระ, เมืองกาญจน์ |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ขานาง |
• ดอกไม้ | กาญจนิการ์ |
• สัตว์น้ำ | ปลายี่สก |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนแสงชูโต ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71000 |
• โทรศัพท์ | 0 3451 1778 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้ความเป็นมาของกาญจนบุรีเท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก[3] สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม[3] สมัยบายน
กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นการถาวร ณ เมืองกาญจนบุรีใหม่โดยตั้งอยู่ ณ ตำบลปากแพรก อันเป็นสถานที่บรรจบของแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย โดยตัวเมืองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์และด้านการค้า โดยเริ่มก่อสร้างเมืองเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2374 และสำเร็จในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 และได้แยกออกจากสุพรรณบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 10 เส้น 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯ ว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน[3]
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี[4] และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467
เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นได้ตัดสินใจสร้างทางรถไฟยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทยไปยังเมืองทันบูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี
ชื่อเรียกอื่น ๆ ของกาญจนบุรี เช่น เมืองกาญจน์ ปากแพรก ศรีชัยยะสิงหปุระ[5] (ซึ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรียกเมืองกาญจนบุรีว่า ศรีชัยยะสิงหปุระ) และเมืองขุนแผน เป็นต้น
ภูมิศาสตร์
แก้อาณาเขตติดต่อ
แก้ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก แต่ในทางการปกครองแบบ 4 ภูมิภาค (เหนือ อีสาน กลาง ใต้)และกรมอุตุนิยมวิทยา จะถูกจัดอยู่ในภาคกลาง มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ 5 จังหวัด ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ อำเภออุ้มผาง (จังหวัดตาก) อำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี) รัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)
- ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี) อำเภอด่านช้าง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอดอนเจดีย์ อำเภออู่ทองและ อำเภอสองพี่น้อง(จังหวัดสุพรรณบุรี)
- ทิศใต้ ติดกับ อำเภอกำแพงแสน (จังหวัดนครปฐม) อำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง อำเภอโพธารามและ อำเภอบ้านโป่ง(จังหวัดราชบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดกับรัฐมอญ และภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า) โดยมีแนวเขาสำคัญแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าคือทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี
ภูมิประเทศ
แก้พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านเหนือและตะวันตกของจังหวัด ถึงแม้จังหวัดกาญจนบุรีจะมีเขตพื้นที่ติดกับจังหวัดตากทางด้านทิศเหนือ แต่ก็ไม่มีถนนเชื่อมต่อกัน เนื่องจากมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกและมีป่าที่อุดมสมบูรณ์รกทึบสลับกับมีภูเขาอันสลับซับซ้อน หากจะเดินทางติดต่อกันต้องอ้อมไปทางจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร แล้วจึงเข้าจังหวัดตาก ซึ่งมีระยะทางกว่า 490 กิโลเมตร และหากต้องการเดินทางไปอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี จะต้องเดินทางย้อนลงมาทางใต้รวมระยะทางกว่า 700 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกได้ 3 ลักษณะดังนี้
- เขตภูเขาและที่สูง พื้นที่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด ได้แก่ บริเวณอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอไทรโยค มีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยถัดไปทางด้านตะวันตกของจังหวัด เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศพม่าทอดยาวลงไปทางด้านใต้ บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัด คือ แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งในแถบนี้จะมีรอยเลื่อนอยู่หลายรอยและมักเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่บ่อยครั้ง
- เขตที่ราบลูกฟูก ได้แก่ พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่บริเวณอำเภอเลาขวัญ อำเภอบ่อพลอย และบางส่วนของอำเภอพนมทวน
- เขตที่ราบลุ่มน้ำ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านใต้ของจังหวัด ลักษณะเป็นที่ราบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่บริเวณอำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง และบางส่วนของอำเภอพนมทวน อำเภอเมืองกาญจนบุรี
ภูมิอากาศ
แก้- ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดอยู่ในเดือนเมษายน
- ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกชุกโดยตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน
- ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยในช่วงนี้ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมจังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรีมีอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 22.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 36.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 3.7 องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2517) อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ 44.2 องศาเซลเซียส (เมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2559) และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1496.2 มิลลิเมตรต่อปี
ธรณีวิทยา
แก้ในด้านทรัพยากรดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีมีภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ที่เหมาะสำหรับเกษตรกรรมคือ ที่ราบระหว่างภูเขาซึ่งมีแม่น้ำและลำน้ำสายต่าง ๆ ไหลผ่าน เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหินปูน หินแกรนิต หินแกรไนโอออไรท์ หินไนล์ หินดินดาน หินควอทโซฟีลไลท์ เป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน ที่ราบระหว่างหุบเขาและสองฝั่งแม่น้ำจึงมีลักษณะเป็นตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวของหินดังกล่าวแล้วถูกน้ำพัดพามาทับถม และเนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้มีหินปูนเป็นส่วนใหญ่ ดินจึงมีปฏิกิริยาเป็นกลางหรือเป็นด่าง มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงดี จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สำคัญของประเทศเช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง และสับปะรด ส่วนในบริเวณที่ราบต่ำใช้ปลูกข้าวแต่มีเนื้อที่ไม่มากนัก
อุทกวิทยา
แก้ในด้านทรัพยากรน้ำ จังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งน้ำที่สำคัญ 3 ประเภทคือ
- น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ต้นกำเนิดของแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มาจากน้ำฝนซึ่งตกสู่ผิวดินลงไปกับเก็บใต้ชั้นดิน พื้นที่ทางตอนบนและทางตะวันตกของจังหวัดซึ่งมีสภาพเป็นที่สูงภูเขา รองรับด้วยหินแปรปริมาณน้ำบาดาลจึงมีน้อยมาก ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกและทางใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำบาดาลสามารถนำขึ้นมาใช้ได้ แต่ยังคงมีปริมาณน้อย
- น้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินมีต้นน้ำอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี ลักษณะทางน้ำเป็นร่องลึกในระหว่างหุบเขา มีธารน้ำบางสายไหลขึ้นไปทางเหนือสู่ประเทศพม่า แต่ลำธารส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ ก่อนจะรวมตัวกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง ส่วนด้านตะวันออกมีลำตะเพินเป็นธารน้ำสำคัญของบริเวณนี้ แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ (ศรีสวัสดิ์) แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำลำตะเพิน
- น้ำจากการชลประทาน จังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของเขื่อนซึ่งมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่สิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ตามมาคือการชลประทานที่สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูก ประกอบด้วย เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนท่าทุ่งนา ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ในอำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี และเขื่อนแม่กลองในอำเภอท่าม่วง
- แหล่งน้ำที่สำคัญ
- แม่น้ำแควใหญ่ (แม่น้ำศรีสวัสดิ์)
- แม่น้ำแควน้อย (แม่น้ำไทรโยค)
- แม่น้ำแม่กลอง
- แม่น้ำบีคลี่
- แม่น้ำซองกาเลีย
- แม่น้ำรันตี
- แม่น้ำภาชี
- แม่น้ำสุริยะ (แม่น้ำทรยศ ไหลย้อนไปทางเหนือเข้าเขตพม่า)
- ทะเลสาบเขื่อนศรีนครินทร์
- ทะเลสาบเขาแหลม
- ทะเลสาบท่าทุ่งนา
หน่วยการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้จังหวัดกาญจนบุรีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 13 อำเภอ 98 ตำบล 959 หมู่บ้าน 206 ชุมชน โดยทั้ง 13 อำเภอ มีดังนี้
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 122 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี, เทศบาลเมือง 3 แห่ง (ได้แก่ เทศบาลเมืองกาญจนบุรี เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น และเทศบาลเมืองปากแพรก), เทศบาลตำบล 46 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 72 แห่ง[6] รายชื่อเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี มีดังนี้
อำเภอเมืองกาญจนบุรี
อำเภอไทรโยค
อำเภอบ่อพลอย
|
อำเภอศรีสวัสดิ์
อำเภอท่ามะกา
|
อำเภอท่าม่วง
อำเภอทองผาภูมิ
อำเภอสังขละบุรี
|
อำเภอพนมทวน
อำเภอเลาขวัญ
อำเภอด่านมะขามเตี้ย
อำเภอหนองปรือ
อำเภอห้วยกระเจา
|
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
แก้
|
|
ประชากรศาสตร์
แก้ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2536 | 724,675 | — |
2537 | 736,996 | +1.7% |
2538 | 744,933 | +1.1% |
2539 | 756,528 | +1.6% |
2540 | 766,352 | +1.3% |
2541 | 775,198 | +1.2% |
2542 | 778,456 | +0.4% |
2543 | 786,001 | +1.0% |
2544 | 792,294 | +0.8% |
2545 | 801,836 | +1.2% |
2546 | 797,372 | −0.6% |
2547 | 810,339 | +1.6% |
2548 | 826,169 | +2.0% |
2549 | 834,447 | +1.0% |
2550 | 835,282 | +0.1% |
2551 | 840,905 | +0.7% |
2552 | 839,423 | −0.2% |
2553 | 839,776 | +0.0% |
2554 | 838,914 | −0.1% |
2555 | 838,269 | −0.1% |
2556 | 842,882 | +0.6% |
2557 | 848,198 | +0.6% |
2558 | 882,146 | +4.0% |
2559 | 885,112 | +0.3% |
2560 | 887,979 | +0.3% |
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[9] |
ตามข้อมูลจำนวนประชากรของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 จังหวัดกาญจนบุรีมีประชากร 887,979 คน คิดเป็นอันดับที่ 25 ของประเทศ โดยแบ่งเป็นประชากรเพศชาย 446,262 คน และประชากรเพศหญิง 441,717 คน[10] มีความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ย 43.53 คนต่อตารางกิโลเมตร คิดเป็นอันดับที่ 74 ของประเทศ อำเภอที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด คือ อำเภอท่ามะกา ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 400.14 คนต่อตารางกิโลเมตร ส่วนอำเภอที่ประชากรเบาบางที่สุด คือ อำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 8.09 คนต่อตารางกิโลเมตร
การขนส่ง
แก้ระยะทางจากอำเภอเมืองกาญจนบุรีไปอำเภอต่าง ๆ
แก้- อำเภอท่าม่วง 14 กิโลเมตร
- อำเภอพนมทวน 25 กิโลเมตร
- อำเภอท่ามะกา 32 กิโลเมตร
- อำเภอด่านมะขามเตี้ย 32 กิโลเมตร
- อำเภอบ่อพลอย 40 กิโลเมตร
- อำเภอไทรโยค 50 กิโลเมตร
- อำเภอห้วยกระเจา 54 กิโลเมตร
- อำเภอหนองปรือ 76 กิโลเมตร
- อำเภอเลาขวัญ 85 กิโลเมตร
- อำเภอศรีสวัสดิ์ 125 กิโลเมตร
- อำเภอทองผาภูมิ 144 กิโลเมตร
- อำเภอสังขละบุรี 215 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- สะพานข้ามแม่น้ำแคว ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองกาญจนบุรี เป็นสะพานข้ามทางรถไฟสายมรณะ
- น้ำตกเอราวัณ - ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 – 400 เมตร แบ่งเป็น 7 ชั้น เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี ความพิเศษของน้ำตกเอราวัณ คือ น้ำเป็นสีฟ้าใสอมเขียว ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 62 กม.
- วัดหินแท่นลำภาชี[11] ตั้งอยู่บ้านหินแท่น ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย เป็นวัดที่เลื่องชื่ออุโบสถที่สวยที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี ที่มีสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ โดยอุโบสถที่สวยงามแห่งนี้เรียกว่า โบสถ์สำเภาแก้วร้อยล้าน ถูกสร้างขนาบข้างด้วยเรืออนันตนาคราชลักษมีหนึ่งเดียวในประเทศไทย
- วัดถ้ำเสือ[12] อยู่ที่ ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง วัดและสถานที่ท่องเที่ยวตั้งอยู่บนยอดเขา สวยงามสะดุดตา เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวมหัศจรรย์ในจังหวัดกาญจนบุรี
- ด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี เป็นจุดผ่านแดนระหว่างไทยกับพม่า มีตลาดชายแดน เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของอำเภอสังขละบุรี
- วัดทิพย์สุคนธาราม ตั้งอยู่ที่ อำเภอห้วยกระเจา เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธมหาเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ พระพุทธรูปปางขอฝน (ปางคันธารราฐ) สร้างโดยโลหะสำริดมีความสูง 32 เมตร เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของอำเภอห้วยกระเจา
บุคคลสำคัญ
แก้- สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร – สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
- พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (เจริญ กิ๊นเจี๊ยว) – อดีตเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
- พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) – เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
- พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (ถนอม เถี่ยนถึก) – เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
- พระสมณานัมวุฑฒาจารย์ไพศาลคณกิจ (โฝ พ็องเดี้ยว) – อดีตรองเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
- พระคณานัมธรรมเมธาจารย์ (ณรงค์ ติ่นเรียน) – เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
- พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธโชติ) – พระเกจิอาจารย์
- พระเทพเมธาภรณ์ (ประสงค์ วราสโย) – พระสงฆ์ไทย
- พระวิสุทธรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) – อดีตเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม
- หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ – พระเกจิอาจารย์
- พระโสภณสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) – พระเกจิอาจารย์
- พระราชอุดมมงคล (เอหม่อง อุตฺตมรมฺโภ) – พระเกจิอาจารย์
- พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) – เจ้าคณะภาค1
- พระราชวัชรรังษี (เอี่ยม สิริวณฺโณ) – อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
- พระเผด็จ ทตฺตชีโว – พระสงฆ์ วัดพระธรรมกาย
- พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) – นายกรัฐมนตรีไทย
- ฉาย วิโรจน์ศิริ – นักการเมืองชาวไทย
- บุญหลง พหลพลพยุหเสนา – ภริยานายกรัฐมนตรีไทย
- พิจ พหลพลพยุหเสนา – ภริยานายกรัฐมนตรีไทย
- กรรณาภรณ์ พวงทอง – นักแสดง
- จำรัส มังคลารัตน์ – นักการเมือง
- ฉัตรชัย เปล่งพานิช – นักแสดง
- ไพโรจน์ สังวริบุตร – นักแสดง
- ฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร – นักการเมือง
- สุรพงษ์ ปิยะโชติ – รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- ชาญ อังศุโชติ – นักการเมือง
- สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ – อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- สมชาย วิษณุวงศ์ – นักการเมือง
- แมน เนรมิตร – นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เจ้าของผลงานเพลง "ชวนชม"
- ดวงตา คงทอง – นักร้อง
- นิภาภัทร สุดศิริ – นางสาวไทย พ.ศ. 2514
- สยามรัฐ บัวเจริญ – นักแสดง
- ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ – คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์
- ทัศน์พล วิวิธวรรธน์ – นักแสดง
- ตี๋ ดอกสะเดา – นักแสดงตลก
- โป๊งเหน่ง เชิญยิ้ม – นักแสดงตลก
- ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ – นักการเมือง
- ธัญญ์ ธนากร – นักแสดง
- ธัญญา โสภณ – นักแสดง
- ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร – นักแสดง
- เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ – กวีไทย
- บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ – อดีตนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี
- ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ – อดีตนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย
- สุเชาว์ นุชนุ่ม – นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- เจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์ – นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ปฏิภาณ เพ็ชรพูล – นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- สุพจน์ จดจำ – นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ประเวศ วะสี – นักวิชาการด้านสาธารณสุขและการศึกษาชาวไทย
- แผน สิริเวชชะพันธ์ – นักการเมือง
- พิจิตตรา สิริเวชชะพันธ์ – นักแสดง นางแบบ
- รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ – อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 ที่ปรึกษาทางด้านประวัติศาสตร์แก่กองทัพบก
- วิกรม กรมดิษฐ์ – นักธุรกิจและนักเขียนชาวไทย
- วิไล พนม – นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- วีระเดช โค๊ธนี – นักกีฬาฟันดาบ
- สมคิด พงษ์อยู่ – นักกีฬาฟันดาบ
- ศตวรรษ เศรษฐกร – นักร้องนักแสดงชาวไทย
- ศรชัย มนตริวัต – นักการเมือง
- สมศักดิ์ ชัยสงคราม – อดีตนักแสดงชาวไทย
- หนึ่งเดียว ศักดิ์จารุพร – นักมวย
- ปฐมสิทธิ์ ปฐมโพธิ์ทอง – นักมวย
- อารีย์ วิรัฐถาวร – นักกีฬายกน้ำหนัก
- เดชา พิศสมัย – นักคาราเต้-โดทีมชาติไทย
- สุทัตตา เชื้อวู้หลิม – นักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทย
- หนึ่งเดียว ศักดิ์จารุพร – นักมวย
- พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย – เชฟชาวไทย
- เวฬุรีย์ ดิษยบุตร – มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2557 นักแสดง
- นันทิกานต์ สิงหา – นักแสดง พิธีกรรายการ
- กิติพัทธ์ ชลารักษ์ – พิธีกรรายการเทยเที่ยวไทย นักแสดง
- ศักดา แก้วบัวดี – นักแสดงภาพยนตร์เทศกาลภาพยนตร์เมืองกาน
- อินทรีน้อย ลูกหนองไก่ขัน – นักมวยไทยในชุดลิเก
- เฉลียว ยางงาม – วีรบุรุษสงครามเวียดนาม
- ชนัตถ์ ดำรงเถกิงศักดิ์ – นักร้อง
- พินิจ จันทร์สมบูรณ์ – นักการเมือง
- ปารเมศ โพธารากุล – นักการเมือง
- นที รักษ์พลเมือง – คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- มนตรี มงคลสมัย – ศาสตราจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นพดล อินนา – นักการเมือง
- สุชาติ หนองบัว – ราชองค์รักษ์พิเศษ
- อิสรพงศ์ ดอกยอ – นักร้อง นักแสดง
- รัชพงศ์ ทิวะธนเศรษฐ์ – นักแสดง
- จรัญ งามดี – นักแสดง
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 5 มีนาคม 2565.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "ประวัติศาสตร์ จังหวัดกาญจนบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oceansmile.com/K/Kanjanaburi/Kan1.htm สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
- ↑ "ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.finearts.go.th/fad1/parameters/km/item/ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี.html เก็บถาวร 2020-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
- ↑ “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” วิษัยนครตะวันตก .....ที่สาบสูญ สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
- ↑ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
- ↑ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 7.12 7.13 7.14 วชิรญาณวงศ์, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง, และตรี อมาตยกุล. (2511). พุทธสาสนคติ และรวมเรื่องเมืองกาญจนบุรี. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติเถร) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม และ เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ณ. เมรุวัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี วันที่ 7 เมษายน 2511. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
- เพิ่งอ้าง. "ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง,". หน้า 58–60.
- เพิ่งอ้าง. "รายงานประจำปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ. 117) เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรีทำรายงาน ร.ศ. 117 ขึ้นทูลเกล้าถวายความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท หมวดที่ 1 ว่าด้วยตำแหน่งราชการและการบังคับบัญชาในที่ว่าการเมือง เมืองกาญจนบุรี,". หน้า 157.
- ↑ สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี. (2518). รวมเรื่องเมืองกาญจนบุรี ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเนศ. หน้า 9-11.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/ เก็บถาวร 2019-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2561. สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 จังหวัดกาญจนบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=71&statType=1&year=60 สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
- ↑ "วัดหินแท่นลำภาชี จังหวัดกาญจนบุรี โบสถ์สำเภาแก้วหนึ่งเดียวในไทย". กินเที่ยวกัน. 2021-11-25.
- ↑ "วัดถ้ำเสือ ไหว้พระ ทำบุญ บนยอดเขาสวยงาม กินเที่ยวกัน". กินเที่ยวกัน. 2019-06-26.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เก็บถาวร 2006-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน