ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ

ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี กับ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รวม 2 สมัย และ อดีตเลขาธิการสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดกาญจนบุรี

ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
[[File:‎|frameless|upright=1]]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
พิพิธ โพธิพิพิธ

17 มีนาคม พ.ศ. 2513 (54 ปี)
อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2554—2561)
พลังประชารัฐ (2561—2565)
ภูมิใจไทย (2565—ปัจจุบัน)
คู่สมรสลดาพิมพ์ โพธิพิพิธธนากร
ชื่อเล่นแหลม

ประวัติ

แก้

ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2513 เป็นบุตรของนายประชา โพธิพิพิธ[1] (กำนันเซี้ยะ) อดีต ส.ส. กาญจนบุรี 4 สมัย กับนางทวี โพธิพิพิธ และเป็นน้องชายของ นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ

ธรรมวิชญ์ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเทคนิคตลิ่งชันพณิชยการ กรุงเทพมหานคร จากนั้นได้เข้าศึกษาจนสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานการเมือง

แก้

ธรรมวิชญ์ หรือ ผู้ใหญ่แหลม เริ่มต้นงานการเมืองท้องถิ่น โดยการเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 14 บ้านตะคร่ำเอน ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร่ำเอน ในปี พ.ศ. 2542 เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542 และเคยเป็นกรรมการพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล (ก.อบต.) จังหวัดกาญจนบุรี

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 นายธรรมวิชญ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[2][3] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก

ในปี พ.ศ. 2561 เขาและนายอัฏฐพล โพธิพิพิธ ได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[4] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "42 ตระกูล 89 คน"ยกครัว"เข้าสภาฯ พ่อแม่ลูก-พี่น้อง-ผัวเมีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-06. สืบค้นเมื่อ 2012-01-26.
  2. เผยโฉมหน้า 125 ปาร์ตี้ลิสต์ปชป. เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ข่าวสด
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  4. พลังประชารัฐ ดูดลูกชายกำนันเซี้ยะ ประชาธิปัตย์อ่วม 'เสียอีก2'
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔