พรรคภูมิใจไทย
การแก้ไขบทความนี้ของผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนถูกปิดใช้งานจนถึง 2 กรกฎาคม 2566 ดูนโยบายการป้องกันและปูมการป้องกันสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หากคุณไม่สามารถแก้ไขบทความนี้และคุณประสงค์เปลี่ยนแปลง คุณสามารถส่งคำขอแก้ไข อภิปรายการเปลี่ยนแปลงทางหน้าคุย ขอเลิกป้องกัน ล็อกอิน หรือสร้างบัญชี |
พรรคภูมิใจไทย (ย่อว่า: ภท.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มีนายพิพัฒน์ พรมวราภรณ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก นายมงคล ศรีอ่อน เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก และนางวันเพ็ญ ขวัญวงศ์ เป็นโฆษกพรรคคนแรก[4]
พรรคภูมิใจไทย | |
---|---|
![]() | |
หัวหน้า | อนุทิน ชาญวีรกูล |
เลขาธิการ | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ |
ผู้ก่อตั้ง | เนวิน ชิดชอบ |
รองหัวหน้าพรรค | ทรงศักดิ์ ทองศรี บุญลือ ประเสริฐโสภา เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ชาดา ไทยเศรษฐ์ พิพัฒน์ รัชกิจประการ |
เหรัญญิกพรรค | นาที รัชกิจประการ |
นายทะเบียนพรรค | ศุภชัย ใจสมุทร |
คำขวัญ | ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน ภูมิใจไทย พูดแล้วทำ |
ก่อตั้ง | 5 พฤศจิกายน 2551 |
ที่ทำการ | 2159/11 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร |
จำนวนสมาชิก (ปี 2566) | 61,703 คน[1] |
อุดมการณ์ | ประชานิยม[2] การกระจายอำนาจ |
จุดยืน | ขวา[3] |
สี | สีน้ำเงิน |
เพลง | เปลี่ยน (พรรคภูมิใจไทย) |
สภาผู้แทนราษฎร | 71 / 500
|
เว็บไซต์ | |
bhumjaithai.com | |
โฆษก | ภราดร ปริศนานันทกุล |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ปัจจุบันพรรคภูมิใจไทย มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรค นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นเลขาธิการพรรค และ นายภราดร ปริศนานันทกุล เป็นโฆษกพรรค
ประวัติ
การเปิดตัวพรรค
เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 10.30 น. พรรคภูมิใจไทย ได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวและแถลงนโยบาย ที่ โรงแรมสยามซิตี้ โดยมีแกนนำ อาทิ นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล, นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์, นายโสภณ ซารัมย์, นายศุภชัย ใจสมุทร และนางพรทิวา นาคาศัย
นอกจากนี้ยังมีอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และ พรรคพลังประชาชน เข้าร่วมงานอย่างคึกคัก อาทิ นายเนวิน ชิดชอบ, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม, นายสุชาติ ตันเจริญ, นายทรงศักดิ์ ทองศรี, นายอนุชา นาคาศัย และนายอนุทิน ชาญวีรกูล นอกจากนี้ยังมีบรรดา ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน เปิดตัวเป็นสมาชิกพรรค ทั้งนี้ สัญลักษณ์ของพรรค เป็นรูป แผนที่ประเทศไทย อยู่ตรงกลางหัวใจ 2 สี (สีแดงและสีน้ำเงิน) พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวนโยบายพรรค 7 ข้อ โดยให้ความสำคัญกับการเคารพเทิดทูนและยึดมั่นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์, ต่อต้านการปกครองที่ไม่ใช่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำเนินงานทางการเมืองในลักษณะประชานิยม ภายใต้สโลแกน "ประชานิยม สังคมเป็นสุข"
สำหรับ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน ที่ย้ายมาอยู่พรรคภูมิใจไทย ได้แก่ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อย่างไรก็ตาม นายบุญจง กล่าวถึงการรวมกันตั้งพรรคภูมิใจไทยว่าเป็นการรวมกันเพื่อทำการเมืองให้มีความมั่นคง จำนวน ส.ส.ที่เพิ่ม จะไม่เป็นประเด็นต่อรองตำแหน่ง แต่จะต่อรองในเรื่องนโยบายประชานิยม ผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว
ต่อมาในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552 พรรคภูมิใจไทยได้ทำการย้ายที่ทำการพรรคจากเดิม 134/245 ถนนสนามบินน้ำ ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยได้ย้ายไปอยู่อาคารเลขที่ 2159/11 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
การแยกตัวของกลุ่มมัชฌิมา
สมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา ได้ประกาศแยกตัวออกจากพรรคภูมิใจไทย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 แต่ยังคงสถานะความเป็นสมาชิกไว้เพื่อรักษาสถานภาพการเป็น ส.ส.ของสมาชิกในกลุ่มไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่[5] กระทั่งในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน จึงได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค
ผลการเลือกตั้ง
พรรคภูมิใจไทย เริ่มมีบทบาททางการเมืองหลังจากการจัดการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ผ่านไปแล้ว โดยพรรคภูมิใจไทย ได้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2552 จากกรณีกรรมการบริหารพรรคการเมืองถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
ภายหลังการจัดตั้งพรรคภูมิใจไทย และการสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคภูมิใจไทย ได้มีส่วนร่วมเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลกระทรวงสำคัญในฐานะรัฐมนตรีว่าการ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554
หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 พรรคภูมิใจไทย ได้เข้าร่วมเป็นพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาเริ่มมีกระแสข่าวว่าพรรคภูมิใจไทย (กลุ่มมัชฌิมา นำโดย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) จะเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย กระทั่งในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2555 พรรคภูมิใจไทย ประกาศไม่ร่วมอภิปรายกับพรรคฝ่ายค้าน และลงมติไว้วางใจนายกรัฐมนตรี[6]
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2562
หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 พรรคภูมิใจไทย สนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย โดยพรรคภูมิใจไทย ได้รับเลือกตั้ง 51 คน และมี ส.ส. ย้ายสังกัดมาสู่พรรค 1 คน ซึ่งถูกขับออกจากพรรคอนาคตใหม่ และต่อมาหลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ มี ส.ส. ย้ายมาสังกัดเพิ่มเติม 9 คน
รัฐบาลประยุทธ์ 2
ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สนับสนุนนโยบายกัญชาเสรีตามที่พรรคได้หาเสียงไว้[7]
ในการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย พรรคภูมิใจไทยถูกวิจารณ์เป็นอย่างมากจากการบริหารสถานการณ์โควิดผิดพลาด[8] ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 บทความของพรรคภูมิใจไทยบนวิกิพีเดียภาษาไทย ได้ถูกก่อกวนโดยการเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคภูมิใจตู่" และคำขวัญถูกเปลี่ยนเป็น "ลดอำนาจประชาชน เพิ่มอำนาจกัญชา เลีย…เผด็จการ"[9] ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สังกัดพรรคภูมิใจไทย ติดเชื้อโควิดโดยเชื่อว่ามาจากคลัสเตอร์สถานบันเทิง[10]
ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 พรรคภูมิใจไทยชูนโยบายกัญชาทางการแพทย์ นำไปสู่การปลดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดในปี 2565[11] หลังจากนั้นกัญชาในประเทศไทยถือได้ว่าเสรีที่สุดในโลก ไม่มีมาตรการควบคุมใด ๆ[12]
พรรคภูมิใจไทยถูกวิจารณ์ว่าจัดสรรงบประมาณลงพื้นที่บางจังหวัดที่มี ส.ส. ของพรรค[13]
ช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 มี ส.ส. จากพรรคการเมืองอื่นย้ายเข้าพรรคภูมิใจไทยเพื่อเตรียมสำหรับการเลือกตั้งในปีถัดมา โดยส่วนใหญ่เป็น ส.ส. ที่เคยสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[14]ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส. บัญชีรายชื่อและนายทะเบียนของพรรค ได้ปราศรัยที่ย่านบ่อนไก่ โดยตอนหนึ่งพาดพิงไปยังพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี[15] เวลาต่อมาอนุทินได้ประกาศขอโทษในการกระทำดังกล่าว[16]
การเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2554 | 34 / 500
|
1,281,652 | 3.83% | 34 | ฝ่ายค้าน | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล |
2557 | − | − | − | - | การเลือกตั้งเป็นโมฆะ | อนุทิน ชาญวีรกูล |
2562 | 51 / 500
|
3,734,459 | 10.50% | 17 | ร่วมรัฐบาล | |
2566 | 71 / 500
|
1,138,202 | 2.88% | 20 |
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566
- ↑ "Major players in Thailand's election".
- ↑ "Thailand's Bhumjaithai Party: The Dark Horse".
- ↑ พลิกปูม3พรรคการเมือง"รังใหม่" 245 ส.ส."พลังประชาชน-ชาติไทย-มัชฌิมา"แตกทัพแห่ซบหลังโดนยุบ
- ↑ มัชฌิมา ประกาศแยกตัวจากภูมิใจไทยอย่างเป็นทางการแล้ว
- ↑ “ภูมิใจไทย” แบไต๋ ทอดสะพานร่วมรบ.[ลิงก์เสีย]
- ↑ กัญชา: เปิดนโยบายกัญชาของภูมิใจไทยอีกครั้ง หลังโปรดเกล้าฯ “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็น รมว. สาธารณสุข
- ↑ "คาร์ม็อบ"' บุก"ภูมิใจไทย" จี้ลาออกจากพรรคร่วม รับผิดชอบสถานการณ์โควิด
- ↑ “ภูมิใจไทย” ถูกมือดีเปลี่ยนชื่อในวิกิพีเดียเป็น “พรรคภูมิใจตู่”
- ↑ ""ศักดิ์สยาม" ประเดิมติดโควิดคนแรกใน ครม. นายกฯ บอก "ก็รักษากันไป"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
- ↑ ""อนุทิน" ลงนาม ปลด "กัญชา" พ้นยาเสพติด มีผลหลังลงราชกิจจาฯ พ้น 120 วัน". ไทยรัฐ. 8 February 2022. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
- ↑ "PLUS of the Year 2022: สุญญากาศกัญชา สุดยอดผลงานของการ #พูดแล้วทำ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
- ↑ "ทัวร์ลง 'ภูมิใจไทย' จาก 'กัญชา-จัดสรรงบกระจุก' แตกหัก-ห้ำหั่น-ชิงพื้นที่". มติชนสุดสัปดาห์. 8 December 2022. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
- ↑ "เช็กชื่อ ส.ส. ย้ายค่าย มองปรากฏการณ์ "ดูด" กระจายในการเมืองไทย". BBC News ไทย. 2022-12-15.
- ↑ matichon (2023-02-06). "ภูมิใจไทย ปราศรัยเหน็บลุงตู่ เป็นนายกฯต่อไม่ได้แล้ว 8 ปีมีแต่ความสงบ เงินไม่มี". มติชนออนไลน์.
- ↑ matichon (2023-02-07). "'อนุทิน' กราบขอโทษ 'นายกฯ' หลัง 'ศุภชัย' ซัดบนเวทีปราศรัย ยันการโจมตีไม่ใช่เจตนารมณ์ ภท". มติชนออนไลน์.
แหล่งข้อมูลอื่น
บทความเกี่ยวกับการเมือง การปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |