อนุชา นาคาศัย

อนุชา นาคาศัย เป็นนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท และอดีตเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ เป็นหนึ่งในอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2550

อนุชา นาคาศัย
ม.ป.ช., ม.ว.ม.
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ก่อนหน้า เทวัญ ลิปตพัลลภ
เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ
ดำรงตำแหน่ง
27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 – 18 มิถุนายน​ พ.ศ. 2564
ก่อนหน้า สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
ถัดไป ธรรมนัส พรหมเผ่า
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2503 (62 ปี)
อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ประเทศไทย
พรรค รวมไทยสร้างชาติ (2566-ปัจจุบัน)
พลังประชารัฐ (2561-2566)
เพื่อไทย [1]
ไทยรักไทย
คู่สมรส พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล (???-2557)[2]
ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศาสนา พุทธ

ประวัติแก้ไข

อนุชา นาคาศัย มีชื่อเล่นว่า "แฮงค์" เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2503 ที่ตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นบุตรของนายสุธน นาคาศัย กับนางสุจิตรา นาคาศัย จบมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2527[3]มีน้องชายสอง คนชื่อนายอนุสรณ์ นาคาศัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาทและนายกสมาคมกีฬาชัยนาท และ นายอนุรุทธิ์ นาคาศัย เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับพรทิวา นาคาศัย ส.ส.ชัยนาท อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย มีบุตร-ธิดา 2 คน ปัจจุบันได้หย่ากับภรรยา พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล แล้ว[4]

การทำงานแก้ไข

อนุชา นาคาศัย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท สังกัดพรรคไทยรักไทย และต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] อนุชา นาคาศัย ยังเคยให้การสนับสนุนทางการเมืองกับพรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีอดีตภรรยาของตนเป็นเลขาธิการพรรคอีกด้วย

ใน พ.ศ. 2561 นายอนุชาได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับรับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค และก้าวขึ้นมาเป็นเลขาธิการพรรคเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ต่อมาในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 อนุชาได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ภารกิจลับ! "ส.ส.มันแกว" เขย่าเพื่อไทย..เพื่อใคร?
  2. เบื้องหลัง ไร้เงา ‘พรทิวา’ ในวัน ‘เสี่ยแฮงค์-อนุชา’ พบบิ๊กตู่
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  4. เบื้องหลัง ไร้เงา ‘พรทิวา’ ในวัน ‘เสี่ยแฮงค์-อนุชา’ พบบิ๊กตู่
  5. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  6. เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒