พรรคพลังประชารัฐ
พรรคพลังประชารัฐ (ย่อ: พปชร.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2561 ภายในพรรคประกอบด้วยอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลประยุทธ์ 1 รวมทั้งมีการรับนักการเมืองหลายกลุ่มเข้าสังกัด ทั้งอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อดีตนักการเมืองท้องถิ่น อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย, พรรคเพื่อไทย และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ รวมไปถึงอดีตแกนนำ กปปส. ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคเสนอชื่อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปในสมัยที่ 2
พรรคพลังประชารัฐ | |
---|---|
![]() | |
หัวหน้า | ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
เลขาธิการ | สันติ พร้อมพัฒน์ |
รองหัวหน้าพรรค | วิรัช รัตนเศรษฐ ไพบูลย์ นิติตะวัน ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ |
เหรัญญิกพรรค | นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ |
นายทะเบียนพรรค | กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ |
คำขวัญ | พลังประชารัฐ พลังเพื่อชาติไทย[1] |
ก่อตั้ง | 2 มีนาคม 2018[2] |
ที่ทำการ | 547 ถ.รัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขต จตุจักร กทม.10900 |
จำนวนสมาชิก (ปี 2565) | 57,375 คน[3] |
อุดมการณ์ | กษัตริย์นิยม[4] อนุรักษนิยม[5] ทหารนิยม[6] อำนาจนิยม |
จุดยืน | ขวา[7] |
สี | สีน้ำเงิน |
เพลง | เพลงพรรคพลังประชารัฐ |
สภาผู้แทนราษฎร | 40 / 500
|
สภากรุงเทพมหานคร | 2 / 50
|
เว็บไซต์ | |
pprp.or.th | |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
ชวน ชูจันทร์ ประธานประชาคมตลาดน้ำคลองลัดมะยม และ สุชาติ จันทรโชติกุล อดีต ส.ส. สงขลา พรรคความหวังใหม่ และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นผู้จดจองชื่อพรรคพลังประชารัฐต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561[8] ชื่อพรรค "พลังประชารัฐ" เป็นชื่อนโยบายช่วยเหลือคนยากจนที่สำคัญของรัฐบาลประยุทธ์[9] พรรคได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม "สามมิตร" ซึ่งมีแกนนำเป็นอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ได้แก่ สมศักดิ์ เทพสุทิน สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอยู่ กลุ่มดังกล่าวพยายามดึงตัวสมาชิกรัฐสภาทั้งจากพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มดังกล่าวสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ขณะที่ยังมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น
พรรคจัดประชุมสามัญใหญ่ของพรรคเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 เพื่อเลือก หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกจำนวน 25 คนปรากฏว่า อุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลประยุทธ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลประยุทธ์ 1 เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 อุตตมพร้อมคณะได้เดินทางมายัง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อจดทะเบียนจัดตั้งพรรคอย่างเป็นทางการ [10]
ในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มีบุคคลกว่า 150 คนเข้าร่วมพรรคพลังประชารัฐ โดยมีทั้งอดีตสมาชิกรัฐสภา อดีตรัฐมนตรีและบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งในจำนวนนี้มีสมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชน สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย และสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา[11] นักการเมืองท้องถิ่น รวมถึงอดีตแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[12]
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 4 คนที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่งเพื่อมาหาเสียงเต็มเวลา หลังถูกวิจารณ์มาหลายเดือน[13]
การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562
พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แม้มีพรรคการเมืองหลายพรรคสนับสนุนประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่พรรคพลังประชารัฐถูกมองว่าเป็น "พรรคนิยมประยุทธ์อย่างเป็นทางการ" เพราะแกนนำพรรคหลายคนเป็นรัฐมนตรีและที่ปรึกษาในรัฐบาลประยุทธ์[14][15]
ในการเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้คำมั่นขยายโครงการสวัสดิการ[16] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐเสนอปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 425 บาท ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นนโยบายประชานิยม ทำไม่ได้จริง หรือทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน แต่พรรคยืนยันว่าสามารถทำได้จริง[17]
พรรคพลังประชารัฐถูกร้องเรียนว่าได้รับการสนับสนุนอย่างลำเอียงจากเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐ[18][19] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 รัฐบาลประยุทธ์อนุมัติงบประมาณอัดฉีดเงินสด 86,700 ล้านบาท[20] ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นการใช้เงินภาษีซื้อเสียง[21] นอกจากนี้ พรรคพลังประชารัฐยังถูกกล่าวหาว่ามีการให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐเพื่อแลกกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นนโยบายช่วยเหลือคนยากจนของรัฐบาล[22]
ประยุทธ์ใช้อำนาจเต็มที่ตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว สั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งวาดเขตเลือกตั้งใหม่[23][24][25] นักวิจารณ์ระบุว่า การวาดเขตเลือกตั้งใหม่นี้เอื้อประโยชน์ต่อพรรคพลังประชารัฐ โดยบางคนให้ความเห็นว่า พรรคพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว[26]
วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุนมูลค่า 600 ล้านบาท โดยมีแผนที่ซึ่งมีชื่อหน่วยงานของรัฐ เช่น กระทรวงการคลัง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมด้วย ทำให้มีข้อกังขาว่ามีการใช้เงินภาษีหรือหาผู้บริจาคหรือผู้ซื้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหน่วยงานดังกล่าวซึ่งอาจต้องมีการตอบแทนในอนาคต[27] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 พรรคเปิดเผยชื่อผู้บริจาคในงานดังกล่าวตามระเบียบ 90 ล้านบาท โดยเป็นชื่อผู้ได้รับสัมปทานจากรัฐเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม พรรคไม่ได้เปิดเผยแหล่งที่มาของเงินบริจาคที่เหลือ[28] วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562 กกต. เปิดเผยว่า ไม่พบความผิดที่พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุน เนื่องจากไม่พบบุคคลต่างชาติบริจาคเงิน จึงไม่มีความผิดและไม่ต้องยุบพรรค[29] ทว่าต่อมาสำนักข่าวอิศราพบว่า มีกลุ่มทุนจากประเทศไอซ์แลนด์ถือหุ้นในบริษัทที่บริจาคเงินให้พรรคพลังประชารัฐ[30]
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นคำร้องไต่สวนยุบพรรค เนื่องจากเสนอชื่อประยุทธ์ซึ่งถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามเพราะดำรงตำแหน่งทางการเมือง[31] ต่อมา ผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงว่าประยุทธ์ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ และจะไม่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองต่อ[32] วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นเอาผิดจากกรณีปราศรัยนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาหาเสียง เข้าข่ายความผิดฐานเตรียมทรัพย์สินเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้ง[33]
ผลการเลือกตั้งเบื้องต้นพบว่าพรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. มากเกินคาด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครสามารถแย่งที่นั่งจากพรรคประชาธิปัตย์ได้ทั้งหมด ทำให้ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์ข่าวหุ้น เขียนว่า คนชั้นกลางเก่าอนุรักษนิยมที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์หันไปเลือกพรรคพลังประชารัฐแทน แสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์เพราะเกลียดทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ใบตองแห้งยังเขียนว่า พรรคพลังประชารัฐใช้ปัจจัยในการเมืองแบบเก่าเพื่อเอาชนะ คือ นโยบายประชานิยม ส.ส.ที่ดูดจากพรรคอื่น ประกอบกับอำนาจรัฐราชการ นอกเหนือจากฐานเสียงอนุรักษนิยมในต่างจังหวัด องค์ประกอบของรัฐบาลที่อาจเกิดจากพรรคพลังประชารัฐตั้งจะมีองค์ประกอบจะเป็นนักการเมืองทุนท้องถิ่น ย้อนกลับไปเหมือนสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ[34]
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2562 | 116 / 500
|
8,441,274 | 23.74% | 116 | แกนนำจัดตั้งรัฐบาล | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
2566 | 40 / 500
|
537,625 | 1.36% | 76 | ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
ครม. ประยุทธ์ 2
ก่อนมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 มีข่าวแย่งตำแหน่งภายในพรรคพลังประชารัฐ โดยกลุ่มสามมิตรซึ่งประกอบด้วยสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, สมศักดิ์ เทพสุทิน และอนุชา นาคาศัยแถลงยืนยันว่าตนต้องได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีตามโผในวันที่ 11 มิถุนายน ซึ่งหากไม่ตรงก็จะแสดงจุดยืนอีกครั้ง และมีข่าวกลุ่มสามมิตรพยายามเสนอญัตติขับไล่สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ออกจากตำแหน่ง เพราะ "เป็นภัยต่อความมั่นคงของพรรคและของรัฐบาลเป็นอย่างสูง ... ไม่ยึดโยงกับ ส.ส. ในพรรค ไม่เห็นหัว ส.ส. ในพรรคแม้แต่คนเดียว ... ท่านทำให้พรรคเราแตกแยก"[35] ก่อนที่ต่อมากลุ่มสามมิตรจะยอมล้มข้อเรียกร้องของตนเองและยอมรับให้ประยุทธ์จัดสรรคณะรัฐมนตรี[36] โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่าจะมีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคจากอุตตม เป็นประยุทธ์[37]
ต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐออกมายอมรับว่าต้องชะลอนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาทต่อวัน แม้ก่อนหน้านี้จะยืนยันว่าจะนำนโยบายไปปฏิบัติในระหว่างหาเสียง[38]
1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐจำนวน 18 คนลาออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคชุดเดิมที่ทำหน้าที่อยู่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามข้อบังคับพรรค[39] ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พรรคพลังประชารัฐได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2563 ที่ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยมีการแก้ไขเพื่อปรับเปลี่ยนรูปเครื่องหมายพรรคการเมือง และย้ายที่ทำการพรรคแห่งใหม่ไปยังอาคารรัชดาวัน ถนนรัชดาภิเษก ตรงข้ามศาลอาญา และมีการแต่งตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยมี ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค[40] และพัชรินทร์ ซำศิริพงษ์เป็นโฆษกพรรค
การลาออกและกลับเข้าร่วมพรรคของธรรมนัส
19 มกราคม พ.ศ. 2565 ผู้สื่อข่าวการเมืองรวมถึงสายทหารหลายราย ได้ออกรายงานตรงกันว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยสมาชิกในสังกัดอีก 20 คน ได้พร้อมใจกันยื่นใบลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และสมาชิกพรรคพลังประชารัฐทั้งหมดถูกเรียกประชุมด่วนที่มูลนิธิป่ารอยต่อหลังจากประชุมสภาล่มเมื่อเวลา 17.45 น.[41] จนในเวลา 20.21 น. มีรายงานว่า ร.อ.ธรรมนัส พร้อม ส.ส. ในสังกัดอีก 20 คน ได้เปลี่ยนไปยื่นขอมติขับออกจากพรรคแทนการลาออก เพื่อให้ตนและ ส.ส. สามารถสังกัดพรรคการเมืองใหม่ได้ใน 60 วัน ตามกฎหมาย และคณะกรรมการพร้อมสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ มีมติ 78 เสียง ให้ขับ ร.อ.ธรรมนัส พร้อม ส.ส. ในสังกัดอีก 20 คน ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทันที ฐานสร้างความขัดแย้งและแตกแยกในพรรค[42] ความตอนหนึ่ง พลเอกประวิตร กล่าวว่า "ยอม ๆ ไปเหอะ ถ้าอยากออกก็ให้ออกไป จะได้สงบ พรรคจะได้เดินต่อ"[43]
เอกรัฐ ตะเคียนนุช ผู้สื่อข่าวช่องวัน 31 ณ ขณะนั้น คาดการณ์บนแฟนเพจส่วนตัวว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเป็นชนวนความขัดแย้งตั้งแต่ครั้งที่พลเอกประยุทธ์ ใช้คำสั่งปลดออกจากตำแหน่ง ทำให้ฝ่ายร้อยเอกธรรมนัสกับฝ่ายพลเอกประยุทธ์ไม่ลงรอยกันนับตั้งแต่นั้น และใจจริง ธรรมนัส และสมาชิกทั้งหมด "จะลาออก" เพื่อให้ตัวเองขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. ซึ่งจะเป็นผลให้รัฐบาลขาดความเสถียรภาพจากที่ไม่ค่อยเสถียรภาพอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ระวิตร ไม่มีทางเลือก นอกจากต้องเจรจากับ ธรรมนัส ให้อยู่ต่อ เพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล ผลก็คือ ธรรมนัส ขอเปลี่ยนจากลาออกเป็นขอมติขับออกจากพรรคแทน[44] หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าหลังจากเหตุการณ์นี้ ร.อ.ธรรมนัส พร้อม ส.ส. ทั้ง 20 คน จะย้ายไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย โดยมีข่าวลือที่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าจะมี วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งเป็นคนสนิทใกล้ชิดของประวิตร เป็นหัวหน้าพรรค[45]
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 เกิดความขัดแย้งระหว่างพลเอกประวิตรและพลเอกประยุทธ์ในพรรคพลังประชารัฐ[46] และต่อมาพลเอกประยุทธ์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ ในช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 [47] เวลาต่อมาธรรมนัสได้กลับเข้าพรรคพลังประชารัฐ[48]
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 มีการปรับกระบวนทัศน์การทำงานด้านสื่อสารของ พปชร. โดยปรับภาพลักษณ์ของ พล.อ. ประวิตร หัวหน้าพรรค ให้เป็นนายทหารประชาธิปไตย เข้าถึงได้กับทุกกลุ่ม[49] เดือนมกราคมปีถัดมาอุตตมและสนธิรัตน์ได้กลับเข้าพรรคพลังประชารัฐ เดือนมีนาคมปีเดียวกันมีภาพพลเอกประวิตรพบกับภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หนึ่งในแกนนำกลุ่มราษฎร เขากล่าวว่าจะไม่มีรัฐประหารเกิดขึ้นอีก[50] เดือนถัดมาพลเอกประวิตรสมัครเป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่หนึ่ง และเขายังเป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทยเพียงคนเดียวของพรรคด้วย
พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายไม่แก้ไขและไม่ร่วมกับพรรคที่มีนโยบายแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[51]
บุคลากร
รายชื่อหัวหน้าพรรค
ลำดับ | รูป | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | อุตตม สาวนายน | 29 กันยายน พ.ศ. 2561 | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | |
2 | พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | ปัจจุบัน |
รายชื่อเลขาธิการพรรค
ลำดับ | รูป | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ | 29 กันยายน พ.ศ. 2561 | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | |
2 | อนุชา นาคาศัย | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 | |
3 | ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 | 19 มกราคม พ.ศ. 2565 | |
4 | สันติ พร้อมพัฒน์ | 3 เมษายน พ.ศ. 2565 | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
- ↑ เพจเฟซบุ๊กพปชร.ปรับปกใหม่ชู"บิ๊กป้อม"-"พลังประชารัฐ พลังเพื่อชาติไทย"
- ↑ "สรุปข้อมูลรายชื่อพรรคที่ออกหนังสือเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมือง (ณ วันที่ 21 กันยายน 2561)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-02-20.
- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
- ↑ "Asia in Review SEA Thailand - German-Southeast Asian Center of Excellence for Public Policy and Good Governance (CPG)". สืบค้นเมื่อ 13 March 2019.
- ↑ ""พรรคพลังประชารัฐ"เปิดตัวยิ่งใหญ่ "อุตตม"นั่งแท่นหัวหน้าพรรค". Tnnthailand.com. สืบค้นเมื่อ 13 March 2019.
- ↑ "2019 Political Preview: Emerging Market Elections In Focus". Fitchsolutions.com. 13 August 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 13 March 2019.
- ↑ "Former Khon Kaen MP Premsak holds hands with Sam Mitr leader". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-03. สืบค้นเมื่อ 13 March 2019.
- ↑ จดพรรคใหม่คึก มารอแต่เช้ามืด ไทยรัฐ 2 มีนาคม 2561
- ↑ "PM allows ministers to back parties". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-27.
- ↑ "อุตตม" ยื่นจดจัดตั้ง 'พปชร.' ปัดดูดหัวละ 50 ล้าน!
- ↑ "150+ Politicos Defect to New Pro-Junta Party". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-11-27. สืบค้นเมื่อ 2018-11-27.
- ↑ "นับคะแนน 112 อดีต ส.ส./ผู้สมัคร ส.ส. ซบพลังประชารัฐลุยเลือกตั้ง 62". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
- ↑ "Palang Pracharath ministers resign from cabinet". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.
- ↑ "'Three Friends' Join Pro-Junta Party, Say Charter Favors Them". Khaosod English. 19 November 2018.
- ↑ "Parties propose poll date". Bangkok Post. 30 June 2018.
- ↑ Asaree Thaitrakulpanich (February 27, 2019). "Thai Election for Dummies: Guide to the Parties". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 3-3-2019.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "รุมถล่มยับค่าจ้าง 425 บาท พรรคพลังประชารัฐฟุ้ง เป็นรัฐบาลทำได้จริง". ไทยรัฐ. 17 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 17-3-2019.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ Mongkol Bangprapa (2 July 2018). "EC asked to nip Palang Pracharat in the bud". Bangkok Post.
- ↑ "'No special treatment for pro-Prayut group'". The Nation. 3 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
- ↑ "EC to investigate cash handout spree". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
- ↑ "PPRP 'not shaken' by EC's cash handout investigation". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
- ↑ "ชาวบ้าน "เลิงนกทา" แฉ ต้องสมัครสมาชิก พปชร. ถึงได้บัตรคนจน แถมเงินกลับบ้านอีก 100 บาท". Pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
- ↑ "New EC boundary ruling under fire". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-28.
- ↑ "EC under microscope for gerrymandering over designing of boundaries - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-29. สืบค้นเมื่อ 2018-11-28.
- ↑ "EC completes redrawing of constituencies - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2018-11-28.
- ↑ "Election has already been won, so what now? - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
- ↑ "Sontirat: Dinner table map doesn't belong to party". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
- ↑ "ต้องโชว์ทุกเดือน! กาง กม.เงินบริจาคพรรค-ลุ้นก้อน 532 ล.งานโต๊ะจีน พปชร.ใครทุนใหญ่?". Isranews.org. 2019-01-28. สืบค้นเมื่อ 2019-02-03.
- ↑ "เลือกตั้ง 2562 : "พลังประชารัฐ" รอดยุบพรรค ระดมทุนโต๊ะจีนไร้เงินต่างชาติ". ไทยพีบีเอส. 12 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-13.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "'สำนักข่าวอิศรา' แกะรอยทุนไอซ์แลนด์ถือหุ้นบริษัทบริจาคโต๊ะจีน พปชร. พบใช้ที่อยู่เดียวกับนิติบุคคลในเอกสาร Offshore Leaks". ประชาไท. 2019-03-16. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
- ↑ "ร้อง กกต.ยุบพลังประชารัฐคัดค้าน "ตู่" แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี". ไทยรัฐ. 16 ก.พ. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ""ประยุทธ์"รอด!ผู้ตรวจฯชี้ ไม่มีสถานะ"จนท.อื่นของรัฐ"". เดลินิวส์. 14 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "เพื่อไทยยื่นเอาผิด พลังประชารัฐ ปราศรัยหาเสียงสัญญาว่าจะให้ "บัตรคนจน"". ไทยรัฐ. 14 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "การเมืองยุคตู่ Vs ธนาธร". ข่าวหุ้น. 25 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ พลังประชารัฐ : สามมิตร ไล่ สนธิรัตน์ พ้นเลขาฯ ชี้ "เป็นภัยความมั่นคงของพรรค”
- ↑ พลังประชารัฐ : สามมิตร “ไม่งอแง” เลิกเขย่าโผ ครม. ล้มแผนไล่ สนธิรัตน์
- ↑ ประยุทธ์ ส่อทิ้ง “เปรมโมเดล” ยึด “สฤษดิ์สไตล์”
- ↑ พลังประชารัฐ ยอมรับ ขึ้นค่าแรง 425 บาท ต้องรอไปก่อน เกรงกระทบหลายส่วน
- ↑ ไทยพีบีเอส (1 มิถุนายน 2563). "18 กก.บห.พรรคพลังประชารัฐลาออก "อุตตม" พ้นหัวหน้าพรรค". news.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ไทยรัฐ (27 มิถุนายน 2563). "เปิดรายชื่อ กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐชุดใหม่ ใต้การนำของ "ลุงป้อม"". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ เอกรัฐ ตะเคียนนุช (19 มกราคม 2565). "สะพัด!! "#ผู้กองฯธรรมนัส" จะลาออก เลขาฯ พปชร. พยายามสอบถามเจ้าตัว แต่ยังติดต่อไม่ได้!". www.facebook.com/EakaratTkn. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ผู้จัดการออนไลน์ (19 มกราคม 2565). "ชี้ขับธรรมนัสพ้น พปชร. รัฐบาลประยุทธ์เสียงปริ่มน้ำ อยู่ได้แบบหืดขึ้นคออาจยุบสภา". www.mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา (19 มกราคม 2565). ""ยอมๆ ไปเหอะ ถ้าอยากออกก็ให้ออกไป จะได้สงบ พรรคจะได้เดินต่อ เรื่องนี้ได้คุยกับนายกฯ แล้ว"". www.facebook.com/sorrayuth9115. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ เอกรัฐ ตะเคียนนุช (19 มกราคม 2565). ""เกมการเมืองแบบไทยๆ การเมืองยุค #นายพล.."". www.facebook.com/EakaratTkn. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ มติชน (20 มกราคม 2565). "รู้จัก 'พรรคเศรษฐกิจไทย' พรรคใหม่ ก๊วนธรรมนัส". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ร้าว แต่ยังไม่แตก พลังประชารัฐในภาวะ "มังกรสองหัว"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-02-02.
- ↑ "นักการเมืองเต็มตัว 'บิ๊กตู่' สมัครสมาชิก รทสช. ขึ้นเวทีร่ายยาวภารกิจเพื่อคนไทยทั้งชาติ". 2023-01-09.
- ↑ "'ธรรมนัส' เตรียมเข้า 'พลังประชารัฐ' ก่อน 7 ก.พ.นี้ ไม่ขอรับตำแหน่งในพรรค". workpointTODAY.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : เบื้องหลัง "จดหมายเปิดใจ" และ "ลุงป้อมเปิดอกคุยสื่อ"". BBC News ไทย. 2023-04-12.
- ↑ ""บิ๊กป้อม" คุยกับ "น้องมายด์ แกนนำราษฎร" อารมณ์ดี เซลฟี่คู่ บอกจะไม่มีรัฐประหารอีก". pptvhd36.com.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ประวิตร "ฟิตเปรี๊ยะ" พร้อมเป็นนายกฯ เผยมีดีลประยุทธ์-ไม่คุยทักษิณ". BBC News ไทย. 2023-04-12.