ถนนรัชดาภิเษก (อักษรโรมัน: Thanon Ratchadaphisek) เป็นถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพมหานคร เริ่มจากสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านสะพานกรุงเทพ ตัดผ่านถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม 9 ถนนลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประชาชื่น ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ข้ามสะพานพระราม 7 เข้าเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ลอดใต้สะพานพระราม 6 เข้าเขตกรุงเทพมหานคร รวมกับถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาบรรจบที่ทางแยกท่าพระ

ถนนรัชดาภิเษก
ถนนรัชดาภิเษกที่ทางแยกอโศกมนตรี
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว45 กิโลเมตร (28 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2519–ปัจจุบัน
ประวัติก่อสร้าง พ.ศ. 2519
สมบูรณ์ พ.ศ. 2536
ทางแยกที่สำคัญ
ถนนวงแหวนรอบในกรุงเทพมหานคร
จากสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ ในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ถึงแยกท่าพระ ในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

แก้
 
แผนที่แสดงแนวถนนรัชดาภิเษกทั้งหมด (แสดงด้วยเส้นสีแดงเข้ม)

ถนนรัชดาภิเษกเป็นถนนที่สร้างขึ้นตามกระแสพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตนครหลวงกรุงเทพธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เข้าเฝ้าเพื่อกราบบังคมทูลเรื่องพระราชพิธีรัชดาภิเษก (Silver Jubilee) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำรัสเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรเป็นครั้งแรก โดยมีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนเพิ่มขึ้นเป็นถนนวงแหวนเพื่อพระราชทานเป็นของขวัญแก่ประชาชนแทนการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2514 ให้จัดสร้างถนนวงรอบขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 25 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน โดยรัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อถนนวงรอบว่า "ถนนรัชดาภิเษก" พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างถนนรัชดาภิเษก ณ บริเวณเชิงสะพานกรุงเทพ ตัดกับถนนเจริญกรุงเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน บริเวณแนวถนนตัดจากสะพานกรุงเทพผ่านถนนเจริญกรุง และต่อเชื่อมจนครบวงแหวน ปัจจุบันถือเป็นถนนวงแหวนรอบใน โดยมีถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9) เป็นถนนวงแหวนรอบนอก ถนนวงแหวนรอบในส่วนที่ 1 เริ่มจากทางแยกท่าพระถึงถนนเพชรบุรี ส่วนที่ 2 จากถนนพระรามที่ 4 ถึงทางแยกท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร และเริ่มเปิดใช้ถนนใน พ.ศ. 2519 แม้ว่าจะมีการเปิดใช้ถนน แต่ก็ยังเป็นถนนวงแหวนที่ไม่สมบูรณ์มากนัก เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินในการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลก็ดำเนินการก่อสร้างถนนรัชดาภิเษกส่วนที่เหลือเรื่อยมา จนกระทั่งแล้วเสร็จเป็นถนนวงแหวนอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เมื่อปี พ.ศ. 2536

ถนนวงแหวนรอบในรัชดาภิเษกนั้นมิได้สร้างใหม่ขึ้นทั้งหมด บางช่วงเป็นถนนและซอยที่มีอยู่แต่เดิม ได้แก่ ถนนวงศ์สว่าง (ช่วงสะพานพระราม 7 ถึงทางแยกวงศ์สว่าง), ซอยอโศก-ดินแดง (ช่วงทางแยกพระราม 9 ถึงทางแยกอโศก-ถนนเพชรบุรีตัดใหม่), ซอยสุขุมวิท 21 (ซอยอโศก) (ช่วงถนนสุขุมวิททางแยกอโศก-ถนนเพชรบุรีตัดใหม่), ถนนนางลิ้นจี่ตอนปลายหรือถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา (ช่วงทางแยกสาธุประดิษฐ์ถึงแยกถนนนางลิ้นจี่), ถนนมไหสวรรย์ (ช่วงทางแยกถนนตกถึงทางแยกมไหสวรรย์) และถนนจรัญสนิทวงศ์ (ช่วงทางแยกท่าพระถึงสะพานพระราม 6)

เมื่อมีการโครงการตัดถนนรัชดาภิเษกจึงเวนคืนที่ดินเพื่อตัดถนนเชื่อมเข้าหากัน เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วถนนบางช่วงใช้ชื่อว่าถนนรัชดาภิเษกแต่บางช่วงยังใช้ชื่อถนนตามเดิม ดังนี้ ถนนวงศ์สว่าง (ช่วงสะพานพระราม 7 ถึงทางแยกวงศ์สว่าง), ถนนรัชดาภิเษก (ช่วงทางแยกวงศ์สว่างถึงทางแยกพระราม 9), ถนนอโศก-ดินแดง (ช่วงทางแยกพระราม 9 ถึงทางแยกอโศก-เพชรบุรี), ถนนอโศกมนตรี (ช่วงทางแยกอโศกมนตรีถึงทางแยกอโศก-เพชรบุรี), ถนนรัชดาภิเษก (ช่วงทางแยกอโศกมนตรี-ทางแยกท่าพระ) และถนนจรัญสนิทวงศ์ (ช่วงทางแยกท่าพระถึงสะพานพระราม 6)

ก่อนวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 รัฐบาลในขณะนั้นมีนโยบายต้องการสร้างถนนเศรษฐกิจสายใหม่ทดแทนถนนสีลม ซึ่งแออัดและการจราจรติดขัด จึงมองหาทำเลที่ตั้งใหม่ ซึ่งได้ลงตัวที่ถนนรัชดาภิเษก ช่วงตั้งแต่แยกถนนตกจนถึงแยก ณ ระนอง โดยจัดตั้งเป็นถนนเศรษฐกิจสายใหม่ตามนโยบายของรัฐบาล ใช้ชื่อว่า ถนนพระรามที่ 3 ซึ่งรัฐบาลได้ลงทุนโครงสร้างพิ้นฐานโดยขยายถนนเป็น 6 ช่องจราจรไป-กลับ และขุดคลองกลางถนนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

นอกจากนี้ถนนรัชดาภิเษกยังมีถนนอีกส่วนหนึ่ง เชื่อมระหว่างทางแยกพระรามที่ 3-รัชดา (ช่วงใกล้เชิงสะพานพระราม 9) กับทางแยกพระรามที่ 3-รัชดา (ช่วงโรงเรียนนนทรีวิทยา) ถนนนี้เกิดขึ้นจากสร้างทางพิเศษเฉลิมมหานครหรือทางด่วนขั้นที่ 1 ได้สร้างถนนด้านใต้ทางยกระดับเพื่อลดระยะทางของถนนพระรามที่ 3 ซึ่งอ้อมโค้งตามแม่น้ำเจ้าพระยา ลดระยะทางได้ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นถนนเลียบใต้ทางด่วน มีทางขึ้นลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร

อนึ่ง ถนนรัชดาภิเษก (ช่วงตั้งแต่สะพานคลองน้ำแก้วถึงทางแยกพระราม 9) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตดินแดงกับเขตห้วยขวาง

สถานที่สำคัญที่ถนนตัดผ่าน

แก้
 
ถนนรัชดาภิเษก ช่วงเดอะมอลล์ ท่าพระ
  1. สำนักงานอัยการสูงสุด
  2. ศาลแพ่ง ศาลอาญา และศาลอุทธรณ์
  3. ศาลแขวงพระนครเหนือ
  4. ศาลภาษีอากรกลาง
  5. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
  6. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
  7. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  8. สถานเอกอัครราชทูตจีน
  9. สถานเอกอัครราชทูตสเปน
  10. สวนเบญจกิติ
  11. ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  12. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  13. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  14. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
  15. ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

แก้

ถนนรัชดาภิเษกนี้ยังมีบางส่วนที่เป็นทางวิ่งของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยมีสถานีที่ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษกทุกช่วงดังนี้

  1. สถานีรัชดาภิเษก
  2. สถานีสุทธิสาร
  3. สถานีห้วยขวาง
  4. สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  5. สถานีพระราม 9
  6. สถานีเพชรบุรี
  7. สถานีสุขุมวิท
  8. สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  9. สถานีท่าพระ
  10. สถานีจรัญฯ 13
  11. สถานีไฟฉาย
  12. สถานีบางขุนนนท์
  13. สถานีบางยี่ขัน
  14. สถานีสิรินธร
  15. สถานีบางพลัด
  16. สถานีบางอ้อ

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน ถนนรัชดาภิเษก ทิศทาง: ท่าพระ–อโศก–สะพานพระราม 7–ท่าพระ
จังหวัด อำเภอ/เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนรัชดาภิเษก (แยกท่าพระ–แยกมไหสวรรย์)
กรุงเทพมหานคร บางกอกใหญ่ แยกท่าพระ ตรงไป: ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปบางกอกน้อย
ถนนเพชรเกษม ไปวงเวียนใหญ่ ถนนเพชรเกษม ไปบางแค
ธนบุรี แยกตลาดพลู ถนนเทอดไท ไปแยกบางยี่เรือ ถนนเทอดไท ไปแยกวุฒากาศ (มะลิทอง)
แยกรัชดา-ราชพฤกษ์   ถนนราชพฤกษ์ ไปสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช   ถนนราชพฤกษ์ ไปถนนเพชรเกษม
แยกมไหสวรรย์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปวงเวียนใหญ่ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปดาวคะนอง
ตรงไป: ถนนมไหสวรรย์ ไปแยกถนนตก
ถนนมไหสวรรย์ (แยกมไหสวรรย์–แยกถนนตก)
กรุงเทพมหานคร ธนบุรี แยกมไหสวรรย์ เชื่อมต่อจาก: ถนนรัชดาภิเษก จากแยกท่าพระ
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปวงเวียนใหญ่ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปดาวคะนอง
แยกบุคคโล ถนนเจริญนคร ไปคลองสาน ถนนเจริญนคร ไปราษฎร์บูรณะ
สะพานกรุงเทพและสะพานพระราม 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
บางคอแหลม แยกถนนตก ถนนเจริญกรุง ไปสาทร ถนนเจริญกรุง ไปท่าเรือถนนตก
ตรงไป: ถนนพระรามที่ 3 ไปแยกพระรามที่ 3-รัชดา
ถนนพระรามที่ 3 (แยกถนนตก–แยกพระรามที่ 3-รัชดา)
กรุงเทพมหานคร บางคอแหลม แยกถนนตก เชื่อมต่อจาก: ถนนมไหสวรรย์ จากแยกมไหสวรรย์
ถนนเจริญกรุง ไปสาทร ถนนเจริญกรุง ไปท่าเรือถนนตก
แยกเจริญราษฎร์ ถนนเจริญราษฎร์ ไปสาทร ไม่มี
ยานนาวา แยกพระรามที่ 3-รัชดา ถนนรัชดาภิเษก ไปแยกใต้ด่วนสาธุประดิษฐ์ ตรงไป: ถนนพระรามที่ 3 ไปแยกสาธุประดิษฐ์
ถนนรัชดาภิเษก (แยกพระรามที่ 3-รัชดา–แยกวัดช่องลม)
กรุงเทพมหานคร ยานนาวา เชื่อมต่อจาก: ถนนพระรามที่ 3 จากแยกถนนตก
แยกด่วนสาธุประดิษฐ์ ถนนสาธุประดิษฐ์ ไปถนนจันทน์ ถนนสาธุประดิษฐ์ ไปท่าเรือสาธุประดิษฐ์
แยกรัชดา-นราธิวาส ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปสาทร ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปถนนพระรามที่ 3
แยกใต้ด่วนนางลิ้นจี่ ถนนนางลิ้นจี่ ไปถนนสวนพลู ถนนนางลิ้นจี่ ไปแยกนางลิ้นจี่ (วัดช่องลม)
ไม่มี ถนนพระรามที่ 3 ไปแยกนางลิ้นจี่ (วัดช่องลม)
ถนนพระรามที่ 3 (แยกถนนรัชดาภิเษก–แยก ณ ระนอง)
กรุงเทพมหานคร ยานนาวา สะพาน ข้ามทางรถไฟสายแม่น้ำ
คลองเตย แยก ณ ระนอง   ถนนสุนทรโกษา ไปแยกคลองเตย ถนนสุนทรโกษา ไปแยกศุลกากร
ไม่มี ถนน ณ ระนอง ไปวัดคลองเตยใน
ตรงไป:   ถนนรัชดาภิเษก
ถนนรัชดาภิเษก (แยก ณ ระนอง–แยกอโศกมนตรี)
กรุงเทพมหานคร คลองเตย แยก ณ ระนอง เชื่อมต่อจาก:   ถนนพระรามที่ 3
  ถนนสุนทรโกษา ไปแยกคลองเตย ถนนสุนทรโกษา ไปแยกศุลกากร
ไม่มี ถนน ณ ระนอง ไปวัดคลองเตยใน
แยกพระรามที่ 4 ถนนพระรามที่ 4 ไปวิทยุ ถนนพระรามที่ 4 ไปพระโขนง
แยกอโศกมนตรี ถนนสุขุมวิท ไปเพลินจิต ถนนสุขุมวิท ไปเอกมัย
ตรงไป:   ถนนอโศกมนตรี ไปแยกอโศก-เพชรบุรี
ถนนอโศกมนตรี (แยกอโศกมนตรี–แยกอโศก-เพชรบุรี)
กรุงเทพมหานคร คลองเตย แยกอโศกมนตรี เชื่อมต่อจาก:   ถนนรัชดาภิเษก จากแยก ณ ระนอง
ถนนสุขุมวิท ไปเพลินจิต ถนนสุขุมวิท ไปเอกมัย
วัฒนา แยกสุขุมวิท 21 ซอย 1 ซอยสุขุมวิท 21 ซอย 1 ซอยแยกไปซอยสุขุมวิท 23
ราชเทวี แยกอโศก-เพชรบุรี ถนนเพชรบุรี ไปประตูน้ำ ถนนเพชรบุรี ไปคลองตัน
ตรงไป:   ถนนอโศก-ดินแดง (ช่วงแยกอโศก-เพชรบุรี ถึง แยกพระราม 9) ไปแยกพระราม 9
ถนนอโศก-ดินแดง (แยกอโศก-เพชรบุรี–แยกพระราม 9)
กรุงเทพมหานคร ราชเทวี แยกอโศก-เพชรบุรี เชื่อมต่อจาก:   ถนนอโศกมนตรี จากแยกอโศกมนตรี
ถนนเพชรบุรี ไปประตูน้ำ ถนนเพชรบุรี ไปคลองตัน
แยกด่วนอโศก ถนนจตุรทิศ ไปถนนราชปรารภ ถนนจตุรทิศ ไปถนนพระราม 9
  ทางพิเศษศรีรัช ไปดินแดง   ทางพิเศษศรีรัช ไปศรีนครินทร์
ดินแดง แยกพระราม 9 ถนนอโศก-ดินแดง (ช่วงแยกพระราม 9 ถึง แยกประชาสงเคราะห์) ไปดินแดง ถนนพระราม 9 ไปรามคำแหง
ตรงไป:   ถนนรัชดาภิเษก ไปแยกวงศ์สว่าง
ถนนรัชดาภิเษก (แยกพระราม 9–แยกวงศ์สว่าง)
กรุงเทพมหานคร ดินแดง แยกพระราม 9 เชื่อมต่อจาก:   ถนนอโศก-ดินแดง จากแยกอโศก-เพชรบุรี
ถนนดินแดง ไปดินแดง ถนนพระราม 9 ไปรามคำแหง
แยกเทียมร่วมมิตร ไม่มี ถนนเทียมร่วมมิตร ไปแยกประชาอุทิศ (เหม่งจ๋าย)
แยกห้วยขวาง ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ไปถนนประชาสงเคราะห์ ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ไปถนนประชาอุทิศ
แยกรัชดา-สุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ไป   ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ไปถนนลาดพร้าว
จตุจักร แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว ไปแยกลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว ไปบางกะปิ
แยกรัชโยธิน ถนนพหลโยธิน ไปแยกลาดพร้าว ถนนพหลโยธิน ไปแยกเสนานิคม
ทางแยกต่างระดับรัชวิภา   ทางยกระดับอุตราภิมุข ไป ดินแดง, บางนา, ดาวคะนอง   ทางยกระดับอุตราภิมุข ไป ท่าอากาศยานดอนเมือง, รังสิต
  ถนนวิภาวดีรังสิต ไปแยกลาดพร้าว, ดินแดง   ถนนวิภาวดีรังสิต ไปบางเขน, ท่าอากาศยานดอนเมือง, รังสิต
ถนนกำแพงเพชร 2 ไปสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ไม่มี
แยกด่วนรัชดาภิเษก   ทางพิเศษศรีรัช ไปบางซื่อ, บางนา, ดาวคะนอง   ทางพิเศษศรีรัช ไปงามวงศ์วาน, แจ้งวัฒนะ
บางซื่อ แยกประชานุกูล ถนนประชาชื่น ไปบางซื่อ ถนนประชาชื่น ไปงามวงศ์วาน
แยกวงศ์สว่าง ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ไปเตาปูน ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ไปนนทบุรี
ตรงไป:   ถนนวงศ์สว่าง ไปสะพานพระราม 7
ถนนวงศ์สว่าง (แยกวงศ์สว่าง–สะพานพระราม 7)
กรุงเทพมหานคร บางซื่อ แยกวงศ์สว่าง เชื่อมต่อจาก:   ถนนรัชดาภิเษก จากแยกพระราม 9
ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ไปเตาปูน ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ไปนนทบุรี
แยกประชาราษฎร์ ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ไปบางโพ ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ไปแยกพิบูลสงคราม
แยกพิบูลสงคราม ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ไปแยกประชาราษฎร์   ถนนพิบูลสงคราม ไปนนทบุรี
สะพานพระราม 7 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ถนนจรัญสนิทวงศ์ (สะพานพระราม 7–แยกท่าพระ)
กรุงเทพมหานคร บางซื่อ เชื่อมต่อจาก: ถนนวงศ์สว่างจาก แยกวงศ์สว่าง
สะพานพระราม 7 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
นนทบุรี บางกรวย ไม่มี ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ไปวงเวียนบางกรวย
ไม่มี ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ ไปบางบำหรุ และ   ทางพิเศษประจิมรัถยา ไป ถนนกาญจนาภิเษก
ตรงไป: ลอดทางรถไฟสายใต้
กรุงเทพมหานคร บางพลัด   ทางพิเศษประจิมรัถยา ไปจตุจักร ไม่มี
แยกบางพลัด ถนนราชวิถี ไปสะพานกรุงธน ถนนสิรินธร ไปตลิ่งชัน
แยกบรมราชชนนี ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี ไปตลิ่งชัน
บางกอกน้อย แยกบางขุนนนท์ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 ถนนบางขุนนนท์ ไปตลิ่งชัน
ตรงไป: ข้ามทางรถไฟสายใต้
ถนนสุทธาวาส ไปโรงพยาบาลศิริราช ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ ไปตลิ่งชัน
แยกไฟฉาย ถนนพรานนก ไปแยกพรานนก ถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 ไปถนนกาญจนาภิเษก
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 20 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 23
บางกอกใหญ่ แยกพาณิชยการธนบุรี ไม่มี ถนนพาณิชยการธนบุรี ไปบางแวก
แยกท่าพระ ถนนเพชรเกษม ไปวงเวียนใหญ่ ถนนเพชรเกษม ไปบางแค
ตรงไป: ถนนรัชดาภิเษก ไปบุคคโล
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°47′33″N 100°34′27″E / 13.792556°N 100.574194°E / 13.792556; 100.574194