วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (ชื่อเดิม: วีรพล เทพหัสดิน ณ อยุธยา[1]; เกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2493) ชื่อเล่น น้อย อดีตหัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน[2] อดีตหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย[3] อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ[4] และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[5] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคพลังประชารัฐ[6] นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย กรรมการมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด
วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา | |
---|---|
หัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 – 26 มกราคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | บุญญาพร นาตะธนภัทร |
ถัดไป | ชัชชัย ภัทรนาวิก |
หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | |
ก่อนหน้า | ปัญญา พุกราชวงศ์ |
ถัดไป | ธรรมนัส พรหมเผ่า |
เลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2564 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | วีรพล เทพหัสดิน ณ อยุธยา[1] 19 ตุลาคม พ.ศ. 2493 |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | เศรษฐกิจไทย รวมแผ่นดิน |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม |
ชื่อเล่น | น้อย |
ประวัติ
แก้พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ชื่อเดิม คือ วีรพล เทพหัสดิน ณ อยุธยา[1] เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2493 เป็นบุตรชายของ พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และ คุณหญิงเพลิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา มีน้องสาว 2 คน คือ ณัฐธยาน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และ สิริยส เทพหัสดิน ณ อยุธยา
พลเอก วิชญ์ เป็นหนึ่งในนายทหารที่ ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[7] ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เขาเป็นกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
พลเอก วิชญ์ ถือเป็นนายทหารที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ[8] ซึ่งพลเอก วิชญ์ ลงพื้นที่ร่วมกับพลเอก ประวิตร อยู่หลายครั้ง[9][10][11]
พลเอก วิชญ์ มีชื่อที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการจากสื่อมวลชนว่า "บิ๊กน้อย"[8]
พลเอก วิชญ์ เคยตกเป็นข่าวว่าอาจเป็นนายทหารผู้นำการรัฐประหาร โดยผู้ที่เปิดเผย คือ พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นและ นายประชา ประสพดี ส.ส.จังหวัดสมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ซึ่งเจ้าตัวได้ออกมาปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวพร้อมกับตอบโต้กลับไป[12] อย่างไรก็ตามเมื่อ พลตรี ขัตติยะ ถูกลอบสังหารและเสียชีวิตลง พลเอก วิชญ์ ในฐานะเพื่อนร่วมรุ่นก็ได้ไปร่วมในงานศพด้วย[13]
การศึกษา
แก้พลเอก วิชญ์ จบการศึกษาจากวชิราวุธวิทยาลัย[14] ก่อนที่จะเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 11 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 22 หลังจากนั้นจบปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม[15] นอกจากนี้ยังผ่านการอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ประจำปี พ.ศ. 2549[16]
การทำงาน
แก้ด้านราชการ
แก้พลเอก วิชญ์ เคยรับราชการทหารในตำแหน่งต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 41 ในปี พ.ศ. 2545 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 ในปี พ.ศ. 2547 ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 และดำรงตำแหน่งราชองครักษ์ ในปี พ.ศ. 2548 ดำรงตำแหน่งแม่ทัพน้อยที่ 1 ในปี พ.ศ. 2549 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะนายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา ในปี พ.ศ. 2551 ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลทหารสูงสุด ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นได้รับเลื่อนยศเป็น พลเอก พร้อมกับดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552[17]
ในปี พ.ศ. 2553 มีข่าวคราวว่า พลเอก วิชญ์ อาจจะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่จะเกษียณในกลางปีเดียวกัน ร่วมกับ พลเอก พิรุณ แผ้วพลสง แต่แล้วท้ายที่สุดตำแหน่งนี้ก็ตกเป็นของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในที่สุด[18]
ด้านอื่น ๆ
แก้พลเอก วิชญ์ ถูกแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียม ในปี พ.ศ. 2558[19][20] ต่อมาถูกแต่งตั้งเป็น กรรมการอิสระ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559[21] ก่อนที่จะลาออกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[22]
ปี พ.ศ. 2560[23] พลเอก วิชญ์ ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แทนที่พลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์[24] ซึ่งพลเอก วิชญ์ ทำงานที่ราชตฤณมัยฯ มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 ในตำแหน่งแรกคือ กรรมการประชาสัมพันธ์[25] ก่อนที่จะถูกแต่งตั้งเป็นประธานอำนวยการแข่งม้า และเป็นเลขาธิการกิตติมศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2559[26]
ปัจจุบัน พลเอก วิชญ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งถูกแต่งตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2564 แทนที่ พลตรี จารึก อารีราชการัณย์[27] และดำรงตำแหน่งคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย[28] นอกจากนี้ พลเอก วิชญ์ ยังเป็นนายกสมาคมกีฬาม้าแข่งไทย[29] และเป็นที่ปรึกษาสมาคมกีฬาลอนเทนนิสแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[30]
การเมือง
แก้พลเอก วิชญ์ ถูกแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[5] หลังจากนั้นได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และได้ดำรงตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564[31] จนกระทั่งลาออกจากพรรคพลังประชารัฐในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[32]
ต่อมาในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 พลเอก วิชญ์ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย[33] ก่อนที่จะลาออกจากพรรคเศรษฐกิจไทยในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ภายหลังการลาออกของกรรมการบริหารพรรคจำนวน 15 คน[34] โดย ธรรมนัส พรหมเผ่า เข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทยแทนในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565[35]
หลังจากนั้นพลเอก วิชญ์ ก็เข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565[36] จนกระทั่งลาออกจากพรรครวมแผ่นดินในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566[37] เพื่อเตรียมสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[38] และดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคพลังประชารัฐ[39] สอดคล้องกับรายงานของสยามรัฐออนไลน์ที่ระบุว่า พลเอก วิชญ์ ได้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคพลังประชารัฐแล้วในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2566[6] ส่วนพรรครวมแผ่นดินจะมี พลเอก ชัชชัย ภัทรนาวิกเข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน[39]
ยศทหาร
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2543 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ส่องทรัพย์สิน พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดินฯ ยื่น ป.ป.ช. 71.9 ล. เครื่องประดับภรรยา 62 รายการ". สำนักข่าวอิศรา. 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พล.อ.วิชญ์ ซิว หน.พรรครวมแผ่นดิน ตั้งเป้า 25 ส.ส. ปัดเป็นนั่งร้าน ตู่-ป้อม". www.thairath.co.th. 2022-08-01. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'พล.อ.วิชญ์' นั่งหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย 'ธรรมนัส' เลขาฯ เตือนคนมองเป็นอากาศ". workpointTODAY. 2022-03-18. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ประวิตร" ตั้ง "พล.อ.วิชญ์" น้องรัก นั่ง ประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ". สยามรัฐ. 2021-09-14. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 "รายชื่อสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (โปรดเกล้าฯ 31 กรกฎาคม 2557)". ryt9.com. 2014-08-01. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 ""บิ๊กป้อม"-"บิ๊กน้อย" ร่วมหารือ "อุตตม-สนธิรัตน์" คัมแบ็กพลังประชารัฐ เสริมทัพเศรษฐกิจ". สยามรัฐ. 2023-01-28. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ป๊อกแป๊ก" เปรยคนสนิทไม่เต็มใจคุม ศอฉ. จำใจเรียก ผบ.หน่วย ถกเครียด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.
- ↑ 8.0 8.1 "เปิดประวัติ "พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา" เพื่อน "บิ๊กป้อม" ขู่ฟ้องแหลกคนด่า "แพรวา"". mgronline.com. 2019-07-17. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เอ๋ (2022-01-21). "'บิ๊กป้อม' ผละการเมืองกรุง ควง 'พล.อ.วิชญ์-นฤมล' ลงพื้นที่เชียงราย". ไทยโพสต์. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""บิ๊กป้อม" ลงพื้นที่สระแก้ว "สส.พปชร." ต้อนรับพรึ่บ! เร่งแผนแก้ปัญหา "น้ำท่วม-น้ำแล้ง"". สยามรัฐ. 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""บิ๊กป้อม" ขึ้นเหนือควง พล.อ.วิชญ์ ว่าที่หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย ไร้ ธรรมนัส". คมชัดลึกออนไลน์. 2022-01-21. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ พล.อ.วิชญ์ฉะเสธ.แดงปูดทหารชื่อย่อ "ว" แกนนำปฏิวัติเก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก ข่าวสด
- ↑ หนังสือ ลับลวงเลือด โดย วาสนา นาน่วม สำนักพิมพ์มติชน: กันยายน พ.ศ. 2553 ISBN 9789740206521
- ↑ "อนุมานวสาร ฉบับ มกราคม-กุมภาพันธ์ 2553 by Teerapat Ungsriwong - Issuu". issuu.com. p. 120. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา หัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน". มติชนออนไลน์. 2022-08-04. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "งานเลี้ยงสังสรรค์ วปอ. 2549 และแสดงความยินดีแด่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์". ryt9.com. 2015-02-11. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พลิกปูม "เสธ.น้อย" พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้ออกมาป้องนามสกุล เป็น ตท..11 ** "ลุงตู่" กำหนดสเปกโฆษกรัฐบาลต้องรอบรู้ ส่วนใครมาเป็นอีกไม่กี่วันได้รู้กัน". mgronline.com. 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พิรุณ-วิชญ์"เขิน ถูกเรียกทั่นผบ.ทบ.[ลิงก์เสีย] จาก ข่าวสด
- ↑ แต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียม ในปี พ.ศ. 2558
- ↑ แต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียม ในปี พ.ศ. 2558
- ↑ "พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา". www.bangchak.co.th. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-26. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
- ↑ aof (2022-02-17). "พล.อ.วิชญ์ ว่าที่หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย ลาออกบอร์ดบางจาก". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "16 ก.ย. แข่งนัดสุดท้าย ก่อนปิดตำนาน "สนามม้านางเลิ้ง"". workpointTODAY. 2018-03-25. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รายงาน : อวสาน 102 ปี สนามม้านางเลิ้ง ถิ่นคนมีสี ฐานการเมือง เปิดแผน "เยียวยาวงการม้า"". มติชนสุดสัปดาห์. 2018-09-25. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""บิ๊กน้อย" วิชญ์ เทพหัสดิน ไม่ธรรมดา! พลังประชารัฐ ศึกใหญ่ใต้เงาบูรพาพยัคฆ์". bangkokbiznews. 2021-09-20. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พล.อ.วิชญ์ มือขวา "ประวิตร" จากสนามม้าสู่การเมือง". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-09-15. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 13 (2021-11-01). "เลือก บิ๊กป๋อม ประธานโอลิมปิคไทยสมัย 2 ติด - พล.อ.วิชญ์ นั่งเลขาคนใหม่". ข่าวสด.
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "คณะกรรมการ กกท. – การกีฬาแห่งประเทศไทย". www.sat.or.th. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-27. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
- ↑ "บทพิสูจน์ พล.อ.วิชญ์ จาก 'สนามนางเลิ้ง' ถึง 'สนามโคราช' บทวัดพลัง 'คนเลี้ยงม้า-ทัพบก'". VoiceTV. 2022-08-09. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""พล.อ.วิชญ์" ร่วมทัพบริหารเทนนิส ขานรับนโยบาย "บิ๊กป้อม" พัฒนานักกีฬาไทย". mgronline.com. 2021-02-17. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "บิ๊กป้อม แต่งตั้งน้องรัก บิ๊กน้อย นั่งประธานยุทธศาสตร์พลังประชารัฐ". อมรินทร์ทีวี. 2021-09-14. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "บิ๊กน้อย 'พล.อ.วิชญ์'ลาออกจาก พปชร. ไปรับหน้าที่ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย". คมชัดลึกออนไลน์. 2022-02-03. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พรรคเศรษฐกิจไทย: พล.อ.วิชญ์ นั่งหัวหน้าพรรค "ธรรมนัส" นั่ง "เลขาฯ"". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-03-18. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'พล.อ.วิชญ์' ไขก๊อกหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย หลังถูกกดดัน กก.บห.ลาออก 15 คน". prachatai.com. 2022-05-24. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'ธรรมนัส' ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย-โฆษกรัฐบาลไม่สนยุทธการ 'เด็ดหัว สอยนั่งร้าน' ของฝ่ายค้าน". prachatai.com. 2022-06-10. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'พล.อ.วิชญ์'นั่งหัวหน้า'รวมแผ่นดิน'โวกวาด 25 ส.ส.ปัดเป็นนั่งร้าน'บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม'". สำนักข่าวอิศรา. 2022-08-01. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'พล.อ.วิชญ์' ทิ้ง หน.รวมแผ่นดิน กลับพลังประชารัฐ ขอเคียงข้างพี่ป้อม". มติชนออนไลน์. 2023-01-26. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""บิ๊กน้อย"ไขก๊อกรวมแผ่นดิน คัมแบ็คพลังประชารัฐ". thansettakij. 2023-01-26. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 39.0 39.1 "ฮือฮา!!! 'รวมแผ่นดิน'เวอร์ชันใหม่ เปลี่ยนโฉมพรรค ระดมพลคนบันเทิงชื่อดังเพียบ". www.naewna.com. 2023-01-26. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล เล่ม ๑๑๙ ตอน ๑๙ ข ราชกิจจานุเบกษา ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล เล่ม ๑๒๓ ตอน ๒๐ ข ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล เล่ม ๑๒๔ ตอน ๑๖ ข ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐