อนุรักษนิยม
อนุรักษนิยม หรือ คติอนุรักษ์ (อังกฤษ: conservatism), โดยทั่วไปหมายถึงปรัชญาทางการเมืองที่ส่งเสริมสถาบันทางสังคมที่มีมาแต่เดิมในบริบทวัฒนธรรมและอารยธรรม แก่นศูนย์กลางของอนุรักษนิยมประกอบด้วยประเพณี สังคมสิ่งมีชีวิต (organic society) ลำดับชั้น อำนาจและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน[1] นักอนุรักษนิยมมุ่งธำรงสถาบันอย่างศาสนา การปกครองแบบรัฐสภา กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยมีเป้าหมายที่เน้นเสถียรภาพและการดำเนินไปของสังคม สำหรับคำว่า พวกปฏิกิริยา (reactionary) หมายความถึง อนุรักษนิยมที่คัดค้านสมัยใหม่นิยมและมุ่งหวนกลับสู่ "วิถีทางสืบเดิม"[2][3]
แนวอนุรักษนิยมทางการเมืองสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง[4][5] พรรคการเมืองที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมจัดเป็นพรรคอนุรักษนิยม
อ้างอิง
แก้- ↑ Heywood 2012, p. 68.
- ↑ McLean, Iain; McMillan, Alistair (2009). "Conservatism". Concise Oxford Dictionary of Politics (3rd ed.). Oxford University Press. "Sometimes [conservatism] has been outright opposition, based on an existing model of society that is considered right for all time. It can take a 'reactionary' form, harking back to, and attempting to reconstruct, forms of society which existed in an earlier period". ISBN 978-0-19-920516-5.
- ↑ "Conservatism (political philosophy)". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 1 November 2009.
- ↑ "conservatism", Encyclopædia Britannica 2001
- ↑ "conservatism", The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition