อารยธรรม
อารยธรรม (อังกฤษ: Civilization) โดยทั่วไปอาจหมายถึงความเจริญทางวัฒนธรรม แต่สำหรับทางด้านประวัติศาสตร์ อารยธรรม อาจหมายถึงการศึกษาความซับซ้อนของระบบสังคม เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบสังคมนั้น ๆ โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงเหตุปัจจัยการเกิดและการล่มสลายของอารยธรรมนั้น รวมถึงอิทธิพลของอารยธรรมนั้นต่ออารยธรรมอื่น ๆ

เมือง เป็นสิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมมนุษย์
องค์ประกอบของอารยธรรมมนุษย์แก้ไข
องค์ประกอบของอารยธรรมมนุษย์นั้น ก็คือวัฒนธรรม อันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น วัฒนธรรมที่เรามักจะศึกษาความสัมพันธ์กันในการศึกษาอารยธรรมได้แก่
- สังคม หมายถึง ลักษณะการอยู่ร่วมกัน เช่น การแบ่งหน้าที่ การทำงาน การแบ่งชนชั้น การรวมกลุ่ม ความขัดแย้ง เป็นต้น หรือยกตัวอย่างสถานการณ์ อาทิ ความสามารถในด้านเกษตรกรรม ความสามารถในการจัดสรรแรงงาน การจัดการระบบเมือง จึงกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า อารยธรรมอาจใช้รวมความถึงการประสบความสำเร็จของมนุษย์และการขยายถิ่นฐาน
- เศรษฐกิจ หมายถึง ลักษณะการแลกเปลี่ยนหรือการจัดสรรทรัพยากร อาทิ การสร้างกิจกรรมการผลิต การจำหน่าย หรือการบริโภค การกำหนดระบบเงินตรา เป็นต้น
- ศิลปะ หมายถึง วัตถุวัฒนธรรมที่แสดงออกให้เห็นถึงสถานภาพของสังคมมนุษย์นั้น ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และหลักฐานที่ดีในการศึกษาอารยธรรมในสังคมมนุษย์นั้น อาทิ จิตรกรรม วรรณกรรม ประติมากรรม เป็นต้น
- การเมืองการปกครอง หมายถึง การจัดระเบียบสังคมหรือการจัดการอำนาจอธิปไตย อาทิ การออกกฎหมาย การรักษาอำนาจการเมือง การรวมกลุ่ม การทำสงคราม เป็นต้น
- ปัญญาความคิด หมายถึง ลักษณะการทำความเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆ อาทิ การสร้างระบบความรู้ การสร้างความเชื่อ วิทยาศาสตร์และความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยี การสร้างทฤษฎีต่าง ๆ เป็นต้น
ดูเพิ่มแก้ไข
- อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
- อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
- อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโฮ
- อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์
- อารยธรรมกรีก
- อารยธรรมจีน
บทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |