เมือง

นิคมที่ใหญ่กว่าหมู่บ้านแต่เล็กกว่านคร
สำหรับนครรัฐกึ่งอิสระก่อนยุคสมัยใหม่ในคาบสมุทรอินโดจีน ดูที่ เมือง (หน่วยการปกครอง)

เมือง (อังกฤษ: town) เป็นนิคมมนุษย์ขนาดใหญ่กว่าหมู่บ้าน แต่เล็กกว่านคร ขนาดของนิคมที่เรียกได้ว่าเป็น "เมือง" นั้นแตกต่างกันไปอย่างมากในหลายภูมิภาคของโลก

เมือง
เมือง

เมืองแบ่งตามประเทศแก้ไข

เกาหลีแก้ไข

ทั้งในประเทศเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ จะเรียกเมืองว่า อึบ () ส่วนเมืองขนาดใหญ่หรือนคร จะเรียกว่า ชี ()

ญี่ปุ่นแก้ไข

ในประเทศญี่ปุ่น สถานะนคร (นคร) เดิมไว้ใช้กับเมืองขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป เงื่อนไขที่จำเป็นในการกำหนดสถานะนครได้ถูกลดทอนลง และในปัจจุบันมีเพียงเกณฑ์เดียวที่ใช้ก็คือมีประชากรมากกว่า 50,000 คน และมากกว่าร้อยละ 60 ของประชากรอาศัยอยู่ในใจกลางเมือง ทำให้หมู่บ้านและเมืองเล็ก ๆ หลายแห่งได้ควบรวมกันเพื่อจัดตั้งเป็นนครขึ้น แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์จะดูเหมือนเป็นเพียงกลุ่มของหมู่บ้านก็ตาม

ความแตกต่างระหว่างเมือง (มาจิ/โช) กับหมู่บ้าน (มูระ/ซง) ส่วนใหญ่จะไม่มีการกำหนดไว้ หมู่บ้านมักจะมีจำนวนประชากรน้อยกว่า 10,000 คน ส่วนเมืองมักจะมีจำนวนประชากรระหว่าง 10,000–50,000 คน

ไทยแก้ไข

ดูบทความหลักที่: เทศบาลเมือง

เมืองยังกล่าวถึงเขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ในสมัยอดีตคำว่าเมืองกล่าวถึง เขตภายในกำแพงเมือง[1] ซึ่งต่อมาทางรัฐบาลได้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดทั้งหมด เพื่อป้องกันการสับสนการใช้คำทั้งคำว่า เมือง และ จังหวัด ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2459 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย[2]

คำว่า "เมือง" ยังหมายถึงเขตแดนในระดับต่างกันได้ เช่น เมืองไทย (ประเทศ) เมืองเชียงใหม่ (จังหวัด) เมืองไชยา (อำเภอ)[1]

เวียดนามแก้ไข

เมืองในประเทศเวียดนามมี 2 ระดับ ได้แก่ เมืองระดับอำเภอ (เวียดนาม: thị xã) ซึ่งเป็นเขตการปกครองระดับที่สองที่อยู่ภายใต้จังหวัด (tỉnh) หรืออยู่ภายใต้นครปกครองโดยตรง (thành phố trực thuộc trung ương) และเมืองระดับตำบล (thị trấn) ซึ่งเป็นเขตการปกครองระดับที่สามที่อยู่ภายใต้อำเภอ (huyện)

ดูเพิ่มแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยน คำว่าเมืองเป็นจังหวัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2012-03-30.