สงคราม

การรบใหญ่หรือลักษณะความขัดแย้งระหว่างฝ่ายหนึ่งกับอีกฝ่ายหนึ่ง

สงคราม (อังกฤษ: war; สันสกฤต: संग्राम) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างหน่วยทางการเมืองที่ดำรงอยู่เป็นอิสระ (เช่น รัฐชาติ รัฐบาลและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว. โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกรานที่มีการใช้ความรุนแรง การทำลายล้างและมีอัตราเสียชีวิตที่อยู่ในระดับสูง หรือในระดับอุกฉกรรจ์ โดยใช้กำลังทหารทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ (irregular armies). การสงคราม (warfare) หมายถึง กิจกรรมทั่วไป หรือลักษณะที่พบเห็นได้ในสงครามประเภทนั้น ๆ. ภาวะปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ. คำว่า สงคราม ในภาษาไทยมีที่มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า संग्राम (sangraam) แปลว่าการรบพุ่ง หรือความขัดแย้ง (struggle).

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์[1] แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ[2]

ใน ค.ศ. 2003 ริชาร์ด สมอลลีย์ (Richard Smalley) ระบุว่าสงครามเป็นปัญหาใหญ่สุดอันดับหก (จากสิบ) ที่มนุษยชาติจะเผชิญในอีกห้าสิบปีข้างหน้า[3] ปกติสงครามมีผลให้โครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศเสื่อมลงอย่างสำคัญ รายจ่ายสังคม (social spending) ลดลง ทุพภิกขภัย การอพยพออกขนานใหญ่จากพื้นที่สงคราม และบ่อยครั้ง ทารุณกรรมต่อพลเรือน[4][5][6]

รายชื่อสงครามที่สำคัญในประวัติศาสตร์ แก้

ประวัติศาสตร์ แก้

 
รูปสลักของฟาโรห์รามเสสที่สอง ขณะรบในสงครามคาเดช

ก่อนหน้าที่จะมีความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ สงครามประกอบไปด้วยการจู่โจมอย่างรวดเร็วขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น พบว่าชาวนูเบียประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว ครึ่งหนึ่งเสียชีวิตเพราะความรุนแรง จนกระทั่งเมื่อถึงยุคการปกครองแบบรัฐเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว กิจการทหารได้แพร่ขยายไปทั่วโลก การคิดค้นดินปืนและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้นำไปสู่การรบสมัยใหม่ในที่สุด

ในหนังสือเรื่อง Why Nations Go to War โดย จอห์น จี. สโทสซิงเกอร์ ได้กล่าวว่า ฝ่ายคู่สงครามทั้งสองฝ่ายจะกล่าวอ้างว่าตนเป็นฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อคุณธรรม เขายังกล่าวอีกว่าสาเหตุเพื่อจะจุดชนวนสงครามขึ้นอยู่กับการประเมินในแง่ดีที่คาดว่าจะเป็นผลที่ได้รับจากความเป็นปรปักษ์นั้น (อันได้แก่มูลค่าและความสูญเสีย)

ทฤษฎีแรงจูงใจ แก้

ไม่มีข้อตกลงทางวิชาการว่าอะไรเป็นแรงจูงใจสำหรับสงครามที่พบมากที่สุด[7] แรงจูงใจอาจต่างกันระหว่างของผู้สั่งสงครามกับผู้เข้าร่วมสงคราม ตัวอย่างเช่น ในสงครามพิวนิกครั้งที่สาม ผู้นำกรุงโรมอาจปรารถนาก่อสงครามกับคาร์เธจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดปรปักษ์ซึ่งฟื้นกำลังใหม่ ขณะทหารแต่ละนายอาจถูกจูงใจด้วยความปรารถนาทำเงิน เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก สงครามจึงอาจมีขึ้นได้จากการรวมแรงจูงใจต่าง ๆ กันจำนวนมาก การตีความการต่อสู้ระหว่างคาอินกับอะเบล (Cain and Abel) ในปฐมกาล 4 (Parashot BeReshit XXII:7) ของคำวิจารณ์ยิวโบราณ (BeReshit Rabbah) ระบุว่า มีเหตุผลสากลสำหรับสงครามสามอย่าง คือ เศรษฐศาสตร์ อำนาจ และศาสนา[8]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Šmihula, Daniel (2013): The Use of Force in International Relations, p. 67, ISBN 978-80-224-1341-1.
  2. James, Paul; Friedman, Jonathan (2006). Globalization and Violence, Vol. 3: Globalizing War and Intervention. London: Sage Publications.
  3. "Top Ten Problems of Humanity for Next 50 Years", Professor R. E. Smalley, Energy & NanoTechnology Conference, Rice University, May 3, 2003.
  4. Tanton, John (2002). The Social Contract. p. 42.
  5. Moore, John (1992). The pursuit of happiness. p. 304.
  6. Baxter, Richard (2013). Humanizing the Laws of War. p. 344.
  7. Levy, Jack S. (1989). Tetlock, Philip E.; Husbands, Jo L.; Jervis, Robert; Stern, Paul C.; Tilly, Charles (บ.ก.). "The Causes of War: A Review of Theories and Evidence" (PDF). Behavior, Society and Nuclear War. New York: Oxford University Press. I: 295. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-22. สืบค้นเมื่อ 4 May 2012.
  8. "The Conflict between Cain and Abel". 2008. สืบค้นเมื่อ 2010-02-07. Analysis of Midrash re: Cain & Abel

แหล่งข้อมูลอื่น แก้