สงครามโลก (อังกฤษ: World War) เป็นความขัดแย้งระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับมหาอำนาจโลกส่วนใหญ่หรือทั้งหมด[1] ตามแบบแผน คำนี้สงวนไว้สำหรับความขัดแย้งระหว่างประเทศที่สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สองครั้ง คือ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1914–1918) และสงครามโลกครั้งที่สอง (1939–1945) แม้ว่านักประวัติศาสตร์บางคนจะอธิบายความขัดแย้งระดับโลกอื่น ๆ ว่าเป็นสงครามโลกด้วย เช่น สงครามเก้าปี สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน สงครามเจ็ดปี สงครามสหสัมพันธมิตร สงครามเย็น และสงครามต่อต้านการก่อการร้าย

ทหารกองทัพสหรัฐเดินผ่านซากเมืองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ความขัดแย้งครั้งล่าสุดที่ถือเป็น "สงครามโลก"

ความขัดแย้งระดับโลกอื่น ๆ

แก้
 
ภาพวาดกองทัพปรัสเซียเข้าปะทะกับกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในยุทธการที่ซอร์นดอร์ฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเจ็ดปี นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งถือว่าเป้นสงครามโลก

นักประวัติศาสตร์บางส่วนระบุว่าการล่มสลายปลายยุคสัมฤทธิ์ได้รับการอธิบายว่าเป็น "สงครามโลกครั้งที่ศูนย์"[2][3]

นักประวัติศาสตร์บางส่วนพิจารณาให้สงครามเจ็ดปี (1756–1763) เป็นสงครามโลก ริชาร์ด เอฟ. แฮมิลตัน กับHolger H. Herwig นักประวัติศาสตร์ รวมสงครามนี้เข้าในรายการสงครามโลกทั้ง 8 ครั้ง ซึ่งรวมสงครามโลกที่ได้รับการยอมรับทั่วไป 2 ครั้ง แล้วเพิ่มสงครามอีก 6 อัน ได้แก่: สงครามเก้าปี (1689–1697) สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน (1701–1714) สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (1740–1748) สงครามเจ็ดปี (1756–1763) สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (1792–1802) และสงครามนโปเลียน (1803–1815)[4] จอห์น รอเบิร์ต ซีลีย์ (John Robert Seeley) นักประวัติศาสตร์ชาวบริติช ตั้งชื่อสงครามทั้งหมดระหว่างฝรั่งเศสและบริเตนใหญ่ (ต่อมาคือสหราชอาณาจักร) ระหว่าง ค.ศ. 1689 ถึง 1815 (รวมสงครามปฏิวัติอเมริกาใน ค.ศ. 1775–1783) เป็นสงครามร้อยปีครั้งที่สอง ซึ่งสะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสและอังกฤษในยุคก่อนหน้าที่มีชื่อว่าสงครามร้อยปี (1337–1453)[5] ถึงแม้ว่าในยุคนั้นมีสงครามสี่สัมพันธมิตร (1718–1720) ที่ฝรั่งเศสกับบริเตนใหญ่อยู่ในฝ่ายเดียวกัน นักเขียนบางส่วนกล่าวถึงสงครามปฏิวัติอเมริกาอย่างเดียวเป็นสงครามโลก[5]

นักประวัติศาสตร์อีกส่วนหนึ่งเสนอแนะความขัดแย้งก่อนหน้านั้นให้เป็นสงครามโลก เช่น L. N. Gumilyov นักชาติพันธุ์วิทยาชาวรัสเซีย เรียกสงครามไบแซนไทน์–ซาเซเนียนใน ค.ศ. 602–628 เป็น "สงครามโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 7" เนื่องจากเป็นสงครามที่พัฒนาเป็นสงคราม 4 พันธมิตร (ระหว่างจีนสมัยราชวงศ์ถัง รัฐข่านเติร์กตะวันตก คาซาร์ และจักรวรรดิไบแซนไทน์) ปะทะสามสหภาพ (ระหว่างจักรวรรดิซาเซเนียน อาวาร์ และรัฐข่านเติร์กตะวันออก) โดยมีสงครามตัวแทนในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชีย (อย่างสงครามอักซุม–เปอร์เซีย) และทั่วโลกเก่า[6] ในขณะที่บางส่วนถือให้การเผชิญหน้าระหว่างออตโตมัน–โปรตุเกสกับสงครามออตโตมัน–ฮาพส์บวร์คเป็นความขัดแย้งระดับโลกที่เป็นต้นแบบ "เดอะเกรตเกม" ในยูเรเชียกับลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกา แต่อยู่ในระหว่างกลุ่มอำนาจหลักและกลุ่มศาสนาสองกลุ่ม นั่นคือ จักรวรรดิออตโตมันในฐานะเคาะลีฟะฮ์ของมุสลิม และราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในฐานะจักรพรรดิแห่งโลกคริสเตียน[7][8]

อย่างไรก็ตาม ทวีปอเมริกาและโอเชียเนียไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งเหล่านี้ ในกรณีนี้ นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งพิจารณาให้สงครามสามสิบปีและสงครามแปดสิบปีเป็นความขัดแย้งระดับโลกครั้งแรก โดยจัดให้จักรวรรดิสเปนกับจักรวรรดิโปรตุเกสปะทะกับจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส จักรวรรดิดัตช์ จักรวรรดิบริติช และพันธมิตร (ส่วนใหญ่เป็นโปรเตสแตนต์) ทั่ว 5 ทวีป[9][10][11][12]

ตัวอย่างสงครามที่เป็นไปได้อีกอันคือสงครามคองโกครั้งที่สอง (1998–2003) แม้ว่าจะรบกันในทวีปเดียว แต่มีชาติที่เกี่ยวข้องถึง 9 ชาติ และนำไปสู่ความขัดแย้งที่มีความรุนแรงต่ำ แม้จะมีการสงบศึกอย่างเป็นทางการและมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยครั้งแรกใน ค.ศ. 2006 สงครามนี้มักถูกเรียกเป็น "สงครามโลกของแอฟริกา"[13]

เหตุการณ์ ประมาณการผู้เสียชีวิตต่ำสุด ประมาณการผู้เสียชีวิตสูงสุด สถานที่ ตั้งแต่ ถึง ระยะเวลา (ปี)
สงครามเก้าปี[4][14][15][16]
680,000[4] ยุโรป, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, เอเชีย 1688 1697 9
สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน[4][15]
700,000[17] 1,251,000[18] ยุโรป, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, แอฟริกา 1701 1714 13
สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย[4][19]
359,000[4] ยุโรป, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, อินเดีย 1740 1748 8
สงครามเจ็ดปี[20][21]
992,000[4] 1,500,000[22] ยุโรป, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, แอฟริกา, เอเชีย 1754 1763 9
สงครามปฏิวัติอเมริกา[5]
217,000 262,000 อเมริกาเหนือ, ยิบรอลตาร์, หมู่เกาะแบลีแอริก, อินเดีย, แอฟริกา, ทะเลแคริบเบียน, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย 1775 1783 8
สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส[4]
663,000[4] ยุโรป, อียิปต์, ตะวันออกกลาง, มหาสมุทรแอตแลนติก, แคริบเบียน, มหาสมุทรอินเดีย 1792 1802 9
สงครามนโปเลียน[20][23]
1,800,000[4] 7,000,000[24] ยุโรป, มหาสมุทรแอตแลนติก, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน, ทะเลเหนือ, รีโอเดลาปลาตา, เฟรนช์เกียนา, หมู่เกาะเวสต์อินดีส, มหาสมุทรอินเดีย, อเมริกาเหนือ, คอเคซัสใต้ 1803 1815 13
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
15,000,000[25] 65,000,000[26] ทั่วโลก 1914 1918 4
สงครามโลกครั้งที่สอง
40,000,000[27] 85,000,000[28] ทั่วโลก 1939 1945 6
สงครามเย็น
ทั่วโลก 1947 1991 44
สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
4,500,000[29] 4,600,000[a] ทั่วโลก 2001 2021 20

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
    • "Human Cost of Post-9/11 Wars: Direct War Deaths in Major War Zones, Afghanistan & Pakistan (Oct. 2001 – Aug. 2021); Iraq (March 2003 – Aug. 2021); Syria (Sept. 2014 – May 2021); Yemen (Oct. 2002–Aug. 2021) and Other Post-9/11 War Zones". The Costs of War (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 September 2021.
    • "Latest Figures | Costs of War". The Costs of War (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 September 2021.</ref>
    • "Summary". Costs of War. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2023.
    • Berger, Miriam (15 May 2023). "Post-9/11 wars have contributed to some 4.5 million deaths, report suggests". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2023.
    • Savell, Stephanie (15 May 2023). "How Death Outlives War: The Reverberating Impact of the Post-9/11 Wars on Human Health" (PDF). Costs of War. Watson Institute of International & Public Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 June 2023.

อ้างอิง

แก้
  1. Webster, Merriam-. "World War". Merriam-Webster.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2019. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  2. "World War Zero brought down mystery civilisation of 'sea people'". New Scientist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-21. สืบค้นเมื่อ 2018-04-21.
  3. "Why the first world war wasn't really". The Economist. 2014-07-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-30. สืบค้นเมื่อ 2018-05-29.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 Hamilton, Richard F.; Herwig, Holger H. (24 February 2003). "Chapter 1: World Wars: Definition and Causes". ใน Richard F. Hamilton; Holger H. Herwig (บ.ก.). The Origins of World War I. Cambridge University Press. pp. 4–9. ISBN 978-1-107-39386-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2022. สืบค้นเมื่อ 21 January 2022.
  5. 5.0 5.1 5.2 David K. Allison; Larrie D. Ferreiro, บ.ก. (6 November 2018). The American Revolution: A World War. Smithsonian Institution. p. 16. ISBN 978-1-58834-659-9. OCLC 1061862132. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2022. สืบค้นเมื่อ 21 January 2022.
  6. Gumilyov L. N. Ancient Turks. Chapter XV. World War VII. - M. : Iris-Press, 2009. - 560 p. — (Library of history and culture). ISBN 978-5-8112-3742-5
  7. Crowley, Roger Empires of the Sea: The siege of Malta, the battle of Lepanto and the contest for the center of the world, Random House, 2008
  8. "The Ottoman 'Discovery' of the Indian Ocean in the Sixteenth Century: The Age of Exploration from an Islamic Perspective | History Cooperative" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-08-22. สืบค้นเมื่อ 2023-05-04.
  9. "Trettioåriga kriget". Historiska Media (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 2023-03-27.
  10. Written by Felix Velazquez Lopez. With the collaboration of several academics from universities in Spain. Produced by Premium Cinema. (2010). «The History of the Greatest Empire Ever Known: Chapter 5, Felipe III (Los Austrias)».
  11. Pike, John (2023-01-16). The Thirty Years War, 1618 - 1648: The First Global War and the End of Habsburg Supremacy (ภาษาอังกฤษ). Pen & Sword Books Limited. ISBN 978-1-5267-7575-7.
  12. "Globalizing the Thirty Years War: Early German Newspapers and their Geopolitical Perspective on the Atlantic World". academic.oup.com. สืบค้นเมื่อ 2023-04-04.
  13. Prunier, Gerard (2014). Africa's World War: Congo, the Rwandan Genocide, and the Making of a Continental Catastrophe. Barnes & Noble. ISBN 9780195374209. สืบค้นเมื่อ 20 October 2014.
  14. John Charles Roger Childs; John Childs (1991). The Nine Years' War and the British Army, 1688–1697: The Operations in the Low Countries. Manchester University Press. p. 5. ISBN 978-0-7190-3461-9. OCLC 1166971747. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-21. สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
  15. 15.0 15.1 Eliot A. Cohen (13 November 2012). Conquered Into Liberty: Two Centuries of Battles Along the Great Warpath that Made the American Way of War. Simon and Schuster. p. 339. ISBN 978-1-4516-2411-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2022. สืบค้นเมื่อ 21 January 2022.
  16. Alexander Gillespie (14 January 2021). The Causes of War: Volume IV: 1650 – 1800. Bloomsbury Publishing. p. 452. ISBN 978-1-5099-1218-6. OCLC 1232140043. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2022. สืบค้นเมื่อ 21 January 2022.
  17. Urlanis, Boris Cezarevič (1971). Wars and Population. Progress Publishing. p. 187.
  18. Levy, Jack (2014). War in the Modern Great Power System: 1495 to 1975. University of Kentucky. p. 90. ISBN 978-0813163659.
  19. John A. Lynn (19 December 2013). The Wars of Louis XIV 1667–1714. Routledge. p. 261. ISBN 978-1-317-89951-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2022. สืบค้นเมื่อ 21 January 2022.
  20. 20.0 20.1 "WW1: Was it really the first world war?". BBC News. 28 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2022. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
  21. Hodgson, Quentin E (2001). "The First Global War". SAIS Review. 21 (1): 291–294. doi:10.1353/sais.2001.0016. ISSN 1945-4724. S2CID 154584277. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-01. สืบค้นเมื่อ 2022-01-20.
  22. White, Matthew (2012). The Great Big Book of Horrible Things: The Definitive Chronicle of History's 100 Worst Atrocities. W. W. Norton. pp. 529–530. ISBN 978-0-393-08192-3.
  23. "1812: The First World War". Age of Revolution. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2022. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
  24. Charles Esdaile "Napoleon's Wars: An International History".
  25. Willmott 2003, p. 307
  26. "Emerging Infectious Diseases journal – CDC". www.cdc.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-09-18.
  27. Wallechinsky, David (1996-09-01). David Wallechinskys 20th Century: History With the Boring Parts Left Out. Little Brown. ISBN 978-0-316-92056-8.
  28. Fink, George: Stress of War, Conflict and Disaster

บรรณานุกรม

แก้