ราชวงศ์ถัง (/tɑːŋ/,[3] [tʰǎŋ]; 唐朝[a]) เป็นราชวงศ์ของจีนที่ปกครองระหว่าง ค.ศ. 618 ถึง ค.ศ. 907 นักประวัติศาสตร์มักมองว่าราชวงศ์ถังเป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมจีน และเป็นยุคทองของวัฒนธรรมสากล[5] ดินแดนของราชวงศ์ถังที่ได้มาจากการต่อสู้ทางทหารของจักรพรรดิในช่วงต้นราชวงศ์ เทียบได้กับดินแดนของราชวงศ์ฮั่น

ถัง

พ.ศ. 1161–1233
พ.ศ. 1248–1450
อาณาเขตราชวงศ์ถังในปี พ.ศ. 1243
อาณาเขตราชวงศ์ถังในปี พ.ศ. 1243
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงฉางอัน (พ.ศ. 1161 - 1233, พ.ศ. 1248 - 1447)
ลั่วหยาง (พ.ศ. 1447 - 1450)
ภาษาทั่วไปภาษาจีน
ศาสนา
เต๋า พุทธ ขงจื๊อ
การปกครองราชาธิปไตย
จักรพรรดิ 
• พ.ศ. 1161-1170
จักรพรรดิถังเกาจู่
• พ.ศ. 1227-1233, พ.ศ. 1253-1255
จักรพรรดิถังรุ่ยจง
• พ.ศ. 1447-1450
จักรพรรดิถังไอ
ประวัติศาสตร์ 
• การสถาปนาฉางอัน
พ.ศ. 1161
• ราชวงศ์อู่โจวปกครองแทน
พ.ศ. 1233
• ปกครองอีกครั้ง
พ.ศ. 1248
• สิ้นอำนาจ
พ.ศ. 1450
พื้นที่
715[1][2]5,400,000 ตารางกิโลเมตร (2,100,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• ศตวรรษที่ 7
50 ล้านคน
• ศตวรรษที่ 9
80 ล้านคน
สกุลเงินเหรียญจีน, เงินสดจีน
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์สุย
ห้าราชวงศ์
ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร
ราชวงศ์อู่โจว

หลี่หยวนตั้งราชวงศ์ แก้

ในรัชกาลของจักรพรรดิสุยหยางตี้ (隋煬帝)[6][7] เป็นรัชสมัยแห่งการกดขี่ราษฎรและความพ่ายแพ้ต่ออาณาจักรโคกูรยอของเกาหลีถึงสามครั้งทำให้ผู้คนพากันไม่พอใจรัฐบาลมากขึ้น ในค.ศ. 617 ผู้ว่ามณฑลไท่หยวน (太原) หลี่ยวน (李淵) ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น ถังกว๋อกง (唐國公) ได้ยกทัพเข้าบุกยึดเมืองต้าเหิง (大興城) ราชธานีของราชวงศ์สุย ปลดจักรพรรดิหยางตี้ลงจากบัลลังก์เป็นไท่ซ่างหวง (太上皇) แล้วตั้งหยางหยู (楊侑) พระราชนัดดาเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไปแทน พระนามว่า จักรพรรดิสุยกงตี้ (隋恭帝) แต่ก็ทรงเป็นเพียงแค่จักรพรรดิหุ่นเชิดอำนาจที่แท้จริงนั้นอยู่ที่หลี่หยวน ซึ่งได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นถังอ๋อง(唐王) [8][9]

มารดาของหลี่ยวนนั้น เป็นพระเชษฐภคินีของพระจักรพรรดินีตูกู จักรพรรดินีของจักรพรรดิสุยเหวินตี้ ในค.ศ. 618 หลี่หยวนพระเจ้าถังได้ล้มเลิกราชวงศ์สุยและตั้งราชวงศ์ถัง ขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง ภายหลังได้รับพระนามที่พระสุสานว่าจักรพรรดิถังเกาจู่ (唐高祖) คงราชธานีไว้ที่เดิมกับราชวงศ์สุยโดยเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองฉางอัน (長安) รวมทั้งตั้งพระโอรสองค์โตหลี่เจี้ยนเฉิง (李建成) เป็นองค์ชายรัชทายาท และพระโอรสองค์รองหลี่ซื่อหมิน (李世民) เป็นฉินอ๋อง (秦王) พระโอรสองค์ที่สาม หลี่หยวนจี๋ (李元吉) เป็นฉีอ๋อง (齊王) จักรพรรดิถังเกาจู พระโอรสทั้งสองพระองค์และพระธิดาองค์หญิงผิงหยาง (平陽公主) ได้ทำการสู้รบปราบชุมนุมต่าง ๆ ที่ตั้งตนเป็นใหญ่จนสามารถรวมจักรวรรดิจีนได้

พระเจ้าไท่หลี่ซื่อหมินมีพระปรีชาปราบปรามเจ้าท้องถิ่นต่าง ๆ ได้สร้างผลงานไว้มาก เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้วจึงเกิดการแย่งราชสมบัติระหว่างหลี่ซื่อหมินกับองค์ชายรัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง ในค.ศ. 626 ในเหตุการณ์ประตูเสฺวียนอู่ (玄武門) หลี่ซื่อหมินปลงพระชนม์องค์ชายรัชทายาทพระเชษฐาและพระเจ้าพระอนุชา จักรพรรดิเกาจู่พระบิดาจึงทรงไม่อาจทนได้ที่เห็นพระโอรสเข่นฆ่ากันเองจึงทรงสละราชสมบัติเป็นไท่ซ่างหว่าง ให้พระโอรสหลี่ซื่อหมิน เป็นจักรพรรดิถังไท่จง (唐太宗)

การขยายอำนาจของอาณาจักรถัง แก้

 
"เขตแดนยุคจักรพรรดิถังไท่จง" 616-649
การขยายอำนาจของจักรวรรดิถัง:
   ซันซี (617 : his father is governor, Taizong encouraged him to revolt.)
   Sui's China by 622-626.(618). Tang dynasty 618. Controlled all of Sui's China by 622-626.
   Submit the Oriental Turks territories (630-682)
   Tibetan's King recognizes China as their emperor(641-670)
   Submit the Occidental Turks territories (642-665)
(idem) add the Oasis (640-648 : northern Oasis ; 648 : southern Oasis)
   [Not shown in the map : Conquest of Goguryeo by his son (661-668)]
The two darkest area are truly the Chinese empire, the 3 lightest area are temporaly vasalised. Borders are not factual, they are indicatives.

ทิศเหนือ รบชนะพวกเติร์กมีอำนาจเหนือมองโกเลีย

ทิศตะวันออก มีอำนาจเหนือคาบสมุทรเกาหลี

ทิศใต้ มีอำนาจเหนือเวียดนาม

ทิศตะวันตก รบชนะพวกอุยกูร์(อุ้ยเก้อ)มีอำนาจเหนือซินเจียง,ทุ่งหญ้าสเตปป์,ทะเลสาบแคสเปียน

สถาปัตยกรรม แก้

 
เจดีย์ห่านใหญ่สถาปัตยกรรมในสมัยราชวงศ์ถัง

สมัยราชวงศ์ถัง เป็นช่วงที่เศรษฐกิจและวัฒนธรรมในสังคมศักดินาพัฒนาเร็วที่สุด ลักษณะพิเศษของสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ถังคือมีขนาดใหญ่โต มีระบบระเบียบ ใช้สีไม่ค่อยมากแต่มีลายชัดเจน ในเมืองฉางอันเมืองหลวงสมัยราชวงศ์ถัง (เมืองซีอานในปัจจุบัน) และเมืองลั่วหยางเมืองหลวงทางตะวันออกของราชวงศ์ถังต่างก็เคยสร้างวังหลวงอุทยานและที่ทำการเป็นจำนวนมาก เมืองฉางอันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของโลกในสมัยนั้น วังต้าหมิงในเมืองฉางอันใหญ่มาก เขตซากของวังนี้กว้างกว่ายอดจำนวนพื้นที่วังต้องห้ามสมัยหมิงและชิงในกรุงปักกิ่ง 3 เท่ากว่า ๆ สถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยไม้ในสมัยราชวงศ์ถังสวยมาก วิหารประธานในวัดโฝกวางเขต อู่ไถซาน มณฑลซานซี ก็คือสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ถังที่เป็นแบบฉบับ นอกจากนี้สถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยอิฐและก้อนหินในสมัยราชวงศ์ถังก็ได้รับ การพัฒนาอีกขั้นหนึ่ง เจดีย์ห่านใหญ่ เจดีย์ห่านเล็กในเมืองซีอานและเจดีย์เชียนสุน ในเมืองต้าหลี่ต่างก็เป็นเจดีย์ที่สร้างด้วยอิฐและก้อนหิน

วัฒนธรรม แก้

บันเทิงคดี แก้

หนังสือการ์ตูน แก้

  • ฉางเกอสิง

วรรณกรรม แก้

ศาสนาและปรัชญา แก้

ในสมัยราชวงศ์ถัง พระภิกษุเสวียนจ้าง ได้เดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดียในปัจจุบัน) โดยใช้เส้นทางสายไหม ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นเวลา 14 ปี ซึ่งหลังจากเดินทางกลับมาประเทศจีนแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดห่านป่าใหญ่(大雁塔)ที่เมืองฉางอาน ท่านได้แปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาจีน ซึ่งเรื่องราวการเดินทางไปชมพูทวีปของพระภิกษุเสวียนจ้าง ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง หวู เฉิง เอิน กวีผู้เลื่องชื่อ ได้นำเรื่องราวนี้มาเขียนเป็นนิยายเรื่อง "ไซอิ๋ว" ในเวลาต่อมา ซึ่งถึอเป็น1ใน4สุดยอดนวนิยายอมตะของจีน โดยตัวละครในเรื่องไซอิ๋วนั้น เสวียนจ้างก็คือ "พระถังซัมจั๋ง" นั่นเอง

สิ่งประดิษฐ์ แก้

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. The polite form Dà Táng (大唐, แปลว่า ถังที่ยิ่งใหญ่) was often used, such as in the names of books of the period.[4]

อ้างอิง แก้

  1. Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (December 2006). "East-West Orientation of Historical Empires". Journal of World-Systems Research. 12 (2): 222. ISSN 1076-156X.
  2. Taagepera, Rein (1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 492. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793.
  3. "Tang". Random House Webster's Unabridged Dictionary.
  4. Wilkinson 2013, p. 6.
  5. Lewis 2012, p. 1.
  6. Ebrey, Walthall & Palais 2006, pp. 90–91.
  7. Adshead 2004, pp. 40–41.
  8. Adshead 2004, p. 40.
  9. Graff 2000, p. 78.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า ราชวงศ์ถัง ถัดไป
ราชวงศ์สุย   ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน
(ค.ศ. 618–907)
  ยุคห้าวงศ์สิบรัฐ