ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หมิง หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง ค.ศ. 1368 ถึง ค.ศ. 1644 ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยมีอำนาจขึ้นปกครองถัดจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และได้สูญสิ้นอำนาจจากการยึดครองโดยราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง
ต้าหมิง 大明 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1368–1644 | |||||||||||||
อาณาเขตของจักรวรรดิหมิงในปี ค.ศ. 1580 | |||||||||||||
เมืองหลวง | อิ้งเทียนฝู่ (หนานจิง) (ค.ศ. 1368–1644) ชุนเทียนฝู่ (ปักกิ่ง) (ค.ศ. 1403–1644) | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาทางการ: จีนแมนดาริน | ||||||||||||
ศาสนา | เต๋า, พุทธ, ขงจื๊อ, อิสลาม | ||||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||||
จักรพรรดิ (皇帝) | |||||||||||||
• 1368–1398 (พระองค์แรก) | จักรพรรดิหงหวู่ | ||||||||||||
• 1402–1424 | จักรพรรดิหย่งเล่อ | ||||||||||||
• 1627–1644 (พระองค์สุดท้าย) | จักรพรรดิฉงเจิน | ||||||||||||
โฉวฝู่ (首輔) | |||||||||||||
• 1402–1407 | Xie Jin | ||||||||||||
• 1644 | Wei Zaode | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
• ก่อตั้งอิ้งเทียนฝู่ (หนานจิง) เป็นราชธานี | 23 มกราคม 1368 | ||||||||||||
• สถาปนานครชุนเทียนฝู่ (ปักกิ่ง) เป็นราชธานี | 28 ตุลาคม 1420 | ||||||||||||
25 เมษายน 1644 | |||||||||||||
• ราชวงศ์หมิงใต้ล่มสลาย | 1683 | ||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
1415[1] | 6,500,000 ตารางกิโลเมตร (2,500,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||
• 1393 | 65,000,000 | ||||||||||||
• 1403 | 66,598,337¹ | ||||||||||||
• 1500 | 125,000,000² | ||||||||||||
• 1600 | 160,000,000³ | ||||||||||||
สกุลเงิน | กระดาษเงิน (ค.ศ. 1368–1450) Bimetallic: เงินสดทองแดง (文) in strings of coin and กระดาษ Silver taels (兩, liǎng) in sycees and by weight | ||||||||||||
| |||||||||||||
Remnants of the Ming dynasty ruled southern China until 1662, and Taiwan until 1683 a dynastic period which is known as the Southern Ming. ¹The numbers are based on estimates made by CJ Peers in Late Imperial Chinese Armies: 1520–1840 ²According to A. G. Frank, ReOrient: global economy in the Asian Age, 1998, p. 109 ³According to A. Maddison, The World Economy Volume 1: A Millennial Perspective Volume 2, 2007, p. 238 |
ราชวงศ์หมิง | |||||||||||||||||||||||||||
"ราชวงศ์หมิง" เขีบนแบบอักษรจีน | |||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 明朝 | ||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||||||||||||||
ต้าหมิง | |||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 大明 | ||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||
จักรวรรดิต้าหมิง | |||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 大明帝國 | ||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 大明帝国 | ||||||||||||||||||||||||||
|
ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น[2]
ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น[3] พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนัก[4] เหล่าพ่อค้าที่คดโกงทางเศรษฐกิจ ปฏิรูปโดยใช้ระบบศักดินาโดยโอนมอบสิทธิครอบครองที่ดินให้แก่พระโอรสของพระองค์ทั่วประเทศจีนและพยายามแนะนำให้พระโอรสใช้หลักกระแสรับสั่งที่เผยแพร่โดยราชสำนักหมิงชื่อว่า หวงหมิงซูซุ่น หลักการนี้ได้ถูกยกเลิกเมื่อพระราชนัดดาของพระองค์ จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน ซึ่งขึ้นเป็นฮ่องเต้องค์ที่ 2 ทรงคิดรวบอำนาจและพยายามที่จะกำจัดอำนาจของพระปิตุลาของพระองค์เอง ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองหรือการทัพที่จิงหนานขึ้น หลังจากการทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเอี้ยนอ๋องจูตี้ได้สืบราชสมบัติต่อเป็นฮ่องเต้ ในปี ค.ศ. 1402 พระนามว่า จักรพรรดิหย่งเล่อ
จักรพรรดิหย่งเล่อได้สถาปนาเมืองเอี้ยนเป็นราชธานีแห่งที่ 2 และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่เป็น เป่ย์จิง หรือ ปักกิ่ง สร้างพระราชวังต้องห้าม (หรือพระราชวังกู้กง) ซึ่งเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในขณะนั้น รื้อฟื้นระบบคูคลองเมืองและเริ่มระบบการสอบคัดเลือกเข้าราขการหรือจอหงวน ในตำแหน่งราชการที่สำคัญ ๆ พระองค์ได้ให้รางวัลแก่เหล่าขันทีที่ได้สนับสนุนและว่าจ้างให้พวกเขาทำหน้าที่ถ่วงดุลคานอำนาจกับเหล่าราชบัณฑิตนักปราชญ์ขงจื๊อ หนึ่งในขันทีที่โด่งดังคือ เจิ้งเหอ ได้นำกองเรือจีนไปประกาศศักดาทั่วสารทิศ
การขึ้นสู่อำนาจของจักรพรรดิองค์ใหม่และปัจจัยใหม่ ๆ ได้ลดความฟุ่มเฟือยลง การจับกุมจักรพรรดิเจิ้งถงในปี ค.ศ. 1449 ในวิกฤตตูมูสิ้นสุดบทบาทของพระองค์ ในที่สุดกองทัพเรือของราชวงศ์หมิงได้เกิดความเสื่อมถอยลงเนื่องจากเผชิญสงครามหลายครั้งในขณะที่การใช้การเกณฑ์แรงงานก่อสร้างแนวป้อมปราการเหลียวตงเชื่อมต่อกับป้อมปราการของกำแพงเมืองจีนนำไปสู่รูปแบบลักษณะที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน
จำนวนสำมะโนประชากรในจักรวรรดิต้าหมิงได้เกิดการขยายตัวอย่างกว้างขว้างและได้รับการจดบันทึกอย่างต่อเนื่องโดยราชสำนัก 10 ปีครั้ง แต่ความหวังที่จะหลีกเลี่ยงการเกณฑ์แรงงาน การเก็บภาษีและการต้องเผชิญอุปสรรคของการเก็บรวบรวมและชำระเอกสารราชการจำนวนมากที่หนานจิงได้เป็นอุปสรรคต่อการประเมินตัวเลขที่ถูกต้องมีการประเมินโดยคร่าวๆของจำนวนประชากรสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลายมีจำนวน 160 ถึง 200 ล้านคน[5] ในยุคนี้กฎหมายไห่จิ้นได้ถูกตราขึ้นเพื่อจุดประสงค์ที่จะปกป้องคุ้มครองอาณาเขตของจักรวรรดิต้าหมิงตามชายฝั่งทะเลจากพวก โจรสลัดญี่ปุ่น ที่ซึ่งได้ลักลอบปล้นสะดมหัวเมืองท่าของหมิงหลายครั้ง จนราชสำนักต้องส่ง ชี จี้กวัง แม่ทัพแห่งราชวงศ์หมิงไปปราบ ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษจากการปราบโจรสลัดญี่ปุ่น ในศตวรษที่ 16 อย่างไรก็ตามการขยายตัวของชาวตะวันตกได้ถูกจำกัดให้ทำการค้าได้เฉพาะบริเวณใกล้เมืองท่ากวางโจวและมาเก๊า การค้าได้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างชาวจีนกับชาวตะวันตก "การแลกเปลี่ยนโคลัมเบียน" (Columbian Exchange) หรือ การเคลื่อนย้ายพืชและสัตว์ระหว่างซีกโลกตะวันตกออกและตะวันตกโดยพ่อค้าชาวยุโรป ได้มีการนำเอาธัญพืช พืชผักและสัตว์จากยุโรปตะวันตกมาสู่ประเทศจีน พริกได้เข้ามาสู่อาหารเสฉวน ข้าวโพด และมันสัมปะหลัง ทำให้ช่วยลดปัญหาด้านการขาดแคลนอาหารและเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อให้จำนวนประชากรของหมิงเพิ่มขึ้นจากการค้าขายกับตะวันตก การเติบโตของการค้ากับโปรตุเกส สเปนและฮอลันดา ได้สร้างอุปสงค์ใหม่แก่ผลผลิตของจีน
นอกจากการค้ากับชาวยุโรปแล้วในรัชสมัยจักรพรรดิว่านลี่ ฮ่องเต้องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์หมิง ได้มีไดเมียวแห่งญี่ปุ่นนามว่า โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิได้ก่อการกำเริบเสิบสานตั้งตนเป็นใหญ่คิดรุกรานอาณาจักรโชซ็อน (เกาหลี) ซึ่งเป็นประเทศราชของราชวงศ์หมิง นำไปสู่เหตุการณ์การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1592 ทำให้จักรพรรดิว่านลี่มีพระราชโองการส่งกองทัพปราบญี่ปุ่นและเข้าช่วยเกาหลี จนในที่สุดกองทัพญี่ปุ่นของฮิเดะโยะชิต้องพ่ายแพ้และถอยทัพกลับในที่สุด
ในปลายราชวงศ์หมิงได้เริ่มประสบปัญหาภายในหลายอย่าง จาง จวีเจิ้ง มหาอำมาตย์แห่งราชสำนักหมิงได้ริเริ่มการปฏิรูปขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่มิทันได้เริ่มประสบผลกลับล้มเหลวและถูกขัดขวาง เมื่อได้เกิดการชะลอตัวในด้านเกษตรกรรมซึ่งมาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติสอดคล้องกับยุคน้ำแข็งน้อยประจบกับการจัดเก็บภาษีเริ่มมีปัญหาทำให้ปลายยุคราชวงศ์หมิงได้เกิดปัญหาการเพาะปลูกล้มเหลว อุทกภัยและโรคระบาดเริ่มตามมา ราชวงศ์หมิงได้ล่มสลายลงเมื่อเกิดกลุ่มกบฎชาวนานำโดยหลี่ จื้อเฉิง ได้นำกองทัพบุกเข้ากรุงปักกิ่ง และต่อมา อู๋ซานกุ้ย แม่ทัพหมิงผู้ทรยศได้เปิดด่านซันไฮ่กวานให้กองทัพแมนจูที่กำลังรุกรานเมืองจีนอยู่นั้นเข้ากรุงปักกิ่งได้สำเร็จและตั้งราชวงศ์ชิงขึ้น ส่วนกลุ่มขุนนางและทหารที่ยังคงจงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิงได้รวมตัวกันหนีไปตั้งราชวงศ์หมิงใต้ (บริเวณตอนใต้ของประเทศจีน) ดำรงอยู่ถึง ค.ศ. 1683 จนถูกราชวงศ์ชิงโค่นล้ม ราชวงศ์หมิงถึงกาลอวสานอย่างสมบูรณ์
ประวัติ
แก้การสถาปนาราชวงศ์หมิง
แก้จูหยวนจางและกบฎโพกผ้าแดง
แก้ชาวมองโกลที่ปกครองราชวงศ์หยวนเป็นเวลาเกือบร้อยปี จนถึงช่วงปลายราชวงศ์หยวน เป็นช่วงเวลาราชสำนักมองโกลใช้นโยบายแบ่งแยกชนชั้นกดขี่ข่มเหงรังแกชาวฮั่น ประกอบกับมีการขึ้นการเก็บภาษีอย่างหนักหน่วงทั่วแผ่นดิน เกิดภาวะอัดคัดฝืดเคืองและได้เกิดอุทกภัยที่แม่น้ำฮวงโหเป็นผลมาจากการคัดค้านนโยบายสร้างเขื่อนชลประทานของชาวมองโกล ดังนั้นการเกษตรและเศรษฐกิจจึงอยู่ในภาวะตกต่ำ[6] และได้เกิดการก่อกบฎชาวนาขึ้นนับหมื่นโดยได้เรียกร้องให้ราชสำนักหยวนหาวิธีซ่อมเขื่อนกำแพงกั้นน้ำและแก้ไขปัญหาอุทกภัย[6] ราชสำนักหยวนกลับปฏิเสธอย่างไม่ใยดี ความไม่พอใจลุกลามไปทั่วแผ่นดินจนทำให้ชาวชาวฮั่นหลายกลุ่มได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์หยวนและฟื้นฟูราชวงศ์ของชาวฮั่น กลุ่มที่มีอิทธิพลที่สุดคือกบฏโพกผ้าแดงในปี ค.ศ.1351 กลุ่มโจรโพกผ้าแดงได้ร่วมมือกันเป็นเครือข่ายสมาคมลัทธิบัวขาวซึ่งเป็นสมาคมลับทางพุทธศาสนา
จู หยวนจาง ชาวนาที่สิ้นเนื้อประดาตัวและต่อมาได้บวชเป็นพระสงฆ์ในศาสนาพุทธได้ร่วมการก่อกบฎต้านราชวงศ์หยวนกับกลุ่มกบฎโพกผ้าแดงในปี ค.ศ. 1352 เขาได้เข้าสู้กับทหารมองโกลอย่างกล้าหาญจนทำให้เขาสร้างชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในปี ค.ศ. 1356 กองทัพกบฎโพกผ้าแดงได้เข้ายึดเมืองหนานจิงได้สำเร็จ[7]
เมื่อราชวงศ์หยวนกำลังใกล้จะล่มสลายกลุ่มกบฎได้ถือโอกาสเข้าต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันเองเพื่อที่จะได้ปกครองแผ่นดินจีนทั้งหมด ในปี ค.ศ. 1363 กลุ่มผู้มีอำนาจตามท้องถิ่นได้ถือโอกาสตั้งตนเป็นอิสระแผ่นดินได้แตกออกเป็นเหล่าต่าง ๆ จู หยวนจาง ได้ปราบผู้ทรยศที่สำคัญคือ เฉิน โหย่วเลี่ยง สมาชิกกบฎโพกผ้าแดงที่ทรยศที่ตั้งตนเป็นอิสระสถาปนาพระตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งฮั่น จู หยวนจางได้รวบรวมกำลังเข้าปราบเฉิน โหย่วเลี่ยงในยุทธการทะเลสาบโปหยาง ซึ่งมีการอภิปรายโดยนักวิชาการถือเป็นยุทธนาวีที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เป็นที่รู้จักในความพยายามใช้เรือปืนไฟของจู หยวนจาง ที่มีทหาร 200,000 คน สามารถเอาขาะทหารของเฉิน โหย่วเลี่ยงที่มีมากกว่าถึง 3 เท่า (มีการคาดการณ์ว่ามีประมาณ 650,000 คน)
ชัยชนะของจู หยวนจางได้ทำให้เขารวบรวมดินแดนแม่น้ำแยงซีมาครอบครองได้สำเร็จ หลังจากที่หัวหน้าของกบฎโพกผ้าแดงเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1367 ทำให้กลุ้มกบฎเกิดภาวะขาดผู้นำโดยเหล่าสมาชิกปรึกษากันพบว่าไม่มีใครที่จะมีความสามารถพอที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำได้อีก กลุ่มกบฎจึงคัดเลือกให้ จู หยวนจาง ขึ้นมาเป็นหัวหน้ากบฎในปีต่อมาเขาได้นำทัพกบฎบุกเข้าสู่กรุงต้าตู (ปักกิ่งในปัจจุบัน)[8] เมืองหลวงของราชวงศ์หยวน จักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง จักรพรรดิเชื้อสายมองโกลองค์สุดท้ายถูกบีบให้ต้องลี้ภัยทิ้งเมืองหลวงหนีออกจากพระราชวัง โดย จู หยวนจางได้นำทัพขับไล่กองทัพมองโกลจนราชสำนักหยวนต้องหนีขึ้นไปทางเหนือและตั้งราชวงศ์หยวนเหนือ ส่วนจู หยวนจางได้ประกาศก่อตั้ง ราชวงศ์หมิง (明) ที่แปลว่า แสงสว่าง ประดุจอิสระของชาวฮั่นจากมองโกล ทำให้ชาวฮั่นกลับมามีอิสรภาพอีกครั้ง
หลังจากนั้นจู หยวนจางได้รื้อถอนพระราชวังของราชวงศ์หยวนเดิมลงที่ต้าตู[8] เมืองได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "เป่ยผิง" ในปีเดียวกันจู หยวนจางได้ตั้งตนเป็นจักรพรรดิและได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิหงหวู่ หรือหมิงไท่จู่ ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หมิงตอนต้นและยุครุ่งเรือง
แก้การครองราชย์ของจักรพรรดิหงหวู่
แก้จักรพรรดิหงหวู่ทรงตั้งกรุงหนานจิงเป็นราชธานีแห่งราชวงศ์หมิง พระองค์ได้มีความพยายามที่จะบูรณะสาธารณูปโภคในอาณาจักรอีกครั้ง พระองค์ได้สร้างกำแพงรอบเมืองหนานจิงเป็นระยะทางยาวกว่า 48 กิโลเมตร (30 ไมล์) พร้อมทั้งสร้างพระราชวังและหอประชุมขุนนางขึ้นมาใหม่[8] อีกทั้งได้ทรงทุ่มเทเพื่อที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม และผลผลิตในประเทศ โดยด้านหนึ่งพยายามลดภาระของประชาชนและชาวนา ในขณะที่อีกด้านก็เร่งปฏิรูประบบการปกครองที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งลงโทษขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง
โดยในช่วงเวลานี้ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้ให้โอกาสชาวบ้านที่ต้องอพยพเพราะภัยสงครามจนไม่มีที่ทำกิน ให้เข้าไปจับจองที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า โดยทางการจะเป็นผู้จัดหาพันธุ์พืชและเครื่องมือให้ นอกจากนั้นยังมีการยกเว้นภาษีและการเกณฑ์แรงงานให้กับผู้ที่ไปบุกเบิกพื้นที่ใหม่ๆเป็นเวลา 3 ปี ทำการส่งเสริมด้านชลประทาน ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยลำดับ
ทว่าในด้านการปฏิบัติต่อขุนนางนั้น แม้ในช่วงต้นของการสถาปนาราชวงศ์ จะมีการปูนบำเหน็จและพระราชทานตำแหน่งให้กับขุนนางที่มีผลงาน ทว่าเพื่อที่จะรวบอำนาจให้รวมศูนย์ไว้ที่องค์ฮ่องเต้ บวกกับการที่พระองค์มีนิสัยเป็นคนที่ระแวงสงสัยในตัวผู้อื่น ทำให้ในรัชกาลหงหวู่มีการประหารฆ่าขุนนางผู้มีคุณูปการไปไม่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกรณีสำคัญที่เห็นได้ชัดก็อย่างเช่นกรณีของ หู เหวย์ยง (胡惟庸) กับหลันอี้ว์ (蓝玉)
หูเหวยยงได้เข้ากองทัพติดตามจูหยวนจางและได้เป็นที่ปรึกษาที่สำคัญตั้งแต่ก่อนจะครองราชย์ จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งอัครเสนาบดีในเวลาต่อมา หูเหวยยงได้รับความโปรดปรานจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่เป็นอย่างยิ่ง ทำให้เริ่มมีอิทธิพลและกุมอำนาจต่างๆเอาไว้ในมือ มีขุนนางจำนวนมากที่มาเข้าเป็นสมัครพรรคพวกมากมาย จนมักกระทำการโดยพลการอยู่เสมอ อย่างเช่นฎีกาที่เหล่าขุนนางเขียนถวายฮ่องเต้ หากมีฎีกาใดที่ไม่เป็นประโยชน์กับตนก็จะไม่ยอมถวายขึ้นไป สุดท้ายในปีค.ศ. 1380 เมื่อมีคนกล่าวโทษว่าหูเหวยยงนั้นมีความคิดที่จะก่อกบฏ จักรพรรดิหมิงไท่จู่จึงมีรับสั่งให้ประหารหูเหวยยง พร้อมทั้งถือโอกาสในการกวาดล้างวงศ์ตระกูลและสมัครพรรคพวกของหูเหวยยงทั้งหมด นอกจากนั้นในภายหลังยังมักจะอาศัยข้ออ้างการเป็นพรรคพวกของหูเหวยยงเป็นอาวุธในการปกครอง กล่าวคือเมื่อใดที่ทรงระแวงสงสัยบุคคล ขุนนาง หรือเจ้าของที่ดินคนไหน ที่คาดว่าอาจจะเป็นภัยต่อราชบัลลังก์ ก็จะถูกประหารด้วยข้อกล่าวหาดังกล่าว แม้กระทั่งล่วงเลยมาถึง 10 ปียังมีการอาศัยข้อหานี้ทำการประหารครั้งใหญ่อีกครั้ง โดยในคดีดังกล่าวตั้งแต่ต้นจนจบ มีผู้ที่ถูกประหารชีวิตไปทั้งสิ้นกว่า 30,000 คน
หลังจากเกิดเหตุการณ์คดีหูเว่ยยงแล้ว จักรพรรดิหมิงไท่จู่จึงได้ยกเลิกระบบอัครเสนาบดี แล้วแบ่งอำนาจการปกครองเสียใหม่หรือเป็นที่รู้จักกันในรูปแบบ สามสำนักหกกรม (三省六部)
จากความระแวงที่เกิดขึ้น ยังทำให้มีการจัดตั้งหน่วยงานสำคัญที่มีในการตรวจสอบขึ้น ได้แก่สำนักงานตรวจการ (督察院) และหน่วยงานองครักษ์เสื้อแพร (锦衣卫 หรือ จินยี่เว่ย) มีลักษณะรูปแบบคล้ายตำรวจลับ เพื่อให้เป็นหน่วยงานพิเศษในการตรวจสอบขุนนางในราชสำนักและราษฎรทั่วราชอาณาจักร จากนั้นยังทรงแต่งตั้งพระโอรสทั้งหลายให้ออกไปเป็นเจ้ารัฐประจำอยู่ในหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายในด้านหนึ่งเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและศักยภาพในการป้องกันชาวมองโกลจากทางเหนือ ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็เป็นมาตรการป้องกันการร่วมมือระหว่างเหล่าองค์ชายกับขุนนางกังฉินในราชสำนักเพื่อชิงราชบัลลังก์ อีกทั้งทรงตรามาตรการเสริมเพื่อป้องกันการใช้อำนาจบาตรใหญ่จนเกินควบคุมของบรรดาเชื้อพระวงศ์ ด้วยการบัญญัติไว้ว่า สำหรับฮ่องเต้ในอนาคตหากมีความจำเป็น ให้สามารถถอดถอนเจ้ารัฐหัวเมืองเหล่านี้ได้
การแผ่ขยายอาณาเขต
แก้ชายแดนตอนใต้และตะวันตก
แก้ในทิศตะวันตก บริเวณชิงไห่, ชาวซาร์ลาร์ ซึ่งนับถืออิสลามสมัครใจมาพึ่งอาณัติของราชวงศ์หมิง ผู้นำเผ่าของพวกเขายอมแพ้ประมาณ ค.ศ. 1370 กองทัพของอาณาจักรอุยกูร์ภายใต้แม่ทัพอุยกูร์ ฮาลาร์ บาชี ได้นำการก่อกบฎเหมียวถูกกองทัพต้าหมิงปราบปรามสำเร็จในช่วงปี ค.ศ. 1370 ทำให้ชาวอุยกูร์จำนวนมากได้ย้ายถิ่นมาตั้งรกรากอยู่ในฉางเต๋อ มณฑลหูหนาน[9] นอกจากชาวอุยกูร์แล้วชาวหุยซึ่งเป็นมุสลิมเช่นเดียวกันก็ได้มาตั้งรกรากอยู่ในฉางเต๋อ มณฑลหูหนาน และเข้าเป็นทหารอาสาช่วยรบในกองทัพต้าหมิงในการต่อสู้กับชนเผ่าอื่นๆ[10]
ในทิศใต้ ปี ค.ศ. 1381 ราชวงศ์หมิงได้รวบรวมพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้บริเวณต้าหลี่ส่วนหนึ่งของอาณาจักรต้าหลี่ หลังจากความพยายามที่ประสบความสำเร็จโดยกองทัพอาสาหุยมุสลิมของราชวงศ์หมิงในการเอาชนะขับไล่กองทัพมองโกลราชวงศ์หยวนที่ยังคงหลงเหลืออยู่และชาวหุยที่ยังจงรักภักดีมองโกลออกจากมณฑลยูนนาน กองทัพอาสาชาวหุยภายใต้แม่ทัพชาวหุย มู ยิง ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากจักรพรรดิหงหวู่ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงแห่งมณฑลยูนนานไปประจำในภูมิภาคใต้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิต้าหมิง[11]
การรบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แก้หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์หยวนมองโกล และมีการก่อตั้งราชวงศ์หมิงในปี ค.ศ. 1368 ดินแดนแมนจูเรียยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวมองโกลราชวงศ์หยวนเหนือที่อยู่ในมองโกเลีย
ดินแดนแมนจูเรียถือเป็นดินแดนที่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่สุ่มเสี่ยงของราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหงหวู่มีพระดำริให้บูรณะกำแพงเมืองจีนหลายครั้งในรัชกาล ในแมนจูเรียนี้เอง นัคฮาชูอดีตขุนนางราชวงศ์หยวนและ อูเรียนไคแม่ทัพแห่งราชวงศ์หยวนเหนือชนะอำนาจเหนือชนเผ่ามองโกลในแมนจูเรีย พวกเขาสะสมกำลังทหารเติบโตอย่างเข้มแข็งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีกองกำลังขนาดใหญ่พอ (นับแสนคน) เพื่อคุกคามการรุกรานของราชวงศ์หมิงที่ก่อตั้งขึ้นใหม่และเพื่อฟื้นฟูอิทธิพลของชาวมองโกลสู่อำนาจในประเทศจีนอีกครั้ง แต่ราชวงศ์หมิงตัดสินใจที่จะเอาชนะนัคฮาชูแทนที่จะรอให้ชาวมองโกลเข้าโจมตี ในปี ค.ศ. 1387 ราชวงศ์หมิงส่งกองทัพเข้าปราบปรามนัคฮาชู,[12] ซึ่งสรุปด้วยการยอมแพ้ของนัคฮาชูและการพิชิตแมนจูเรียของราชวงศ์หมิง
ในช่วงราชวงศ์หมิงตอนต้น ราชสำนักหมิงไม่สามารถและไม่ปรารถนาที่จะควบคุมชาวหนี่เจินในแมนจูเรีย แต่มันก็สร้างบรรทัดฐานขององค์กรที่จะทำหน้าที่เป็นพาหนะหลักสำหรับความสัมพันธ์ในท้ายที่สุดกับประชาชนตามแนวชายแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือ ในตอนท้ายของการครองราชย์ของจักรพรรดิหงหวู่ทรงออกนโยบายสำคัญที่มีต่อชาวหนี่เจินได้ก่อตัวขึ้นเป็นรูปร่าง ผู้คนที่อาศัยในแมนจูเรียส่วนใหญ่ ยกเว้นชาวหนี่เจินป่าเถื่อนที่อยู่นอกจากควบคุม จะยอมอยู่ใต้อาณัติของราชวงศ์หมิงอย่างสงบสุข ทางราชสำนักหมิงได้สร้างหน่วยทหารพิทักษ์ขึ้น หรือ (衛, เหว่ย์) ในแมนจูเรียแต่การสร้างหน่วยพิทักษ์ไม่ได้หมายความว่าต้องมีการควบคุมทางการเมือง จนถึงปี ค.ศ. 1435 ราชสำนักหมิงก็หยุดที่จะมีกิจกรรมมากมายที่นั่น แม้จะยังคงทหารยามรักษาการณ์อยู่ในแมนจูเรีย ในช่วงปลายราชวงศ์หมิงการปรากฏตัวทางการเมืองของหมิงในแมนจูเรียนั้นได้ลดลงอย่างมาก
การครองราชย์ของจักรพรรดิหย่งเล่อ
แก้การทัพจิ้งหนานและการขึ้นสู่อำนาจ
แก้หลังจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่สวรรคตแล้ว ได้มีการแต่งตั้งจู หยุ่นเหวิน ซึ่งเป็นพระราชนัดดาเป็นองค์รัชทายาทและได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อเป็นจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน พระองค์ได้ใช้นโยบายทำการริดรอนอำนาจของ อ๋อง ผู้ครองแคว้นทำให้อ๋องบางคนเผาตัวตาย โดนถอดบรรดาศักดิ์ โดนจับขังคุก โดนเนรเทศ ต่อมาไม่นานการริดอำนาจอ๋องของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินก็ลามมาถึงเอี้ยนอ๋อง จูตี้ ผู้ครองนครปักกิ่งซึ่งเป็นพระปิตุลาของจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน จักรพรดิเจี้ยนเหวินได้เริ่มจับกุมทหารและที่ปรึกษาของจูตี้โดยไม่สนใจความเป็นพระญาติวงศ์ ซึ่งโดยตัวจูตี้เองก็ไม่พอใจต่อนโยบายของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินเป็นทุนเดิมอยู่แล้วได้ลุกขึ้นประกาศยุทธการสยบเภทภัยเพื่อต่อต้านจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน ในไม่ช้าการประลองทางการเมืองก็ปะทุขึ้นระหว่างพระปิตุลาจูตี้กับจักรพรรดิเจี้ยนเหวินหลานชาย[13] นำไปสู่การทัพจิ้งหนานซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองยาวนานถึง 3 ปี
กระทั่งปีค.ศ. 1402 เมื่อกองทัพของจูตี้บุกถึงเมืองหลวงหนานจิง หลีจิ่งหลงแม่ทัพรักษาเมืองได้เปิดประตูเมืองให้ทัพจิ้งหนานเข้าเมือง เมื่อยึดครองเมืองหนานจิงได้แล้ว ทว่าในยามนั้น กลับมองเห็นว่าพระราชวังเกิดเพลิงลุกโหมพวยพุ่ง กว่าที่จูตี้ได้ส่งทหารเพื่อไปดับเพลิง ก็พบว่ามีคนถูกคลอกตายไปแล้วไม่น้อย ในขณะที่จักรพรรดิเจี้ยนเหวินก็หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้เรียกเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า “การจลาจลจิ้งหนาน” (靖难之变)
เมื่อจูตี้พระปิตุลาสามารถโค่นอำนาจจักรพรรดิเจี้ยนเหวินลงได้สำเร็จ จูตี้ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่หรือ จักรพรรดิหย่งเล่อ หลังทรงครองราชย์แล้ว หมิงเฉิงจู่ได้ดำเนินการกวาดล้างครั้งใหญ่ โดยมีขุนนางผู้ใหญ่ข้างกายจักรพรรดิเจี้ยนเหวินกว่า 50 คนที่ถูกจัดให้เป็นขุนนางฉ้อฉล ถูกสั่งประหาร 9 ชั่วโคตร โดยหนึ่งในนั้นมีคดีอันเลื่องลือของฟังเซี่ยวหรู (方孝孺) ที่ถูกประหาร 10 ชั่วโคตรโดยนอกจากญาติ 9 ชั่วโคตรแล้ว ยังมีสหายและลูกศิษย์ประหารรวมไปด้วยจำนวนถึง 873 คน ในปี ค.ศ. 1421 จักรพรรดิหย่งเล่อได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองหนานจิงไปยังกรุงปักกิ่ง
การสถาปนาราชธานีปักกิ่ง
แก้จักรพรรดิหย่งเล่อทรงลดฐานะเมืองหนานจิงเป็นเมืองรองและในปี ค.ศ. 1403 จักรพรรดิหย่งเล่อทรงประกาศให้เมืองหลวงใหม่ของจีนจะอยู่ที่ฐานอำนาจของพระองค์ในนครหลวงปักกิ่งจึงเป็นเหตุให้ราชวงศ์หมิงย้ายราชธานีจากหนานจิงมาตั้งที่กรุงปักกิ่ง จักรพรรดิหย่งเล่อทรงโปรดให้มีการสร้างนครหลวงปักกิ่งใหม่ขึ้นทั้งหมด การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ใช้ระยะเวลายาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1407 ถึง ค.ศ. 1420 มีการจ้างและเกณฑ์แรงงานคนหลายแสนคนทุกวัน [14] เพื่อความเป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของนครปักกิ่ง จักรพรดิหย่งเล่อทรงมีพระดำริให้สร้าง พระราชวังต้องห้าม (หรือพระราชวังกู้กง) เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในขณะนั้น โดยทรงยึดตามคติอาณัติแห่งสวรรค์ให้พระราชวังต้องห้ามถือเป็นเมืองสวรรค์ที่ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกและประดุจว่าสร้างโดยเทพเจ้า นอกจากนี้พระราชวังต้องห้ามยังเป็นที่ประทับขององค์ฮ่องเต้ บรรดาเชื้อพระวงศ์และเหล่าขุนนางอำมาตย์ ในปี ค.ศ. 1553 เมืองรอบนอกนครหลวงถูกขยายเพิ่มเข้ามาทางใต้ซึ่งทำให้ขนาดโดยรวมของกรุงปักกิ่งเป็น 4 เท่าหรือ 4½ไมล์[15]
ช่วงที่ตั้งนครหลวงปักกิ่งนี้เองจักรพรรดิหย่งเล่อยังเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับด้านวิทยาการความรู้ โดยรับสั่งให้รวบรวมสรรพวิชาที่มีมาตั้งแต่ในอดีตไม่ว่าจะเป็นดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ศิลปะ ฯลฯขึ้น มีการระดมบุคคลากร 147 คนเข้ามาช่วยกันจัดเรียบเรียง และออกมาเป็นเล่มในครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1404 ทว่าหมิงเฉิงจู่ยังเห็นว่าตำราดังกล่าวยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์พอ จึงให้ทำการปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง คราวนี้มีการใช้คนเรียบเรียงและเขียนทั้งสิ้นมากถึง 2,169 คน และใช้หอคัมภีร์เหวินยวน (文渊阁) ที่หนานจิงที่เป็นเก็บตำรา การเรียบเรียงแก้ไขครั้งนี้ได้ลุล่วงในปี ค.ศ. 1407 และคัดลอกเย็บเล่มเสร็จสิ้นในปีถัดมา มีจำนวนทั้งสิ้น 22,877 บรรพ จัดเรียบเรียงเป็น 11,095 เล่ม ฮ่องเต้หมิงเฉิงจู่ได้พระราชทานนามว่า สารานุกรมหย่งเล่อ (永乐大典)
นอกจากสารานุกรมชิ้นใหญ่นี้แล้ว ในราชวงศ์หมิงยังเป็นยุคที่วรรณกรรมประเภทนิยายเริ่มต้นได้รับความนิยมอย่างมาก ถือเป็นเป็นยุคต้นที่นิยายในรูปแบบภาษาพูดที่เรียบง่าย (白话)ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายและสืบเนื่องไปถึงราชวงศ์ชิง โดยเฉพาะในราชวงศ์หมิง ได้บังเกิดผลงานประพันธ์ที่โดดเด่นๆที่เป็นที่รู้จักกันจนถึงทุกวันนี้มากมายอาทิ นิยายพงศาวดารสามก๊ก (三国演义) ในช่วงปลายราชวงศ์หยวนถึงต้นราชวงศ์หมิง ส่วนเรื่องซ๋องกั๋ง หรือผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน (水浒传)และ ไซอิ๋ว ()西游记 และบุปผาในกุณฑีทอง (金瓶梅) ถูกประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลเจียชิ่งกับวั่นลี่ โดยสามก๊กที่ประพันธ์โดยหลอก้วนจงนั้นน่าจะเป็นนิยายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดานิยายจีนที่เคยมีมา
เจิ้งเหอและการสำรวจทางทะเล
แก้การต่อเรือในสมัยราชวงศ์หมิงมีการพัฒนาอย่างมาก การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศมีบ่อยครั้ง
เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1405 (พ.ศ. 1948) จักรพรรดิหย่งเล่อทรงมอบหมายให้ผู้บัญชาการกองเรือซึ่งเป็นขันที นามว่า เจิ้งเหอ คุมกองทัพเรือสำเภาขนาดมหึมาที่ถูกกำหนดให้เป็นเรือระหว่างประเทศ ซึ่งชาวไทยเรียกกันว่าซำปอกงได้นำกองเรือจีนไปเยือนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาทั้งหมดกว่า 30 ประเทศถึง 7 ครั้งตามลำดับ
การเดินทางของเจิ้งเหอมีจุดประสงค์ที่จะผูกมิตรกับอาณาจักรต่าง ๆ โดยจักรพรรดิหย่งเล่อทรงส่งเจิ้งเหอเป็นแม่ทัพเรือราชวงศ์หมิงนำกองเรือขนาดยักษ์ไปสำรวจดินแดนต่างๆ ซึ่งการเดินทางเจิ้งเหอก็ต้องใช้กำลังทหารปราบปรามบ้างเพื่อแสดงให้เห็นว่ากองทัพเรือราชวงศ์หมิงนั้นมีความยิ่งใหญ่เหนือกว่าทุกชนชาติ เจิ้งเหอได้สั่งให้มีปฏิบัติการทางทหารดังต่อไปนี้
ความเสื่อมถอยและการล่มสลายของราชวงศ์หมิง
แก้หายนะในศึกถู่มู่
แก้แม้ว่าราชวงศ์หยวนของมองโกลจะถูกโค่นล้มและขับไล่ออกไป แต่ชนเผ่ามองโกลได้ไปตั้งมั่นยังถิ่นฐานเดิมในทุ่งหญ้าสเตปป์ เมื่อถึงปี ค.ศ.1388 ราชสำนักหยวนเหนือตกอยู่ใต้อิทธิพลชาวมองโกลเผ่าหว่าล่า ในปี ค.ศ. 1449 ข่านอีเซน ตายีซี (เหย่เซียน) หัวหน้าเผ่าหว่าล่า มีความทะเยอะทะยานคิดฟื้นฟูจักรวรรดิมองโกล จึงได้รุกรานจักรวรรดิต้าหมิง ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงเริ่มอ่อนแอ จักรพรรดิเจิ้งถง หรือ หมิงอิงจงจักรพรรดิหนุ่มที่อ่อนแอและเบาปัญญาแห่งราชวงศ์หมิงทรงวิตกเรื่องการสงครามเป็นอันมาก เนื่องจากกองทัพที่อยู่ชายแดน ถูกทัพเผ่าหว่าล่าตีแตกพ่าย พระองค์จึงทรงเรียกขันทีหวางเจิ้นเพื่อปรึกษาหารือ ทว่าหวางเจิ้นนั้นแท้จริงเป็นคนโฉดชั่ว เบื้องหน้าเขาทำเป็นจงรักภักดี แต่ลับหลังตั้งกลุ่มอำนาจของตน กระทำการฉ้อราษฏร์บังหลวง ใช้อิทธิพลข่มเหงขุนนางและราษฏร กำจัดผู้ที่ไม่เห็นด้วย ยักยอกงบประมาณแผ่นดิน ทั้งยังซื้อขายตำแหน่งข้าราชการ จนราชการแผ่นดินวิปริตแปรปรวน
ขันทีโฉดหวางเจิ้นได้กราบทูลให้จักรพรรดิเจิ้งถงเสด็จนำทัพไปปราบข้าศึกด้วยพระองค์เอง โดยไม่ฟังคำทัดทานของขุนนางผู้ใหญ่ หมิงอิงจงทรงมีพระบัญชาให้ระดมไพร่พล 220,000 นาย(เอกสารเดิมระบุว่า ห้าแสน) และยกทัพออกจากนครหลวงปักกิ่งทันที ทว่ากองทัพที่พระองค์ทรงนำไปนั้น ถูกเรียกรวมพลในเวลาจำกัด ไพร่พลอาวุธอยู่ในสภาพไม่พร้อมรบ เมื่ออีเซนทราบว่าทัพหมิงออกนอกด่านมาโจมตีพวกตน จึงใช้ยุทธิวิธีล่อให้ข้าศึกไล่ตามโดยแสร้งถอยทัพเพื่อรอโอกาสทำลายฝ่ายตรงข้าม ขณะที่หมิงอิงจงไม่มีความรู้เรื่องการสงคราม กลับเชื่อแต่คำพูดขันทีหวางเจิ้นคนโฉด พระองค์จึงทรงเร่งเคลื่อนทัพไล่ตามข้าศึกจนเสบียงอาหารเริ่มขาดแคลน ไพร่พลป่วยเจ็บล้มตาย เกิดความปั่นป่วนขึ้นในกองทัพ หลังจากที่ได้ทราบความเป็นไปของข้าศึกแล้ว อีเซนก็จัดทหารม้าหนึ่งหมื่นซุ่มรอไว้บนเขาและเข้าล้อมตีทัพหน้าของฝ่ายต้าหมิงที่ไล่ตามทัพเผ่าหว่าล่าเข้ามาในช่องเขา ก่อนกวาดล้างทหารหมิงได้ทั้งทัพ จักรพรรดิเจิ้งถงจึงทรงมีรับสั่งให้ถอยทัพตามคำแนะนำของขันทีหวางเจิ้น เมื่อกองทัพใหญ่ของต้าหมิงได้ถอยมาถึงถู่มู่เป่า หรือ (ป้อมถู่มู่) ถู่มู่เป่าเป็นที่สูง ไม่มีน้ำ ส่วนแหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุดก็ถูกทัพหว่าล่ายึดเอาไว้ ทำให้มีไพร่พลหมิงล้มตายด้วยขาดน้ำเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันทัพม้าของหว่าล่าก็ตามมาถึงและเข้าโจมตีกองทัพหมิงอย่างดุเดือด บรรดาแม่ทัพนายกองนำไพร่พลเข้าต้านทานสุดชีวิต จนบาดเจ็บล้มตายไปจำนวนมหาศาล อีกทั้งยังเหตุให้จักรพรรดิเจิ้งถงทรงถูกพวกหว่าล่าจับเป็นองค์ประกัน
ศึกครั้งนี้นำความอัปยศมาสู่ราชวงศ์หมิง เนื่องจากการนำทัพที่ไร้ประสิทธิภาพทำให้กองทัพมหึมาของต้าหมิงถูกทำลายล้าง ส่วนองค์จักรพรรดิเจิ้งถงต้องตกเป็นเชลยของข้าศึก ประวัติศาสตร์จีนเรียกเหตุการณ์อัปยศครั้งนี้ว่าวิกฤตการณ์ถู่มู่เป่า[16] หลังชนะศึก ข่านอีเซนจึงได้ใจเหิมเกริมรวบรวมกำลัง 40,000 นายเข้าตีนครหลวงปักกิ่งต่อ ในยามนั้นเนื่องจากสถานการณ์คับขัน อวี๋เชียน เสนาบดีกลาโหมพร้อมกับเหล่าขุนนางต่างเล็งเห็นว่าบ้านเมืองไม่ควรขาดประมุข จึงไปเข้าเฝ้ากราบทูลพระพันปีให้ยก จูฉวีอี้ พระอนุชาของหมิงอิงจงขึ้นเป็นจักรพรรดิเพื่อรับศึก จูฉวีอี้ขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิหมิงจิ่งตี้ จากนั้นก็ทรงแต่งตั้งให้อวี๋เชียนเป็นแม่ทัพใหญ่รับศึกมองโกล ซึ่งอวี๋เชียนก็ได้ระดมทหารและชาวเมืองร่วมสองแสนเข้าต่อสู้ป้องกันนครปักกิ่งอย่างเข้มแข็งจนทัพหว่าล่าไม่อาจตีเมืองได้ ทั้งยังต้องสูญเสียไพร่พลมากมายจนต้องล่าถอยกลับไป
ข่านอีเซนเรียกเงินค่าไถ่หมิงอิงจงเป็นจำนวนมาก ทำให้ราษฎรต้าหมิงอัปยศอับอายเป็นอันมาก และในปีรุ่งขึ้นคือ ค.ศ.1450 ข่านอีเซนก็ปล่อยหมิงอิงจงกลับมา ซึ่งหลังจากกลับมาแล้ว พระองค์ได้ถูกกักบริเวณตามพระบัญชาของหมิงจิ่งตี้ จนถึงปี ค.ศ.1457 หมิงจิ่งตี้ประชวรหนัก หมิงอิงจงจึงถือโอกาสยึดอำนาจคืนและกักบริเวณหมิงจิ่งตี้ ซึ่งไม่นานก็สิ้นพระชนม์ ส่วนอวี๋เชียนที่เคยนำทัพปกป้องนครปักกิ่งนั้น หมิงอิงจงพิโรธที่เขาสนับสนุนหมิงจิ่งตี้ จึงให้นำตัวอวี๋เชียนไปประหาร ทำให้ประชาชนทั้งแผ่นดินต่างสลดใจกับชะตากรรมของขุนนางผู้ภักดีต่อบ้านเมือง
การครองราชย์ของจักรพรรดิว่านลี่
แก้ในรัชสมัยจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิง โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ไดเมียวของญี่ปุ่นได้ก่อการกำเริบเสิบสานตั้งตนเป็นใหญ่คิดรุกรานอาณาจักรโชซ็อน (เกาหลี) ซึ่งเป็นประเทศราชของราชวงศ์หมิง เหตุการณ์การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1592 จักรพรรดิว่านลี่มีพระราชโองการส่งทหารเข้าช่วยเหลืออาณาจักรโชซ็อน แต่การช่วยโชซ็อนทำศึกทำให้ราชวงศ์หมิงประสบปัญหาการเงินมหาศาล ท้องพระคลังร่อยหรอ ในช่วงต้นของการครองราชย์จักรพรรดิว่านหลี่ทรงห้อมล้อมตัวเองด้วยขุนนางที่ปรึกษาที่มีความสามารถและใช้ความพยายามอย่างรอบคอบในการจัดการเรื่องต่างๆของราชสำนัก จาง จวีเจิ้ง ขุนนางผู้มีความสามารถ ได้ทำการคลี่คลายความขัดแย้งกันทางสังคมและกอบกู้การปกครองของราชวงศ์หมิงด้วยวิธีดำเนินการปฏิรูป เขาปรับปรุงระบบขุนนางและราชสำนัก ทำให้ช่วยประคับประคองความอยู่รอดของราชวงศ์หมิงได้บ้างระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามเมื่อราชสำนักหมิงสิ้นจางจวีเจิ้งก็ไม่มีใครหลังจากเขามีฝีมือพอที่จะรักษาเสถียรภาพของการปฏิรูปเหล่านี้ไว้ได้และราชวงศ์หมิงก็กลับมาเสื่อมและตกต่ำเช่นเดิม[17] ในไม่ช้าเหล่าขุนนางก็เริ่มทะเลาะเบาะแว้งกันแบ่งเป็นกลุ่มทางการเมือง เมื่อเวลาผ่านไป จักรพรรดิว่านลี่ทรงเริ่มเบื่อหน่ายเรื่องในราชสำนักและการทะเลาะกันเรื่องการเมืองบ่อยครั้งในหมู่ขุนนางอำมาตย์ พระองค์จึงทรงเลือกที่จะหลบอยู่ด้านหลังพระราชวังต้องห้ามอยู่กับบรรดาขันทีและนางสนมและทรงเลิกออกว่าราชการ[18] เหล่าบัณฑิต-ขุนนางเจ้าหน้าที่ต่างต้องสูญเสียอำนาจในการบริหารบ้านเมือง ส่วนขันทีกลายเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างจักรพรรดิที่ห่างไกลและเจ้าขุนนางของพระองค์; ขุนนางอาวุโสคนใดที่ต้องการหารือเรื่องต่างๆของบ้านเมืองจะต้องโน้มน้าวขันทีที่มีอิทธิพลด้วยการติดสินบนเพื่อเรียกร้องหรือส่งข้อความถึงจักรพรรดิ[19]
ขันทีครองอำนาจ
แก้แม้จักรพรรดิหงหวู่ห้ามไม่ให้ขันทีเรียนรู้วิธีอ่านหรือมีส่วนร่วมในการเมือง ด้วยการลดอิทธิพลและอำนาจของขันทีไม่ให้เข้าสู่การเมืองถือเป็นความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ในรัชกาลของพระองค์ จนถึงยุคขันทีในรัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเล่อและหลังจากนั้น ขันทีก็เริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองมาขึ้น โดยเข้ามาจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขนาดใหญ่ มีอำนาจสั่งการกองทัพและเข้ามีส่วนร่วมในการแต่งตั้งและเลื่อนตำแหน่งขุนนางเจ้าหน้าที่
เหล่าขันทีแห่งราชวงศ์หมิงได้พัฒนาระบบราชการเป็นของตนเองที่มีการจัดระบบขนานไปกับราชสำนักส่วนกลาง แต่ไม่อยู่ภายใต้ระบบราชการส่วนกลาง[15] แม้ว่าจะมีขันทีเผด็จการเป็นจำนวนมากในราชสำนักหมิงเช่น หวางเจิ้น, หวางจีและหลิวจิน อำนาจเผด็จการขันทีมากเกินไปแต่ยังไม่ปรากฏเด่นชัดเจนจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1590 เมื่อ จักรพรรดิว่านลี่ทรงเพิ่มสิทธิเหนือระบบราชการพลเรือนและให้อำนาจแก่พวกเขาในการเก็บภาษีภายใน[19][20][21]
เมื่อการเก็บภาษีอยู่ในมือเหล่าขันที เกิดสภาพการผูกขาดที่ดินรุนแรงมาก พระราชวงศ์และบรรดาเจ้านายที่ได้รับการแต่งตั้งมีที่ดินกระจายอยู่ทั่วประเทศ ภาษีอากรของราชสำนักหมิงก็นับวันมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่าง ๆ ของสังคมก็นับวันรุนแรงขึ้น มีเสนาบดีและขุนนางบางคนพยายามจะคลี่คลายความขัดแย้งในสังคมให้เบาบางลง และเรียกร้องให้ยับยั้งสิทธิ พิเศษของเสนาบดีขันทีและเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย เสนาบดีเหล่านี้เทียวบรรยายวิชาการและวิพากษ์วิจารณ์การเมืองจึงถูกเรียกกันว่าเป็น ”พรรคตงหลินตั่ง” แต่แล้วพวกเขาก็ต้องถูกเสนาบดีขันทีและขุนนางที่มีอำนาจโจมตีและทำร้าย
ขันทีที่โดดเด่นและร้ายกาจคือ เว่ย์ จงเสียน (1568–1627) เรืองอำนาจมากในราชสำนัก จักรพรรดิเทียนฉี (ครองราชย์ ค.ศ. 1620–1627) และมีคู่แข่งทางการเมืองของเขาถูกทรมานจนตายส่วนใหญ่เป็นนักวิจารณ์เสียงร้องจากฝ่ายพรรคตงหลินตั่ง เขาสั่งวัดที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาตลอดราชวงศ์หมิงและสร้างพระราชวังส่วนตัวที่สร้างขึ้นด้วยเงินทุนสำหรับการสร้างสุสานของจักรพรรดิก่อนหน้านี้ เพื่อนและครอบครัวของเขาได้รับตำแหน่งที่สำคัญโดยไม่มีคุณสมบัติ เว่ย์จงเสียนยังใส่ร้ายเหล่าขุนนางที่จงรักภักดีและมีความสามารถ เป็นเหตุให้ราชสำนักหมิงสูญเสียบุคคลากรที่มีความสามารถไปเป็นจำนวนมาก[22] ความไม่มั่นคงของราชสำนักหมิงดำเนินมาพร้อมภัยพิบัติทางธรรมชาติโรคระบาดและการจลาจล ความเสื่อมมาถึงจุดสูงสุด ในช่วงการครองราชย์รัชสมัยจักรพรรดิฉงเจิน พระองค์ทรงขับไล่และปลดเว่ย์ จงเสียนออกจากราชสำนักซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายของเว่ย์จงเสียน
การรุกรานของชาวแมนจู
แก้ปลายราชวงศ์หมิงที่มีแต่ความเสื่อมโทรม ทำให้ไม่สามารถควบคุมดินแดนแมนจูเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่ห่างไกลในฐานะประเทศราชได้ เปิดโอกาสให้ชนเผ่าชาวหนี่เจินตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว มีหัวหน้าเผ่าคือ นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (ค.ศ. 1616–26) ได้เริ่มตั้งตนเป็นอิสระและหยุดส่งเครื่องราชบรรณาการให้ราชวงศ์หมิง อีกทั้งถือโอกาสเริ่มรวบรวมชนเผ่าหนี่เจินน้อยใหญ่รอบข้างเป็นปึกแผ่น จนในที่สุดก็ได้รวมดินแดนแมนจูเรียทั้งหมดมาครอบครอง
ในปี ค.ศ. 1610 นู่เอ๋อร์ฮาชื่อได้เริ่มประกาศสงครามกับราชสำนักหมิง ซ่องสุมกำลังพลและทำการวางระบบแปดกองธงขึ้น โดยแต่ละกองธงนั้นเป็นทั้งหน่วยงานการปกครองและเป็นองค์กรทางทหารในตัว กระทั่งปี ค.ศ. 1616 เมื่อนู่เอ๋อร์ฮาชื่อเห็นว่าสถานการณ์เหมาะสมแล้ว ท่ามกลางการสนับสนุนของผู้นำทั้ง 8 กองธง จึงสถาปนาตนขึ้นเป็นข่านหรือปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรโฮ่วจิน (อาณาจักรจินยุคหลัง) ตามราชวงศ์จินซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวหนี่เจินอีกเผ่าหนึ่งที่ท้าทายราชวงศ์ซ่งของจีนมาแล้ว
หลังสถาปนาโฮ่วจิน นู่เอ๋อร์ฮาชื่อก็เริ่มนำทัพชนเผ่าหนี่เจินรุกรานแผ่นดินจีนของราชวงศ์หมิง ชาวหนี่เจินก็ได้ทำศึกมีชัยเหนือทหารของต้าหมิงหลายครั้ง จนเหล่าขุนนางทั้งหลายต่างครั้นคร้ามกันไปทั่ว จนไม่มีใครอาสาไปรับศึกอีก กระทั่งในปี 1626 นู่เอ๋อร์ฮาชื่อที่กำลังฮึกเหิมได้นำทัพหนี่เจิน 130,000 คนข้ามแม่น้ำเหลียวเข้าโจมตีเมืองหน้าด่านหนิงหยวนบริเวณมณฑลเหลียวหนิงใกล้กับคาบสมุทรเหลียวตง จนในที่สุดราชสำนักหมิงต้องส่งแม่ทัพเอก หยวน ชงหวน (袁崇焕)ได้นำทัพไปยันกองทัพโฮ่วจินที่บุกมาถึงเมืองหน้าด่านหนิงหยวน กองมัพหมิงของหยวน ชงหวนรับศึกอย่างแข็งขัน จนทหารของโฮ่วจินล้มตายเป็นจำนวนมาก นูรฮาชีเองก็บาดเจ็บสาหัสจนต้องมีคำสั่งถอยทัพไปยังเฉิ่นหยาง แล้วเสียชีวิตลงที่นั่น
ในปี ค.ศ. 1636, หฺวัง ไถจี๋โอรสของนู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้สืบตำแหน่งข่านต่อ ได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์จาก "โฮ่วจิน" เป็น "ต้าชิง" (ราชวงศ์ชิง) ตั้งเมืองหลวงที่เฉิ่นหยาง ซึ่งยึดได้มาจากราชวงศ์หมิงในปี ค.ศ. 1621[23][24] หฺวัง ไถจี๋ได้รับวัฒนธรรมประเพณีและระบบปกครองแบบจีนมาปรับใช้ ทั้งสำคัญคือได้นำระบบยศจักพรรดิแบบจีนมาใช้ด้วย ทรงได้ตั้งตนเป็นฮ่องเต้ และเปลี่ยนชื่อชนเผ่าจาก"หนี่เจิน" มาเป็น "ชาวแมนจู"[24][25] ถือเป็นการท้าทายอำนาจของราชสำนักหมิงอย่างยิ่ง
เมื่อเปลี่ยนเป็นราชวงศ์ชิง หฺวัง ไถจี๋ได้นำทัพแมนจูแบ่งเป็น 3 ทัพบุกจีนอีกครั้ง หยวน ชงหวนถูกจักรพรรดิฉงเจินเรียกตัวมา แต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารในแถบเหอเป่ย เหลียวตงทั้งหมด เมื่อกองทัพแมนจูไม่สามารถบุกตีเมืองที่เป็นด่านสำคัญอย่างหนิงหยวนได้ จึงได้เปลี่ยนกลยุทธใหม่ โดยในปี ค.ศ. 1629 หวงไท่จี๋นำทัพหลายแสนคนผ่านไปยังด่านหลงจิ่ง ต้าอันโข่ว อ้อมเหอเป่ยมุ่งตรงไปยังราชธานีปักกิ่งแทน
การล่มสลายของราชวงศ์หมิง
แก้สังคมในจักรวรรดิต้าหมิงวุ่นวายมากยิ่งขึ้นการต่อสู้ในชนบทก็ทวีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังต้องรับศึกกับกองทัพแมนจูที่เข้าประชิดพระนครเข้าทุกที ในปี ค.ศ. 1627 มณฑลส่านซีเกิดทุพภิกขภัย แต่ข้าราชการยังคงบีบบังคับให้ประชาชนจ่ายภาษี จนทำให้เกิดการลุกขึ้นต่อสู้ ประชาชนที่ประสบภัยเป็นพันเป็นหมื่นรวมตัวขึ้นเป็นกองทหารชาวนาหลายกลุ่มหลายสาย ปี ค.ศ. 1644 กองทหารชาวนา นำโดยหลี่ จื้อเฉิง บุกเข้าไปถึงกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิฉงเจินซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงต้องผูกพระศอสิ้นพระชนม์
แม้หลี่จื้อเฉิงจะสามารถยึดครองปักกิ่งไว้ได้ ทว่าแรงกดดันจากกองทัพอื่นๆก็ยังไม่จบสิ้น ยังมีกำลังทหารแตกทัพของราชวงศ์หมิง กองกำลังของอู๋ ซานกุ้ย (吴三桂) ที่ด่านซันไห่กวน (山海关) และกองทัพจากแมนจูจากทางตะวันออกเฉียงเหนือคอยคุกคามอยู่
หลี่จื้อเฉิงได้ส่งหนังสือให้อู๋ซานกุ้ยยอมสวามิภักดิ์ จากนั้นก็ได้ให้อู๋เซียง บิดาของอู๋ซานกุ้ยที่อยู่ในเมืองหลวงเขียนจดหมายไปกล่อมอีกทาง อีกทั้งได้ส่งคณะทูตนำเงินทองมากมาย พร้อมหนังสือแต่งตั้งให้อู๋ซานกุ้ยขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าพระยา แต่ในขณะที่อู๋ซานกุ้ยกำลังเดินทางมาเมื่อสวามิภักดิ์ต่อหลี่จื้อเฉิง กลับได้พบกับคนรับใช้ที่หนีออกมาจากเมืองหลวงที่มาส่งข่าวว่าบัดนี้อู๋เซียงถูกจับเป็นตัวประกันและถูกริบทรัพย์สมบัติ นอกจากนั้นเฉินหยวนหยวน (陈圆圆)อนุภรรยาของอู๋ซานกุ้ยยังถูกแม่ทัพหลิวจงหมิ่นชิงตัวไป
และด้วยเหตุนี้จึงได้ทำให้อู๋ซานกุ้ยตัดสินใจที่จะหันกลับไปจับมือกับแม่ทัพตัวเอ่อกุ่น (多爾衮) ของแมนจู จากนั้นส่งคนให้แสร้งไปส่งข่าวยอมสวามิภักดิ์ต่อหลี่จื้อเฉิงเพื่อถ่วงเวลาเอาไว้ก่อน ทว่าในภายหลังเมื่อหลี่จื้อเฉิงได้ทราบข่าวว่าอู๋ซานกุ้ยสวามิภักดิ์ต่อแมนจูแล้ว จึงได้นำทัพราว 6 หมื่นเพื่อลงมาปราบปราม แต่ในยามนั้นอู๋ซันกุ้ยได้ลอบเปิดด่านให้กองทัพแมนจูยกเข้ามาอ้อมตีกองทัพของหลี่จื้อเฉิง จนหลี่ต้องถอยทัพกลับปักกิ่งโดยมีทัพของอู๋ซานกุ้ยไล่ตามมา หลี่แก้แค้นด้วยการตัดศีรษะบิดาของอู๋ซันกุ้ยเสียบประจานที่กำแพงเมืองปักกิ่ง จนทหารแมนจูได้เข้ายึดปักกิ่งได้สำเร็จ กองทัพหลี่จื้อเฉิงที่พ่ายแพ้ถอยร่นไปก็ถูกโจมตีและสังหารไปในที่สุด ถือว่าเป็นอันอวสานของราชวงศ์ที่ปกครองโดยชาวฮั่น
การเมืองการปกครอง
แก้สถาบันของรัฐบาลในประเทศจีนมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันมานานกว่าห้าพันปี แต่แต่ละราชวงศ์ได้ติดตั้งสำนักงานและสำนักงานพิเศษเพื่อสะท้อนความสนใจของตนเอง
ในสมัยราชวงศ์หมิงได้ใช้การปกครองแบบสามสำนักหกกรม ยึดเป็นต้นแบบตลอดการดำรงอยู่ของราชวงศ์โดยอำนาจการปกครองจะแบ่งออกเป็น 6 กระทรวงได้แก่กระทรวงการปกครอง การคลัง พิธีการ กลาโหม ราชทัณฑ์ (ยุติธรรม) และโยธาฯ โดยแต่ละกระทรวงให้มีเจ้ากระทรวง 1 คนกับผู้ช่วยอีก 2 คน และให้เจ้ากระทรวงทั้ง 6 ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้ อีกทั้งได้กำหนดรูปแบบให้กระทรวงกลาโหมจัดสรรกำลังประกอบด้วย 5 กองบัญชาการได้แก่ กองบัญชาการฝ่ายซ้าย ขวา หน้า หลังและกลาง
การบริหารของราชวงศ์หมิงใช้เลขาธิการใหญ่หรือศาลาใน เพื่อช่วยเหลือจักรพรรดิจัดการกับเอกสารราชการภายใต้การปกครองของจักรพรรดิหย่งเล่อ
สถาบันองค์กรและกรม
แก้ระบบ สามสำนักหกกรม ที่ราชวงศ์หมิงใช้นั้นสืบทอดมาจากราชสำนักของราชวงศ์ฮั่นซึ่งก่อตั้งโดยราชวงศ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ปลาย ราชวงศ์ฮั่น (202 ก่อนคริสต์ศักราช-220) การปกครองของราชวงศ์หมิงมีเพียงฝ่ายเดียวสำนักเลขาธิการที่ควบคุมกระทรวงหกกรม หลังจากการประหารชีวิตอัครมหาเสนาบดี หูเหว่ย์หยงในปี ค.ศ. 1380 จักรพรรดิหงหวู่ยกเลิกสำนักเลขาธิการและหัวหน้าคณะกรรมาธิการการทหารและเข้าควบคุมปฏิรูปหกกรมและคณะกรรมาธิการทหารห้าแห่งประจำภูมิภาค[26][27]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้ได้มีการอธิบายในฐานะ "หนึ่งในยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของรัฐบาลที่มีระเบียบและความมั่นคงทางสังคมในประวัติศาสตร์ของมนุษย์" โดยนักวิชาการที่มีชื่อเสียงอย่าง Edwin O. Reischauer, John K. Fairbank และ Albert M. Craig[28] จักรพรรดิหมิงเข้าควบคุมระบบการปกครองของราชวงศ์หยวนและสิบสามราชวงศ์หมิงเป็นต้นแบบรากฐานการจัดการบริหารของจังหวัดสมัยใหม่ ตลอดช่วงราชวงศ์ซ่งการแบ่งเขตปกครองทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ เขตจำกัดขอบเขต (路 หรือ "หลู่")[29] อย่างไรก็ตามหลังจากเหตุการณ์จิ้งคัง ในปี ค. ศ. 1127 ราชสำนักซ่งได้จัดตั้งระบบการบัญชาการระดับภูมิภาคกึ่งอิสระขึ้นอยู่กับระบบการปกครองดินแดนและการทหารโดยมีสำนักเลขาธิการบริการเดี่ยวซึ่งจะกลายเป็นหน่วยงานปกครองของราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในเวลาต่อมา[30]
ด้วยการที่ราชสำนักหมิงยึดแบบจำลองแบบการปกครองของหยวน ระบบราชการส่วนภูมิภาคของหมิงจึงประกอบไปด้วยคณะกรรมาธิการ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ หนึ่งพลเรือน หนึ่งทหารและอีกหนึ่งสำหรับผู้ตรวจการซึ่งเป็นหน่วยการเฝ้าระวัง นอกจากนี้ราชสำนักหมิงแบ่งประเทศออกเป็น 13 มณฑล และ 2 เขตมหานคร
- - 2 เขต มหานคร (จิง 亰) คือ กรุงปักกิ่งและนานกิง มีศักดิ์เป็นราชธานีซึ่งไม่ได้ขึ้นกับมณฑลเป็นเขตปกครองพิเศษที่มีผู้ว่าการดูแลแยกขาดจากมณฑล
- - 13 มณฑล (เซิ่ง 省) นั้น ในแต่ละมณฑลจะมีผู้ปกครองสูงสุด 3 คน ที่ควบคุมเกี่ยวกับ การทหาร พลเรือน และ ผู้ตรวจการ (คุม 2 คนแรกอีกที) เพื่อคานอำนาจกัน
ระดับการปกครองที่ต่ำกว่า มณฑล 省 คือ แคว้น หรือ (ฝู 府) เล็กกว่า ฝู (府) คือ เมือง หรือ โจว (州) และต่ำกว่า โจว ลงไปคือ อำเภอ (縣) เสียน ซึ่งดูแลโดยผู้ตรวจการ นอกจากจังหวัดแล้วยังมีพื้นที่ขนาดใหญ่สองแห่งที่ไม่มีจังหวัด แต่เป็นเขตมหานครหรือ "จิง"[31]
ในสมัยราชวงศ์หมิงได้มีการจดบันทึกรวบรวมเขตการปกครองว่ามีทั้งหมด 159 แคว้น, 240 เมือง, 1144 อำเภอ
บุคคลากร
แก้บัณฑิต-ข้าราชการ
แก้จักรพรรดิหงหวู่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1373 ถึงปี ค.ศ. 1384 ทรงจัดให้มีสำนักงานของพระองค์กับข้าราชการรวมตัวกันผ่านคำปรึกษาแนะนำเท่านั้น หลังจากนั้นบัณฑิต-ข้าราชการที่ที่มีจำนวนมากของระบบราชการได้รับการคัดเลือกผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดของจักรวรรดิหรือ การสอบขุนนาง ซึ่งนำมาใช้อย่างเป็นระบบสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618)[33][34][35] ในทางทฤษฎีระบบการสอบอนุญาตให้ทุกคนเข้าร่วมในตำแหน่งของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของราชสำนัก (แม้ว่าบางครั้งจะห้ามและเข้มงวดสำหรับพ่อค้าที่จะเข้าร่วม) ในความเป็นจริงเวลาและเงินทุนที่จำเป็นในการสนับสนุนการศึกษาในการเตรียมสอบโดยทั่วไปมักจำกัดแต่ผู้เข้าสอบกับชนชั้นผู้ถือครองที่ดินในสังคม อย่างไรก็ตามรัฐบาลทำโควตาจังหวัดคัดเลือกที่แน่นอนในขณะที่ร่างกฏเกณฑ์การคัดเลือกข้าราชการ[36] เป้าหมายของราชสำนักหมิงในการรับข้าราชการนโยบายเปิดกว้างให้โอกาสแก่ผู้มีความสามารถทุกคนเข้ารับราชการ ดังนั้นราชสำนักจึงพยายามระงับการผูกขาดอำนาจโดยผู้มีอำนาจสูงในพื้นที่ซึ่งมาจากภูมิภาคที่ร่ำรวยที่สุดซึ่งการศึกษานั้นก้าวหน้าที่สุดซึ่งจะได้เปรียบมากกว่าผู้สมัครสอบที่มาจากพื้นที่ยากจน[37] การขยายตัวของเทคโนโลยีสมัยราชวงศ์ซ่งโดยเฉพาะการพิมพ์ช่วยเพิ่มความรู้และจำนวนผู้สมัครสอบที่มีศักยภาพทั่วทุกจังหวัด[38] สำหรับเด็กนักเรียนมีการพิมพ์ตารางสูตรคูณและตำราเรียนสำหรับคำศัพท์เบื้องต้น สำหรับผู้สมัครสอบผู้ใหญ่นั้นการพิมพ์ผลิตออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิขงจื๊อจำนวนมากและคำตอบการสอบที่ถูกต้อง[39]
ในช่วงยุคเริ่มแรกของราชวงศ์หมิง เนื้อหาที่เน้นของการสอบจะเกี่ยวกับตำราขงจื๊อแบบดั้งเดิม[33] ในขณะที่วัสดุการทดสอบจำนวนมากเน้นที่ตำราสี่เล่มที่อธิบายโดยจู ซี ในศตวรรษที่ 12[40] การตรวจสอบในยุคของราชวงศ์หมิงอาจยากกว่าที่จะผ่านการสอบไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1487 ตามข้อกำหนดในการกรอก "เรียงได้ความแปดขา" การจากไปของบทความเรียงความจากแนวโน้มของอิทธิพลวรรณกรรมที่กำลังจะมาถึง
ข้าราชการระดับต่ำ
แก้บัณฑิต-ข้าราชการที่ที่เข้ารับราชการผ่านการสอบคัดเลือกขุนนางทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่บริหารให้กับองค์กรที่ไม่ได้อยู่ในอันดับที่ใหญ่กว่า ที่เรียกว่า "ผู้มีตำแหน่งน้อยกว่า" หรือ "ตำแหน่งที่มีลำดับสำคัญรองลงมา" พวกเขาเป็นข้าราชการที่มีจำนวนมากกว่าสี่ถึงหนึ่งคน นักวิชาการ Charles Hucker ประเมินว่าพวกเขาอาจมากถึง 100,000 คนทั่วทั้งจักรวรรดิ ผู้ปฏิบัติงานน้อยกว่าเหล่านี้ปฏิบัติงานธุรการและเทคนิคสำหรับหน่วยงานราชสำนัก หน้าที่ซึ่งน้อยกว่านั้นได้รับการประเมินเป็นระยะเช่นเดียวกับข้าราชการและหลังจากเก้าปีของการรับราชการอาจได้รับการยอมรับในตำแหน่งข้าราชการระดับต่ำ[41]
ข้อได้เปรียบที่ยอดเยี่ยมอย่างหนึ่งของผู้มีหน้าที่น้อยกว่าข้าราชการคือ ข้าราชการได้รับการหมุนเวียนเป็นระยะ ๆ และได้รับมอบหมายให้ประจำในระดับภูมิภาคที่แตกต่างกันและต้องพึ่งพาการทำงานที่ดีและความร่วมมือของผู้มีบทบาทน้อยในท้องถิ่น[42]
ขันที,เชื้อพระวงศ์และแม่ทัพ
แก้ขันทีมีอำนาจเหนือกิจการของรัฐในช่วงราชวงศ์หมิงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการควบคุมคือหน่วยสืบราชการลับประจำการในสิ่งที่เรียกว่า "คลังตะวันออก" ที่จุดเริ่มต้นของราชวงศ์หมิง ในภายหลังต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "คลังตะวันตก" หน่วยสืบราชการลับนี้ดูแลโดยผู้อำนวยการพิธีดังนั้นองค์กรนี้มักจะเป็นเผด็จการ[43] ขันทีมีการจัดอันดับที่เปรียบเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนมีเพียงสี่ระดับเท่านั้น ส่วนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนมีถึงระดับเก้า[44]
ลูกหลานเชื้อพระวงศ์ของจักรพรรดิหมิงพระองค์แรกจะถูกแต่งตั้งเพื่อเป็นเจ้าชายและได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่บัญชาการทางทหาร (โดยปกติจะระบุ) เงินบำนาญประจำปีและที่ดินขนาดใหญ่ และได้รับพระราชทานอิสรยศชื่อที่ใช้คือ "ราชา" (王, หวัง) ซึ่งมีความแตกต่างจากเจ้าชายในยุค ราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์จิ้น ที่ตำแหน่งในยุคดังกล่าวเหล่านี้ไม่ใช่ ในเชิงศักดินา เจ้าชายไม่ได้ทำหน้าที่ใด ๆ ในการบริหาร และเพียงแค่มีส่วนเข้าร่วมในกิจการทหารในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิสององค์แรกเท่านั้น[45]
สังคมและวัฒนธรรม
แก้วรรณกรรม
แก้วรรณกรรม ภาพวาด การแต่งกลอน ดนตรี และการแสดงงิ้ว หลากหลายรูปแบบได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอย่างมากในสมัยราชวงศ์หมิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีตอนล่างที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจคับคั่ง
ในสมัยราชวงศ์หมิงเหล่าบัณฑิตได้แต่งเรียบเรียงและพัฒนาวรรณกรรมจีนขึ้นมาใหม่เป็นผลงานจำนวนมาก ผลงานที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักกันดีคือ สี่สุดยอดวรรณกรรมจีน อันได้แก่ ไซอิ๋ว วรรณกรรมที่ล้อย้อนเหตุการณ์ในสมัยราชวงศ์ถัง สามก๊ก มีการเรียบเรียงปรับปรุงเพิ่มเติมพงศาวดารขึ้นมาใหม่โดยล่อกวนตง ซ้องกั๋ง และ ความฝันในหอแดง
ส่วนวรรณกรรมหรือนิทานพื้นบ้านที่โด่งดังในยุคราชวงศ์หมิงคือ ตำนานนางพญางูขาว แห่งเมืองหังโจว
ประชากร
แก้นักประวัติศาสตร์ผู้ชำนาญด้านจีนวิทยา อภิปรายตัวเลขประชากรของแต่ละช่วงในราชวงศ์หมิง นักประวัติศาสตร์ Timothy Brook ตั้งข้อสังเกตว่าตัวเลขการสำรวจสำมะโนประชากรของราชสำนักหมิงนั้นน่าสงสัย เนื่องจากภาระหน้าที่ทางการคลังกระตุ้นให้หลายครอบครัวต้องรายงานจำนวนผู้คนในครัวเรือนของตนน้อยเกินไป และเจ้าหน้าที่ของมณฑลหลายให้รายงานการประเมินจำนวนครัวเรือนในเขตอำนาจของตนต่ำกว่าความเป็นจริง[46] เด็กๆ มักจะถูกรายงานในระดับต่ำโดยเฉพาะเด็กผู้หญิงดังที่แสดงโดยสถิติประชากรที่เบี่ยงเบนไปทั่วจักรวรรดิต้าหมิง[47] รวมถึงสตรีก็ถูกรายงานประเมินไว้ในระดับต่ำเช่นเดียวกัน[48] ตัวอย่างเช่น เขตปกครองของต้าหมิง ในจื่อหลี่ตอนเหนือ รายงานประชากรชาย 378,167 คนและประชากรหญิง 226,982 คนใน ปี ค.ศ. 1502[49] ราชสำนักหมิงพยายามที่จะแก้ไขตัวเลขการสำรวจสำมะโนประชากรโดยใช้ประมาณการของจำนวนเฉลี่ยที่คาดหวังของคนในแต่ละครัวเรือน แต่สิ่งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาการลงทะเบียนภาษีอย่างกว้างขวาง[50]
จำนวนผู้คนในการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 1381 มีจำนวน 59,873,305 คน อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อราชสำนักพบว่ามีคน 3 ล้านคนหายไปจากการสำรวจสำมะโนประชากรที่จะต้องจ่ายภาษีปี ค.ศ. 1391[51] แม้ว่าตัวเลขที่ต่ำกว่าเกณฑ์จะเป็นอาชญากรรมในปี ค.ศ. 1381 ความต้องการความอยู่รอดทำให้หลายคนต้องละทิ้งทะเบียนภาษี และเดินออกจากภูมิภาคของพวกเขาซึ่ง จักรพรรดิหงหวู่ทรงพยายามที่จะกำหนดความไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเข้มงวดในหมู่ประชาชน ราชสำนักพยายามที่จะบรรเทาปัญหานี้ด้วยการสร้างการประเมินแบบอนุรักษ์นิยมของตัวเองที่มีจำนวน 60,545,812 คนในปี ค.ศ. 1393[52] จากการศึกษาประชากรจีน ของ Ho Ping-ti เขาเสนอให้ปรับปรุงสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 1363 เป็น 65 ล้านคนโดยสังเกตว่าพื้นที่ขนาดใหญ่ของจีนตอนเหนือและพื้นที่ชายแดนไม่ถูกนับในการสำรวจสำมะโนประชากร[53] Brook ระบุว่าตัวเลขประชากรรวมตัวกันในสำมะโนประชากรอย่างเป็นทางการหลังจากปี ค.ศ. 1393 อยู่ระหว่าง 51 และ 62 ล้านในขณะที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น[52] แม้แต่จักรพรรดิหงจื่อ (ครองราชย์ ค.ศ. 1487–505) กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของราษฎรรายวันใกล้เคียงกับจำนวนพลเรือนและทหารที่ลดจำนวนลงทุกวัน[54] ส่วนนักวิชาการ William Atwell กล่าวว่าประมาณ 1,400 ประชากรของจีนอาจจะมี 90 ล้านคน[55]
ขณะนี้นักประวัติศาสตร์กำลังหันไปหาอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ของราชวงศ์หมิงเพื่อหาเบาะแสที่จะแสดงการเติบโตของประชากรอย่างต่อเนื่อง[47] ด้วยการใช้อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ Brook ประเมินว่าประชากรโดยรวมภายใต้ช่วงรัชสมัยจักรพรรดิเฉิงฮว่า (ร. 1464–1487) มีประมาณ 75 ล้านคน[50] แม้ตัวเลขการสำรวจสำมะโนประชากรของยุคกลางราชวงศ์หมิงโฉบรอบ 62 ล้าน[54]
-
การติดต่อราชการในช่วงราชวงศ์หมิง
-
สภาพสังคมในช่วงราชวงศ์หมิง
วัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้- จูตี้ จักรพรรดิบัลลังก์เลือด หรือ (Relic Of An Emissary) ภาพยนตร์ซีรีส์ปี ค.ศ. 2011 เป็นเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ช่วงต้นราชวงศ์หมิง เกี่ยวกับการขึ้นสู่บัลลังก์ของเอี้ยนหวังจู่ตี้ โดยมีตัวเอกคือองครักษ์เสื้อแพร
อ้างอิง
แก้- ↑ Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (December 2006). "East-West Orientation of Historical Empires" (PDF). Journal of world-systems research. 12 (2): 219–29. ISSN 1076-156X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 February 2007. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
- ↑ Edwin Oldfather Reischauer, John King Fairbank, Albert M. Craig (1960) A history of East Asian civilization, Volume 1. East Asia: The Great Tradition, George Allen & Unwin Ltd., quoted in C. Simon Fan (2016) Culture, Institution, and Development in China: The Economics of National Character, Routledge, p. 97 ISBN 978-1-138-18571-5
- ↑ Ebrey, Walthall & Palais (2006), p. 271.
- ↑ Crawford, Robert. "Eunuch Power in the Ming dynasty". T'oung Pao, Second Series, Vol. 49, Livr. 3 (1961), pp. 115–148. Accessed 14 October 2012.
- ↑ For the lower population estimate, see (Fairbank & Goldman 2006:128) ; for the higher, see (Ebrey 1999:197)
- ↑ 6.0 6.1 Gascoigne (2003), p. 150.
- ↑ Gascoigne (2003), p. 151.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Ebrey (1999), p. 191.
- ↑ "Ethnic Uygurs in Hunan Live in Harmony with Han Chinese". People's Daily. 29 December 2000.
- ↑ Zhiyu Shi (2002). Negotiating ethnicity in China: citizenship as a response to the state. Vol. Volume 13 of Routledge studies – China in transition (illustrated ed.). Psychology Press. p. 133. ISBN 978-0-415-28372-4. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010.
{{cite book}}
:|volume=
has extra text (help) - ↑ Michael Dillon (1999). China's Muslim Hui community: migration, settlement and sects. Richmond: Curzon Press. p. 34. ISBN 978-0-7007-1026-3. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010.
- ↑ Harmony and War: Confucian Culture and Chinese Power Politics, by Yuan-kang Wang
- ↑ Robinson (2000), p. 527.
- ↑ Ebrey, Walthall & Palais (2006), p. 272.
- ↑ 15.0 15.1 Ebrey (1999), p. 194.
- ↑ Ebrey, Walthall & Palais (2006), p. 273.
- ↑ Hucker (1958), p. 31.
- ↑ Spence (1999), p. 16.
- ↑ 19.0 19.1 Spence (1999), p. 17.
- ↑ Ebrey (1999), pp. 194–195.
- ↑ Hucker (1958), p. 11.
- ↑ Spence (1999), pp. 17–18.
- ↑ Spence (1999), pp. 24, 28.
- ↑ 24.0 24.1 Chang (2007), p. 92.
- ↑ Spence (1999), p. 31.
- ↑ Hucker (1958), p. 28.
- ↑ Chang (2007), p. 15, footnote 42.
- ↑ Edwin Oldfather Reischauer, John King Fairbank, Albert M. Craig (1960) A history of East Asian civilization, Volume 1. East Asia: The Great Tradition, George Allen & Unwin Ltd., quoted in C. Simon Fan (2016) Culture, Institution, and Development in China: The Economics of National Character, Routledge, p. 97 ISBN 978-1-138-18571-5
- ↑ Yuan (1994), pp. 193–194.
- ↑ Hartwell (1982), pp. 397–398.
- ↑ Hucker (1958), p. 5.
- ↑ Ebrey (1999), p. 200.
- ↑ 33.0 33.1 Hucker (1958), p. 12.
- ↑ Ebrey, Walthall & Palais (2006), p. 96.
- ↑ Ebrey (1999), pp. 145–146.
- ↑ Ebrey (1999), p. 199.
- ↑ Ebrey (1999), pp. 198–199.
- ↑ Ebrey (1999), pp. 201–202.
- ↑ Ebrey (1999), p. 202.
- ↑ Ebrey (1999), p. 198.
- ↑ Hucker (1958), p. 18.
- ↑ Hucker (1958), pp. 18–19.
- ↑ Hucker (1958), p. 25.
- ↑ Hucker (1958), pp. 24–25.
- ↑ Hucker (1958), p. 8.
- ↑ Brook (1998), p. 27.
- ↑ 47.0 47.1 Brook (1998), p. 267.
- ↑ Brook (1998), pp. 97–99.
- ↑ Brook (1998), p. 97.
- ↑ 50.0 50.1 Brook (1998), pp. 28, 267.
- ↑ Brook (1998), pp. 27–28.
- ↑ 52.0 52.1 Brook (1998), p. 28.
- ↑ Ho (1959), pp. 8–9, 22, 259.
- ↑ 54.0 54.1 Brook (1998), p. 95.
- ↑ Atwell (2002), p. 86.
ดูเพิ่ม
แก้- Brook, Timothy. The Troubled Empire: China in the Yuan and Ming Dynasties (History of Imperial China) (Harvard UP, 2010). excerpt
- Chan, Hok-Lam (1988), "The Chien-wen, Yung-lo, Hung-shi, and Hsuan-te reigns, 1399–1435", ใน Mote, Frederick W.; Twitchett, Denis (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume 7, The Ming Dynasty, 1368–1644, Part 1, Cambridge and New York: Cambridge University Press, pp. 182–384, ISBN 978-0-521-24332-2.
- Crosby, Alfred W., Jr. (2003), Columbian Exchange: Biological and Cultural Consequences of 1492; 30th Anniversary Edition, Westport: Praeger Publishers, ISBN 978-0-275-98092-4.
- Dardess, John W. (1983), Confucianism and Autocracy: Professional Elites in the Founding of the Ming Dynasty, University of California Press, ISBN 978-0-520-04733-4.
- Dardess, John W. (1968), Background Factors in the Rise of the Ming Dynasty, Columbia University.
- Dardess, John W. (2012), Ming China, 1368–1644: A Concise History of a Resilient Empire, Rowman & Littlefield, ISBN 978-1-4422-0491-1.
- Dardess, John W. A Ming Society: T'ai-ho County, Kiangsi, in the Fourteenth to Seventeenth Centuries (U of California Press, 1996) online free
- Dupuy, R. E.; Dupuy, Trevor N. (1993), The Collins Encyclopedia of Military History: From 3500 B.C. to the Present, Glasgow: HarperCollins, ISBN 978-0-00-470143-1. Source for "Fall of the Ming Dynasty"
- Elman, Benjamin A. A Cultural History of Civil Examinations in Late Imperial China (U of California Press, 2000), 847 pp
- Gernet, Jacques (1962), Daily Life in China on the Eve of the Mongol Invasion, 1250–1276, Translated by H. M. Wright, Stanford: Stanford University Press, ISBN 978-0-8047-0720-6.
- Goodrich, L. Carrington; Fang, Chaoying, บ.ก. (1976), Dictionary of Ming Biography, 1368–1644: Volume 1, A–L, New York: Columbia University Press, ISBN 978-0-231-03801-0.
- Huang, Ray (1981), 1587, a Year of No Significance: The Ming Dynasty in Decline, New Haven: Yale University Press, ISBN 978-0-300-02518-7.
- Mote, Frederick W. (1988), "The Ch'eng-hua and Hung-chih reigns, 1465–1505", ใน Mote, Frederick W.; Twitchett, Denis (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume 7, The Ming Dynasty, 1368–1644, Part 1, Cambridge and New York: Cambridge University Press, pp. 343–402, ISBN 978-0-521-24332-2.
- Owen, Stephen (1997), "The Yuan and Ming Dynasties", ใน Owen, Stephen (บ.ก.), An Anthology of Chinese Literature: Beginnings to 1911, New York: W. W. Norton. pp. 723–743(). pp. 807–832().
- Swope, Kenneth M. "Manifesting Awe: Grand Strategy and Imperial Leadership in the Ming Dynasty." Journal of Military History 79.3 (2015). pp. 597–634.
- Wade, Geoff (2008), "Engaging the South: Ming China and Southeast Asia in the Fifteenth Century", Journal of the Economic and Social History of the Orient, 51 (4): 578–638, doi:10.1163/156852008X354643, JSTOR 25165269.
- Wakeman, Frederick, Jr. (1977), "Rebellion and Revolution: The Study of Popular Movements in Chinese History", The Journal of Asian Studies, 36 (2): 201–237, doi:10.2307/2053720, JSTOR 2053720.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Notable Ming dynasty painters and galleries at China Online Museum
- Ming dynasty art at the Metropolitan Museum of Art
- Highlights from the British Museum exhibition เก็บถาวร 2020-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | ราชวงศ์หมิง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์หยวน | ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน (ค.ศ. 1368–1644) |
ราชวงศ์ชิง |