จอหงวน
จอหงวน หรือสำเนียงกลางว่า จฺวั้ง-ยฺเหวียน สำเนียงแต้จิ๋วว่า จ่อง้วง และสำเนียงกวางตุ้งว่า จ่อง-ยฺวื่น (จีนตัวย่อ: 状元; จีนตัวเต็ม: 狀元; พินอิน: zhuàngyuán; เวด-ไจลส์: dzɔŋ6jyn4) เป็นตำแหน่งราชบัณฑิตซึ่งได้คะแนนอันดับหนึ่งในการสอบขุนนางของประเทศจีนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์[1]
ในประเทศจีนปัจจุบัน คำนี้ใช้เรียกผู้ได้คะแนนอันดับที่หนึ่งในการสอบใด ๆ หรือในความหมายทั่วไปกว่านั้น ใช้สำหรับเรียกผู้เป็นหัวกะทิในสาขาวิชาหนึ่ง ๆ[2]
ศัพทมูล
แก้คำว่า "จฺวั้ง" หมายถึง ผลสอบ ส่วน "ยฺเหวียน" แปลว่า ที่หนึ่ง ฉะนั้น "จฺวั้ง-ยฺเหวียน" จึงแปลตรงตัวว่า ผลสอบเป็นที่หนึ่ง
ในประวัติศาสตร์
แก้ความปรารถนาอันสูงสุดของผู้เป็นนักศึกษาจีนในสมัยโบราณ คือ "การเป็นที่หนึ่งในสามสิ่ง" หมายถึง การสอบได้เป็นที่หนึ่งในการสอบระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับราชสำนัก
การจัดสอบระดับราชสำนักนั้นมีขึ้นทุก 3 ปี พระเจ้าแผ่นดินในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงทรงคุมสอบระดับราชสำนักด้วยพระองค์เองด้วย
จอหงวนจะได้รับตำแหน่งหน้าที่สูงในราชการ และมีชื่อเสียงเกียรติยศแพร่หลายไปทั่วแผ่นดิน
ในประวัติศาสตร์จีน มีบันทึกว่า มีการจัดสอบทั้งสิ้นกว่า 700 ครั้ง มีผู้ได้รับตำแหน่งจอหงวนกว่า 600 คน คนแรกคือ ซุน ฝูเจีย (孙伏伽) แต่งตั้งในปี ค.ศ. 622 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าถังเกาจู่[3] จอหงวนคนสุดท้าย คือ หลิว ชุนหลิน (刘春霖) แต่งตั้งในปี ค.ศ. 1904 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้ากวังซฺวี่[3]
นอกจากนั้น การสอบจอหงวนได้แพร่ไปถึงอาณาจักรโชซ็อนในสมัยพระเจ้าเซจงมหาราช
จำนวนจอหงวน
แก้ราชวงศ์ | จำนวนการสอบ (ครั้ง) | จำนวนจอหงวน (คน) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ราชวงศ์สุย (隋朝) | 7 [เรียกว่า "ราชบัณฑิตสามัญ" (普通进士)] |
||
ราชวงศ์ถัง (唐朝) | 263 | 148 | บันทึกถังไคเคอ (唐开科) ระบุว่า 270 ครั้ง |
ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร (五代十国) | 47 | 24 | |
ราชวงศ์ซ่ง (宋朝) | 118 | 118 | อ้างอิง "บันทึกผู้สอบผ่านจฺวั้ง-ยฺเหวียนสมัยราชวงศ์ซ่ง (宋歷科狀元錄)" ของ จู ซีเจึยว (朱希召) |
ราชวงศ์เหลียว (辽朝) | 57 | 56 | |
ราชวงศ์เซี่ยตะวันตก (西夏) | ไม่มีข้อมูล | 1 | |
ราชวงศ์จิน (金朝) | 41 | 39 | |
ราชวงศ์หยวน(元朝) | 16 | 32 | |
ราชวงศ์หมิง (明朝) | 90 | 90 | |
ยุคมหาปัจฉิมนคร (大西国) | 1 | 1 | ผู้สอบได้ คือ จาง เซี่ยนจง (张献忠) |
ราชวงศ์ชิง (清朝) | 112 | 114 | |
ยุคเมืองแมนแดนสันติ (太平天国) | ไม่มีข้อมูล | 15 | |
รวมทั้งหมด | 745 | 638 |
อ้างอิง
แก้- ↑ 萧源锦,《狀元史話》,重庆出版社,1992,ISBN 7-5366-1648-1
- ↑ 《现代汉语词典》,商务印书馆,第五版,ISBN 7-100-04385-9
- ↑ 3.0 3.1 ประสิทธิ์ ฉกาจธรรม, บ.ก. (กุมภาพันธ์ 2006). พลิกม่านไม้ไผ่: ปกิณกะประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน. อาศรมสยาม-จีนวิทยา สมาคมปัญญาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์ไมล์. pp. 206–212. ISBN 974-939-142-X.