ราชวงศ์สุย
ราชวงศ์สุย
สุ่ย 隋 | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 1124–พ.ศ. 1161 | |||||||||||
![]() ราชวงศ์สุ่ย ประมาณปี พ.ศ. 1152 (สีน้ำตาลแดง) | |||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||
เมืองหลวง | ฉางอาน (พ.ศ. 1124 - พ.ศ. 1148) ลกเอี๋ยง (พ.ศ. 1148 - พ.ศ. 1161) | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาจีนยุคกลาง | ||||||||||
ศาสนา | พุทธ, ลัทธิเต๋า, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาพื้นบ้านจีน | ||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||
• พ.ศ. 1124 - พ.ศ. 1148 | จักรพรรดิสุยเหวินตี้ | ||||||||||
• พ.ศ. 1148 - พ.ศ. 1161 | จักรพรรดิสุยหยางตี้ | ||||||||||
• พ.ศ. 1161 | จักรพรรดิสุยกง | ||||||||||
อัครมหาเสนาบดี | |||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
• Established | 4 มีนาคม พ.ศ. 1124 | ||||||||||
• Disestablished | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 1161 | ||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
พ.ศ. 1155 (ประมาณการ) | 4,100,000 ตารางกิโลเมตร (1,600,000 ตารางไมล์) | ||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• พ.ศ. 1152 | 66,019,956a[›] | ||||||||||
สกุลเงิน | เหรียญจีน | ||||||||||
|
(อังกฤษ: Sui Dynasty; จีน: 隋朝; พินอิน: Suí cháo) เป็นราชวงศ์ที่ทรงอำนาจทางการทหารแต่มีระยะเวลาการปกครองที่ค่อนข้างสั้น สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1124 ภายหลังจากยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้[1] โดยจักรพรรดิสุยเหวินตี้(หยางเจียน) อดีตแม่ทัพแห่งราชวงศ์โจวเหนือ โดยในรัชกาลของพระองค์ทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง มีนครฉางอันเป็นเหมืองหลวงระหว่าง พ.ศ. 1124 - พ.ศ. 1148 และต่อมาย้ายไปนครลั่วหยางระหว่าง พ.ศ. 1148 - พ.ศ. 1161 แต่ราชวงศ์สุยมีอันต้องล่มสลายลงในปี พ.ศ. 1161 ในรัชกาลจักรพรรดิสุยหยางตี้(หยางกว่าง) พระราชโอรสองค์รองของสุยเหวินตี้
จักรพรรดิสุยเหวินตี้ ทรงดำเนินนโยบายอย่างแยบยล โดยการหล่อหลอมเอาวัฒนธรรมแต่ละแคว้นเข้าด้วยกัน เพื่อผสมผสานให้แต่ละแคว้นมีความเป็นปึกแผ่น โดยมีการผสมผสานหลักการของศาสนาพุทธที่หยางเจียนนับถือ เข้ากับลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า แล้วนำมาพัฒนาเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่กฎหมายของราชวงศ์ โดยแม้ต่อมา ราชวงศ์ถังจะสถาปนาขึ้น ก็ยังรับเอาวัฒนธรรมการหล่อหลอมคำสอนศาสนามาใช้ต่อเนื่อง[2] หลังจากนั้น ทรงดำเนินนโยบายให้ขุนนางในราชสำนักรวมไปถึงเชื้อพระวงศ์ได้แต่งงานกับชนเผ่าต่าง ๆ เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี เพราะโดยพื้นเพเดิมนั้น ทั้งหยางเจียนและพระมเหสี ก็ทรงเป็นตระกูลจีนแท้ผสมกับชนเผ่าเติร์กอยู่แล้ว
สุยหยางตี้ทรงดำเนินนโยบาย ขุดคลองต้ายุ่นเหอขนาดมหึมา ยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร จากนครลั่วหยางเป็นศูนย์กลาง ขึ้นเหนือสู่จั๋วจวิน (ปักกิ่งปัจจุบัน) ลงใต้ไปถึงเมืองอู๋หาง (หางโจวปัจจุบัน) เป็นการเชื่อมแม่น้ำไห่เหอ แม่น้ำฮวงโห แม่น้ำหวยเหอ แม่น้ำแยงซีเกียง และแม่น้ำเฉียนถังเจียงเข้าด้วยกัน เพื่อการขนส่งสินค้า การท่องเที่ยวดินแดนเจียงหนาน และเพื่อเชื่อมต่อดินแดนภาคเหนือและใต้เข้าด้วยกัน รวมไปถึง การสร้างยุ้งฉางกักตุนสินค้าขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับสินค้าเกือบตลอดแนวคลอง คลองขุดสายนี้นับเป็นโครงการอันยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน[3]
มีการริเริ่มการสอบจอหงวน เป็นครั้งแรก ทั่วราชอาณาจักร เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถเข้ามารับราชการในตำแหน่งขุนนาง ทำให้แต่เดิม ที่ขุนนางจะมีเพียงแต่ชนชั้นสูงที่สืบทอดสกุลต่อกันมา ทำให้อาจจะมีแต่ตำแหน่งแต่ไร้ความสามารถ จึงได้ผู้ที่มีฝีมือและความรู้อย่างแท้จริง ซ้ำยังทำให้ประชาชนได้มีโอกาสมารับราชการในราชวัง นับว่าเป็นการลดการเหลื่อมล้ำทางสังคมอีกด้วย
แต่ต่อมา เมื่อหยางกว่างขึ้นครองราชย์ ทรงประกาศสงครามกับชนเผ่าต่าง ๆ ทำให้ทรงขยายพื้นที่ทางด้านตะวันตกได้พอสมควร ซ้ำยังยกทัพไปบุกเกาหลีและแมนจู[4] แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะด้วยประสบกับความหนาวเหน็บ ซ้ำยังไม่มีการควบคุมทัพที่ดีพอ ทำให้พ่ายศึก ตามพงศาวดารกล่าวไว้ว่า
“ | กำลังพลของสุยหยางตี้ ที่เคลื่อนทัพผ่านด่านซานไห่กวน เพื่อไปทำสงครามกับเกาหลีนั้น ต้องใช้เวลากว่า 30 วัน ในการเดินทัพจากต้นขบวนถึงท้ายขบวน เรือรบกว่า 3000 ลำ ทหารราบกว่า 1 ล้านคน ทหารม้าอีก 5 หมื่นกว่านาย พลเกาทัณฑ์อีกกว่า 5,000 นาย | ” |
ซึ่งสุยหยางตี้บัญชาให้ยกทัพขนาดมหึมานี้ ถึง 4 ครั้ง ทำให้ราชวงศ์สุย เสียหายอย่างหนัก[5] ด้วยเหตุนี้ จึงการการก่อจลาจลทั่วทุกหัวระแหง ที่ใหญ่ ๆ มี 3 กลุ่ม อันได้แก่ กองกำลังหวากัง นำโดยใจ๋หยางและหลี่มี่ กองกำลังเจียงไหว นำโดยตู้ฝูเว่ย และกองกำลังเหอเป่ย นำโดยโต้วเจี้ยนเต๋อ รวมไปถึงการก่อกบฏในราชสำนักเองอีกด้วย สุดท้าย สุยหยางตี้ถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระประยูรฐาติของพระองค์ นำโดยอวี้เหวินฮั่วจี๋ ราชวงศ์สุยถึงกาลอาวสาน เมื่อปี พ.ศ. 1161
อ้างอิงแก้ไข
ประวัติศาสตร์จีน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ยุคโบราณ | |||||||
สามราชาห้าจักรพรรดิ | |||||||
ราชวงศ์เซี่ย 2100–1600 BCE | |||||||
ราชวงศ์ชาง 1600–1046 BCE | |||||||
ราชวงศ์โจว 1045–256 BCE | |||||||
ราชวงศ์โจวตะวันตก 1046–771 BCE | |||||||
ราชวงศ์โจวตะวันออก 771–256 BCE ยุควสันตสารท ยุครณรัฐ | |||||||
ยุคจักรวรรดิ | |||||||
ราชวงศ์ฉิน 221 BCE–206 BCE | |||||||
ราชวงศ์ฮั่น 206 BCE–220 CE | |||||||
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก | |||||||
ราชวงศ์ซิน | |||||||
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก | |||||||
ยุคสามก๊ก 220–280 | |||||||
เว่ย สู่ และ หวู | |||||||
ราชวงศ์จิ้น 265–420 | |||||||
จิ้นตะวันตก | ยุคห้าเผ่าคนเถื่อนสิบหกแคว้น 304–439 | ||||||
จิ้นตะวันออก | |||||||
ราชวงศ์เหนือ-ใต้ 420–589 | |||||||
ราชวงศ์สุย 581–618 | |||||||
ราชวงศ์ถัง 618–690, 705–907 | |||||||
ราชวงศ์อู่โจว 690–705 | |||||||
ยุคห้าวงศ์สิบรัฐ 907–960 |
ราชวงศ์เหลียว 907–1125 | ||||||
ราชวงศ์ซ่ง 960–1279 |
|||||||
ราชวงศ์ซ่งเหนือ | เซี่ยตะวันตก | ||||||
ราชวงศ์ซ่งใต้ | จิน | ||||||
ราชวงศ์หยวน 1271–1368 | |||||||
ราชวงศ์หมิง 1368–1644 | |||||||
ราชวงศ์จินยุคหลัง 1616–1636 | |||||||
ราชวงศ์ชิง 1636–1912 | |||||||
ยุคใหม่ | |||||||
สาธารณรัฐจีน (บนแผ่นดินใหญ่) 1912–1949 | |||||||
สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) 1949–ปัจจุบัน |
สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) 1949–ปัจจุบัน | ||||||
บทความที่เกี่ยวข้อง
| |||||||
ก่อนหน้า | ราชวงศ์สุย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ | ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน (พ.ศ. 1124 - พ.ศ. 1162) |
ราชวงศ์ถัง |