ลัทธิบัวขาว
ลัทธิบัวขาว (จีน: 白蓮教 ไป๋เหลียนเจี้ยว) เป็นขบวนการทางศาสนาและการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หยวน เป็นลัทธิบูชาพระแม่องค์ธรรมเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด และรอคอยยุคพระศรีอริยเมตไตรย[1] ซึ่งเป็นอุตมรัฐที่เชื่อว่าสังคมจะรุ่งเรืองสงบสุขตลอดไป
ลัทธิบัวขาว | |
---|---|
白蓮教 | |
กลุ่ม | Chinese salvationist |
ความโน้มเอียง | คำสอนพระศรีอริยเมตไตรย |
ภาษา | จีน |
ผู้ก่อตั้ง | ฮุ่ยยฺเหวี่ยน |
ต้นกำเนิด | ในช่วงราชวงศ์จิ้น เขาหลู จิ่วเจียง |
สาขาของ | สุขาวดี |
ถูกกลืน | ศาสนามาณีกีแบบจีน |
ประวัติ
แก้ต้นกำเนิด
แก้ภูมิหลังทางศาสนาของลัทธิบัวขาวสืบไปถึงสมาคมบัวขาวแรก (白蓮社) ในวัดตงหลินบนเขาหลูโดยหลูชาน ฮุ่นยฺเหวี่ยน (ค.ศ. 334–416) ในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960–1126) มีการจัดตั้งสมาคมบัวขาวทั่วจีนตอนใต้ เผยแพร่คำสอนและวิธีการสมาธิแบบสุขาวดี[1] จากนั้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 14 ศาสนามาณีกีแบบจีนมีความเกี่ยวโยงกับสำนักสุขาวดีมากขึ้น แม้ว่าการติดต่ออย่างกล้ชิดกับศาสนามาณีกีมีอิทธิพลกับศาสนาพุทธแบบจีนฝ่ายเมตไตรยภายในนิกายสุขาวดีอย่างมาก[2] การทำพิธีร่วมกับชาวพุทธมีความใกล้ชิดมากจนทั้งสองนิกายแยกจากกันไม่ได้[3]
การพัฒนาในภายหลัง
แก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พระสงฆ์นาม เหมา ซือยฺเหวียน (茅子元;; ป. 1096–1166; ชื่อทางธรรม: ฉือเจ้า (慈照)) พัฒนาสำนักบัวขาว (白蓮宗) เพื่อรวบรวมสมาคมบัวขาวที่กระจัดกระจาย ท่านสถาปนา เหลียนช่านถัง (蓮懺堂) ที่สอนคำสอนของสำนักบัวขาว ซึ่งภายหลังเป็นฐานของลัทธิบัวขาว (白莲敎)[1] ลัทธิบัวขาว มีหลักความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างศาสนามาณีกีกับศาสนาพุทธ มีหลักปฏิบัติคือการกินเจอย่างเคร่งครัด ให้บุรุษกับสตรีมีปฏิสัมพันธ์กันได้ค่อนข้างเสรีซึ่งขัดกับธรรมเนียมจีนสมัยนั้น และปกปิดพิธีกรรมของตนเป็นความลับ โดยให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นเพียงการไหว้เจ้า[4]
พัฒนาไปเป็นสมาคมลับ
แก้หลักฐานเกี่ยวกับลัทธิบัวขาวปรากฏครั้งแรกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตรงกับสมัยราชวงศ์หยวนที่จักรวรรดิมองโกลปกครองแผ่นดินจีน ชาวฮั่นในสมัยนั้นไม่พอใจที่คนต่างชาติมาปกครองอย่างกดขี่ จึงรวมกลุ่มกันตั้งเป็นสมาคมทางศาสนาและดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมื่อเพื่อปลดปล่อยประเทศจากการปกครองของคนต่างชาติ ลัทธิบัวขาวมีส่วนร่วมในขบวนการนี้ด้วย จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย[5] แนวทางการเมืองนี้ทำให้ลัทธิบัวขาวถูกทางการปราบปรามอย่างหนัก[6]
ศาสนิกชนของลัทธิบัวขาวได้ร่วมกันก่อกบฏโพกผ้าแดงขึ้นในช่วง ค.ศ. 1351 – 1368 จู หยวนจางกับสมัครพรรคพวกก็เข้าร่วมขบวนการด้วย กลุ่มกบฏสามารถโค่นล้มราชวงศ์หยวนได้เป็นผลสำเร็จในเวลาต่อมา และส่งเสริมราชวงศ์หมิงให้ปกครองแผ่นดินสีบแทน โดยจู หยวนจางได้รับอาณัติสวรรค์ให้ปกครองแผ่นดิน เฉลิมพระนามจักรพรรดิหงหวู่
การปฏิวัติบัวขาว
แก้เมื่อราชวงศ์หมิงล่มสลายและถูกราชวงศ์ชิงขึ้นมาปกครองแทน ลัทธิบัวขาวก็ก่อกบฏบัวขาวอีกครั้งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เพื่อต่อต้านราชวงศ์ชิงที่กดขี่เรื่องภาษีและฟื้นฟูราชวงศ์หมิง แต่ก็ถูกปราบปรามอย่างหนักจนสลายตัวไปในปี ค.ศ. 1804 ศาสนิกชนถูกจับกุมและประหารชีวิต ตำราคัมภีร์ต่าง ๆ ถูกเผาทำลายไปเป็นจำนวนมาก[7]
ความเชื่อ
แก้ความเชื่อหลักของลัทธิบัวขาวคือการบูชาพระเป็นเจ้าคือพระแม่องค์ธรรม พระผู้สร้างสรรพสิ่งและให้สรรพชีวิตทั้งหลายมาเกิดบนโลก ชีวิตทั้งหลายจึงเป็นบุตรของพระแม่องค์ธรรม ล้วนแต่มีธรรมชาติบริสุทธิ์มาแต่เดิม แต่ต่อมาสรรพสัตว์กลับใช้ชีวิตหลงผิด สูญเสียธรรมชาติเดิมจนไม่อาจกลับไปหาพระแม่องค์ธรรมได้[8]
พระแม่องค์ธรรมจึงเมตตาต่อสรรพสัตว์ด้วยการส่งพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ลงมาบนโลกเพื่อช่วยแนะนำสั่งสอนมนุษย์ให้ปฏิบัติในหนทางที่ถูกและกลับไปสู่พระแม่องค์ธรรมได้ ในการนี้พระแม่องค์ธรรมได้ส่งพระทีปังกรพุทธเจ้าและพระศากยมุนีพุทธเจ้ามาช่วยเวไนยสัตว์ได้จำนวนหนึ่งแล้ว แต่สรรพสัตว์ส่วนมากยังตกค้างอยู่ พระแม่จึงสัญญาต่อมนุษย์ว่าต่อไปจะส่งพระศรีอริยเมตไตรยลงมาเพื่อช่วยเหลือเวไนยสัตว์ที่เหลือทั้งหมด[8]
ในท้ายยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จะมีการชุมนุมอริยะบนสวรรค์เพื่อสรุปผลการช่วยสรรพสัตว์ การชุมนุมท้ายสมัยพระทีปังกรเรียกว่า ชิงหยางฮุ่ย (ตะวันเขียว) ท้ายสมัยพระศากยมุนีเรียกว่า หงหยางฮุ่ย (ตะวันแดง) และท้ายสมัยพระเมตไตรยเรียกว่า ไป๋หยางฮุ่ย (ตะวันขาว) ลัทธิบัวขาวเชื่อว่าตนเองกำลังอยู่ในปลายสมัยตะวันแดง จึงมุ่งหวังและรอคอยการมาถึงของสมัยตะวันขาว ซึ่งพระศรีอารย์จะลงมาโปรดชี้แนะการบำเพ็ญวิถีธรรมที่ถูกต้องเพื่อกลับสู่บ้านเดิม[8]
แม้ลัทธิบัวขาวจะสลายตัวไปจากการปราบปรามของทางการชิง แต่แนวคิดและขนบของลัทธิบัวขาวยังสืบทอดมาอีกในหลายลัทธิ โดยเฉพาะในลัทธิเซียนเทียนเต้า ซึ่งหวง เต๋อฮุย ได้ก่อตั้งขึ้นในเวลาต่อมา ลัทธินี้ยังคงรักษาความเชื่อหลักได้แก่การบูชาพระแม่องค์ธรรม พระผู้สร้างสรรพสิ่ง และส่งสรรพชีวิตทั้งหลายมาเกิดบนโลก และรอคอยการมาถึงของยุคพระศรีอริยเมตไตรยซึ่งเชื่อว่าเป็นสังคมในอุดมคติที่ลัทธินี้จะสร้างขึ้นสำเร็จในอนาคต[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Theobald (2012).
- ↑ Ma & Meng (2011).
- ↑ Yar (2012).
- ↑ Teng (1958), p. 94.
- ↑ Mote 2003, p. 529.
- ↑ "Tian Dao Hui". Chinese Boxing. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-19. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "White Lotus Rebellion of the Qing Dynasty". Cultural China. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-21. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "Inspiration: The Organization and Ideology of White Lotus Sects" (PDF). Yale University Press. 1976. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) หน้า 9-13
บรรณานุกรม
แก้- Dai, Yingcong (2019). The White Lotus War: Rebellion and Suppression in Late Imperial China. University of Washington Press.
- Flower, Theresa J. (1976). Millenarian themes in the White Lotus Society (วิทยานิพนธ์). McMaster University. hdl:11375/7251.
- Ma, Xisha; Meng, Huiying (2011). Popular Religion and Shamanism. Brill. ISBN 978-9004174559.
- Mote, Frederick W. (2003). Imperial China 900–1800. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01212-7.
- Naquin, Susan (1976). Millenarian Rebellion in China: The Eight Trigrams Uprising of 1813. Yale University Press. hdl:1811/5983.
- Purcell, Victor (3 June 2010). The Boxer Uprising: A Background Study. Cambridge University Press. pp. 149–. ISBN 978-0-521-14812-2.
- Spence, Jonathan D. (1991). The Search for Modern China. W.W.Norton. ISBN 978-0-393-30780-1.
- Teng, Ssu-yü (1958). "A Political Interpretation of Chinese Rebellions and Revolutions". Tsing Hua Journal of Chinese Studies. 1 (3).
- Ter Haar, Barend J. (1992). The White Lotus Teachings in Chinese Religious History. Leiden: Brill.
- Theobald, Ulrich (2012). "Bailianjiao 白蓮教, the White Lotus Sect". www.chinaknowledge.de (ภาษาอังกฤษ).
- Yar, Char (2012). Monijiao (Manichaeism) in China (Speech). Lecture presented at the Worldwide Conference for Historical Research. academia.edu. Beijing.