ศักดินา

ระบบชนชั้นทางสังคมที่เรียงลำดับตามจำนวนนา

ศักดินา เป็นระบบกำหนดชนชั้นทางสังคม คือกำหนดสิทธิในการถือครองที่นาสูงสุด ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ตามจำนวนที่ดินด้วย ทำนองเดียวกับระบบเจ้าขุนมูลนาย (feudalism) ของทวีปยุโรป

ประวัติศาสตร์ไทย
Wat Phra Sri Sanphet 01.jpg
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
การเข้ามาอยู่อาศัย
แนวคิดถิ่นกำเนิดชนชาติไท
บ้านเชียง (ประมาณ 2500 ปีก่อน พ.ศ.)
บ้านเก่า (ประมาณ 2000 ปีก่อน พ.ศ.)
อาณาจักรมอญ-เขมร
ฟูนาน (611–1093)
ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12–16)
ละโว้ (พุทธศตวรรษที่ 12–1630)
เขมร (1345–1974)
หริภุญชัย (พุทธศตวรรษที่ 13–1835)
ตามพรลิงค์ (พุทธศตวรรษที่ 13–14)
อาณาจักรของคนไท
ลพบุรี (1648–1931)
กรุงสุโขทัย (1781–1981)
สุพรรณภูมิ (พุทธศตวรรษที่ 18–1952)
พะเยา (1637–1881)
ล้านนา (1835–2101)
น่าน (พุทธศตวรรษที่ 18–1992)
นครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 18–2325)
กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา (1893–2310)
ประเทศราชเชียงใหม่ (2101–2317)
นครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 18–2325)
กรุงธนบุรี
กรุงธนบุรี (2310–2325)
เชียงใหม่ (2317–2437)
กรุงรัตนโกสินทร์
กรุงรัตนโกสินทร์ (2325–2475)
ประเทศสยาม
ประเทศสยาม (2475–2516)
ประเทศสยาม (2516–2544)
ประเทศไทย
ประเทศไทย (2544–ปัจจุบัน)
ประวัติศาสตร์รายภูมิภาค
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ

กำเนิดแก้ไข

ระบบศักดินาที่พัฒนาต่อมาจากสังคมทาสโดยที่อาณาจักรสุโขทัยตอนต้นเป็นยุคปลายของสังคมทาส จิตร ภูมิศักดิ์สันนิษฐานว่าศักดินาน่าจะปรากฏขึ้นครั้งแรกในสมัยอาณาจักรสุโขทัย เพราะมีการปรับไหมตามศักดิ์ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทรงประกาศว่า ที่ดินทั้งปวงเป็นของพระมหากษัตริย์ นับเป็นการประกาศเริ่มต้นของสังคมศักดินาอย่างชัดเจน ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หลังจากเอาชนะอาณาจักรสุโขทัยได้ ก็มีการจัดระเบียบที่ดินใหม่ (อาจเรียกว่าเป็นการแบ่งที่ดินใหม่)[1]:130 พร้อมทั้งตราพระอัยการตำแหน่งนาทหารและพลเรือน มีการกำหนดศักดินาของคนในบังคับทั้งปวง เรื่อยมาจนรัชกาลที่ 5 มีการเลิกชนชั้นทาสและไพร่ ส่วนศักดินาถูกล้มเลิกไปส่วนใหญ่ในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และยกเลิกบรรดาศักดิ์ในเวลาต่อมา

ลักษณะแก้ไข

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของที่ดินทั้งปวง มีสิทธิจับจอง พระราชทาน และริบคืนที่ดินได้ เช่น ใน พ.ศ. 2404 สมัยรัชกาลที่ 4 มีการเกณฑ์คนไปขุดคลองแถวแขวงเมืองนนทบุรี นครไชยศรี แล้วยกที่ดินนั้นให้แก่พระเจ้าลูกเธอโดยยกเว้นการเสียภาษีให้ด้วย[1]:143–4 ในรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2337 ทรงพระราชทานแดนเมืองพระตะบองและเสียมราฐให้แก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)[1]:132

ชนชั้น ศักดินา (ไร่)
เจ้านายและฝ่ายใน 2,500–100,000
เจ้านายชั้นรองที่ได้รับบรรดาศักดิ์และนางใน 100–1,000
ขุนนาง 25–10,000
ไพร่ 5–20
ทาส 5

ศักดินาที่ระบุไว้เป็นการกำหนดปริมาณที่ดินสูงสุดที่บุคคลหนึ่งจะมีได้[1]:129 ในสมัยหลังมีการสืบทอดมรดก ผู้ที่ได้รับพระราชทานที่ดินไปแล้วแม้ออกจากราชการหรือเสียชีวิตลงไม่ต้องเวนคืนพระมหากษัตริย์ ที่ดินในกรรมสิทธิ์เจ้านายและขุนนางมีมากขึ้น ทำให้ไม่ค่อยมีการแบ่งที่ดินอีก บรรดาที่ดินใหม่ ๆ ที่ถางได้พระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงมักครอบครอง[1]:140–1 นอกจากนี้ศักดินาเป็นตัวกำหนดสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ ศักดินาใช้คำนวณเบี้ยหวัดรายปี อัตราปรับไหม ศักดินา 400 ขึ้นไปมีสิทธิ์จ้างทนายความแก้ต่างในศาลได้[1]:142

ในกฎหมายศักดินา เจ้านายทรงกรม หมายถึง เจ้านายที่เป็นผู้ใหญ่แล้วสามารถบังคับบัญชาไพร่พลได้ กรมหนึ่งมีเจ้ากรม ปลัดกรมและสมุห์บัญชี กรมนี้ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนไพร่ในบังคับ เรียกว่า "เลก"[1]:132

พึงเข้าใจว่าไพร่ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมนั้นมีศักดินาเพียง 5 ไร่ เท่ากับขอทานและทาส ไพร่ที่มีศักดินาสูงขึ้นมานั้นเป็นไพร่จำนวนน้อย เช่น ไพร่ในสังกัดเจ้านาย ไพร่ที่เป็นหัวหน้ากลุ่มที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในราชอาณาจักร ไพร่ที่คุมงานโยธา เป็นต้น

ไพร่ชายอายุตั้งแต่ 18 ถึง 60 ปีบริบูรณ์มีหน้าที่ต้อง "เข้าเวร" คือการถูกเกณฑ์แรงงาน (corvée) ทั้งในด้านการเกษตร การโยธา เป็นต้น โดยในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีกำหนดเข้าเวรปีละ 6 เดือน ในช่วงนี้ไพร่ไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ และต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ทั้งค่าอาหาร วัวควายและเครื่องมือการเกษตร ซ้ำเมื่อออกเวรแล้วต้องเสียค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองที่เรียก "ตราภูมิคุ้มห้าม" เป็นเงิน 2.35 บาทด้วย[1]:185–6 ต่อมา ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ลดลงเหลือปีละ 4 เดือนและ 3 เดือน สำหรับไพร่ที่ไม่อยากเข้าเวรสามารถจ่ายส่วยแทนแรงได้ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์คิดปีละ 12 บาท สำหรับอัตราในสมัยอยุธยาตอนปลายไม่เท่ากัน มีตั้งแต่เดือนละ 3–8 บาท[1]:176–7 ในรัชกาลที่ 1 คิดปีละ 18 บาท สมัยรัชกาลที่ 5 หลังเลิกไพร่แล้ว มีการเก็บ "ค่าราชการ" ชายอายุ 18–60 ปีที่ไม่ถูกเกณฑ์ทหารปีละ 6 บาท ในรัชกาลที่ 6 มีการเปลี่ยนให้เก็บครอบคลุมยิ่งขึ้น เรียกว่า "เงินรัชชูปการ"

ชนชั้นนักบวชแก้ไข

ความสัมพันธ์ทางชนชั้นแก้ไข

ไพร่ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมนั้นถูกจำกัดการใช้ประโยชน์ชองที่ดินอย่างยิ่ง แม้ว่าไพร่จะได้รับระบุศักดินาซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ที่สามารถถือครองที่ดินได้สูงสุดนั้น แต่ในความเป็นจริงต้องสังกัดอยู่กับขุนนางอยู่ดี ขุนนางเหล่านั้นสามารถสั่งให้ไพร่ลงแรงทำนาในที่นาของตนแล้วเรียกเก็บส่วย[1]:165 ในการทำนา ไพร่ต้องเสียอากรค่านาให้หลวง และถูกบังคับขายให้หลวงไร่ละ 2 ถังโดยได้เงินครึ่งเดียว[1]:202 ทั้งนี้อากรค่านาเป็นรายได้หลักของราชสำนักสมัยก่อน[1]:205 นอกจากนี้ มีการศึกษาพบว่าการทำกสิกรรมในพื้นที่น้อยกว่า 6 ไร่มีแต่ขาดทุน[1]:151 บางคนที่เช่าที่นาคนอื่นทำกินต้องเสียทั้งค่าเช่า และอากรค่านาให้หลวงแทนเจ้าของที่ดินด้วย จึงเป็นเหตุให้ไพร่ต้องกู้หนี้ยืมสินเป็นจำนวนมาก โดยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 37.5 ต่อเดือน (หรือร้อยละ 450 ต่อปี)[1]:166 เมื่อสิ้นเนื้อประดาตัว บ้างก็ขายลูกเมียหรือตนเองไปเป็นทาส บ้างไปเล่นพนันหรือหวยเพื่อหวังมีเงินทอง หญิงบางคนก็ขายตัวเองเป็นโสเภณี

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 จิตร ภูมิศักดิ์. (2550). โฉมหน้าศักดินาไทย, กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, พิมพ์ครั้งที่ 9, ISBN 9789748075242.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข