แปดกองธง (จีน: 八旗, พินอิน: baqí) เป็นกองกำลังทหารในยุคราชวงศ์ชิงในประวัติศาสตร์จีน เป็นการจัดการบริหารและวางกองกำลังต่อสู้ของราชวงศ์ชิง โดยผู้ที่สถาปนากองทัพนี้ คือ จักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (ค.ศ. 1559-ค.ศ. 1629) ปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ โดยมี สัญลักษณ์ เป็น ธง ที่มีสีสันต่าง ๆ แตกต่างออกไป และเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันเมืองหลวง คือ ปักกิ่ง

แปดกองธง
ประเทศ ราชวงศ์ชิง
ขึ้นต่อโฮ่วจิน
ราชวงศ์ชิง
รูปแบบกองทัพ
ปฏิบัติการสำคัญการรุกรานโชซ็อนของโฮ่วจิน
การพิชิตหมิงของชิง การรุกรานโชซ็อนของชิง
กบฏสามเจ้าศักดินา
สิบการทัพใหญ่
สงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง
สงครามฝิ่นครั้งที่สอง
กบฏเมืองแมนแดนสันติ
กบฏนักมวย
การปฏิวัติซินไฮ่

ซึ่งการจัดกำลังออกเป็น 8 ส่วนนี้ จะใช้ผู้คุมกำลังเป็นผู้ที่สัมพันธ์หรือเป็นญาติกันในตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว ซึ่งเป็นตระกูลของจักรพรรดิและพระญาติวงศ์ในราชวงศ์ชิง ซึ่งผู้ที่เคยเป็นผู้บังคับบัญชาแปดกองธงนี้บุคคลหนึ่ง ก็คือ อาปาไห่ หรือต่อมาก็คือ จักรพรรดิหวงไถจี๋ (ค.ศ. 1592-ค.ศ. 1643) ซึ่งเป็นราชบุตรลำดับที่ 8 และได้ครองราชย์ในเวลาต่อมา

โดยเริ่มจากหัวหน้าชนเผ่าแมนจูต่าง ๆ ที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื่อเคยปราบมา ก่อนจะรวบรวมชาวแมนจูเป็นหนึ่งเดียวโค่นราชวงศ์หมิงได้สำเร็จ มีการเก็บภาษีและการระดมพลก็ระดมผ่านกองธงต่าง ๆ ไล่มาจากหัวหน้าหน่วยบริหารระดับล่างขึ้นมาข้างบน ซึ่งกระบวนการนี้ช่วยลดความแตกต่างของชนเผ่าและตระกูลนอกด่านทั้งหลายไปได้มาก นั่นทำให้นายทหารผู้บังคับหมวด นายทหารผู้บังคับกอง นายทหารคุมกองพัน และระดับแม่ทัพ จะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บริหารและทหารไปพร้อม ๆ กัน แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันกับที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื้อตราขึ้นมา และยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวมองโกล รวมถึงชาวฮั่นที่อยู่ในแถบตะวันออกด้วย ซึ่งถือได้ว่าทั้ง 3 ชนเผ่ามีส่วนร่วมในการก่อตั้งกองทัพแปดกองธงขึ้นมา จนสามารถแบ่งได้ถึง 24 กองธง เฉลี่ยกองธงละ 7,500 คน แต่เดิมที นู๋เอ๋อร์ฮาชื่อ จัดตั้งกองธง 4 กองธงโดยให้โอรสของพระองค์แบ่งกันปกครองกองธง พร้อมพระราชทาน ป้ายหินปฐมผู้แทนจักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ซึ่งมี 4 ป้ายพระราชทานให้แก่โอรสทั้ง 4 ที่ปกครอง 4 กองธงแรก ป้ายหินผู้แทนพระองค์นี้มีความหมายในการเป็นผู้แทนของพระองค์เนื่องจากนู๋เอ๋อร์ฮาชื่อไม่สามารถดูแลกองธงได้ทั่วถึงอยู่ตลอดเวลาจึงให้โอรสของพระองค์ตัดสินพระทัยแทนได้ในเวลาคับขัน ซึ่งในปัจจุบันป้ายหินผู้แทนนู๋เอ๋อร์ฮาชื่ออยู่ในพิพิธภันฑ์ในวังต้องห้ามอยู่ 3 ป้ายและกำลังตามหาอีก 1 ป้ายแต่เดิมมี 2 ป้ายคือป้ายที่ 2 กับป้ายที่ 4 แต่ในปี 2005 เศรษฐีชาวฮ่องกงผู้ครอบครองป้ายที่ 3 นำมาประมูลซึ่งรัฐบาลจีนชนะในการประมูลไป 8,750 ล้านหยวน หรือประมาณ (35,000 ล้านบาท) ถือว่าเป็น 1 สิ่งของที่มีมูลค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ซึ่งป้ายหินที่ 1 ของผู้แทนนู๋เอ๋อร์ฮาชื่อรัฐบาลจีนกำลังตามหาอยู่ในปัจจุบันมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะป้ายหินที่ 1 ผู้ครอบครององค์แรกคือ อาปาไห่ หรือ จักรพรรดิหวงไถจี๋

กองธงทั้งแปด แก้

ไทย แมนจู มองโกเลีย จีน/พินยิน ตำแหน่ง ธง
ธงเหลืองขลิบ   kubuhe suwayan i gūsa Хөвөөт Шар Хошуу 鑲黃旗/xiāng huáng qí ปีกซ้ายบน
 
ธงเหลือง   gulu suwayan i gūsa Шулуун Шар Хошуу 正黃旗/zhèng huáng qí ปีกขวาบน
 
ธงขาว   gulu šanggiyan i gūsa Шулуун Цагаан Хошуу 正白旗/zhèng bái qí ปีกขวาบน
 
ธงแดง   gulu fulgiyan i gūsa Шулуун Улаан Хошуу 正紅旗/zhèng hóng qí ปีกขวาล่าง
 
ธงขาวขลิบ   kubuhe šanggiyan i gūsa Хөвөөт Цагаан Хошуу 鑲白旗/xiāng bái qí ปีกซ้ายล่าง
 
ธงแดงขลิบ   kubuhe fulgiyan i gūsa Хөвөөт Улаан Хошуу 鑲紅旗/xiāng hóng qí ปีกซ้ายล่าง
 
ธงคราม   gulu lamun i gūsa Шулуун Хөх Хошуу 正藍旗/zhèng lán qí ปีกขวาล่าง
 
ธงครามขลิบ   kubuhe lamun i gūsa Хөвөөт Хөх Хошуу 鑲藍旗/xiāng lán qí ปีกซ้ายล่าง
 

แสนยานุภาพ แก้

กองทัพแปดกองธงนี้ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักค้ำบัลลังก์ให้ราชวงศ์ชิงอย่างแท้จริง ได้รับการยกย่องจากชาติตะวันตกว่าเป็นระบบการจัดตั้งกองทัพที่เข้มแข็งที่สุดในเอเชียตะวันออก ผงานของกองทัพแปดกองธงนี้มีอย่างมากมาย เช่น สงครามจีน-พม่า (ค.ศ. 1765-ค.ศ. 1769), สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1894-ค.ศ. 1895) เป็นต้น และถูกอ้างอืงถึงในวรรณกรรมเรื่องต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะนิยายกำลังภายใน เช่น อุ้ยเสี่ยวป้อ เป็นต้น[1]

อ้างอิง แก้

  1. [ลิงก์เสีย] เชิงอรรถยุทธภพ (5) : กำเนิดคังซีจอมคนเจ้าชีวิตแห่งอุ้ยเสี่ยวป้อ จากผู้จัดการออนไลน์