เหตุการณ์จิ้งคัง

เหตุการณ์จิ้งคัง[1] เป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานและอาชญากรรมสงครามที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1127 ระหว่างสงครามจิน-ซ่ง เมื่อกองกำลังของราชวงศ์จินที่นำโดยชาวนฺหวี่เจิน เข้าปิดล้อมและปล้นพระราชวังหลวงในเปี้ยนจิง (ปัจจุบันคือเมืองไคเฟิง) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ กองกำลังจินจับจักรพรรดิซ่งเหนือองค์ปัจจุบันคือจักรพรรดิซ่งชินจง พร้อมด้วยพระราชบิดาอดีตจักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง และสมาชิกราชวงศ์หลายพระองค์ที่สืบสายพระโลหิตจากจักรพรรดิซ่งไท่จงและขุนนางจำนวนมากในราชสำนักซ่ง ชาวซ่งแห่งเปี้ยนจิงถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังหลังจากถูกบังคับให้จ่ายค่าไถ่จำนวนมหาศาลแก่จิน

เหตุการณ์จิ้งคัง
ส่วนหนึ่งของ สงครามระหว่าง ซ่ง และ จิน

แผนที่ไคเฟิง
วันที่กันยายน, 1125 ไปถึง มีนาคม, 1127
สถานที่
ผล จินรบชนะซ่ง
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
อาณาเขตทางเหนือของ แม่นำHuai ไปสู่จิน
คู่สงคราม
ราชวงศ์ซ่งเหนือ ราชวงศ์จิน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรพรรดิซ่งชินจง จักรพรรดิจินไท่จง
กำลัง
การโจมตีครั้งที่1: 200,000
การโจมตีครั้งที่2: 70,000
การโจมตีครั้งที่1: 100,000
การโจมตีครั้งที่2: 150,000
ความสูญเสีย
เชื้อพระวงศ์ซ่งเหนือถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย ราชวงศ์ซ่งเหนือล่มสลาย. ไม่ทราบข้อมูล

เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นการล่มสลายของราชวงศ์ซ่งเหนือซึ่งแต่เดิมควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจีน สมาชิกราชวงศ์ซ่งหลายพระองค์ โดยเฉพาะ เจ้าโก้ว (ต่อมาคือจักรพรรดิซ่งเกาจง) สามารถหนีลงไปทางตอนใต้ของจีน[2] ที่ซึ่งพวกเขาสถาปนาราชวงศ์ซ่งขึ้นใหม่ (รู้จักกันในประวัติศาสตร์ว่าราชวงศ์ซ่งใต้) ที่เมืองหลวงแห่งใหม่ หลินอัน (ปัจจุบันคือหางโจว) เหตุการณ์นี้ยังมีส่วนอย่างมากในการทำให้ทายาทของจักรพรรดิซ่งไท่จู่กลับสู่สายการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงแทนที่สายการสืบราชสันตติวงศ์ของจักรพรรดิซ่งไท่จง เนื่องจากลูกหลานของจักรพรรดิซ่งไท่จงส่วนใหญ่ถูกนำตัวไปที่จิน โดยจักรพรรดิเกาจง นับเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายในสายของจักรพรรดิไท่จง

อ้างอิง

แก้
  1. Coblin, W. South (2002). "Migration History and Dialect Development in the Lower Yangtze Watershed". Bulletin of the School of Oriental and African Studies. 64 (3): 533. doi:10.1017/s0041977x02000320.
  2. Chaffee, John W. (1999). Branches of Heaven: A History of the Imperial Clan of Sung China. Vol. 183 of Harvard East Asian monographs (illustrated ed.). Harvard Univ Asia Center. p. 120. ISBN 0674080491. ISSN 0073-0483.