จักรพรรดิว่านลี่

สมเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่ (4 กันยายน ค.ศ. 1563 - 18 สิงหาคม ค.ศ. 1620) ประสูติเมื่อวันที่4 กันยายน ค.ศ. 1563 (พ.ศ. 2106) โดยเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิหลงชิ่ง

จักรพรรดิว่านลี่
จักรพรรดิจีน
จักรพรรดิพระองค์ที่ 14 แห่ง ราชวงศ์หมิง
ครองราชย์19 กรกฎาคม ค.ศ. 1572 - 18 สิงหาคม ค.ศ. 1620 (48 ปี 30 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิหลงชิ่ง
ถัดไปจักรพรรดิไท่ชาง
ผู้สำเร็จราชการGao Gong (1572)
จางจวีเจิ้ง (1572 – 1582)
Gao Yi (1572)
ประสูติ4 กันยายน ค.ศ. 1563(1563-09-04)
Eastern Palace, Beijing, Ming Dynasty
สวรรคต18 สิงหาคม ค.ศ. 1620(1620-08-18) (56 ปี)
พระราชวังต้องห้าม, ปักกิ่ง, ราชวงศ์หมิง
ฝังพระศพDingling, Ming Dynasty Tombs, Beijing
จักรพรรดินีสมเด็จพระจักรพรรดินีเสี่ยวต้วน
สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี้ยวจิ้ง
พระมเหสีซวนอี้ไท่เฟย์
พระราชบุตรChangluo (朱常洛), Taichang Emperor
พระนามเต็ม
Family name: Zhū (朱)
Given name: Yijun (翊鈞)
รัชศก
Wanli (萬曆)2 February 1573 - 27 August 1620
พระสมัญญานาม
Emperor Fantian Hedao Zhesu Dunjian Guangwen Zhangwu Anren Zhixiao Xian
範天合道哲肅敦簡光文章武安仁止孝顯皇帝
พระอารามนาม
หมิงเฉินจง
明神宗
ราชวงศ์ราชวงศ์หมิง
พระราชบิดาจักรพรรดิหลงชิ่ง
พระราชมารดาพระมเหสีหลี่เซิงหวน

เหตุการณ์ในรัชสมัย

แก้
 
มงกุฎทองคำของจักรพรรดิว่านลี่

เมื่อพระราชบิดาสวรรคตลงในปี ค.ศ. 1572 (พ.ศ. 2115) องค์ชายจูอี้จุน ขณะนั้นพระชนม์เพียง 9 พรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิว่านลี่ อำนาจทั้งหมดจึงตกไปอยู่ที่ไทเฮาเสี่ยวติง ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระองค์ ซึ่งได้ให้มหาอำมาตย์จาง จวีเจิ้งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และเฝิงเป่าขึ้นเป็นมหาขันที โดยให้ทั้งสองถือเป็นพระอาจารย์ของจักรพรรดิว่านลี่

ขณะที่ยังทรงพระเยาว์ ว่านลี่เป็นเด็กเฉลียวฉลาดและเป็นที่เชื่อฟังพระเสาวนีย์ของพระพันปีหลวง และเป็นศิษย์ที่ดีของพระอาจารย์ ด้วยการชี้นำของจางจวีเจิ้ง ทำให้แผ่นดินมีความมั่นคง เงินในท้องพระคลังมีมากมาย แต่เมื่อว่านลี่ทรงเจริญพระชันษาขึ้น ทรงเริ่มเบื่อหน่ายในราชการแผ่นดิน ทำพระองค์เสเพลสรรหาแต่ความรื่นเริง ถึงขนาดที่เกือบจะถูกพระพันปีหลวงถอดจากราชบัลลังก์ แต่ได้จางจวีเจิ่งและเฝิงเป่าช่วยทูลพระพันปีหลวงจนคลายพิโรธ ตั้งแต่นั้นจักรพรรดิว่านลี่จึงเริ่มไม่พอใจแก่จางจวีเจิ้งและเฝิงเป่า เนื่องจากว่านลี่รู้สึกว่าทั้งสองมีอำนาจเหนือพระองค์ ขันทีจางจิงประจำพระองค์ จึงยั่วยุพระองค์ให้โค่นกลุ่มอำนาจของจางจวีเจิ้ง ในช่วงเวลาที่จางจวีเจิ้งป่วยหนัก ทรงรับสั่งให้หมอหลวงไปดูอาการ แต่ด้วยให้ยาผิดชนิด ทำให้ทรุดหนักลงจนอสัญกรรมในที่สุด ในปีที่ 10 ของรัชกาล

แม้ว่าจางจวีเจิ้งถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว แต่ยังมีมหาขันทีเฝิงเป่ากุมอำนาจฝ่ายในอยู่และมีอิทธิพลล้นฟ้า ด้วยการคงอยู่ของฝงเป่าทำให้ยังเป็นที่กังวลพระราชหฤทัย เมื่อสบโอกาส จึงให้จางจิงและมหาอำมาตย์คนใหม่ออกอุบายขอทหารตามหัวเมืองเข้ามาในปักกิ่ง เนื่องจากแม่ทัพในปักกิ่งรับคำสั่งจากพระพันปีหลวงและเฝิงเป่า ในตอนกลางคืน ทหารจากหัวเมืองเข้าล้อมจวนของมหาขันที มีพระราชโองการให้ปลดมหาขันทีเฝิงเป่า และให้ย้ายไปดูแลพระราชวังเก่าที่นานกิง ในการนี้ให้จางจิงขึ้นเป็นมหาขันทีแทนเฝิงเป่า เมื่อสิ้นเสี้ยนหนาม จึงได้รับสั่งให้ประหารคนในตระกูลจางจวีเจิ้งทั้งหมด ด้วยเหตุช่วงเวลาที่รุ่งเรืองในรัชสมัยของพระองค์จึงสิ้นสุดลง และเริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อมของราชวงศ์หมิงสู่การเสื่อมสลาย

ในรัชกาลของพระองค์ได้มีบาทหลวงคณะเยซูอิตเข้ามาที่ต้าหมิง เพื่อเผยแผ่ศาสนา ในรัชกาลของพระองค์ ตรงกับรัชกาลพระเจ้าซอนโจ กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์โชซอน ได้ส่งทูตเข้ามาขอกำลังทหารไปช่วยรบกับญี่ปุ่น

จักรพรรดิว่านลี่ สวรรคตลงในปี ค.ศ. 1620 (พ.ศ. 2163) หลังจากครองราชย์ยาวนานถึง 48 ปี พระชนม์ได้ 57 พรรษา องค์ชายจูฉางลั่ว พระราชโอรสองค์โตที่เป็นรัชทายาทจึงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิไท่ชาง

 
ซากพระศพของจักรพรรดิว่านลี่ในสุสานติงหลิง สภาพยับเยินในภายหลังจากพวกยุวชนแดงลากมาไว้ที่ด้านหน้าสุสาน และถูกกล่าวประณามในภายหลังมรณกรรมและเผาทำลาย[1]

พระศพของพระองค์ถูกฝังไว้ในสุสานติงหลิงภายในสุสานหลวงราชวงศ์หมิงในเขตชานเมืองของปักกิ่ง หลุมฝังพระศพของพระองค์เป็นหลุมฝังพระศพที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในบริเวณใกล้เคียง และเป็นหนึ่งในสองหลุมฝังพระศพที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม หลุมฝังพระศพถูกขุดขึ้นใน ค.ศ. 1956 และยังคงเป็นหลุมฝังพระศพจักรพรรดิเพียงแห่งเดียวที่ถูกขุดขึ้นมานับตั้งแต่การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949 ใน ค.ศ. 1966 ช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม พวกยุวชนแดงได้บุกรุกสุสานติงหลิง และลากซากพระศพของจักรพรรดิว่านลี่และจักรพรรดินีสองพระองค์ไปที่ด้านหน้าสุสาน ซึ่งได้ถูกกล่าวประณามในภายหลังมรณกรรมและเผาทำลาย ภาพถ่ายได้จับภาพไปที่พระศพของจักรพรรดิว่านลี่ภายหลังถูกเผาทำลายซึ่งคงเหลือไว้เพียงแต่โครงกระดูก ศิลปะวัตถุอื่น ๆ อีกนับพันชิ้นยังถูกทำลายไปด้วยเช่นกัน

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "China's reluctant Emperor", The New York Times, Sheila Melvin, Sept. 7, 2011.
ก่อนหน้า จักรพรรดิว่านลี่ ถัดไป
จักรพรรดิหลงชิ่ง   จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2115 - พ.ศ. 2163)
  จักรพรรดิไท่ชาง