พระอารามนาม (ประเทศจีน)
พระอารามนาม หรือ เมี่ยวเฮ่า (จีนตัวย่อ: 庙号; จีนตัวเต็ม: 廟號; พินอิน: Miàohào) หมายถึง พระปรมาภิไธยบนพระป้ายที่จารึกไว้เพื่อสักการะสรรเสริญถึงพระเกียรติคุณในสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าภายหลังเสด็จสู่สวรรคาลัย[1]
พระอารามนาม | |||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 廟號 | ||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 庙号 | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||||
จื๋อโกว๊กหงือ | miếu hiệu | ||||||||||||||||
จื๋อฮ้าน | 廟號 | ||||||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||||||
ฮันกึล | 묘호 | ||||||||||||||||
ฮันจา | 廟號 | ||||||||||||||||
|
ในประเทศจีน
แก้มีการจารึกพระอารามนามไว้บนพระป้ายทองคำประดิษฐาน ณ ไท่เมี่ยว หรือศาลบูรพกษัตริย์อันเป็นหอบรรพชนของราชวงศ์ เปรียบเสมือนกับปราสาทพระเทพบิดรในไทย
พระราชประเพณีนี้นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดมาแต่สมัยราชวงศ์ซางซึ่งให้ความสำคัญกับการสักการะบูชา
สมัยราชวงศ์โจวมีเพียงประเพณีถวายพระสมัญญานาม
สมัยราชวงศ์ฉินจักรพรรดิฉินสื่อ พระองค์รับสั่งยกเลิกพระราชประเพณี ด้วยเหตุว่า การตั้งสมัญญานามและอารามนาม เป็นเรื่องของ "บุตรวิจารณ์บิดา ข้าวิจารณ์เจ้า" อันสื่อถึงความไม่เคารพ[2]
ต่อมาสมัยราชวงศ์ฮั่นได้นำประเพณีตั้งสมัญญานามและอารามนามกลับมา แต่สำหรับพระอารามนามนั้นมีธรรมเนียมที่เคร่งครัด จึงทำให้ก่อนราชวงศ์สุยพระมหากษัตริย์ไม่ได้มีพระอารามนามทุกพระองค์ มีเพียงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณูปการแก่อาณาประชาราษฎร์ แก่ชาติบ้านเมือง จึงจะมีพระอารามนามได้
ต่อมาสมัยราชวงศ์ถังได้กลายเป็นธรรมเนียมนิยม ก่อเกิดอักษรสำหรับถวายพระอารามนามมากมาย ทำให้จักรพรรดิแทบทุกพระองค์มีพระอารามนาม เว้นแต่จะมีเหตุทำให้ถวายพระอารามนามไม่ได้
ประเพณีถวายพระอารามนามสืบทอดต่อมาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังเป็นต้นมา เป็นเหตุให้นักประวัติศาสตร์นิยมใช้ พระอารามนาม เมื่อกล่าวอ้างถึงจักรพรรดิในราชวงศ์นี้จวบจนถึงจักรพรรดิในราชวงศ์หมิง[3]
ในต่างประเทศ
แก้เนื่องจากอิทธิพลทางแวดวงวัฒนธรรม ทำให้ราชวงศ์ของประเทศโดยรอบ เช่น ราชวงศ์โครยอ ราชวงศ์โชซ็อน ราชวงศ์เหงียน ได้รับประเพณีการตั้งสมัญญานามและอารามนามไปด้วย ส่วนในประเทศญี่ปุ่นพบเพียงการตั้งสมัญญานามเท่านั้น[4]
- พระมหากษัตริย์ที่มีพระอารามนามในประเทศอื่น มีดังนี้
- ราชวงศ์โชซ็อนแห่งเกาหลี เช่น พระเจ้าเซจงมหาราช คือ เซจง (세종) หรือ ซื่อจง (世祖) เป็นต้น
- ราชวงศ์เหงียนแห่งเวียดนาม เช่น จักรพรรดิซา ล็อง คือ เท้โต๋ (Thế Tổ ) หรือ ซื่อจู่ (世祖) เป็นต้น
ข้อแตกต่างพระอารามนามกับสมัญญานาม
แก้แม้ว่า พระอารามนาม จะมีส่วนคล้าย พระสมัญญานาม ตรงที่เป็นพระนามถวายแด่พระมหากษัตริย์ที่เสด็จสรรคตไปแล้ว แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่ตรงที่ พระอารามนาม มีความหมายไปในทางยกย่องเชิดชูเป็นหลัก และถวายแด่พระมหากษัตริย์เท่านั้น มีกฎเกณฑ์ในการถวายที่รัดกุม อันประกอบด้วยอักษรเพียง 2 ตัวเท่านั้น อักษรแรกเป็นคำคุณศัพท์ที่สะท้อนพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ ซึ่งโดยมากคำคุณศัพท์นี้จะไม่ซ้ำกับคำที่ใช้ใน พระสมัญญานาม และหากพระมหากษัตริย์เป็นต้นวงศ์มักจะใช้คำว่า “เกา” (高) แปลว่า สูง หรือ “ไท่” (太) แปลว่า ยิ่งใหญ่ ส่วนคำที่ 2 นั้นจะใช้คำว่า “จู่” (祖) หรือ “จง” (宗) คำใดคำหนึ่งเท่านั้น ซึ่งทั้งคู่มีความหมายว่า บรรพชน และหากสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์นั้นเป็นต้นวงศ์-ไม่ว่าจะเป็นต้นสกุล ผู้สถาปนาราชวงศ์ใหม่ หรือต้นสายใหม่ในราชวงศ์เดิม-จะใช้คำว่า “จู่” และหากเป็นจักรพรรดิในลำดับถัดมาจะใช้คำว่า “จง”[5]
หลักพระอารามนาม
แก้- “จู่” (祖) สำหรับสมเด็จพระปฐมบรมนาถ ผู้สถาปนาราชวงศ์ และพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ ตลอดจนพระมหากษัตริย์ผู้สร้างคุณูปการ เช่น แผ่ขยายอำนาจ หรืออาณาเขตขอบขัณฑสีมาให้กว้างไกลไพศาล
- “จง” (宗) สำหรับพระมหากษัตริย์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ผู้ทรงคุณธรรม และพระประมุขแห่งพระราชวงศ์ ตลอดจนพระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้ครองราชย์ แต่ได้รับการเฉลิมพระเกียรติยศภายหลังสวรรคต
พระอารามนามตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีน
แก้- ไท่จู่ (จีน: 太祖; พินอิน: Tài zǔ) หมายถึง ปฐมบรมบรรพชน
- สำหรับผู้เป็นพระปฐมวงศ์ พระผู้สร้างคุณูปการสถาปนาพระราชวงศ์ให้ยิ่งใหญ่ เช่น ซางไท่จู่ ฮั่นไท่จู่ ซ่งไท่จู่ หมิงไท่จู่ เป็นต้น
- เล่ยจู่ (จีน: 烈祖; พินอิน: Liè zǔ) หมายถึง ปฐมวีรบรรพชน
- สำหรับสรรเสริญบรรพชนผู้หาญกล้า มากด้วยคุณูปการ นำพาความรุ่งเรื่องมาสู่วงศ์ตระกูล เช่น หลิวเป้ย์ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์จี้ฮั่น
- เกาจู่ (จีน: 高祖; พินอิน: Gāozǔ) หมายถึง ปฐมมหาบรรพชน
- สำหรับผู้เป็นพระปฐมวงศ์ ผู้สานต่อความยิ่งใหญ่แด่วงศ์ตระกูลโดยมีรากฐานความมั่นคั่งของวงศ์ตระกูลค้ำจุนอยู่แต่เดิม เช่น ซางเกาจู่ ถังเกาจู่ จิ้นเกาจู่ สุยเกาจู่
ในช่วงสมัยห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร เป็นช่วงที่ พระอารามนามเกาจู่ มีความเฟื่องฟูใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น หลิวเก่า จักรพรรดิเกาจู่แห่งฮั่นยุคหลัง เป็นต้น
- เซิ่งจู่ (จีน: 圣祖; พินอิน: Shèng zǔ) หมายถึง ปฐมวรบรรพชน
- พระมหากษัตริย์ที่ทรงได้รับทูลเกล้าฯถวาย เช่น ชิงเซิ่งจู่
อ้างอิง
แก้- ↑ 庙号,是中国、朝鲜、越南古代帝王去世后,后人在太庙之中奉祀时追尊的名号。
- ↑ 秦始皇建立中国第一个中央集权的王朝—秦朝之后,认为为先君尊上庙号、谥号是“子议其父、臣议其君”的不敬行为,因此不但未使用庙号,连同谥号制度一并废止。
- ↑ 宗廟制度可散見於歷代史書或禮書,如《漢書·韋玄成傳》、《新唐書·儒學傳下》、《禮記·祭法第二十三》、《西漢會要·卷十三廟議》、唐杜佑《通典·禮典四十七》等
- ↑ 在东亚汉字文化圈除了中国以外,王氏高丽前中期、李氏朝鲜,以及越南的李朝、陈朝、后黎朝、莫朝、阮朝虽然他们的君主对中国自称国王(越南对内称皇帝),但死后也有庙号。此外,日本仅有谥号而无庙号制度。
- ↑ "衛莊公禱". 中國哲學書電子化計劃. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-15. สืบค้นเมื่อ 2019-03-17.
- ↑ 《日知录》卷二○帝王名号:《颂》曰武汤、曰成汤、曰汤孙也。曰文祖,曰艺祖,曰神宗,曰皇祖,曰烈祖,曰高祖,曰高后,曰中宗,曰高宗,而庙号起矣。
- ↑ 唐朝亦称开国皇帝为“艺祖”,比如唐玄宗幸北京太原,作《起义堂颂》,曰“实惟艺祖储福之所致”,这里的“艺祖”是指唐高祖。金世宗《封混同江神册》亦曰“仰艺祖之开基”,这里的“艺祖”是指金太祖。
- ↑ 《日知录》卷二十四○艺祖:《书》:“归格于艺祖。”长。注以艺祖为文祖,不详其义。人知宋人称太祖为艺祖,不知前代亦皆称其太祖为艺祖。唐玄宗开元十一年,幸并州,作《起义堂颂》曰:东西南北,无思不服;山川鬼神,亦莫不宁,实惟艺祖储福之所致。十三年,封泰山。其序曰:惟我艺祖文考精爽在天。此谓唐高祖。张说作《享太庙乐章》曰:肃肃艺祖,滔滔浚源。有雄武剑,作镇金门。玄王贻绪,後稷谋孙。此谓高祖之高祖讳熙,追尊宣皇帝者也。後汉高祖乾祐元年,改元制祠:昔我艺祖神宗开基抚运,以武功平祸乱,以文德致升平。此谓前汉高祖。金世宗大定二十五年,《封混同江神册文》曰:仰艺祖之开基,佳江神之效灵。此谓金太祖。然则是历代大祖之通称也。