การพิชิตหมิงของชิง

การพิชิตหมิงของชิง หรือ การเปลี่ยนผ่านจากหมิงสู่ชิง เป็นที่รู้จักกันในการพิชิตประเทศจีนของชาวแมนจู เป็นยุคสมัยของการสู้รบระหว่างราชวงศ์ชิงที่ก่อตั้งโดยแมนจู ตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัวในดินแดนแมนจูเรีย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนในปัจจุบัน)และราชวงศ์หมิงของชาวฮั่นที่อยู่ทางตอนใต้ ในปี ค.ศ. 1618 นู่เอ๋อร์ฮาชื่อผู้นำเผ่าแมนจูอ้ายซินเจว๋หลัว ได้ประกาศความแค้นเจ็ดประการซึ่งได้ระบุความไม่พอใจต่อราชสำนักหมิงและประกาศตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นกับราชวงศ์หมิง หนึ่งในความแค้นทั้งเจ็ดข้อเกี่ยวข้องกับการสู้รบกับเผ่าเย่อเหอ, ซึ่งเป็นเผ่าที่มีความคิดแตกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่สนับสนุนเผ่าแมนจูและฝ่ายที่นิยมราชวงศ์หมิง ซึ่งราชสำนักหมิงเสี้ยมให้ทั้งสองเผ่าสู้กันเองเพื่อที่จะได้ปกครองโดยง่าย นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ต้องการให้ราชสำนักหมิงส่งเครื่องบรรณาการเป็นการขอขมาต่อเขาและยอมรับเขาในฐานะจักรพรรดิแมนจูเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงสงคราม แต่อย่างไรก็ตามราชวงศ์หมิงกลับเพิกเฉยและไม่ยินยอมส่งเครื่องขอขมาไปยังชนเผ่าแมนจูเพื่อเป็นการขอโทษเพราะทางราชสำนักถือว่าเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรตืของฮ่องเต้หมิงและราชวงศ์หมิงที่ถือว่าแมนจูเป็นอดีตประเทศราชของตนมาก่อน หลังจากนั้นไม่นานนู่เอ๋อร์ฮาชื่อได้เริ่มการก่อกบฎทำสงครามกับหมิงที่เหลียวหนิงทางตอนใต้ของแมนจูเรีย ในเวลาเดียวกันราชวงศ์หมิงก็กำลังต่อสู้ดิ้นรนเพือการอยู่รอดของตน เนื่องจากประสบปัญหาภายใน ความวุ่นวายทางการเงินและปัญหาการลุกฮือของกบฎชาวนาและทั้งภายในราชสำนักเอง

การพิชิตหมิงของชิง

ภาพวาดด่านซันไฮ่
วันที่ค.ศ. 1618–1683
สถานที่
ผล

ราชวงศ์ชิงได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด

คู่สงคราม
ราชวงศ์ชิง
ราชวงศ์โชซอน (หลังปี 1636)

ราชวงศ์หมิง สนับสนุนโดย:
ราชวงศ์โชซอน
ราชวงศ์หยวนเหนือ (1618–1635)
Yarkent Khanate (1646–1650)
Kumul Khanate


Turfan Khanate

ราชวงศ์ชุน


กองทัพกบฎของจาง เสี้ยนจง'
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
หฺวัง ไถจี๋
ตัวตั๋ว
ตัวเอ่อร์กุ่น
จักรพรรดิซุ่นจื้อ
จีเอ่อร์ฮาหล่าง

Li Yongfang (defected in 1618)
Geng Zhongming (defected in 1633)
Kong Youde (defected in 1633)
Shang Kexi (defected)
Zu Dashou (defected in 1642)
อู๋ซานกุ้ย (defected in 1644)
Shi Lang (defected)
Zheng Zhilong (defected)
Meng Qiaofang (defected)

จักรพรรดิฉงเจิน
หยวน ชงหวน
Zhu Shichuan, Prince of Yanchang 
Milayin (米喇印) 
Ding Guodong (丁國棟)  
สื่อ เขอฝ่า
Koxinga
Li Dingguo
Ou Guangchen
Zhu Youlang, Prince of Gui
Zhu Yuyue, Prince of Tang
Zhu Yujian, Prince of Tang
Zhu Yousong, Prince of Fu
Zhu Yihai, Prince of Lu
Zhu Shugui, Prince of Ningjing สนับสนุนโดย:
พระเจ้าอินโจ
Ligdan Khan


Sa'id Baba
Turumtay 
Sultan Khan

หลี่ จื้อเฉิง
Ma Shouying


Zhang Xianzhong
กำลัง
มหาศาล
: แมนจู, มองโกล, ชาวฮั่นที่แปรพักต์ กองทัพแปดกองธง
ชาวฮั่น กองธงเขียว Han Chinese Bannermen made up 75% of the Eight Banners while Manchus at only 16%.
มหาศาล

Shun dynasty army varies between 60,000 and 100,000 men


Zhang Xianzhong's army - 100,000 men
ความสูญเสีย
มหาศาล มหาศาล
แผนที่แสดงการรุกรานแผ่นดินหมิงของราชวงศ์ชิง

ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1644 กรุงปักกิ่งได้ถูกกลุ่มกบฎชาวนานำโดยหลี่ จื้อเฉิงได้บุกยึดสำเร็จ ผู้ซึ่งต่อมาได้ประกาศสถาปนาตั้งราชวงศ์ชุน ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้แทน ส่วนฮ่องเต้หมิงองค์สุดท้าย จักรพรรดิฉงเจินได้ปลิดชีพพระองค์เองโดยผูกพระศอใต้ต้นไม้ในพระราชอุทยานหลังพระราชวังต้องห้าม

เมื่อหลี่ จื้อเฉิงเริ่มบุกเข้ามาใกล้ภูเขาแม่ทัพเอกของหมิง อู๋ ซานกุ้ย ผู้ทรยศได้แอบเจรจาเป็นไส้ศึกให้แมนจูลับ ๆ เปิดประตูด่านซันไฮ่กวานและรวมกำลังสมทบกับแม่ทัพแมนจูนำโดยองค์ชายตัวเอ่อร์กุ่น เข้าตีกองมัพของหลี่ จื้อเฉิง แตกพ่ายไปในการรบที่ด่านซันไฮ่ จนในวันที่ 6 มิถุนายน ปีเดียวกัน พวกแมนจูและอู๋ซานกุ้ยได้เข้ากรุงปักกิ่งสำเร็จ ตัวเอ่อร์กุ่นประกาศแต่งตั้งอ้ายซินเจว๋หลัวซุ่นจื้อเป็นจักรพรรดิแห่งประเทศจีนและก่อตั้งราชวงศ์แบบจีนขึ้น

การพิชิตประเทศจีนของแมนจูยังไกลจากความสำเร็จและมันต้องอาศัยระยะเวลาอีก 40 กว่าปีก่อนที่ดินแดนของประเทศจีนทั้งหมดจะถูกรวมอยู่ภายใต้ราชวงศ์ชิงอย่างสมบูรณ์ จักรพรรดิคังซีขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1661 ทรงได้ประกาศนโยบายการกวาดล้างครั้งใหญ่ที่จะปราบการต่อต้านของชาวฮั่นที่ยังคงจงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิงและต่อต้านแมนจูในภาคใต้ของจีน ต่อมาคังซีต้องปราบปรามกบฎหลายต่อหลายครั้ง ได้แก่ กบฏสามเจ้าศักดินานำโดยอู๋ซานกุ้ยผู้ซึ่งเคยร่วมมือกับแมนจู เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1673 และหลังจากนั้นยังต้องเผชิญหน้ากับการรบหลายครั้งเพื่อขยายอาณาจักรชิงให้กว้างขวางออกไป ในปี ค.ศ. 1662 เจิ้ง เฉิงกง หรือ (โคซินกา) แม่ทัพฮั่นผู้รักชาติและจงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิงได้ขับไล่ชาวฮอลันดาจากไต้หวันและตั้งอาณาจักรตุงหนิงขึ้นที่นั่น เพื่อเป็นฐานที่มั่นต่อต้านราชวงศ์ชิง เจิ้ง เฉิงกง ได้ประกาศเจตนารมย์ ต้านชิง กู้หมิง ("ฟ้านชิงฟู่หมิง" (อักษรจีนตัวย่อ: 反清复明; อักษรจีนตัวเต็ม: 反清復明) มีเป้าหมายขับไล่ชาวแมนจูอกไปจากประเทศจีนและรวมประเทศจีนอีกครั้ง อย่างไรก็ตามตุงหนิงได้ล่มสลายในปี ค.ศ. 1683 หลังจากจักรพรรดิคังซีส่งกองทัพเรือบุกในยุทธการเผิงหู นำโดย ชื่อ หลาง ชาวฮั่นที่รับใช้เป็นแม่ทัพให้ชิง

หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์หมิงซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย นักวิชาการตะวันตกโต้แย้งว่าหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ราชวงศ์หมิงล่มสลายมาจากความขัดแย้งกันเองของเชื้อพระวงศ์หมิงกับแม่ทัพหมิง[1] ปัจจัยอื่น ๆ มาจากปัญหาภายใน ด้านการบริหาร, ภาวะการเงินขัดสน, ภัยแล้งจากธรรมชาติ, นำไปสู่การต่อต้านและการก่อจลาจลของกลุ่มกบฎชาวนาในกรุงปักกิ่งในปี ค.ศ. 1664 ประกอบกับจักรพรรดิหมิงหลายพระองค์อ่อนแอ บริหารบ้านเมืองแบบไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ[2]

อ้างอิง แก้

  1. Kenneth M. Swope, The Military Collapse of China's Ming Dynasty, 1618-44 (Routledge: 2014)
  2. Lillian M. Li, Alison Dray-Novey and Haili Kong, Beijing: From Imperial Capital to Olympic City (MacMillan, 2008) pg. 35