อู๋ ซานกุ้ย

(เปลี่ยนทางจาก อู๋ซานกุ้ย)

อู๋ซานกุ้ย (อังกฤษ: Wu Sangui, จีนตัวเต็ม: 吳三桂, พินอิน: Wú Sānguì) แม่ทัพในปลายราชวงศ์หมิง ผู้เปิดประตูเมืองให้แมนจูบุกเข้าปักกิ่งในสมัยหลี่ จื้อเฉิง เป็นเหตุให้ชาวแมนจูได้รับชัยชนะและตั้งราชวงศ์ชิง

อู๋ ซานกุ้ย
จักรพรรดิราชวงศ์ต้าโจง
ครองราชย์มีนาคม 1678 – สิงหาคม 1678
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปWu Shifan
เจ้าฟ้าโจว (周王)
ครองราชย์1674–1678
เจ้าฟ้าปราบประจิม (平西王)
ครองราชย์1644–1678
ประสูติ1612
Gaoyou, South Zhili, ราชวงศ์หมิง, จีน
สวรรคต2 ตุลาคม 1678 (65–66 ปี)
Hengyang, มณฑลหูหนาน, ราชวงศ์ชิง, จีน
คู่อภิเษกจักรพรรดินีชาง
Chen Yuanyuan
พระราชบุตรWu Yingxiong
พระนามเต็ม
อู๋ ซานกุ้ย
(吳三桂)
พระสมัญญานาม
開天達道同仁極運通文神武高皇帝 (Kaitian Dadao Tongren Jiyun Tongwen Shenwu Gao Huangdi)
Roughly meaning: Master of Heaven and Dao, Humane, Extremely Fortunate, Acquainted with the Classics, Divine General, High Emperor
วัดประจำรัชกาล
ไทซู
太祖
ราชวงศ์ต้าโจว
พระราชบิดาWu Xiang
พระราชมารดาLady Zu

ประวัติ

แก้

อู๋ซานกุ้ย เกิดที่มณฑลเจียงซู ในปี ค.ศ. 1612 เป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของอู๋เซียง ขุนนางใหญ่ในราชวงศ์หมิง อู๋ซานกุ้ยได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพใหญ่รักษาด่านซันไห่กวน (山海關) อันเป็นด่านหนึ่งของกำแพงเมืองจีนซึงเป็นด่านสำคัญที่ป้องกันการรุกรานจากศัตรูทางทิศเหนือของปักกิ่ง

เปิดด่านโค่นหลี่ จื้อเฉิง

แก้

ภายหลังที่หลี่ จื้อเฉิงก่อการปฏิวัติ ฮ่องเต้ฉงเจิน ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงได้ผูกพระศอสวรรคตไปแล้ว หลี่ จื้อเฉิงเกรงว่ากองทัพของอู๋ซานกุ้ย ที่อยู่ที่ชายแดนอาจยกทัพเรือนแสนมาประชิดปักกิ่งก็เป็นได้ จึงได้จับตัวครอบครัวของอู๋ซานกุ้ยไว้เป็นตัวประกัน แต่ได้มีผู้เตือนให้ปฏิบัติต่อครอบครัวของอู๋ซานกุ้ยให้ดี หลี่ จื้อเฉิงจึงได้เกลี้ยกล่อมให้อู๋เซียง เขียนจดหมายไปถึงบุตรชายของตนเองให้ยอมสวามิภักดิ์ อู๋ซานกุ้ยจึงเดินทางมายังปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมด้วยกับหลี่ จื้อเฉิง แต่เมื่อมาถึงเมืองหลานโจวแล้วอู๋ซานกุ้ยพบว่า เฉินหยวนหยวน (陳圓圓) อนุภรรยาคนสุดท้ายของตนถูกจับเป็นตัวประกันด้วย จึงโกรธแค้นและเปลี่ยนใจไปเข้าร่วมกับฝ่ายแมนจู นัดแนะเปิดด่านซันไห่กวนให้แมนจูบุกเข้าไปยังกรุงปักกิ่ง ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1644 และบุกเข้าพระราชวังต้องห้ามได้ ทัพของหลี่ จื้อเฉิงต้องล่าถอยและได้ต่อสู้กับทัพของอู๋ซานกุ้ย ในที่สุดหลี่ จื้อเฉิงก็แพ้และถูกสังหารในที่สุด

รับใช้ราชวงศ์ชิง

แก้

ความดีความชอบของอู๋ซานกุ้ย ทำให้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผิงซีอ๋อง (เจ้าฟ้าปราบประจิม) ปกครองมณฑลยูนนาน ชายแดนทางตอนใต้ ในรัชสมัยฮ่องเต้ซุ่นจื้อ และก่อนหน้านั้นหวงไท่จี๋ได้ยกธิดาองค์ที่ 14 ให้สมรสกับบุตรชายของอู๋ซานกุ้ยด้วยเพื่อเป็นการตอบแทน ต่อมาในรัชสมัยฮ่องเต้คังซี พระองค์ต้องการขจัดอำนาจของเจ้าศักดินาต่าง ๆ ที่ปกครองหัวเมืองเพราะเกรงอิทธิพลของพวกนี้จะกระทบต่อพระราชอำนาจในการปกครองของพระองค์ จึงออกนโยบายเพื่อริดรอนการสืบทอดอำนาจของเจ้าศักดินาเหล่านี้ อู๋ซานกุ้ยจึงพยายามรวบรวมกำลังก่อการกบฏ โดยยื่นข้อเสนอให้ฮ่องเต้คังซีนำชาวแมนจูทั้งหมด อพยพกลับไปตั้งอาณาจักรของตนที่แมนจูเรีย และเรียกเอาเงินถึง 9 ล้านตำลึงแล้วจะไม่เอาผิด ในปี ค.ศ. 1673 อู๋ซานกุ้ยได้เคลื่อนทัพจากมณฑลยูนาน เปลี่ยนมาใส่ชุดออกรบของราชวงศ์หมิง อ้างว่าต้องการที่จะแก้แค้นแทนราชวงศ์หมิงที่ล่มสลายไป ทว่าประชาชนยังจำได้ดีว่าอู๋ซานกุ้ยเป็นคนเปิดด่านซันไห่กวน เชิญทหารแมนจูเข้ามา การกล่าวอ้างเช่นนี้จึงไม่มีใครยอมเชื่อ และไม่มีใครให้ความร่วมมือในตอนแรก

แต่การเคลื่อนทัพเป็นไปอย่างราบรื่น ทัพกบฏเอาชนะไปตลอด บุกตีไปจนถึงหูหนัน จากนั้นส่งคนไปติดต่อให้ซั่งจือซิ่นกับเกิ่งจิงจง 2 อดีตขุนนางราชวงศ์หมิงที่ทรยศต่อแผ่นดินและได้รับบรรดาศักดิ์เช่นเดียวกับอู๋ซานกุ้ยเข้าร่วมกองทัพกบฏกับอู๋ซานกุ้ยด้วย

การก่อกบฏของทั้งสาม ได้สามารถยึดครองพื้นที่ทางใต้ทั้งหมดของจีนเอาไว้ได้ ทว่าฮ่องเต้คังซีเองก็ยังไม่แพ้ ยังทำการคัดเลือกแม่ทัพนายกอง ระดมกำลังทหารเข้าต่อกร และยกเลิกการปลดบรรดาศักดิ์ของซั่งจือซิ่น และเกิ้งจิงจงไว้ก่อน จนกระทั่งผลการศึกผลัดเปลี่ยนเป็นฝ่ายอู๋ซานกุ้ยเริ่มเพลี่ยงพล้ำ ในที่สุดทั้งสองก็ยอมแพ้ต่อราชสำนักชิง

แม้ช่วงแรกอู๋ซานกุ้ยจะทำศึกประสบชัยมาโดยตลอด ทว่าทหารชิงกลับมีมากและเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่กำลังของอู๋ซานกุ้ยค่อย ๆ อ่อนโทรมลง อู๋ซานกุ้ยเริ่มรู้ว่าไม่สามารถต้านทานได้อีกและในที่สุดก็ป่วยหนักเสียชีวิตไปในปี 1681 กองทัพชิงได้แบ่งทัพออกเป็น 3 สายบุกเข้าตีเมืองคุนหมิง อู๋ซื่อฝาน (吳世璠) หลานของอู๋ซานกุ้ยต้องฆ่าตัวตาย กองทัพชิงจึงสามารถพิชิตผนวกดินแดนทางภาคใต้กลับคืนมาได้

จากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ทำให้เรื่องราวของอู๋ซานกุ้ยยังคงถูกเล่าขานมาจนปัจจุบัน ซึ่งจากพฤติกรรมดังกล่าวทำให้อู๋ซานกุ้ยได้รับการประณามว่า เป็น "คนขายชาติ" ต่างจากหลี่ จื้อเฉิงที่ถูกยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษ[1][2][3][4]

อ้างอิง

แก้
  1. Jonathan Spence, Emperor of China, NY: Alfred A. Knopf, p. xvii
  2. Spence, Emperor of China, p. 31
  3. Spence, Emperor of China, p. 37
  4. 吴三桂