จักรพรรดิถังไท่จง

(เปลี่ยนทางจาก หลี่ซื่อหมิน)

สมเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จง (อังกฤษ: Emperor Taizong of Tang; จีน: 唐太宗; พินอิน: Táng Tàizōng; เวด-ไจลส์: T'ai-Tsung; 1170-1186) พระนามเดิม หลี่ซื่อหมิน จักรพรรดิรัชกาลที่สองแห่งราชวงศ์ถังของประเทศจีน (ราว 1,600 ปี) ได้ยึดถือหลักคำสอนของขงจื๊อในการปกครองประเทศ และทำให้ประเทศจีนในยุคที่พระองค์ปกครองรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกในยุคสมัยของพระองค์ราชวงศ์ถังนั้นยิ่งใหญ่มากมายนั้นเลยก็ว่าได้

จักรพรรดิถังไท่จง
พระบรมฉายาลักษณ์ ของ จักรพรรดิถังไท่จง
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถังของจีน
ครองราชย์4 กันยายน ค.ศ. 626 – 10 กรกฎาคม ค.ศ. 649
(22 ปี 309 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิถังเกาจู่
ถัดไปจักรพรรดิถังเกาจง
พระราชสมภพ23 มกราคม พ.ศ. 1142[1]
สวรรคต10 กรกฎาคม พ.ศ. 1192 (50 พรรษา)[2]
คู่อภิเษกจักรพรรดินีจ่างซุน
ราชวงศ์ถัง
พระราชบิดาจักรพรรดิถังเกาจู่
พระราชมารดาจักรพรรดินีไท่มู่

แม้ว่าพระองค์มีพระราชอำนาจสูงสุด สามารถตัดสินพระทัยสั่งการใด ๆ ก็ได้ พระองค์ก็มิได้ปฏิบัติเช่นนั้น พระองค์จะไต่ถามความเห็นของเหล่าเสนาบดี และที่ปรึกษาของพระองค์ก่อนที่จะตัดสินพระทัยเสมอ โดยเฉพาะที่ปรึกษาท่านหนึ่งนามเว่ยเจิง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาของพี่ชายพระองค์ที่เป็นรัชทายาท และได้แนะนำให้พี่ชายของพระองค์ วางแผนสังหารพระองค์ เนื่องจากที่ปรึกษาท่านนี้มองเห็นว่า พระองค์จะเป็นภัยก่อการกบฏยึดราชบัลลังก์ของพี่ชาย เนื่องจากถังไท่จงเหนือชั้นกว่า จึงวางแผนซ้อนแผน แทนที่พระองค์จะถูกสังหาร พี่ชายของพระองค์กลับถูกปลิดพระชนม์ชีพแทน แต่ถังไท่จงรับสั่งมิให้ทหารของพระองค์ทำร้ายที่ปรึกษาผู้นั้น นอกจากไม่ทำร้ายแล้ว พระองค์ยังแต่งตั้งเขาขึ้นเป็นประธานที่ปรึกษา เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาอีก ด้วยเหตุผลก็คือ พระองค์ท่านจะได้มีที่ปรึกษาอย่างน้อยหนึ่งท่านที่คิดแตกต่าง หรือไม่เหมือนกับที่พระองค์คิด กล้าคัดค้านพระองค์อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่เกรงกลัว หรือหวาดหวั่นต่อพระราชอำนาจ

จักรพรรดิถังไท่จงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นมหาจักรพรรดิของจีนเพราะพระองค์แตกต่างจากจักรพรรดิทั้งปวง กล่าวคือ ไม่ว่าเชื้อพระวงศ์ก็ดี หรือเสนาบดีก็ดี หรือที่ปรึกษาก็ดีไปแอบนินทา ให้ร้ายพระองค์ลับหลัง พระองค์ก็จะทรงลงพระอาญา เพราะถือว่า พระองค์ให้โอกาสวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย และถูกต้องแล้วบุคคลเหล่านี้กลับไม่ทำ หรือไม่ใช้โอกาสดังกล่าว กลับมาแอบทำลับหลังพระองค์ จึงต้องถูกลงโทษให้เป็นเยี่ยงอย่าง ส่วนผู้ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ หรือคัดค้านพระองค์ต่อหน้าพระพักตร์อย่างชนิดตรงไปตรงมา อย่างเช่น อดีตที่ปรึกษาของพระเชษฐาขององค์จักรพรรดิถังไท่จงก็ทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้เพื่อให้บรรดาเหล่าขุนนาง หรือข้าราชบริพารมีความกล้าที่จะใช้โอกาสดังกล่าวคัดค้านพระองค์ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่ไปแอบทำข้างหลัง

นอกจากนั้นพระองค์ก็ปลอมเป็นสามัญชนไปกับประธานที่ปรึกษาออกตระเวนเยี่ยมประชาชนของพระองค์ และตรวจงานการปฏิบัติราชการของ เหล่าข้าราชบริพารเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ทรงทราบว่า บรรดารายงานของข้าราชการที่ส่งไปให้พระองค์อ่านที่เมืองหลวงนั้นมีความถูกต้อง สอดคล้องกับความเป็นจริงมากเพียงใด ไม่ใช่อยู่แต่ในวังหลวงพึ่งพารายงานจากข้าราชการอย่างเดียว บางครั้ง หากพระองค์ประชวร พระองค์ก็จะส่งประธานที่ปรึกษาของพระองค์ออกทำงานแทนพระองค์ จักรพรรดิถังไท่จงถือว่าประชาชนมีความสำคัญกว่าพระองค์ และพระราชวงศ์ เวลาพระองค์จะตัดสินพระทัยทำอะไร ก็มักจะมองไปที่ผลประโยชน์ของประชาชนก่อนเสมอ

ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์มีพระนามว่า "หลี่ ซื่อหมิน" ประสูติเมื่อ ค.ศ. 599 (พ.ศ. 1142) โดยเป็นพระราชโอรสองค์รองของจักรพรรดิถังเกาจู่ฮ่องเต้ (หลี่หยวน) ต่อมาช่วงค.ศ. 620-627 โอรสทั้ง 3 เกิดแย่งชิงอำนาจกันแต่ก็เป็น โอรสองค์รององค์ชายหลี่ซื่อหมินที่ได้ชัยชนะและบังคับให้พระราชบิดาตั้งพระองค์เป็นไท่จื้อ (รัชทายาท) ต่อมาในปีค.ศ. 627 (พ.ศ. 1170) จักรพรรดิถังเกาจู่ประกาศสละราชสมบัติและรัชทายาทหลี่ซื่อหมินชันษา 28 พรรษาขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิถังไท่จง ทรงพระปรีชาสามารถทุกด้าน

ช่วงปลายรัชกาลได้เชิญซินแสชื่อหยวนเทียนกัง มาทำนายพระลักษณะขององค์ชายใหญ่ องค์ชาย4 (หลี่ไท่) และองค์ชายเล็ก (หลี่จื้อ) ปรากฏว่าหยวนเทียนกังได้ทำนายว่าองค์ชายเล็กจะได้ครองราชย์ ถังไท่จงจึงตั้งองค์ชายเล็กเป็นรัชทายาทแทนองค์ชายใหญ่เมื่อถังไท่จงสวรรคตลงเมื่อปี ค.ศ. 649 (พ.ศ. 1192) ขณะพระชนม์ 50 พรรษา องค์รัชทายาทหลี่จื้อจึงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิถังเกาจง

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้
  • พระราชบิดา: จักรพรรดิถังเกาจู่
  • พระราชมารดา: จักรพรรดินีไท่มู่
  • พระเชษฐาและพระอนุชา
  • พระเชษฐภิคินีและพระขนิษฐา
  • พระอัครมเหสี
  • พระมเหสี
    • กุ้ยเฟย สกุลเหวย หลังจักรพรรดิถังไท่จงสวรรคตได้รับการสถาปนาเป็น จี่หวังกั๋วไท่เฟย
    • เฟย(สันนิษฐานว่าคือตำแหน่งซู่เฟย) สกุลหยาง
    • เฟย(สันนิษฐานว่าคือตำแหน่งเต๋อเฟย) สกุลอิน
    • เสียนเฟย สกุลเจิ้ง
    • เสียนเฟย สกุลหยาง หลังจักรพรรดิถังไท่จงสวรรคตได้รับการสถาปนาเป็น เจาหวังกั๋วไท่เฟย
    • เจาอี๋ สกุลโหว
    • ชงหรง สกุลสวี่ หลังสิ้นพระชนม์จักรพรรดิถังเกาจงได้อวยพระยศย้อนหลังเป็น สวี่เสียนเฟย
  • พระสนม
  • พระราชโอรส
    • หลี่เฉิงเฉียน อดีตรัชทายาท (พระโอรสในจ่างซุนฮองเฮา)
    • หลี่เค่อ อู๋หวัง (พระโอรสในหยางเฟย)
    • หลี่ไท่ เว่ยหวัง (พระโอรสในจ่างซุนฮองเฮา)
    • หลี่อิ้ว
    • หลี่เจิน
    • หลี่จื้อ จิ้นหวัง/จักรพรรดิถังเกาจง (พระโอรสในจ่างซุนฮองเฮา)
    • หลี่เสิ่น จี่หวัง (พระโอรสในเหวยกุ้ยเฟย)
    • หลี่ฝู เจาหวัง (พระโอรสในหยางเสียนเฟย)
  • พระราชธิดา

อ้างอิง

แก้
  1. Directory of historical figures. Pasadena: Salem Press. 2000. p. 613. ISBN 978-0-89356-334-9.
  2. McNair, Amy (2007). Donors of Longmen: Faith, politics and patronage in medieval Chinese Buddhist sculpture. Honolulu: University of Hawaii press. p. 88. ISBN 978-0-8248-2994-0.
ก่อนหน้า จักรพรรดิถังไท่จง ถัดไป
จักรพรรดิถังเกาจู่   จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 1170 - พ.ศ. 1192)
  จักรพรรดิถังเกาจง|}