ซีอาน

เมืองหลวงของมณฑลฉ่านซี

ซีอาน (จีน: 西安; พินอิน: Xī'ān)[4] เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ซีอานเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเมืองหนึ่ง ความหมาย: ความสงบสุขทางตะวันตก) เป็นเมืองหลวงของมณฑลฉ่านซี ในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์จีน ในอดีตซีอานได้เป็นเมืองหลวงของ 13 ราชวงศ์[5] รวมทั้ง โจว ชิน ฮั่น และ ถัง[5] ซีอานยังเป็นเมืองปลายทางของเส้นทางสายไหม ซีอานมีประวัติอันยาวนานมากกว่า 3,100 ปี โดยชื่อเดิมว่า ฉางอาน (长安, 長安 พินอิน: Cháng'ān) ซึ่งมีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" ซีอานเป็นเป็นเมืองที่เจริญและใหญ่ที่สุดในส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน และเป็น 1 ใน 10 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน

ซีอาน

西安市
สถานที่ต่าง ๆ ในนครซีอาน
สถานที่ต่าง ๆ ในนครซีอาน
แผนที่
ที่ตั้งของนครซีอานในมณฑลฉ่านซี
ที่ตั้งของนครซีอานในมณฑลฉ่านซี
ซีอานตั้งอยู่ในประเทศจีน
ซีอาน
ซีอาน
ที่ตั้งในประเทศจีน
พิกัด (หน่วยงานบริหารมณฑลฉ่านซี): 34°15′54″N 108°57′14″E / 34.265°N 108.954°E / 34.265; 108.954พิกัดภูมิศาสตร์: 34°15′54″N 108°57′14″E / 34.265°N 108.954°E / 34.265; 108.954
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลฉ่านซี
ศูนย์กลางการปกครองเขตเว่ย์ยาง (未央区)
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคหวาง เฮ่า (王浩)
 • นายกเทศมนตรีหลี่ หมิงเยฺหวี่ยน (李明远)
พื้นที่
 • นครระดับจังหวัด และนครระดับกิ่งมณฑล9,983 ตร.กม. (3,854 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง (2018)[2]1,088 ตร.กม. (420 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล3,866.25 ตร.กม. (1,492.77 ตร.ไมล์)
ความสูง405 เมตร (1,329 ฟุต)
ประชากร
 (2018)
 • นครระดับจังหวัด และนครระดับกิ่งมณฑล12,000,600[1] คน
 • เขตเมือง (2018)[2]7,135,000 (อันดับที่ 10) คน
 • รวมปริมณฑล[3]12,900,000 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล3,300 คน/ตร.กม. (8,600 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (CST)
รหัสไปรษณีย์710000–710090
รหัสพื้นที่29
รหัส ISO 3166CN-SN-01
GDP(2017)
– รวมCNY748.52 พันล้าน
(US$118.8 พันล้าน)
– ต่อหัวCNY71,853 (US$10,823)
ป้ายทะเบียนรถ陕A
ดอกไม้ประจำนครดอกทับทิม
ต้นไม้ประจำนครPagoda tree (Styphnolobium japonicum)
เว็บไซต์XA.gov.cn

ภูมิอากาศของภูมิภาคนี้อบอุ่น มีฝนตกมาก มีปริมาณฝนเทียบได้ใกล้เคียงกับภูมิภาคด้านใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน ดังนั้น ประชากรที่นี่จึงค่อนข้างมาก ทางตะวันออกของซีอาน ห่างไปประมาณ 6 กิโลเมตร ได้มีการค้นพบแหล่งโบราณคดี ปั้นพัว ที่มีอายุกว่า 6,500 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมหย่างเฉาในยุคยุคหินใหม่ ฮ่องเต้ของราชวงศ์โจวตะวันตก ได้เคยสร้างเมืองหลวง 2 เมือง ทางตะวันตกของซีอาน

ศัพทมูลวิทยา แก้

ตัวอักษรจีนสองตัวในชื่อ "ซีอาน (西安)" มีความหมายตามตัวอักษรว่า "สันติภาพแห่งตะวันตก (Western Peace)" คำว่า "ซึ (西)" หมายถึง ทิศตะวันตก และคำว่า "อานหรืออัน (安)" มีความหมายว่า สันติภาพ ความสงบสุข

เดิมทีในสมัยราชวงศ์โจวพื้นที่บริเวณนี้ถูกเรียกว่า "เฟิงฮั่ว (Fenghao, 沣镐)" โดยพื่นที่ส่วนของเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเฟิง เรียกว่า "เฟิง (Feng)" และอีกส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ฮั่ว (Hao)" [6] ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ปี ค.ศ. 220) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฉางอัน (Chang'an, 长安) หมายถึง "สันติภาพอันยาวนาน (Perpetual Peace)" [4] และถูกเรียกว่า เมืองหลวงแห่งตะวันตก หรือ ซีจิง (Xijing, 西京) ในบางช่วงของสมัยราชวงศ์ฮั่นหลังจากการย้ายเมืองหลวงไปทางตะวันออกคือ เมืองลั่วหยาง ในระหว่างรัชสมัยฮั่นตะวันออก

ต่อมาในปี ค.ศ. 581 ช่วงราชวงศ์สุย ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ต้าซิง (Daxing, 大興) และเปลี่ยนกลับมาเป็นชื่อ ฉางอัน อีกครั้งในปี ค.ศ. 618 สมัยราชวงศ์ถัง

เมืองซีอานได้รับการตั้งชื่อครั้งแรกในช่วงราชวงศ์หยวน (ปี ค.ศ. 1270 -1368) ว่า เฟิ่งหยวน (Fengyuan, 奉元) และตามด้วยชื่อ อันซี หรืออานซี (Anxi, 安西) แล้วเปลี่ยนเป็นชื่อ จิงเจ้า (Jingzhao, 京兆) ในเวลาต่อมา

ในที่สุดในปี ค.ศ. 1369 สมัยราชวงศ์หมิงจึงได้ใช้ชื่อว่าซีอาน จากนั้นในปี 1930 ถูกเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็นชื่อ ซีจิง (Xijing, 西京) และกลับมาใช้ชื่อซีอานอีกครั้งในสมัยสาธารณรัฐจีน ปี ค.ศ 1943

ประวัติศาสตร์ แก้

 
ซีอาน
 
หอระฆังกลางเมืองซีอาน
 
วิวซีอาน

เป็นอู่อารยธรรมเก่าแก่ แถบแม่น้ำหวงเหอ ซึ่งมีความสำคัญที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากมายเมื่อ 1,100 ปีก่อนคริสตกาล ทั้งยังเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของจีนมาในหลายยุคหลายสมัย

ปัจจุบันมีสถานที่สำคัญหลายแห่งในมณฑลฉ่านซีได้ถูกจัดเป็นแหล่งมรดกโลก จากยูเนสโก ขององค์การสหประชาชาติ เข่น หุ่นทหารโบราณ (Army of Terracotta Worriors) ที่ถูกค้นพบในปี 1974

ซีอานมีอาณาเขตจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกราว 9 กิโลเมตร จากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร

ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉิน (จิ๋นซีฮ่องเต้) เมื่อรวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวแล้ว ได้สถาปนาเมืองหลวงของประเทศขึ้น คือ เมืองเสียนหยาง ตั้งอยู่ทางเหนือของซีอานในปัจจุบัน ในอดีตจัดเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น มีประชากรประมาณ 5 ถึง 6 แสนคน เกือบเท่ากับ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ แต่จอมจักรพรรดิทรงเห็นว่า เมืองหลวงเสียนหยาง ยังมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอ จึงโปรดให้สร้างเมือง เออฝาง ขึ้นทางใต้ของเมืองเสียนหยาง กล่าวกันว่า หลังจากราชวงศ์ฉินถูกชาวนาโค่นบัลลังก์แล้วบรรดาพระราชวัง และ ตำหนักในเมืองทั้งสองถูกเผาทำลายสิ้น โดยใช้เวลาเผานานถึง 3 เดือน[ต้องการอ้างอิง]

สมัยราชวงศ์ฮั่น ได้มีการสร้างเมืองหลวงใหม่ชื่อ ฉางอาน ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ระหว่างที่ตั้งเมืองหลวงเก่าทั้งสอง ปัจจุบันยังสามารถมองเห็นที่ตั้งเมืองฉางอานได้ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซีอาน เมืองฉางอาน ของราชวงศ์ฮั่นนี้มีอาณาเขตโดยรอบ 25,000 เมตร พื้นที่ 35 ตารางกิโลเมตร ตำหนักภายในเมืองมีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ เล่ากันว่า หลังจากสร้างตำหนักเสร็จแล้ว องค์จักรพรรดิฮั่น ตรัสว่า "ช่างใหญ่อะไรปานนี้"[ต้องการอ้างอิง] 800 ปีหลังจากนั้น จักรพรรดิ ราชวงศ์สุย ได้สร้างเมืองหลวงอีกเมืองหนึ่งขึ้นทางใต้ของฉางอาน ของราชวงศ์ฮั่น ชื่อ ต้าสิ้ง และเปลี่ยน ฉางอาน เป็นสวนดอกไม้ส่วนพระองค์ และเนื่องจากจักรพรรดิราชวงศ์สุยมา

จากตระกูลหยาง ผู้คนจึงเรียกเมืองนี้ว่า เมืองตระกูลหยางถึงราชวงศ์ถัง องค์จักรพรรดิได้เปลี่ยนชื่อเมือง ต้าสิ้น เป็น ฉางอาน ขณะเดียวกันก็ดำรงการก่อสร้างเมืองอย่างต่อเนื่อง จนเมืองฉางอาน มีอาณาเขตโดยรอบถึง 36,700 เมตร พื้นที่ 84 ตารางกิโลเมตร เมืองฉางอาน ของราชวงศ์ถัง เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนพื้นโลกในขณะนั้น มีความสัมพันธ์ด้านการค้ากับประเทศต่าง ๆ มากกว่า 300 ประเทศ ชาวต่างประเทศจำนวนไม่น้อยมีถิ่นพำนักในเมืองนี้ จำนวนหนึ่งทำงาน อีกจำนวนหนึ่งเรียนหนังสือ อาจจะพูดได้ว่า ฉางอาน เป็นเมืองนานาชาติเมืองหนึ่ง แต่ที่น่าเสียดายคือในช่วงปลายราชวงศ์ถังได้มีศึกสงครามไม่หยุดหย่อน สิ่งก่อสร้าง 300 ปี ของฉางอานถูกทำลายหมดสิ้น เหลือเพียงสถูปห่านป่าใหญ่และสถูปห่านป่าเล็กเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาหลังจากราชวงศ์ถังมา 2 - 3 ราชวงศ์ แม้ว่าที่ฉางอานจะมีการก่อสร้างอีกจำนวนหนึ่ง แต่ตัวเมืองดั้งเดิมกลับเล็กลงอย่างเห็นได้ชัดเจน จนเมื่อราชวงศ์หมิง เรืองอำนาจ เมืองฉางอานก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ซีอาน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ตราบถึงปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

เมืองซีอานที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นเมืองที่ถูกสร้างมา 600 ปีก่อนราชวงศ์หมิง โดยใน 300 ปีก่อนหน้านี้ เมืองซีอานได้มีโอกาสการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตัวเมืองในปัจจุบันมีพื้นที่มากถึง 129 ตารางกิโลเมตร เปรียบกับ ฉางอาน ในสมัยราชวงศ์ถังแล้วมีพื้นที่ใหญ่กว่าร้อยละ 50 มีจำนวนประชากรมากถึง 1 ล้าน 5 แสนคนโดยประมาณ ภายในเมืองนอกจากจะสร้างอาคารบ้านเรือนสมัยใหม่จำนวนมากแล้ว ยังมีการบูรณะสวนสาธารณะ และโบราณสถานที่มีชื่อเสียงจำนวนหนึ่งด้วย หอนาฬิกากลางเมืองซึ่งถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง บรรดาเมืองหลวงในประวัติศาสตร์หลาย ๆ แห่งต่างมี หอนาฬิกา แต่ไม่มีที่ไหนจะมีชื่อเสียงอย่างของ ซีอาน[ต้องการอ้างอิง] สิ่งก่อสร้างสำคัญอีกแห่งหนึ่งทางด้านใต้ของหอนาฬิกาที่ถนนชื่อ ซานเซวี๋ย เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ฉ่านซี ภายในมีแท่ง ศิลาจารึก ที่มีชื่อเสียง ซึ่งถูกทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง จำนวนมากกว่า 1 พันแท่ง[ต้องการอ้างอิง] ด้านใต้ของซีอานยังมีเจดีย์ห่านใหญ่ (ต้าเอี้ยนถ่า วัดต้าฉือเอิน - พระถังซัมจั๋ง) และเจดีย์ห่านเล็กเป็นสิ่งก่อสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ปรากฏสิ่งมหัศจรรย์ที่ตะลึงคนทั่วโลกเกิดขึ้น คือการค้นพบกองทัพหุ่นทหาร และม้าประจำสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ สามารถได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งของโลก เช่นเดียวกับ กำแพงเมืองจีน สุสานตั้งอยู่ที่อำเภอหลินถง ทางตะวันออกของซีอาน โดยกล่าวกันว่าเมื่อจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ก็ได้เริ่มสร้างสุสานทันที มีประชาชนร่วมก่อสร้างมากกว่า 7 แสนคน ที่ขุดค้นและจัดแสดงมี 3 หลุม (Pit) ส่วน สุสานพระศพ และอื่น ๆ ยังไม่มีการขุดค้น จนกว่าจะมีเทคโนโลยีที่จะดำรงรักษาสภาพสีของวัตถุโบราณตลอดจนหุ่นทหารดินเผา

โบราณสถานที่มีชื่อเสียงในปริมณฑลของซีอาน มีมากมายโดยเฉพาะสุสานของจักรพรรดิหลาย ๆ พระองค์และคลังสมบัติ อาจจะทำให้พูดได้ว่า บริเวณเมืองซีอานคือพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

เศรษฐกิจ แก้

ซีอานคือศูนย์กลางแห่งอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เป็นเมืองที่มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนมากที่สุดในบรรดาเมืองทางตะวันตกของจีน อุตสาหกรรมในเมืองซีอานเป็นอุตสาหกรรมการผลิต คิดเป็นร้อยละ 97 จากอุตสาหกรรมทั้งหมด และมียอดการนำเข้าและส่งออกประมาณร้อยละ 60 ของการค้าขายทั้งหมด

อ้างอิง แก้

  1. 西安市2015年国民经济和社会发展统计公报. www.xatj.gov.cn/. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-05-12.
  2. 2.0 2.1 Cox, W (2018). Demographia World Urban Areas. 14th Annual Edition (PDF). St. Louis: Demographia. p. 22. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 3, 2018. สืบค้นเมื่อ November 16, 2017.
  3. OECD Urban Policy Reviews: China 2015, OECD READ edition. OECD iLibrary. OECD Urban Policy Reviews (ภาษาอังกฤษ). OECD. April 18, 2015. p. 37. doi:10.1787/9789264230040-en. ISBN 9789264230033. ISSN 2306-9341. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 27, 2017. สืบค้นเมื่อ December 8, 2017.Linked from the OECD here เก็บถาวร ธันวาคม 9, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. 4.0 4.1 "Xi'an". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2008-09-03.
  5. 5.0 5.1 "Xi'an". Encarta. 1993-2008. September 3, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-28. สืบค้นเมื่อ 2014-07-17.
  6. Zhongguo Gujin Diming Dacidian 中国古今地名大词典, 2005. (Shanghai: Shanghai Cishu Chubanshe), 1540.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้