มณฑลของประเทศจีน

เขตการปกครองระดับมณฑล (จีน: 省级行政区; พินอิน: Shěngjí Xíngzhèngqū) หรือ เขตการปกครองระดับที่หนึ่ง (จีนตัวย่อ: 一级行政区; จีนตัวเต็ม: 一級行政區; พินอิน: yī-jí xíngzhèng qū) เป็นเขตการปกครองระดับสูงสุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีทั้งหมด 34 แห่ง จำแนกเป็น 23 มณฑล (จีน: ; พินอิน: shěng), 4 นครปกครองโดยตรง, 5 เขตปกครองตนเอง และ 2 เขตบริหารพิเศษ[2] สถานะทางการเมืองของมณฑลไต้หวันและส่วนเล็ก ๆ ของมณฑลฝูเจี้ยนนั้นยังคงเป็นข้อพิพาท ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน

เขตการปกครองระดับมณฑล
หมวดหมู่รัฐเดี่ยว
ที่ตั้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
 สาธารณรัฐจีน[1]
ก่อตั้งค.ศ. 1947 (รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีน)
จำนวนสาธารณรัฐประชาชนจีน: 33-34* (31 เขตอำนาจโดยตรง + 2 เขตบริหารพิเศษ + 1 พื้นที่พิพาท*)
สาธารณรัฐจีน: 22-70* (22 เขตอำนาจโดยตรง + 48 พื้นที่อ้างสิทธิ์*)
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐสังคมนิยมพรรคการเมืองเดียว (ประเทศจีน)
หนึ่งประเทศ สองระบบ (เขตบริหารพิเศษ)
รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภาในระบอบกึ่งประธานาธิบดี (ไต้หวัน)
หน่วยการปกครองนครระดับกิ่งมณฑล, จังหวัด, เทศมณฑล
เขตการปกครองระดับมณฑล
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ省级行政区
อักษรจีนตัวเต็ม省級行政區
มณฑล
ภาษาจีน
ชื่อภาษาทิเบต
อักษรทิเบต ཞིང་ཆེན།
ชื่อภาษาจ้วง
ภาษาจ้วงSwngj
ชื่อภาษามองโกเลีย
อักษรมองโกเลีย ᠮᠤᠵᠢ
ชื่อภาษาอุยกูร์
ภาษาอุยกูร์
ئۆلكە
ชื่อภาษาแมนจู
อักษรแมนจู ᡤᠣᠯᠣ
อักษรโรมันgolo

ทุกมณฑลในจีนแผ่นดินใหญ่ (รวมทั้งมณฑลไหหลำ) จะมีคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนประจำมณฑล (จีน: 省委; พินอิน: shěngwěi) นำโดยเลขาธิการ (จีน: 书记; พินอิน: shūjì) ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการพรรคมีอำนาจในการบริหารมณฑลมากกว่าผู้ว่าการมณฑล (จีน: 省长/直辖市长/自治区长; พินอิน: shěng zhǎng/ zhí xiá shì zhǎng/ zì zhì qū zhǎng)[3]

รายชื่อเขตการปกครองระดับมณฑล

แก้

มณฑล

แก้

สาธารณรัฐประชาชนจีนประกอบด้วย 23 มณฑล (省 shěng เฉิ่ง)

ชื่อ จีนตัวเต็ม จีนตัวย่อ พินอิน ย่อ เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (2551)
กวางตุ้ง[a] 廣東 广东 Guǎngdōng 粤 yuè กว่างโจว 177,900 95,440,000
กุ้ยโจว 貴州 贵州 Guìzhōu 黔 qián หรือ 贵 gùi กุ้ยหยาง 176,100 37,930,000
กานซู่ 甘肅 甘肃 Gānsù 甘 gān หรือ 陇 lǒng หลานโจว 454,000 26,280,000
จี๋หลิน 吉林 吉林 Jílín 吉 jí ฉางชุน 187,400 27,340,000
เจียงซู 江蘇 江苏 Jiāngsū 苏 sū หนานจิง (นานกิง) 102,600 76,770,000
เจียงซี 江西 江西 Jiāngxī 赣 gàn หนานชาง 166,900 44,000,000
เจ้อเจียง 浙江 浙江 Zhèjiāng 浙 zhè หางโจว 101,800 51,200,000
ฉ่านซี 陝西 陕西 Shǎnxī 陕 shǎn หรือ 秦 qín ซีอาน 205,800 37,620,000
ชานซี 山西 山西 Shānxī 晋 jìn ไท่หยวน 156,800 34,110,000
ชานตง 山東 山东 Shāndōng 鲁 lǔ จี่หนาน 156,700 94,170,000
ชิงไห่ 青海 青海 Qīnghǎi 青 qīng ซีหนิง 721,000 5,540,000
ซื่อชวน (เสฉวน) 四川 四川 Sìchuān 川 chuān หรือ 蜀 shǔ เฉิงตู (เฉินตู) 485,000 81,380,000
ฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน)[b] 福建 福建 Fújiàn 闽 mǐn ฝูโจว 121,400 36,040,000
หยุนหนาน (ยูนนาน) 雲南 云南 Yúnnán 滇 diān หรือ 云 yún คุนหมิง 394,100 45,430,000
หูเป่ย์ 湖北 湖北 Húběi 鄂 è อู่ฮั่น 185,900 57,110,000
หูหนาน 湖南 湖南 Húnán 湘 xiāng ฉางชา 211,800 63,800,000
เหอเป่ย์ 河北 河北 Héběi 冀 jì ฉือเจียจวง 187,700 69,890,000
เหอหนาน 河南 河南 Hénán 豫 yù เจิ้งโจว 167,000 94,290,000
เหลียวหนิง 遼寧 辽宁 Liáoníng 辽 liáo เฉิ่นหยาง 145,900 43,150,000
ไห่หนาน (ไหหลำ)[c] 海南 海南 Hǎinán 琼 qióng ไหโข่ว 33,920 8,540,000
อานฮุย 安徽 安徽 Ānhuī 皖 wǎn เหอเฝย์ 139,400 61,350,000
เฮย์หลงเจียง 黑龍江 黑龙江 Hēilóngjiāng 黑 hēi ฮาร์บิน 460,000 38,250,000
ไถวัน (ไต้หวัน)[d] 臺灣 หรือ 台灣 台湾 Táiwān 台 tái ไทเป 35,581 23,519,518 (2559)
  1. ส่วนใหญ่ของมณฑลกวางตุ้งปกครองโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่เกาะปราตัสปกครองโดยสาธารณรัฐจีน โดยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตงชาหฺวานเจียว
  2. ส่วนใหญ่ของมณฑลฝูเจี้ยนปกครองโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่อำเภอจินเหมินและอำเภอเหลียนเจียงปกครองโดยสาธารณรัฐจีน โดยอยู่ภายใต้มณฑลฝูเจี้ยนของสาธารณรัฐจีน
  3. ส่วนใหญ่ของมณฑลไหหลำปกครองโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่เกาะไท่ผิงปกครองโดยสาธารณรัฐจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเขตฉีจิน นครเกาสฺยง
  4. สาธารณรัฐประชาชนจีนถือว่าไต้หวันเป็นมณฑลที่ 23 แต่ปัจจุบันไต้หวันอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน

เขตปกครองตนเอง

แก้

เขตปกครองตนเอง (自治區/自治区 zìzhìqū จื้อจื่อชวี) เป็นเขตการปกครองระดับมณฑล ซึ่งปกครองด้วยชนกลุ่มน้อย ในปัจจุบันมีทั้งหมดอยู่ 5 เขตปกครองตนเอง

ชื่อ จีนตัวเต็ม จีนตัวย่อ พินอิน ชนกลุ่มน้อย ชื่อท้องถิ่น ย่อ เมืองหลวง ประชากร
กว่างซีจ้วง (กวางสี) 廣西壯族自治區 广西壮族自治区 Guǎngxī Zhuàngzú Zìzhìqū จ้วง ภาษาจ้วง -
Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih
桂 กุ้ย หนานหนิง 48,890,000
มองโกเลียใน 內蒙古自治區 内蒙古自治区 Nèiměnggǔ Zìzhìqū มองโกล ภาษามองโกเลีย -
ᠥᠪᠦᠷ ᠮᠣᠨᠺᠤᠯᠤᠨ ᠥᠪᠡᠷᠲᠡᠺᠡᠨ ᠵᠠᠰᠠᠬᠤ ᠣᠷᠤᠨ
/ Öbür Mongghul-un Öbertegen Jasaqu Orun
内蒙古 เน่ยเหมิงกู่
ᠥᠪᠥᠷ ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ
ฮูฮอต (ฮูเหอเฮ่าเท่อ) 23,840,000
หนิงเซี่ยหุย 寧夏回族自治區 宁夏回族自治区 Níngxià Húizú Zìzhìqū หุย (ภาษาจีน) 宁 หนิง อิ๋นชวน 5,880,000
ซินเจียงอุยกูร์ 新疆維吾爾自治區 新疆维吾尔自治区 Xīnjiāng Wéiwúěr Zìzhìqū อุยกูร์ ภาษาอุยกูร์ -
شىنجاڭ ئۇيغۇر ئاپتونوم رايونى /
Shinjang Uyghur Aptonom Rayoni
新 ซิน อุรุมชี 21,815,815
ทิเบต 西藏自治區 西藏自治区 Xīzàng Zìzhìqū ทิเบต ภาษาทิเบต -
བོད་རང་སྐྱོང་ལྗོངས /
Bod.raṅ.skyoṅ.ljoṅs
藏 จ้าง ลาซา 2,740,000

นครปกครองโดยตรง

แก้

นครปกครองโดยตรง (直轄市/直辖市 zhíxiáshì จื๋อเสียชื่อ) ของจีนคือเมืองที่มีขนาดใหญ่ และมีการปกครองเทียบเท่ามณฑล ในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 4 เมือง

ชื่อ จีนตัวเต็ม จีนตัวย่อ พินอิน ย่อ พื้นที่ (km²) ประชากร
เป่ย์จิง (ปักกิ่ง) 北京 北京 Běijīng 京 จิง 16,808 20,693,000 (2555)
ฉงชิ่ง (จุงกิง) 重慶 重庆 Chóngqìng 渝 หยู 82,300 52,100,100 (2558)
ช่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) 上海 上海 Shànghǎi 沪 ฮู่ 6,340.5 34,000,000 (2553)
เทียนจิน (เทียนสิน) 天津 天津 Tiānjīn 津 จิน 11,920 15,469,500 (2558)

เขตบริหารพิเศษ

แก้

ในปัจจุบันจีนมีเขตบริหารพิเศษอยู่ 2 แห่ง ซึ่งทั้ง 2 นี้เคยเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกมาก่อน[4][5]

ชื่อ จีนตัวเต็ม จีนตัวย่อ พินอิน ย่อ พื้นที่ (km²) ประชากร อดีตเจ้าของอาณานิคม
ฮ่องกง 香港 香港 Xiānggǎng 港 กั่ง 1,104 7,234,800 (2557) อังกฤษ
มาเก๊า 澳門 澳门 Àomén 澳 เอ่า 28.6 650,900 (2559) โปรตุเกส

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Hwang, Jim (October 1999). "Gone with the Times". Taiwan Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-26. สืบค้นเมื่อ 2012-01-11.
  2. "中华人民共和国行政区划 [Administrative Divisions of the People's Republic of China]". Government of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21. 目前中国有34个省级行政区,包括23个省、5个自治区、4个直辖市、2个特别行政区。[At present, China has 34 provincial level administrative regions, including 23 provinces, 5 autonomous regions, 4 municipalities and 2 special administrative regions.]
  3. 省委书记能任免省长吗?省委书记和省长的级别谁大. 周公网讯网 (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-17. สืบค้นเมื่อ 2018-08-20.
  4. "Administrative divisions of the People's Republic of China" 中华人民共和国行政区划. 15 June 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 5 June 2010.
  5. "Chapter II : Relationship between the Central Authorities and the Hong Kong Special Administrative Region, Article 12". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-29. สืบค้นเมื่อ 5 June 2010., "Chapter II Relationship between the Central Authorities and the Macau Special Administrative Region, Article 12". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 5 June 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้