เทียนจิน

นครปกครองโดยตรงของประเทศจีน

เทียนจิน หรือ เทียนสิน (จีน: 天津; พินอิน: Tiānjīn; พินอินระบบไปรษณีย์: Tientsin) เป็นหนึ่งในสี่นครปกครองโดยตรงของประเทศจีน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ติดชายฝั่งทะเลปั๋วไห่ เป็นหนึ่งในนครศูนย์กลางแห่งชาติทั้งเก้าแห่งของประเทศจีน มีประชากรในปี ค.ศ. 2016 ประมาณ 15,621,200 คน[5] ใจกลางเมืองของเทียนจินมีผู้อาศัยในปี ค.ศ. 2016 อยู่ราว 12,491,300 คน เป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 29 ของโลก (อยู่ระหว่างเฉิงตูและรีโอเดจาเนโร) และเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก[6]

เทียนจิน

天津市

เทียนสิน
แผนที่
ที่ตั้งของเทศบาลนครเทียนจินภายในประเทศจีน
ที่ตั้งของเทศบาลนครเทียนจินภายในประเทศจีน
พิกัด (Tianjin Century Clock Plaza): 39°08′01″N 117°12′19″E / 39.1336°N 117.2054°E / 39.1336; 117.2054
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตั้งถิ่นฐานประมาณ 340 ปีก่อนคริสตกาล
ที่ตั้งที่ทำการเขตเหอซี
เขตการปกครอง - ระดับอำเภอ: 16 เขต
 - ระดับตำบล: 240 เมืองและตำบล
การปกครอง
 • ประเภทนครปกครองโดยตรง
 • เลขาธิการพรรคหลี่ หงจง (李鸿忠)
 • นายกเทศมนตรีจาง กั๋วชิง (张国清)
พื้นที่
 • เทศบาลนคร11,946 ตร.กม. (4,612 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน11,609.91 ตร.กม. (4,482.61 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ186 ตร.กม. (72 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง11,609.91 ตร.กม. (4,482.61 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล5,609.9 ตร.กม. (2,166.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ประมาณการ ค.ศ. 2016)
 • เทศบาลนคร15,621,200 คน
 • ความหนาแน่น1,300 คน/ตร.กม. (3,400 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง (ค.ศ. 2018)[1]15,621,200 คน
 • รวมปริมณฑล[2]12,491,300 คน
เขตเวลาUTC+8 (CST)
รหัสไปรษณีย์300000 – 301900
รหัสพื้นที่22
รหัส ISO 3166CN-TJ
GDPค.ศ. 2019[3]
 - ทั้งหมด1.41 ล้านล้านเหรินหมินปี้
204.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 23)
 - ต่อหัว112,823 เหรินหมินปี้
16,355 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 3)
HDI (ค.ศ. 2018)0.850[4] (อันดับที่ 3) – สูงมาก
รหัสป้ายทะเบียนรถ津A, B, C, D, F, G, H, J, K, L, M
津E (แท็กซี่)
อักษรย่อTJ / จิน (; jīn)
ดอกไม้ประจำนครChinese rose (Rosa chinensis)
เว็บไซต์www.tj.gov.cn

เทียนจินปกครองแบบนครที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของรัฐบาลกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเทศบาลนครเป็นเขตการปกครองที่มีระดับเทียบเท่ากับมณฑล อาณาเขตของเทียนจินถูกล้อมรอบโดยมณฑลเหอเป่ย์ทั้งทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศใต้ ติดต่อกับปักกิ่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และติดต่อกับทะเลปั๋วไห่ทางทิศตะวันออก ในแง่ของจำนวนประชากรเฉพาะในเขตเมือง เทียนจินเป็นนครที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศจีน รองจากเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และกว่างโจว ส่วนในแง่จำนวนประชากรตามเขตเทศบาลนคร จะอยู่ในอันดับที่ 5 ของประเทศ[7] เทียนจินเป็นส่วนหนึ่งของขอบเศรษฐกิจปั๋วไห่ (Bohai Economic Rim)

เมืองเทียนจินและกำแพงเมืองสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1404 ต่อมาหลังจากที่เปิดให้มีการค้าต่างประเทศในปี ค.ศ. 1860 เทียนจินได้กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นประตูสู่ปักกิ่ง ในเวลานั้น มีการก่อสร้างอาคารและคฤหาสน์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปจำนวนมาก ซึ่งหลายแห่งก็ได้รับการบำรุงรักษามาจนถึงปัจจุบัน หลังจากก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เทียนจินประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอันเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลกลาง อีกทั้งมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในถังชาน ซึ่งเป็นเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของเทียนจิน แต่ก็ได้รับการฟื้นฟูในทศวรรษ 1990[8] ปัจจุบัน เทียนจินเป็นนครที่มีศูนย์กลางสองแห่ง ได้แก่ ศูนย์กลางแห่งที่หนึ่งอยู่ในเขตเมือง (รวมถึงเมืองเก่าด้วย) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไห่ ซึ่งเป็นแม่น้ำที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำหวงและแม่น้ำแยงซีผ่านทางคลองใหญ่ และศูนย์กลางแห่งที่สองคือ เขตปินไห่ เป็นพื้นที่เมืองใหม่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลปั๋วไห่ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเมืองเก่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 ย่านการเงินยฺหวีเจียพู่ของเทียนจินกลายเป็นที่รู้จักในนาม แมนฮัตตันของจีน[9][10]

ภูมิศาสตร์

แก้

เทียนจิน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปักกิ่ง ด้านตะวันออกติดกับอ่าวป๋อไห่ (Bohai Bay) มีสถานภาพเป็น "เทศบาลเมือง" (Special Municipality) ซึ่งการปกครองขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ห่างจากเมืองปักกิ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง ประมาณ 120 กิโลเมตร

พื้นที่เมืองของเทียนจินตั้งอยู่ตามแม่น้ำไห่เหอ (Hai He River) ท่าเรือที่อยู่ห่างไกลตั้งอยู่บนอ่าวป๋อไห่ (Bohai Gulf) บนมหาสมุทรแปซิฟิก เทศบาลนครเมียนจินมีพรมแดนติดต่อกับเหอเป่ย ไปทางเหนือ ใต้ และ ตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลนครปักกิ่งในส่วนเล็ก ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ และติดต่อกับอ่าวป๋อไห่ไปทางตะวันออก

เศรษฐกิจ

แก้

เทียนจิน นอกจากจัดเป็นเมืองท่าที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศจีนท่าเรือเทียนจินมีสินค้าเข้าออกราว 160 ล้านตัน โดยสินค้าที่ผ่านท่าเรือแห่งนี้กว่า 80% เป็นถ่านหิน แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์น้ำมัน จึงนับเป็นศูนย์ท่าเรือใหญ่ริมทะเลป๋อไห่ทางภาคเหนือของประเทศ ยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางทางการค้า การขนส่งการสื่อสารที่สำคัญของจีนตอนเหนือ มีชายฝั่งทะเลยาว 133 กม.ทางฝั่งตะวันออก อุดมด้วยทรัพยากรทางทะเล และยังเป็นเขตเมืองท่าและฐานอุตสาหกรรมทางทะเลที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในมหาสมุทร[11]

วัฒนธรรม

แก้

สภาพภายในเมืองยังมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งตกค้างมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 ในยุคล่าอาณานิคม

อ้างอิง

แก้
  1. Cox, W (2018). Demographia World Urban Areas. 14th Annual Edition (PDF). St. Louis: Demographia. p. 22. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 3, 2018. สืบค้นเมื่อ June 15, 2018.
  2. OECD Urban Policy Reviews: China 2015, OECD READ edition. OECD iLibrary. OECD Urban Policy Reviews (ภาษาอังกฤษ). OECD. April 18, 2015. p. 37. doi:10.1787/9789264230040-en. ISBN 9789264230033. ISSN 2306-9341. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 27, 2017. สืบค้นเมื่อ December 8, 2017.Linked from the OECD here เก็บถาวร ธันวาคม 9, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. 天津市2017年国民经济和社会发展统计公报 (ภาษาChinese (China)). Statistical Bureau of Tianjin. March 11, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2018. สืบค้นเมื่อ June 22, 2018.
  4. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  5. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2018. สืบค้นเมื่อ December 29, 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. 2015年天津市国民经济和社会发展统计公报-新闻中心-北方网. news.enorth.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 2, 2016. สืบค้นเมื่อ March 6, 2016.
  7. 最新中国城市人口数量排名(根据2010年第六次人口普查). www.elivecity.cn. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2015. สืบค้นเมื่อ May 28, 2014.
  8. 河北人才被空吸 本地发展缓慢世界罕见. Sohu. February 26, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2014. สืบค้นเมื่อ August 20, 2010.
  9. Alexandra Stenson and Cao Li (April 10, 2019). "'China's Manhattan' Borrowed Heavily. The People Have Yet to Arrive". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2019. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
  10. Hille, Kathrin (November 4, 2012). "China's 'Manhattan' becomes censorship capital". Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-03. สืบค้นเมื่อ January 29, 2016.
  11. "'จิงจินจี้' ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งที่ 3 (1) โดย ผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-08. สืบค้นเมื่อ 2007-06-05.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้