คลองใหญ่ (ประเทศจีน)

คลองใหญ่ (อังกฤษ: Grand Canal) หรือ ต้า-ยฺวิ่นเหอ (จีนตัวย่อ: 大运河; จีนตัวเต็ม: 大運河; พินอิน: Dà Yùnhé) ขุดในสมัยราชวงศ์สุย เริ่มขุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 587 และใช้เวลาขุดกว่า 30 ปี ใช้แรงงานมนุษย์กว่า 6 ล้านคน จุดประสงค์เพื่อการขนส่งสินค้า การท่องเที่ยวดินแดนเจียงหนาน (ภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำแยงซี) และเพื่อเชื่อมต่อดินแดนภาคเหนือและใต้เข้าด้วยกัน โดยให้ลั่วหยางเป็นศูนย์กลาง เริ่มจากอำเภอจั๋วจวิน (ปักกิ่งปัจจุบัน) จนถึงเมืองอู๋หาง (หางโจวปัจจุบัน) เชื่อมต่อกับแม่น้ำใหญ่ ๆ 5 สายในจีน อันได้แก่ แม่น้ำไห่เหอ แม่น้ำฮวงโห แม่น้ำหวยเหอ แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำเฉียนถังเจียง มีความยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร นับเป็นคลองขุดแรงงานมนุษย์ที่มีความยาวที่สุดในโลก[1] โดยแบ่งการขุดเป็น 4 ส่วน ได้แก่ คลองทงจี้ คลองหาน คลองหย่งจี้ และลำน้ำเจียงหนาน[2]

คลองใหญ่
แผนที่คลองใหญ่ในปัจจุบัน
พิกัด30°15′41″N 120°13′26″E / 30.26139°N 120.22389°E / 30.26139; 120.22389
ข้อมูลจำเพาะ
ความยาว1,776 km (1,104 ไมล์)
ประวัติ
เริ่มก่อสร้างราชวงศ์สุย
ข้อมูลภูมิศาสตร์
จุดเริ่มต้นปักกิ่ง
จุดสิ้นสุดหางโจว
เชื่อมต่อกับแม่น้ำไห่เหอ, แม่น้ำหวง, แม่น้ำฮวย, แม่น้ำแยงซี, แม่น้ำเฉียนถัง
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนคลองใหญ่
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์i, iii, iv, vi
ขึ้นเมื่อ2557 (คณะกรรมการสมัยที่ 38)
เลขอ้างอิง1443
ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
คลองใหญ่
"คลองใหญ่" ในอักษรจีนตัวย่อ (บน) และตัวเต็ม (ล่าง)
อักษรจีนตัวย่อ大运河
อักษรจีนตัวเต็ม大運河
ความหมายตามตัวอักษร"แม่น้ำขนส่งขนาดใหญ่"
คลองใหญ่ปักกิ่ง-หางโจว
อักษรจีนตัวย่อ京杭大运河
อักษรจีนตัวเต็ม京杭大運河
แผนที่คลองใหญ่ในสมัยราชวงศ์สุย

คลองทงจี้ เริ่มจากนครลั่วหยาง เข้าสู่แม่น้ำฮวงโห ไปเชื่อมแม่น้ำหวยเหอที่ไหลผ่านซันหยาง (หวยอานปัจจุบัน) ต่อไปยัง คลองหาน ซึ่งเป็นคลองขุดโบราณจากยุคชุนชิว ในสมัยราชวงศ์โจว ซึ่งผู้ครองแคว้นหวู่ได้สั่งให้ขุดขึ้นตั้งแต่ 486 ปีก่อนคริสตกาล[3] เชื่อมลำน้ำหวยเหอกับแม่น้ำแยงซีที่เมืองเจียงตู (หยางโจวปัจจุบัน) รวมระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร จากทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง ขุดไปเชื่อมกับ ลำน้ำเจียงหนาน ถึงเมืองอู๋หาง (หางโจวปัจจุบัน) ระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร ส่วนทางเหนือได้มีการขุด คลองหย่งจี้ เริ่มจากลั่วโข่วใกล้เมืองลั่วหยาง ขึ้นเหนือสู่จั๋วจวิน (ปักกิ่งปัจจุบัน) ระยะทาง 1,000 กิโลเมตร รวมกับลำคลองเล็กๆ อีกมากมาย เชื่อมโยงเข้าด้วยกันหมดเป็นเครือข่ายครอบคลุมทั้งเหนือใต้ ภาษีผ่านด่านตามคลอง อิฐ และไม้สำหรับสร้างพระราชวังก็ถูกส่งไปยังเมืองหลวงตามคลองสายนี้[4]

ถึงสมัยราชวงศ์หยวน มีการย้ายเมืองหลวงไปยังปักกิ่ง ทำให้มีการขุดคลองไปยังหางโจวอีกสายหนึ่ง ย่นระยะทางลงกว่า 700 กิโลเมตร เหลือเพียง 1,800 กิโลเมตร ซึ่งก็คือส่วนที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ต่อมาในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิงได้มีการขุดลอกบูรณะคลองต้า-ยฺวิ่นเหอให้กว้างและลึกขึ้นเป็นระยะทาง 130 ไมล์ สร้างประตูน้ำ 36 แห่ง โดยใช้แรงงานกว่า 3 แสนคน ใช้เวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1411 ถึง ค.ศ. 1415[3] ปัจจุบันคลองใหญ่มีอยู่หลายช่วงที่ล่องเรือผ่านไปไม่ได้ และไม่ได้ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมค้าขาย แต่ก็ยังคงเป็นเส้นทางล่องเรือท่องเที่ยวที่สำคัญของจีน

มรดกโลก

แก้

คลองใหญ่ ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 38 เมื่อปี พ.ศ. 2557 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

อ้างอิง

แก้
  1. Hutchinson's Encyclopedia เก็บถาวร 2012-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Encarta[ลิงก์เสีย]. 2009-10-31.
  2. "การสิ้นสุดราชวงศ์สุย" เก็บถาวร 2007-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581 – 618) 隋朝 มุมจีน ผู้จัดการออนไลน์
  3. 3.0 3.1 1421 ปีที่จีนค้นพบโลก.Gavin Menzies,สำนักพิมพ์มติชน,2550
  4. "คลองขุดต้ายุ่นเหอ"[ลิงก์เสีย] ห้องสมุดออนไลน์ My First Info (Jing Hang Da Yunhe)

ข้อมูล

แก้
  •   Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "China" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 6 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 168.
  • Benn, Charles. (2002). China's Golden Age: Everyday Life in the Tang Dynasty. Oxford University Press. ISBN 0-19-517665-0.
  • Bishop, Kevin (1997). China's Imperial Way. Hong Kong: Odyssey.
  • Bowman, John S. (2000). Columbia Chronologies of Asian History and Culture. New York: Columbia University Press.
  • Brook, Timothy. (1998). The Confusions of Pleasure: Commerce and Culture in Ming China. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-22154-0
  • Carles, W.R. (1900). The Grand Canal of China. Shanghai: Journal of the North China Branch RAS, Vol. 31, pp. 102–115, 1896-1897 volume, but actually published in 1900.
  • Ebrey, Patricia Buckley (1999). The Cambridge Illustrated History of China. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-66991-X (paperback).
  • Fairbank, John King and Merle Goldman (1992). China: A New History; Second Enlarged Edition (2006). Cambridge: MA; London: The Belknap Press of Harvard University Press. ISBN 0-674-01828-1
  • Gandar, Dominique (1903). Le Canal Imperial: Etude Historique et Descriptive. Shanghai: Imprimerie de la Mission Catholique. Variétés Sinologiques No. 4.
  • Garnett, J.W. (1907). Report by Mr. J.W. Garnett of a Journey through the Provinces of Shantung and Kiangsu. British Parliamentary Papers, China No.1, CD3500. London: HMSO.
  • Hinton, Harold C. (1956). The Grain Tribute System of China (1845-1911). Cambridge: Harvard University Press.
  • Liao Pin, ed. (1987). The Grand Canal: An Odyssey. Beijing: Foreign Languages Press.
  • Martin, W.A.P. (1897). A Cycle of Cathay.
  • Needham, Joseph. (1986). Science and Civilization in China: Volume 4, Physics and Physical Technology, Part 3, Civil Engineering and Nautics. Taipei: Caves Books, Ltd. ISBN 0-521-07060-0
  • New China News Ltd. (1984). The Grand Canal of China. Hong Kong: South China Morning Post Ltd.
  • Staunton, George (1797). An Authentic Account of an Embassy ...to the Emperor of China.
  • China’s Ancient Lifeline เก็บถาวร 2018-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน published May 2013 National Geographic magazine
  • 中国运河, 竞放、杜家驹 主编, 金陵书社 1997年; China's Canal, Jing Fang and Du Jiaju eds, Jinling Book Society, 1997.


แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

30°15′41″N 120°13′26″E / 30.26139°N 120.22389°E / 30.26139; 120.22389