มณฑลเหอเป่ย์
มณฑลเหอเป่ย์ (จีน: ; พินอิน: Héběi) เป็นมณฑลหนึ่งในภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ชื่อย่อของมณฑล คือ "จี้" (冀 Jì) ตั้งตามชื่อของมณฑลจี้ หรือจี้โจว ซึ่งเป็นมณฑลในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่อยู่บริเวณทางตอนใต้ของมณฑลเหอเป่ย์ในปัจจุบัน คำว่า เหอเป่ย์ เมื่อแปลตรงตัวหมายถึง "ทางเหนือของแม่น้ำ"[5] ตามที่ตั้งของมณฑลที่อยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำเหลือง[6] เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของมณฑล คือ ฉือเจียจวง
มณฑลเหอเป่ย์ 河北省 | |
---|---|
การถอดเสียง | |
• ภาษาจีน | เหอเป่ย์เฉิ่ง (河北省 Héběi Shěng) |
• ชื่อย่อ | HE / HEB / จี้ (冀 Jì) |
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเหอเป่ย์ | |
พิกัด: 39°18′N 116°42′E / 39.3°N 116.7°E | |
ตั้งชื่อจาก | เหอ (河 hé) — "แม่น้ำ" (แม่น้ำเหลือง) เป่ย์ (北 běi) — "เหนือ" "ทางเหนือของแม่น้ำเหลือง" |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | ฉือเจียจวง |
เขตการปกครอง | 11 จังหวัด, 121 อำเภอ, 2207 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | หวัง ตงเฟิง |
• ผู้ว่าการ | ฉวี่ ฉิน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 188,800 ตร.กม. (72,900 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 12 |
ความสูงจุดสูงสุด (ยอดเขาเสียวอู่ไถ[1]) | 2,882 เมตร (9,455 ฟุต) |
ประชากร (พ.ศ. 2559)[2] | |
• ทั้งหมด | 74,700,500 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 6 |
• ความหนาแน่น | 400 คน/ตร.กม. (1,000 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 11 |
ประชากรศาสตร์ | |
• ชาติพันธุ์ | ฮั่น: 96% แมนจู: 3% หุย: 0.8% มองโกล: 0.3% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | จีนกลางจี้หลู่, จีนกลางปักกิ่ง, จิ้น |
รหัส ISO 3166 | CN-HE |
GDP (พ.ศ. 2560)[3] | 3.60 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 8) |
• ต่อหัว | 47,985 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 18) |
HDI (2010) | 0.691[4] (ปานกลาง) (อันดับที่ 16) |
เว็บไซต์ | www.hebei.gov.cn (อักษรจีนตัวย่อ) english.hebei.gov.cn (ภาษาอังกฤษ) |
เมื่อรัฐบาลกลางยุบมณฑล "จื๋อลี่" ซึ่งมีความหมายว่า "ปกครองโดยตรง[7] (โดยราชสำนัก)" มณฑลจื๋อลี่สมัยใหม่ก็ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1911 และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เหอเป่ย์" ในปี ค.ศ. 1928 อีกชื่อหนึ่งของมณฑลเหอเป่ย์คือ เอียนจ้าว (燕趙) ตั้งตามชื่อของรัฐเอียนและรัฐจ้าว ซึ่งอยู่ในยุครณรัฐในประวัติศาสตร์จีนโบราณ
พื้นที่มณฑลเหอเป่ย์ล้อมรอบเทศบาลนครสองแห่ง ได้แก่ ปักกิ่ง และเทียนจิน มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลเหลียวหนิงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางทิศเหนือ มณฑลชานซีทางทิศตะวันตก มณฑลเหอหนานทางทิศใต้ มณฑลชานตงทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทะเลปั๋วไห่ทางทิศตะวันออก และยังมีพื้นที่เล็ก ๆ ที่เป็นดินแดนส่วนแยก ไม่เป็นผืนเดียวกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑล ซึ่งแทรกอยู่กึ่งกลางระหว่างปักกิ่งและเทียนจิน พื้นที่นี้ประกอบด้วย นครซานเหอ, อำเภอปกครองตนเองชนชาติหุย ต้าฉ่าง, และอำเภอเซียงเหอ โดยทั้งสามเป็นเขตการปกครองในนครหลางฝาง
ประชากรในมณฑลมีจำนวนกว่า 74 ล้านคน จึงเป็นมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับหกของประเทศจีน ประกอบด้วยชนกลุ่มใหญ่ที่เป็นชาวฮั่น ร้อยละ 96 และชนกลุ่มน้อย ได้แก่ แมนจู หุย และมองโกล
ประวัติศาสตร์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิศาสตร์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิอากาศ
แก้มีสภาพอากาศแบบมรสุมเขตอบอุ่นภาคพื้นทวีป แบ่งเป็น 4 ฤดู ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 300-800 มิลลิเมตร/ปี [8] อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 3-27 องศาเซลเซียส ปี 2004
เขตการปกครอง
แก้มณฑลเหอเป่ย์ประกอบด้วยเขตการปกครองระดับจังหวัดจำนวน 11 แห่ง โดยทั้งหมดมีฐานะเป็นนครระดับจังหวัด
- นครฉือเจียจวง (石家庄市 Shíjiāzhuāng Shì)
- นครถังชาน (唐山市 Tángshān Shì)
- นครฉินหฺวางเต่า (秦皇岛市 Qínhuángdǎo Shì)
- นครหานตาน (邯郸市 Hándān Shì)
- นครสิงไถ (邢台市 Xíngtái Shì)
- นครเป่าติ้ง (保定市 Bǎodìng Shì)
- นครจางเจียโข่ว (张家口市 Zhāngjiākǒu Shì)
- นครเฉิงเต๋อ (承德市 Chéngdé Shì)
- นครชางโจว (沧州市 Cāngzhōu Shì)
- นครหลางฝาง (廊坊市 Lángfáng Shì)
- นครเหิงฉุ่ย (衡水市 Héngshuǐ Shì)
เขตการปกครองระดับจังหวัดทั้ง 11 แห่งนี้ แบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ จำนวน 168 แห่ง (ประกอบด้วย 47 เขต, 21 นครระดับอำเภอ, 94 อำเภอ และ 6 อำเภอปกครองตนเอง) และแบ่งย่อยลงอีกเป็นเขตการปกครองระดับตำบลจำนวน 2,207 แห่ง เมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2017 ประชากรทั้งหมดของมณฑลเหอเป่ย์มีจำนวน 75.2 ล้านคน[9]
ประชากร
แก้มีประชากร 68,090,000 คน ความหนาแน่น 363/ก.ม. จีดีพี 876.9 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 12,900 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น
เศรษฐกิจ
แก้มีมูลค่าจีดีพีเท่ากับ 883,690 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 12.9% จีดีพีเฉลี่ยต่อหัว เท่ากับ 13,017 หยวน เพิ่มขึ้น 12.2% อุตสาหกรรมมี 5 ประเภทได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเวชภัณฑ์ยา หลอมโลหะ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกล และผลิตภัณฑ์อาหาร นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมเบาต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมในท้องถิ่นที่สำคัญ
อ้างอิง
แก้- ↑ Liu, Yanlin (2015). 太行山把最高的山脊留在了河北. Chinese National Geography (ภาษาจีนตัวย่อ) (2). สืบค้นเมื่อ 20 May 2018.
小五台山是太行山主脉上的最高峰,同时也是河北省的最高峰
- ↑ "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
- ↑ 河北省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Hebei on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Hebei. 2018-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-01. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
- ↑ 《2013中国人类发展报告》 (PDF) (ภาษาจีน). United Nations Development Programme China. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-29. สืบค้นเมื่อ 2014-01-05.
- ↑ "Yellow bridge Chinese Dictionary". Yellow Bridge. สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
- ↑ Origin of the Names of China's Provinces เก็บถาวร 2016-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, People's Daily Online. (จีน)
- ↑ Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 6 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 133.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-06. สืบค้นเมื่อ 2009-11-13.
- ↑ [1]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว Hebei จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์มณฑลเหอเป่ย์ เก็บถาวร 2003-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน