ภาษาจ้วง (จ้วง: Vahcuengh ก่อน ค.ศ. 1982: Vaƅcueŋƅ, สือดิบผู้จ่อง: 話僮, จาก วา, 'ภาษา' และ ชูง, 'จ้วง'; จีนตัวย่อ: 壮语; จีนตัวเต็ม: 壯語; พินอิน: Zhuàngyǔ) เป็นภาษาของชาวจ้วงในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน เป็นภาษาตระกูลขร้า-ไท มีวรรณยุกต์ 6 เสียง ระบบการเขียนมีทั้งแบบที่ยืมมาจากอักษรจีน คล้ายกับอักษรจื๋อโนมของเวียดนาม เรียก สือดิบผู้จ่อง และแบบที่เขียนด้วยอักษรละติน ซึ่งเริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2500 และปรับปรุงอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2529

ภาษาจ้วง
話僮
ประเทศที่มีการพูดประเทศจีน
จำนวนผู้พูด16 ล้านคน ทั้งหมดมาจากกลุ่มภาษาจ้วงเหนือ  (2007)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบมาตรฐาน
ระบบการเขียนจ้วง, จ้วงเก่า, สือดิบผู้จ่อง, Sawgoek
รหัสภาษา
ISO 639-1za
ISO 639-2zha
ISO 639-3zhaรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
zch – จ้วงแบบหงสุ่ยเหอตอนกลาง
zhd – จ้วงแบบไต้ (เหวินหมา)
zeh – จ้วงแบบหงสุ่ยเหอตะวันออก
zgb – จ้วงแบบกุ้ยเป่ย์
zgn – จ้วงแบบกุ้ยเปียน
zln – จ้วงแบบเหลียนซาน
zlj – จ้วงแบบหลิ่วเจียง
zlq – จ้วงแบบหลิ่วเฉียน
zgm – จ้วงแบบหมิน
zhn – จ้วงแบบหนง (ยั่นกว่าง)
zqe – จ้วงแบบชิวเป่ย์
zyg – จ้วงแบบยาง (เต๋อจิ้ง)
zyb – จ้วงแบบหย่งเป่ย์
zyn – จ้วงแบบหย่งหนาน
zyj – จ้วงแบบโย่วเจียง
zzj – จ้วงแบบจั่วเจียง
การกระจายทางภูมิศาสตร์ของสำเนียงภาษาจ้วงในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและภาษาใกล้เคียงในเวียดนามเหนือและมณฑลกุ้ยโจว
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ระบบการออกเสียง แก้

พยัญชนะ แก้

ภาษาจ้วงมีพยัญชนะ 22 ตัว

เสียงผิวปาก b [p]

mb [ɓ]

m [m]

ม, หม

f [f]

ฟ, ฝ

v [β]

ว, หว

เสียงหางลิ้น d [t]

nd [ɗ]

n [n]

s [θ]

ซ, ส

l [l]

ล, หล

เสียงต้นลิ้น/เสีนงคอ g [k]

gv [kʷ]

กฺว

ng [ŋ]

ง, หง

h [h]

ฮ, ห

r [ɣ]

ร, หร

เสียงหน้าลิ้น/เสียงปากกลม c [ɕ]

y [ˀj]

ย, หย

ny [ɲ]

ญ*, หญ

ngv [ŋʷ]

งฺว*, หงฺว

by [pʲ]

ปฺย*

gy [kʲ]

กฺย*

my [mʲ]

มฺย*, หมฺย

ตัวอย่างและเทียบกับภาษาไทย แก้

b --- bae ไป bingj ปิ้ง baek ปัก baet ปัด bag ปาก bangj ไล่ bongq ป่อง

mb --- mbaj บ้า mbang บาง mbaeu เบา mbiengj(mbwengj)เบื้อง mbag บาก mbanj บ้าน mbauq บ่าว

m --- maz มา ma หมา miz มี mwngz มึง maeuz เมา mok หมอก mok ท้อง

f --- fax ฟ้า fiengz(fangz)ฟาง faenz ฟัน feiz ไฟ faek ฟัก faet ฟัด fongz ฟอง

v --- vah ว่า vangq ว่าง vanz วาน vieng เหวียง?

d --- da ตา dou ประตู daem ตำ daengj ตั้ง daep ตับ

nd --- ndaq ด่า ndaeng ดัง ndaengq ด่าง ndai ดาย

n --- nou หนู naz นา naj หน้า naeng หนัง nanz นาน

s --- song สอง sam สาม sang(sung)สูง saek ซัก saenq สั่น sanq แยกย้าย

l --- lingz ลิง lungz ลุง langq ล้าง lai หลาย laeux เล้า linx ลิ้น

g --- gangj ก้าง goenj ก้น gad กาด gaet กัด gaem กำ gu กู

gv --- gvad กวาด gvangj กว้าง gvengj ขว้าง gvang กวาง gvan กวาน gvaek กวัก

ng --- ngaenz(ngwnz)เงิน ngaz งา ngaeuz เงา

h --- ha หา hau หาว haeuq เห่า heuq เหี่ยว hanq ห่าน

r --- ruz รู rox(rux)รู้ rangz ราง raeq ไร่ raemz รำ rungh รุ่ง

c --- caz ชา cingz เชียง congq ช่อง caemj ช้ำ caiz ชาย cog จอก(แก้ว)

y --- youq อยู่ yaemq ย้ำ yiengq อย่าง(เยี่ยง) yieb เหยียบ yiek อยาก yied เหยียด

ny --- nyaj หญ้า nying หญิง nyungz ยุง nyeuh(neuh) เยี่ยว nyod ยอด

ngv --- ngvaenz (vaenz)วัน

by --- bya ปลา byaix ผ้าย byaek ผัก byak ผาก byaeuh เปล่า

gy --- gyang กลาง gyoen กลน gyueng กลวง gyu เกลือ

my --- myaiz(laiz)ลาย

สระ แก้

ภาษาจ้วงมีสระ 78 ตัว.

e อยู่หลังตัว a,o หมายถึง a,o ออกเสียงสั้น ,อยู่หลัง i,u,w หมายถึง i,u,w ออกเสียงยาว.

aei ย่อเป็น ae.

สระเสียงนุ่ม a [aː]

อา

e [eː]

เอ(แอ)

i [iː]

อี

o [oː]

โอ(ออ)

u [uː]

อู

w [ɯː]

อือ

ai [aːi]

อาย

ae [ai]

ไอ

ei [ei]

เอ็ย (เอ-อิ)

(ie)

เอีย

oi [oːi]

ออย

ui [uːi]

อูย

wi [ɯːi]

เอย/เอือย, อืย

au [aːu]

อาว

aeu [au]

เอา

eu [eːu]

แอว, เอว

iu [iːu]

อีว

ou [ou]

โอว

aw [aɯ]

ใอ

(ieu)

เอียว

am [aːm]

อาม

aem [am]

อำ

em [eːm]

เอม

iem [iːm]

เอียม

im [im]

อิม

om [oːm]

โอม

oem [om]

อม

uem [uːm]

อูม

um [um]

อุม

(wem)

เอือม

(wm)

อึม/อืม

an [aːn]

อาน

aen [an]

อัน

en [eːn]

เอน

ien [iːn]

เอียน

in [in]

อิน

on [oːn]

ออน

oen [on]

อน

uen [uːn]

อูน

un [un]

อุน

wen [ɯːn]

เอือน

wn [ɯn]

อืน/อึน

ang [aːŋ]

อาง

aeng [aŋ]

อัง

eng [eːŋ]

แอง

ieng [iːŋ]

เอียง

ing [iŋ]

อิง

ong [oːŋ]

ออง

oeng [oŋ]

อง

ueng [uːŋ]

อูง/วง

ung [uŋ]

อุง

(weng)

เอือง

wng [ɯŋ]

อึง

check tone ap [aːp]

อาบ

aep [ap]

อับ

ep [eːp]

แอบ

iep [iːp]

เอียบ

ip [ip]

อิบ

op [oːp]

ออบ

oep [op]

อบ

uep [uːp]

อูบ/วบ

up [up]

อุบ

(wep)

เอือบ

(wp)

อืบ/อึบ

at [aːt]

อาด

aet [at]

อัด

et [eːt]

แอด

iet [iːt]

เอียด

it [it]

อิด

ot [oːt]

ออด

oet [ot]

อด

uet [uːt]

อูด/วด

ut [ut]

อุด

wet [ɯːt]

เอือด

wt [ɯt]

อึด/อืด

ak [aːk]

อาก

aek [ak]

อัก

ek [eːk]

แอก

iek [iːk]

เอียก

ik [ik]

อิก

ok [oːk]

ออก

oek [ok]

อก

uek [uːk]

อูก/วก

uk [uk]

อุก

(wek)

เอือก

wk [ɯk]

อึก

ตัวอย่างและเทียบกับภาษาไทย

2.1 กลุ่ม a

a --- maz มา aj อ้า ra/ha หา vah ภาษา

ai --- gai ขาย dai ตาย lai หลาย vaiz วาย aih รัก

ae(aei)--- bae ไป lae ไหล mae ไหม saej ไส้ hae เปิด

au --- mbauh บ่าว hau หาว auh อาว nauq ไม่

aeu --- baeuq เป่า mbaeu เบา laeux เหล้า haeux ข้าว saeu เก็บ

aw --- daw ไต lawz ไร saw ใส fawh ตลาด

am --- nam หนาม lamq ล่าม vamz ความ am หุงข้าว

aem --- gaem กำ raem หำ raemx น้ำ yaemq เหยียบ

an --- lan หลาน van หวาน nan นาน mbanj บ้าน ganj สบู่

aen --- baen ปัน maen หมัน haen ขัน daenj กลับกัน

ang --- langx ล้าง gyang กลาง nangz นาง dangq ต่าง vangj ผิด

aeng --- haeng ขัง daengj ตั้ง laeng หลัง caengz ยังไม่

ap --- nap นาบ hap หาบ

aep --- haep ปิด daep นับ

ab --- ab อาบ gab กาบ

aeb --- naeb ลดลง gaep จับ

at --- sat สาด gat กาด

aet --- naet รัก laet ลด

ad --- bad ปาด mbad บาด

aed --- gaed กับ aed เต็ม/เยอะ

ak --- mak หมาก fak ฝาก

aek --- naek หนัก gaek ตนเอง

ag --- bag ปาก lag ลาก

aeg --- daeg หัก myaeg ด่า

2.2 กลุ่ม --- e

e --- geq แก่ meq แม่ lez แล

ei --- fei ไฟ myeiz แลก

eu --- heuj เกี่ยว meuz แมว ceuj ผัด neuq เยี่ยว

(ieu --- bieu ปลิว dieu เจ้าเล่ห์ jieuh ดู )

em --- gemj แก้ม dem เต็ม nemj หนีบ

en --- benj แผ่นใม้ gen แขน nenj กด

eng --- rengz แรง deng แตง mengz แมรง gengz ตะแคง seng เกิด

ep --- hep แหบ sep แสบ dep กิน gep เก็บ

eb --- meb กลัว yeb ราบ eb บังคับ

et --- het ทำ net เหนื่อย get เกลียด met เม็ด

ek --- dek/bekแตก hek หม้อ lek เหล็ก

eg --- mbeg แบก deg วาง ndeg เด็ก

2.3 กลุ่ม --- i

i --- miz มี miq ไม่ bi ปี

(ie --- vieq เขียน cie รถ )

iu --- ndiuj ชัง niuj นิ้ว hiuj หิ้ว

(ieu --- bieu ปลิว lieu เที่ยว mieuh วัด)

iem --- riemj เหล็ม giemh กระบี่

ien --- vienh หัน bienh เปลี่ยน bienq เพี้ยน

ieng --- biengz ราบ gieng เขียง nieng เหนียง

iep/ieb --- yieb เหยียบ ndieb เดียบ(รัก)

iet/ied --- yied เหยียด died เตียด(ตกใจ)

iek/ieg ---giek เกียก(ผ่า) ciek ฉีก bieg(เปิดอ่าน)

im dim --- เต็ม imq อิ่ม byimq ปลิม(มอง) cimz ชิม

in --- hin(rin)หิน mbin บิน minz มัน yinz ยิน

ing --- lingzลิง bingj ปิ้ง nding(ndeng) แดง hing ขิง

ip/ib --- gib กีบเท้า yip หยิบ sip สีบ

it/id --- lid ลิด(ลื้อ) cit ฉีด mak-it องุ่น(หมาก อิด)

ik/ig --- big ปิก dik ถิบ gik เหมน

2.4 กลุ่ม o

o --- moj หม้อ o ออ/รวม goq ก่อ hoz คอ

oi --- hoij ห้อย moi หมอย noix น้อย doi ถอย

ou --- ou ส่วนใหญ่แปลงมาจากสระ u เฉ่น mou/mu หมู dou/du ประตู nou/nu หนู

om --- hom หอม gyomq กล่อม byom ผอม lomj ล้อม

on --- bonj ป้อน mon หมอน non หนอน hon หงอน son สอน

ong --- song สอง dong ตอง gyong กลอง bongq ป่อง rongx ร้อง

oem --- hoemz คม noemz นม loemz ลม doemj ต้ม loemj ล้ม

oen --- loenq/lwnq หล่น boenx/bwnx พ้น gyoen/gywn กรน

oeng --- soengq ส่ง loengz ลง goeng กองไฟ

op/ob --- hop หอบ gop คอบ dop ครั้ง gob กอบ hob หิบ myob(มลอบ) แอบดู

ot/od --- hot หอด got คอด dot ถอด lot ฮอด/ถึง god กอด mbod บอด dod ทอดทิ้ง

ok/og --- hok หงอก mok หมอก sok ศอก cog จอก/แก้ว mbyog(บลอก) ดอก og ออก

oep/oeb --- doep ตบ oep อบ

oet/oed --- doet ตด

oek/oeg --- doek ตก

2.5 กลุ่ม u

u --- ตังนี้ในภาษาจ้วงเหนือส่วนมากออกเสียงเป็น เอา แต่ในจ้วงใต้ยังออกเสียงเป็น อู

ui --- duij ถ้วย nduij ด้วย cuiq ซวย

un --- vunz คน unq อุ่น

um --- lum เหมือน

ung --- lungz ลุง

uen --- suenq กระเทียม luenh วุ่นวาย duenh ทวน

uem --- duemx ถ้วม ruemj ห้องนอน ruemh ร่วม

ueng --- lueng หลวง duengx ทักทาย

up/b ---

uk/g ---lug ลูก suk สุก

ut/d ---gud ผักกุด

uep/b --- tuep ทบ

uek/g --- lueg ลวก

uet/d --- luet หลุด nued นวด

วรรณยุกต์ แก้

ภาษาจ้วงมี 6 วรรณยุกต์, ลดเป็น 2 (หมายเลข 3 และ 6) ในคำตาย:

Tones
วรรณยุกต์ หมายเลขรูปร่าง IPA Letters
1957
Letters
1982
ชื่อเรียก ตัวอย่าง คำอ่านและคำแปล
1 24 /ǎ/ /˨˦/ (none) จัตวา son สอน
2 31 /a᷆/ /˧˩/ Ƨ ƨ Z z เอก mwngz คุณ/เธอ/มึง
3 55 /a̋/ /˥/ З з J j ตรี hwnj ปีน
-p/t/k ตรี + คำตาย bak ปาก
4 42 /â/ /˦˨/ Ч ч X x โท max ม้า
5 35 /a᷄/ /˧˥/ Ƽ ƽ Q q ตรี gvaq ข้าม
6 33 /ā/ /˧/ Ƅ ƅ H h สามัญ dah แม่น้ำ
-b/g/d สามัญ + คำตาย bag ฟัน(คำกริยา)
7 - เสียงเบา (เสียงเอกตาย) doek ตก

ประโยคของคำว่า Son mwngz hwnj max gvaq dah (Son mɯŋƨ hɯnз maч gvaƽ daƅ) "สอนขี่ม้าข้ามแม่น้ำ" มักใช้เพื่อช่วยให้ผู้คนจดจำวรรณยุกต์ทั้งหก

น้ำเสียงวรรณยุกต์สำหรับพยางค์เปิด (ไม่ลงท้ายด้วยพยัญชนะปิด) จะเขียนไว้ที่ท้ายพยางค์

สำเนียงย่อย แก้

ภาษาจ้วงแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

ภาษาจ้วงเหนือ (รหัสเดิม ccx ยกเลิกเมื่อปี 2007) คือภาษาถิ่นทางตอนเหนือของแม่น้ำหย่ง (หย่งเจียง 邕江) มีผู้พูด 8,572,200 คน ถือว่าเป็นสำเนียงมาตรฐาน แบ่งออกเป็น

  • แบบกุ้ยเป่ย์ (桂北: zgb) มีผู้พูด 1,290,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Luocheng, Huanjiang, Rongshui, Rong'an, Sanjiang, Yongfu, Longsheng, Hechi, Nandan, Tian'e, Donglan
  • แบบหลิ่วเจียง (柳江: zlj) มีผู้พูด 1,297,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Liujiang, Laibin North, Yishan, Liucheng, Xincheng
  • แบบหงสุ่ยเหอ (红水河) มีผู้พูด 2,823,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Laibin South, Du'an, Mashan, Shilong, Guixian, Luzhai, Lipu, Yangshuo
    • Castro และ Hansen (2010) ได้แบ่งสำเนียงนี้ออกเป็น 3 ภาษาที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ ได้แก่ หงสุ่ยเหอตอนกลาง (中红水河: zch), หงสุ่ยเหอตะวันออก (东红水河: zeh), และหลิ่วเฉียน (柳黔: zlq)
  • แบบหย่งเป่ย์ (邕北: zyb) มีผู้พูด 1,448,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Yongning North, Wuming (สำเนียงมาตรฐาน), Binyang, Hengxian, Pingguo
  • แบบโย่วเจียง (右江: zyj) มีผู้พูด 732,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Tiandong, Tianyang, และพื้นที่บางส่วนของเมือง Baise; ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโย่ว
  • แบบกุ้ยเปียน (桂边: zgn) มีผู้พูด 827,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Fengshan, Lingyun, Tianlin, Longlin, Yunnan Guangnan North
  • แบบชิวเป่ย์ (丘北: zqe) มีผู้พูด 122,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Yunnan Qiubei
  • แบบเหลียนซาน (连山: zln) มีผู้พูด 33,200 คน อาศัยอยู่บริเวณ Guangdong Lianshan, Huaiji North

ภาษาจ้วงใต้ (รหัสเดิม ccy ยกเลิกเมื่อปี 2007) คือภาษาถิ่นทางตอนใต้ของแม่น้ำหย่ง มีผู้พูด 4,232,000 คน แบ่งออกเป็น

  • แบบหย่งหนาน (邕南: zyn) มีผู้พูด 1,466,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Yongning South, Fusui Central และ North, Long'an, Jinzhou, Shangse, Chongzuo
  • แบบจั่วเจียง (左江: zzj) มีผู้พูด 1,384,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Longzhou (Longjin), Daxin, Tiandeng, Ningming; อยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำจั่ว
  • แบบเต๋อจิ้ง (得靖) มีผู้พูด 979,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Jingxi, Debao, Mubian, Napo
    • Jackson และ Lau (2012) ได้แบ่งสำเนียงนี้ออกเป็น 2 ภาษาที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ ได้แก่ ยาง (央: zyg), และหมิน (民: zgm)
  • แบบยั่นกว่าง (砚广: zhn) หรือแบบหนง (侬) มีผู้พูด 308,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Yunnan Guangnan South, Yanshan
  • แบบเหวินหมา (文麻: zhd) หรือแบบไต้ (岱) มีผู้พูด 95,000 คน อาศัยอยู่บริเวณ Yunnan Wenshan, Malipo, Guibian

อ้างอิง แก้

  1. Mikael Parkvall, "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), in Nationalencyklopedin

บรรณานุกรม แก้

  • Zhuàng-Hàn cíhuì 壮汉词汇 (ภาษาจีน). Nanning: Guangxi minzu chubanshe. 1984.
  • Edmondson, Jerold A.; Solnit, David B., บ.ก. (1997). Comparative Kadai: The Tai Branch (ภาษาอังกฤษ). Summer Institute of Linguistics and the University of Texas at Arlington.
  • Johnson, Eric C. (2010). "A Sociolinguistic Introduction to the Central Taic Languages of Wenshan Prefecture, China" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). SIL International. SIL Electronic Survey Report 2010-027.
  • Zhuàng-Hàn-Yīng cídiǎn / Guengh Gun Yingh swzdenj / Zhuang–Chinese–English Dictionary 壮汉英词典. Beijing: Minzu chubanshe. 2004. ISBN 7-105-07001-3.
  • Tan, Xiaohang 覃晓航 (1995). Xiàndài Zhuàngyǔ 现代壮语 (ภาษาจีน). Beijing: Minzu chubanshe.
  • Tan, Guosheng 覃国生 (1996). Zhuàngyǔ fāngyán gàilùn 壮语方言概论 (ภาษาจีน). Nanning: Guangxi minzu chubanshe.
  • Wang, Mingfu 王明富; Johnson, Eric 江子杨 (2008). Zhuàngzú wénhuà yíchǎn jí zhuàngyǔ yánjiū / Zhuang Cultural and Linguistic Heritage 壮族文化遗产及壮语研究 (ภาษาจีน และ อังกฤษ). Kunming: Yunnan minzu chubanshe / The Nationalities Publishing House of Yunnan. ISBN 978-7-5367-4255-0.
  • Wei, Qingwen 韦庆稳; Tan, Guosheng 覃国生 (1980). Zhuàngyǔ jiǎnzhì 壮语简志 (ภาษาจีน). Beijing: Minzu chubanshe.
  • Zhang, Junru 张均如; และคณะ (1999). Zhuàngyǔ fāngyán yánjiū 壮语方言研究 [A Study of Zhuang Dialects] (ภาษาจีน). Chengdu: Sichuan minzu chubanshe.
  • Zhou, Minglang (2003). Multilingualism in China: The Politics of Writing Reforms for Minority Languages, 1949–2002 (ภาษาอังกฤษ). Berlin: Mouton de Gruyter. pp. 251–258. ISBN 3-11-017896-6.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้