ตระกูลภาษาขร้า-ไท
ตระกูลภาษาขร้า-ไท (อังกฤษ: Kra–Dai languages) หรือรู้จักกันในนาม ขร้าไท (Kradai), ไท-กะได (Tai–Kadai) หรือ กะได (Kadai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาขร้า-ไทเคยถูกกำหนดให้อยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาขร้า-ไทนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก
ตระกูลภาษาขร้า-ไท | |||
---|---|---|---|
ขร้าไท, ไท-กะได, กะได | |||
ภูมิภาค: | ภาคใต้ของจีน, ไหหลำ, อินโดจีน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย | ||
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | หนึ่งในตระกูลภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก | ||
ภาษาดั้งเดิม: | ขร้า-ไทดั้งเดิม | ||
กลุ่มย่อย: | |||
ISO 639-2 / 5: | tai | ||
กลอตโตลอก: | taik1256[1] | ||
![]() แผนที่แสดงการกระจายของภาษาตระกูลขร้า-ไท
|
รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน
โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาขร้า-ไทดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนกับขร้า-ไทอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก
ความหลากหลายของตระกูลภาษาขร้า-ไทในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาขร้า-ไททั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้
ภาษาในตระกูล แก้ไข
ตระกูลภาษาขร้า-ไทประกอบด้วยกลุ่มภาษาที่จัดแบ่งไว้ 5 สาขา ดังนี้
- กลุ่มภาษาขร้า (อาจเรียกว่า กะได หรือ เก-ยัง)
- กลุ่มภาษากัม-ฉุ่ย (จีนแผ่นดินใหญ่ เรียกว่า ต้ง-ฉุ่ย)
- กลุ่มภาษาไหล (เกาะไหหลำ)
- กลุ่มภาษาไท (จีนตอนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
- ภาษาอังเบ (เกาะไหหลำ เรียกว่า ภาษาเบ)
กลุ่มภาษาไหล แก้ไข
- ภาษาเจียมาว (Jiamao) เจียมาว (ไหหลำ)
- ภาษาไหล (Hlai) (ไหหลำ)
กลุ่มภาษาขร้า แก้ไข
- Yerong (จีนแผ่นดินใหญ่)
- ภาษาเก้อหล่าว (Gelao) (เวียดนาม)
- ภาษาลาติ (Lachi หรือ Lati) (เวียดนาม)
- ภาษาลาติขาว (White Lachi) (เวียดนาม)
- ภาษาปู้ยัง (Buyang) (จีนแผ่นดินใหญ่)
- ภาษาจุน (Cun) (ไหหลำ)
- ภาษาเอน (En) (เวียดนาม)
- ภาษากวาเบียว (Qabiao) (เวียดนาม)
- ภาษาลาคัว (Laqua) (เวียดนาม)
- ภาษาลาฮา (Laha) (เวียดนาม)
กลุ่มภาษาไท แก้ไข
- กลุ่มภาษาไทเหนือ
- ภาษาแสก (ลาว)
- ภาษาจ้วงเหนือ (จีน)
- ภาษาปู้อี (Buyi) (จีน)
- ภาษาไทแมน (ลาว)
- E (จีน)
- กลุ่มภาษาไทกลาง
- ภาษาจ้วงใต้ (จีน)
- ภาษาม่านเชาลาน (เวียดนาม)
- ภาษานุง (เวียดนาม)
- ภาษาตั่ย (เวียดนาม)
- ภาษาซึนลาว (Ts'ün-Lao) (เวียดนาม)
- ภาษานาง (เวียดนาม)
- กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้
- ภาษาไทหย่า (จีน)
- ภาษาพูโก (ลาว)
- ภาษาปาดี (จีน)
- ภาษาไททัญ (เวียดนาม)
- ภาษาตั่ยซาปา (เวียดนาม)
- ภาษาไทโหลง (ไทหลวง) (ลาว)
- ภาษาไทฮ้องจีน (จีน)
- ภาษาตุรุง (อินเดีย)
- ภาษายอง (ไทย)
- ภาษาไทยถิ่นใต้ (ปักษ์ใต้) (ไทย)
- กลุ่มภาษาไทกลาง-ตะวันออก
- กลุ่มภาษาเชียงแสน
- ภาษาไทดำ (เวียดนาม)
- ภาษาไทยถิ่นเหนือ (ภาษาล้านนา, ภาษาไทยวน, คำเมือง) (ไทย)
- ภาษาพวน (ไทย)
- ภาษาไทโซ่ง (ไทย)
- ภาษาไทย (ไทย)
- ภาษาไทฮ่างตง (เวียดนาม)
- ภาษาไทขาว (ภาษาไทด่อน) (เวียดนาม)
- ภาษาไทแดง (ภาษาไทโด) (เวียดนาม)
- ภาษาไทเติ๊ก (เวียดนาม)
- ภาษาทูลาว (เวียดนาม)
- กลุ่มภาษาลาว-ผู้ไท
- กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ)
- ภาษาอาหม (รัฐอัสสัม เป็นภาษาสูญแล้ว; ภาษาอัสสัมซึ่งเป็นภาษาที่ชาวอาหมใช้ในปัจจุบัน จัดอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน)
- ภาษาอ่ายตน (รัฐอัสสัม)
- ภาษาลื้อ (ภาษาไทลื้อ) (จีน, เวียดนาม, ไทย, ลาว, พม่า)
- ภาษาคำตี่ (รัฐอัสสัม, พม่า)
- ภาษาเขิน (พม่า)
- ภาษาคำยัง (รัฐอัสสัม)
- ภาษาพ่าเก (รัฐอัสสัม)
- ภาษาไทใหญ่ (ภาษาชาน) (พม่า)
- ภาษาไทใต้คง (ภาษาไทเหนือ) (จีน, เวียดนาม, ไทย, ลาว)
- กลุ่มภาษาเชียงแสน
กลุ่มภาษากัม-ฉุ่ย แก้ไข
- กลุ่มภาษาลักเกีย-เบียว (จีนแผ่นดินใหญ่)
- ภาษาลักเกีย (Lakkia)
- ภาษาเบียว
- ภาษากัม-ฉุ่ย (จีนแผ่นดินใหญ่)
- ภาษาอ้ายจาม (Ai-Cham)
- Cao Miao
- ภาษาต้งเหนือ (Northern Dong)
- ภาษาต้งใต้ (Southern Dong)
- ภาษาคัง (Kang)
- Mak
- ภาษามู่หลาม (Mulam)
- ภาษาเมาหนาน (Maonan)
- ภาษาฉุ่ย (Sui)
- T’en
สาขากัม-ฉุ่ย, เบ และไทมักถูกจัดให้อยู่รวมกันเนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก (ดูเพิ่มที่กลุ่มภาษากัม-ไท) อย่างไรก็ตามการจัดแบ่งเช่นนี้มีความเห็นที่โต้แย้ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการแทนที่ศัพท์เข้าไปในสาขาอื่น ความคล้ายกันของระบบหน่วยคำทำให้มีนักภาษาศาสตร์จัดสาขาขร้ากับกัม-ฉุ่ย เป็นกลุ่มขร้า-ไทเหนือทางหนึ่ง และสาขาไหลกับไท เป็นกลุ่มขร้า-ไทใต้อีกทางหนึ่งแทนดังภาพ ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้วย
ขร้า-ไท |
| |||||||||||||||||||||
เปรียบเทียบคำศัพท์[2] แก้ไข
ไทย | ไท | เก้อหล่าว | จ้วงใต้ | ไหล |
---|---|---|---|---|
หมา | หมา | มเปา | หมา | ปา |
ไฟ | ไฟ | ไป | ไฟ | เฝ่ยฺ |
หนา | หนา | นเต้า | หนา | หนา |
เมฆ | ฝ้า | เป๊า | ฝ้า | ฝ้า |
หิมะ | นาย (ไทใหญ่) | นไต๊ | นาย(น้ำค้าง) | - |
น้ำค้างแข็ง | เหมือย (ลาว) | มไปล้ | เหมือย | - |
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "ตระกูลภาษาขร้า-ไท". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ "Ostapirat, Weera [วีระ โอสถาภิรัตน์]. Kadai dummy*-m" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-14. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
- Edmondson, J.A. and D.B. Solnit eds. 1997. Comparative Kadai: the Tai branch. Dallas: Summer Institute of Linguistics and the University of Texas at Arlington.
- Ostapirat, Weera [วีระ โอสถาภิรัตน์]. 2005. "Kra-Dai and Austronesian: Notes on phonological correspondences and vocabulary distribution", pp. 107–131 in Sagart, Laurent, Blench, Roger & Sanchez-Mazas, Alicia (eds.), The Peopling of East Asia: Putting Together Archaeology, Linguistics and Genetics. London/New York: Routledge-Curzon.
- Roger Blench (PDF format)
- Ethnologue report Retrieved 3 August 2005.
- ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน). นิทรรศการถาวร กลุ่มชาติพันธุ์ และโบราณคดี (ชั้น 5)