อินโดจีน

ภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อินโดจีน (อังกฤษ: Indochina) หรือ คาบสมุทรอินโดจีน (อังกฤษ: Indochinese Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่
คาบสมุทรอินโดจีน
อินโดจีน
ชื่อท้องถิ่น:
ឧបទ្វីបឥណ្ឌូចិន  (เขมร)
ແຫຼມອິນດູຈີນ  (ลาว)
အရှေ့တောင်အာရှ ကျွန်းဆွယ်ဒေသ  (พม่า)
Bán đảo Đông Dương  (เวียดนาม)
คาบสมุทรอินโดจีน
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด21°1′N 105°51′E / 21.017°N 105.850°E / 21.017; 105.850
แหล่งน้ำใกล้เคียงมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย
พื้นที่2,072,652 ตารางกิโลเมตร (800,255 ตารางไมล์)
ระดับสูงสุด5,881 ม. (19295 ฟุต)
จุดสูงสุดเขาคากาโบราซี
การปกครอง
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดพนมเปญ
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดเวียงจันทน์
เมืองหลวงเนปยีดอ
เมืองใหญ่สุดย่างกุ้ง
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดกรุงเทพมหานคร
เมืองหลวงฮานอย
เมืองใหญ่สุดนครโฮจิมินห์
อินโดจีน: สีเขียวเข้ม: นับรวมเสมอ, สีเขียวอ่อน: นับรวมเป็นส่วนใหญ่, สีแดง: นับรวมเป็นบางครั้ง
ภูมิภาคอินโดจีน (ชีววิทยา) : สีเขียวเข้มและอ่อน

ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน

ภูมิศาสตร์

แก้

ถ้ากล่าวตามนิยามอย่างเคร่งครัดแล้ว อินโดจีนจะหมายถึงอดีตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศส หรือ "อินโดจีนของฝรั่งเศส" เท่านั้น ซึ่งประกอบด้วย

แต่ในปัจจุบัน ความหมายของอินโดจีนหมายถึงแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนับรวม

ศาสนาที่คนส่วนใหญ่นับถือคือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (หรือ นิกายหินยาน) ส่วนนิกายมหายาน มีคนนับถือในเวียดนามและสิงคโปร์

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Indochina
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Flora of Indo-China